ความเป็นมา/การดำเนินการ
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2002 ผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่นได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเพื่อจัดทำความตกลง CEP ซึ่งรวมความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียน-ญี่ปุ่น
- เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2003 ผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่นได้ลงนามในกรอบงานว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อจัดตั้ง CEP ให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2012 โดยยืดหยุ่นให้แก่ประเทศ CLMV อีก 5 ปี
กรอบการเจรจา
- ใน Framework มีสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ (1) มาตรการที่ดำเนินการได้ทันที (2) การอำนวยความสะดวกและความร่วมมือ (3) การเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน
กลไกการเจรจา
- จัดตั้งคณะกรรมการความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCCEP) เพื่อหารือเตรียมการสำหรับการเจรจา และจัดตั้งคณะทำงาน ROO เพื่อจัดทำกรอบงาน ROO อาเซียน-ญี่ปุ่น
แนวทางการเจรจา
- จะดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO โดยคำนึงถึงความคืบหน้าในการรวมกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน และการเจรจาทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับสมาชิกอาเซียน
- ให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนอันเนื่องมาจากความแตกต่างกันของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและคำนึงถึงสาขาที่มีความอ่อนไหวของแต่ละประเทศ
แผนการเจรจา
- เริ่มการหารือเพื่อเตรียมการเจรจา ตั้งแต่ต้นปี 2004 และจะพยายามอย่างเต็มที่ให้เปิดการเจรจาได้ในต้นปี 2005 โดยจะสรุปผลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สถานะล่าสุด
ได้มีการประชุม ASEAN-Japan Committee on CEP (AJCCEP) และการประชุมคณะทำงานกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Working Group on Rules of Origin : WGROO) เมื่อวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2547 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การประชุม AJCCEP
1.1) ที่ประชุมรับรองขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) ของ AJCCEP เพื่อเป็นเวทีสำหรับหารือและเจรจาเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ รวมถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี
1.2) ที่ประชุมได้มีการหารือมาตรการที่ดำเนินการได้ทันที การอำนวยความสะดวกและความร่วมมือในสาขาต่างๆ เช่น พิธีการศุลกากร นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา ICT การขนส่ง และการท่องเที่ยว
2) การประชุม WGROO
2.1) WGROO หารือและแลกเปลี่ยนร่าง Outline ของ Framework for ASEAN-Japan ROO ที่แต่ละฝ่ายเสนอ และจะจัดทำ interim report เสนอ AJCCEP ประมาณปลายเดือนกรกฎาคม 2547
2.2) ท่าทีของอาเซียนในเรื่อง ROO คือ ให้ใช้หลักการของ ASEAN-China FTA เป็นพื้นฐาน ในขณะที่ ญี่ปุ่นเสนอให้ใช้หลักการเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (CTC) เป็นพื้นฐาน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2002 ผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่นได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเพื่อจัดทำความตกลง CEP ซึ่งรวมความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียน-ญี่ปุ่น
- เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2003 ผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่นได้ลงนามในกรอบงานว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อจัดตั้ง CEP ให้บรรลุเป้าหมายภายในปี 2012 โดยยืดหยุ่นให้แก่ประเทศ CLMV อีก 5 ปี
กรอบการเจรจา
- ใน Framework มีสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ (1) มาตรการที่ดำเนินการได้ทันที (2) การอำนวยความสะดวกและความร่วมมือ (3) การเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน
กลไกการเจรจา
- จัดตั้งคณะกรรมการความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCCEP) เพื่อหารือเตรียมการสำหรับการเจรจา และจัดตั้งคณะทำงาน ROO เพื่อจัดทำกรอบงาน ROO อาเซียน-ญี่ปุ่น
แนวทางการเจรจา
- จะดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO โดยคำนึงถึงความคืบหน้าในการรวมกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน และการเจรจาทวิภาคีระหว่างญี่ปุ่นกับสมาชิกอาเซียน
- ให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนอันเนื่องมาจากความแตกต่างกันของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและคำนึงถึงสาขาที่มีความอ่อนไหวของแต่ละประเทศ
แผนการเจรจา
- เริ่มการหารือเพื่อเตรียมการเจรจา ตั้งแต่ต้นปี 2004 และจะพยายามอย่างเต็มที่ให้เปิดการเจรจาได้ในต้นปี 2005 โดยจะสรุปผลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สถานะล่าสุด
ได้มีการประชุม ASEAN-Japan Committee on CEP (AJCCEP) และการประชุมคณะทำงานกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Working Group on Rules of Origin : WGROO) เมื่อวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2547 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การประชุม AJCCEP
1.1) ที่ประชุมรับรองขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) ของ AJCCEP เพื่อเป็นเวทีสำหรับหารือและเจรจาเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ รวมถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี
1.2) ที่ประชุมได้มีการหารือมาตรการที่ดำเนินการได้ทันที การอำนวยความสะดวกและความร่วมมือในสาขาต่างๆ เช่น พิธีการศุลกากร นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา ICT การขนส่ง และการท่องเที่ยว
2) การประชุม WGROO
2.1) WGROO หารือและแลกเปลี่ยนร่าง Outline ของ Framework for ASEAN-Japan ROO ที่แต่ละฝ่ายเสนอ และจะจัดทำ interim report เสนอ AJCCEP ประมาณปลายเดือนกรกฎาคม 2547
2.2) ท่าทีของอาเซียนในเรื่อง ROO คือ ให้ใช้หลักการของ ASEAN-China FTA เป็นพื้นฐาน ในขณะที่ ญี่ปุ่นเสนอให้ใช้หลักการเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (CTC) เป็นพื้นฐาน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-