ความเป็นมา/การดำเนินการ
ความเป็นมา
- วันที่ 11-12 ธันวาคม 2003 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีของไทยและญี่ปุ่น ได้ร่วมกันประกาศเปิดการเจรจาหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Closer Economic Partnership: JTEP) อย่างเป็นทางการ
กรอบการเจรจา
- ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกด้าน โดยให้มีการเปิดเสรีทั้งด้านสินค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือในสาขาต่างๆ
กลไกการเจรจา
- จัดตั้ง Working Group เพื่อเตรียมการสำหรับการเจรจาจัดทำความตกลง JTEP ซึ่งรวมถึงการจัดตั้ง FTA ด้วย โดยกระทรวงพาณิชย์ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่อง FTA ซึ่งรวมทั้งการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน การส่งเสริมการค้าและการลงทุน การยุติข้อพิพาท ความร่วมมือด้านนโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเร่งรัดการดำเนินการให้มีความก้าวหน้า
แนวทางการเจรจา
- ใช้ Japan-Singapore Economic Partnership Agreement (JSEPA) เป็นพื้นฐาน
- การจัดตั้ง FTA จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO และยอมรับหลักการที่มุ่งให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน และการให้ผลประโยชน์ตอบแทนกัน รวมทั้งให้ความยืดหยุ่นแก่ไทยอันเนื่องมาจากความแตกต่างกันของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และคำนึงถึงสาขาที่มีความอ่อนไหวของแต่ละประเทศ
สถานะล่าสุด
- การเจรจาครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 16-18 มิถุนายน 2547 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี การเจรจาไม่มีความคืบหน้ามากนัก เนื่องจากแต่ละฝ่ายยังคงยืนยันท่าทีเดิม มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การค้าสินค้า ญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะยื่น Initial Offer ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจาครั้งที่แล้ว โดยได้ชี้แจงว่ายังไม่สามารถหาข้อสรุปกับหน่วยงานภายในของตนได้ โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าเกษตร ประมง และป่าไม้ รวมทั้งยังได้รับการร้องขอจากฝ่ายการเมืองให้ชะลอเรื่องนี้ไปจนกว่าการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจะเสร็จสิ้นลงก่อน อย่างไรก็ดี ไทยได้แสดงความหวังว่าญี่ปุ่นจะสามารถแลกเปลี่ยน Initial Offers กับไทยได้อย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนการประชุมเจรจาครั้งต่อไป (4-6 สิงหาคม 2547)
ในการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการยื่น Initial Offers เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบได้สะดวก และได้ตกลงจะใช้อัตราภาษีนำเข้า MFN ณ วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นพื้นฐานในการเจรจาลด/เลิกภาษีต่อไป
2) การค้าบริการ ไทยได้ยื่นร่างข้อบทใหม่ในเรื่องการค้าบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาให้กับฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณา โดยตัดบริการด้านการเงินออก แต่ให้รวมเรื่องการใช้ Emergency Safeguard Measures สำหรับญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเรียกร้อง (request) ด้านบริการ การ ลงทุน และการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา อย่างเป็นทางการ โดยมุ่งเน้นให้ไทยแก้ไขกฎหมายในเรื่องการจำกัดสัดส่วนผู้ถือหุ้นของชาวต่างชาติ และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่พยายามยื่นข้อเสนอต่อกันให้ได้ภายในการประชุมครั้งหน้า
3) เรื่องอื่นๆ เช่น การค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ความร่วมมือในสาขาต่างๆ อยู่ระหว่างการหารือร่วมกันโดยยังไม่มีข้อสรุป
การประชุมครั้งต่อไป
- เป็นการจัดประชุมระหว่างรอบ (Intercessional Meeting) กำหนดระหว่างวันที่ 4-6 สิงหาคม 2004 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ความเป็นมา
- วันที่ 11-12 ธันวาคม 2003 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีของไทยและญี่ปุ่น ได้ร่วมกันประกาศเปิดการเจรจาหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Closer Economic Partnership: JTEP) อย่างเป็นทางการ
กรอบการเจรจา
- ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกด้าน โดยให้มีการเปิดเสรีทั้งด้านสินค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือในสาขาต่างๆ
กลไกการเจรจา
- จัดตั้ง Working Group เพื่อเตรียมการสำหรับการเจรจาจัดทำความตกลง JTEP ซึ่งรวมถึงการจัดตั้ง FTA ด้วย โดยกระทรวงพาณิชย์ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่อง FTA ซึ่งรวมทั้งการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน การส่งเสริมการค้าและการลงทุน การยุติข้อพิพาท ความร่วมมือด้านนโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเร่งรัดการดำเนินการให้มีความก้าวหน้า
แนวทางการเจรจา
- ใช้ Japan-Singapore Economic Partnership Agreement (JSEPA) เป็นพื้นฐาน
- การจัดตั้ง FTA จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO และยอมรับหลักการที่มุ่งให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน และการให้ผลประโยชน์ตอบแทนกัน รวมทั้งให้ความยืดหยุ่นแก่ไทยอันเนื่องมาจากความแตกต่างกันของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และคำนึงถึงสาขาที่มีความอ่อนไหวของแต่ละประเทศ
สถานะล่าสุด
- การเจรจาครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 16-18 มิถุนายน 2547 ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี การเจรจาไม่มีความคืบหน้ามากนัก เนื่องจากแต่ละฝ่ายยังคงยืนยันท่าทีเดิม มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การค้าสินค้า ญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะยื่น Initial Offer ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจาครั้งที่แล้ว โดยได้ชี้แจงว่ายังไม่สามารถหาข้อสรุปกับหน่วยงานภายในของตนได้ โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าเกษตร ประมง และป่าไม้ รวมทั้งยังได้รับการร้องขอจากฝ่ายการเมืองให้ชะลอเรื่องนี้ไปจนกว่าการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจะเสร็จสิ้นลงก่อน อย่างไรก็ดี ไทยได้แสดงความหวังว่าญี่ปุ่นจะสามารถแลกเปลี่ยน Initial Offers กับไทยได้อย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนการประชุมเจรจาครั้งต่อไป (4-6 สิงหาคม 2547)
ในการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการยื่น Initial Offers เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบได้สะดวก และได้ตกลงจะใช้อัตราภาษีนำเข้า MFN ณ วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นพื้นฐานในการเจรจาลด/เลิกภาษีต่อไป
2) การค้าบริการ ไทยได้ยื่นร่างข้อบทใหม่ในเรื่องการค้าบริการ การลงทุน และการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาให้กับฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณา โดยตัดบริการด้านการเงินออก แต่ให้รวมเรื่องการใช้ Emergency Safeguard Measures สำหรับญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเรียกร้อง (request) ด้านบริการ การ ลงทุน และการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา อย่างเป็นทางการ โดยมุ่งเน้นให้ไทยแก้ไขกฎหมายในเรื่องการจำกัดสัดส่วนผู้ถือหุ้นของชาวต่างชาติ และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่พยายามยื่นข้อเสนอต่อกันให้ได้ภายในการประชุมครั้งหน้า
3) เรื่องอื่นๆ เช่น การค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ความร่วมมือในสาขาต่างๆ อยู่ระหว่างการหารือร่วมกันโดยยังไม่มีข้อสรุป
การประชุมครั้งต่อไป
- เป็นการจัดประชุมระหว่างรอบ (Intercessional Meeting) กำหนดระหว่างวันที่ 4-6 สิงหาคม 2004 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-