ความเป็นมา/การดำเนินการ
เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2001ผู้นำอาเซียน-จีน เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง FTA โดยให้มีการลดภาษีขั้นต้นก่อน(Early Harvest) และเจรจาเปิดเสรีเต็มรูปแบบต่อไป โดยมีเป้าหมายให้เป็นเขตการค้าเสรีที่สมบูรณ์ภายใน 10 ปี
- ลดภาษีสินค้ากลุ่มแรกภายใต้ Early Harvest Program ในพิกัด 01-08 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2004 และภาษีจะลดลงเหลือ 0% ภายในปี 2006 สำหรับประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน ส่วน อาเซียนใหม่ให้ยืดหยุ่นได้ถึงปี 2010 กรอบการเจรจา (Framework Agreement : FA)
- ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทุกด้าน การเจรจาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ (1) Early Harvest (2) FTA เปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน (3) ขยายความร่วมมือด้านอื่นๆ เช่น การเกษตร, ICT, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
กลไกการเจรจา
- จัดตั้ง ASEAN Trade Negotiating Group (TNG) เป็นเวทีประชุมหารือระหว่าง อาเซียนเพื่อหาท่าทีร่วมกัน และจัดตั้ง ASEAN-China Trade Negotiating Committee (TNC) เป็นเวทีหารือระหว่างอาเซียนและจีน
แผนการเจรจา
- เจรจารายละเอียดความตกลงเขตการค้าเสรี ในเรื่องการลดภาษีสินค้าที่เหลือ กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้า ให้เสร็จภายในมิถุนายน 2004
- เจรจาการเปิดเสรีการค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ให้เสร็จภายในปี 2004
- เริ่มดำเนินการเปิดเสรีภายใต้ FTA และขยายความร่วมมือตามความตกลง ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นไป
เขตการค้าเสรีไทย-จีน
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 15-19 มิถุนายน 2003 ไทยและจีนได้ตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการ (พิกัดศุลกากรตอนที่ 07-08) ระหว่างไทย-จีน เหลือ 0% ทันทีภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2003 โดยมีกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า กำหนดให้สินค้าว่าต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained)
กรอบการเจรจา
- เร่งเปิดเสรีทั้งด้านการค้าสินค้า โดยการลดภาษีเร็วกว่ากรอบอาเซียน - จีน
กลไกการเจรจา
- คณะเจรจาไทย-จีน โดยใช้กรอบความร่วมมืออื่นๆ อาทิ Joint Economic Commission : JC เป็นเวทีหารือและสนับสนุน
แนวทางเจรจา
- ผลักดันการเจรจา FTA อาเซียน-จีน ให้เสร็จตามกำหนด
- เตรียมพิจารณาการเร่งลดภาษีไทย-จีน
สถานะล่าสุด
- ได้มีการประชุมเจรจาระหว่างอาเซียน-จีน ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2004 ณ เมืองหนานหมิง มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) รูปแบบการลดภาษีสินค้า
1.1) การลดภาษีสินค้าปกติ (Normal Track) ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุผลการเจรจารูปแบบการลดภาษีสินค้าปกติได้ โดยกำหนดให้ลดอัตราภาษีที่สูงกว่าร้อยละ 20 ให้เหลือร้อยละ 20 ในวันที่ 1 มกราคม 2005 ส่วนภาษีที่มีอัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 ให้ลดอัตราภาษีลงตามลำดับ และอัตราภาษีของสินค้าทั้งหมดจะต้องลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2010 แต่ให้สินค้าจำนวน 150 รายการได้รับความยืดหยุ่นให้ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ได้ถึงปี 2012 รวมทั้งได้เพิ่มข้อกำหนดให้สินค้ามีอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 0-5 จำนวนร้อยละ 40 ในปี 2005 และเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ในปี 2007
1.2) รายการสินค้าอ่อนไหว
- การกำหนดเพดานสินค้าอ่อนไหว จีนมีท่าทียืดหยุ่นในการพิจารณาข้อเสนอของอาเซียนเรื่องการจำกัดจำนวนสินค้าอ่อนไหวที่ร้อยละ 10 ของรายการสินค้าทั้งหมด และ ร้อยละ 10 ของมูลค่าการนำเข้าจากประเทศคู่ค้า ทั้งนี้ สินค้าอ่อนไหวจะแบ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวและสินค้าอ่อนไหวสูง
- รูปแบบการลดภาษี สินค้าอ่อนไหวและสินค้าอ่อนไหวสูงจะมีการกำหนดอัตราภาษีสุดท้ายและปีที่สิ้นสุดการลดภาษีที่แตกต่างกัน โดยสินค้าอ่อนไหวจะลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 20 ในปี 2012 และมีอัตราภาษีสุดท้ายอยู่ที่ร้อยละ 0-5 สำหรับสินค้าอ่อนไหวสูงทั้งสองฝ่ายตกลงในเบื้องต้นที่จะกำหนดสัดส่วนไม่ให้เกินร้อยละ 40 หรือไม่เกิน 100 รายการของสินค้าอ่อนไหวทั้งหมด โดยต้องเลือกหลักเกณฑ์ที่มีจำนวนรายการน้อยกว่า
2) อาเซียนและจีนสามารถสรุปร่างความตกลงการค้าสินค้าระหว่างอาเซียน-จีนได้แล้วเป็นส่วนใหญ่ ยังคงเหลือประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งสรุปต่อไป ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่มีมาตรการโควตาภาษี (TRQ) ซึ่งไทยเห็นว่าควรมีแผนการลดภาษีที่แยกออกมาจากการลดอัตราภาษีสินค้าปกติและสินค้าอ่อนไหว ในขณะที่จีนต้องการให้นำมาลดในรูปแบบการลดภาษีสินค้าปกติหรือสินค้าอ่อนไหวเท่านั้น
เขตการค้าเสรีไทย-จีน
- การประชุม TNC อาเซียน-จีน เมื่อเดือนมีนาคม 2004 การเจรจากรอบอาเซียน-จีนไม่มีความคืบหน้า ไทยจึงได้หารือกับจีนถึงท่าทีในการเจรจา FTA ระหว่างจีนกับอาเซียน รายประเทศ แต่จีนมีท่าทีต้องการผลักดันการเจรจาอาเซียน-จีนให้เสร็จก่อน ทั้งนี้ สิงคโปร์ได้ให้ความสนใจที่จะทำ FTA กับจีนเช่นกัน เนื่องจากเห็นว่าการเจรจาในกรอบอาเซียนไม่คืบหน้า
- ไทยได้มีการหารือสองฝ่ายกับจีน ในระหว่างการประชุมคณะเจรจาอาเซียน-จีน เมื่อวันที่ 23-25 เมษายน 2547 เรื่องการเปิดเสรีระหว่างไทย-จีน ซึ่งจีนมีความเห็นว่าควรเริ่มดำเนินการหลังจากที่การเจรจาอาเซียน-จีนเสร็จสิ้นสักระยะหนึ่ง และเห็นว่าการเปิดเสรีระหว่างไทย-จีน ควรเป็นการเร่งลดภาษีระหว่างกันภายใต้กรอบอาเซียน-จีน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2001ผู้นำอาเซียน-จีน เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง FTA โดยให้มีการลดภาษีขั้นต้นก่อน(Early Harvest) และเจรจาเปิดเสรีเต็มรูปแบบต่อไป โดยมีเป้าหมายให้เป็นเขตการค้าเสรีที่สมบูรณ์ภายใน 10 ปี
- ลดภาษีสินค้ากลุ่มแรกภายใต้ Early Harvest Program ในพิกัด 01-08 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2004 และภาษีจะลดลงเหลือ 0% ภายในปี 2006 สำหรับประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน ส่วน อาเซียนใหม่ให้ยืดหยุ่นได้ถึงปี 2010 กรอบการเจรจา (Framework Agreement : FA)
- ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทุกด้าน การเจรจาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ (1) Early Harvest (2) FTA เปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน (3) ขยายความร่วมมือด้านอื่นๆ เช่น การเกษตร, ICT, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
กลไกการเจรจา
- จัดตั้ง ASEAN Trade Negotiating Group (TNG) เป็นเวทีประชุมหารือระหว่าง อาเซียนเพื่อหาท่าทีร่วมกัน และจัดตั้ง ASEAN-China Trade Negotiating Committee (TNC) เป็นเวทีหารือระหว่างอาเซียนและจีน
แผนการเจรจา
- เจรจารายละเอียดความตกลงเขตการค้าเสรี ในเรื่องการลดภาษีสินค้าที่เหลือ กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้า ให้เสร็จภายในมิถุนายน 2004
- เจรจาการเปิดเสรีการค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ให้เสร็จภายในปี 2004
- เริ่มดำเนินการเปิดเสรีภายใต้ FTA และขยายความร่วมมือตามความตกลง ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นไป
เขตการค้าเสรีไทย-จีน
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 15-19 มิถุนายน 2003 ไทยและจีนได้ตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการ (พิกัดศุลกากรตอนที่ 07-08) ระหว่างไทย-จีน เหลือ 0% ทันทีภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2003 โดยมีกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า กำหนดให้สินค้าว่าต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained)
กรอบการเจรจา
- เร่งเปิดเสรีทั้งด้านการค้าสินค้า โดยการลดภาษีเร็วกว่ากรอบอาเซียน - จีน
กลไกการเจรจา
- คณะเจรจาไทย-จีน โดยใช้กรอบความร่วมมืออื่นๆ อาทิ Joint Economic Commission : JC เป็นเวทีหารือและสนับสนุน
แนวทางเจรจา
- ผลักดันการเจรจา FTA อาเซียน-จีน ให้เสร็จตามกำหนด
- เตรียมพิจารณาการเร่งลดภาษีไทย-จีน
สถานะล่าสุด
- ได้มีการประชุมเจรจาระหว่างอาเซียน-จีน ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2004 ณ เมืองหนานหมิง มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) รูปแบบการลดภาษีสินค้า
1.1) การลดภาษีสินค้าปกติ (Normal Track) ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุผลการเจรจารูปแบบการลดภาษีสินค้าปกติได้ โดยกำหนดให้ลดอัตราภาษีที่สูงกว่าร้อยละ 20 ให้เหลือร้อยละ 20 ในวันที่ 1 มกราคม 2005 ส่วนภาษีที่มีอัตราต่ำกว่าร้อยละ 20 ให้ลดอัตราภาษีลงตามลำดับ และอัตราภาษีของสินค้าทั้งหมดจะต้องลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2010 แต่ให้สินค้าจำนวน 150 รายการได้รับความยืดหยุ่นให้ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ได้ถึงปี 2012 รวมทั้งได้เพิ่มข้อกำหนดให้สินค้ามีอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 0-5 จำนวนร้อยละ 40 ในปี 2005 และเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ในปี 2007
1.2) รายการสินค้าอ่อนไหว
- การกำหนดเพดานสินค้าอ่อนไหว จีนมีท่าทียืดหยุ่นในการพิจารณาข้อเสนอของอาเซียนเรื่องการจำกัดจำนวนสินค้าอ่อนไหวที่ร้อยละ 10 ของรายการสินค้าทั้งหมด และ ร้อยละ 10 ของมูลค่าการนำเข้าจากประเทศคู่ค้า ทั้งนี้ สินค้าอ่อนไหวจะแบ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวและสินค้าอ่อนไหวสูง
- รูปแบบการลดภาษี สินค้าอ่อนไหวและสินค้าอ่อนไหวสูงจะมีการกำหนดอัตราภาษีสุดท้ายและปีที่สิ้นสุดการลดภาษีที่แตกต่างกัน โดยสินค้าอ่อนไหวจะลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 20 ในปี 2012 และมีอัตราภาษีสุดท้ายอยู่ที่ร้อยละ 0-5 สำหรับสินค้าอ่อนไหวสูงทั้งสองฝ่ายตกลงในเบื้องต้นที่จะกำหนดสัดส่วนไม่ให้เกินร้อยละ 40 หรือไม่เกิน 100 รายการของสินค้าอ่อนไหวทั้งหมด โดยต้องเลือกหลักเกณฑ์ที่มีจำนวนรายการน้อยกว่า
2) อาเซียนและจีนสามารถสรุปร่างความตกลงการค้าสินค้าระหว่างอาเซียน-จีนได้แล้วเป็นส่วนใหญ่ ยังคงเหลือประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งสรุปต่อไป ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่มีมาตรการโควตาภาษี (TRQ) ซึ่งไทยเห็นว่าควรมีแผนการลดภาษีที่แยกออกมาจากการลดอัตราภาษีสินค้าปกติและสินค้าอ่อนไหว ในขณะที่จีนต้องการให้นำมาลดในรูปแบบการลดภาษีสินค้าปกติหรือสินค้าอ่อนไหวเท่านั้น
เขตการค้าเสรีไทย-จีน
- การประชุม TNC อาเซียน-จีน เมื่อเดือนมีนาคม 2004 การเจรจากรอบอาเซียน-จีนไม่มีความคืบหน้า ไทยจึงได้หารือกับจีนถึงท่าทีในการเจรจา FTA ระหว่างจีนกับอาเซียน รายประเทศ แต่จีนมีท่าทีต้องการผลักดันการเจรจาอาเซียน-จีนให้เสร็จก่อน ทั้งนี้ สิงคโปร์ได้ให้ความสนใจที่จะทำ FTA กับจีนเช่นกัน เนื่องจากเห็นว่าการเจรจาในกรอบอาเซียนไม่คืบหน้า
- ไทยได้มีการหารือสองฝ่ายกับจีน ในระหว่างการประชุมคณะเจรจาอาเซียน-จีน เมื่อวันที่ 23-25 เมษายน 2547 เรื่องการเปิดเสรีระหว่างไทย-จีน ซึ่งจีนมีความเห็นว่าควรเริ่มดำเนินการหลังจากที่การเจรจาอาเซียน-จีนเสร็จสิ้นสักระยะหนึ่ง และเห็นว่าการเปิดเสรีระหว่างไทย-จีน ควรเป็นการเร่งลดภาษีระหว่างกันภายใต้กรอบอาเซียน-จีน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-