แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
1. สภาพคล่องในตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปี 2546 สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของ ธพ. ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 92.6 ฐานะการลงทุนสุทธิในตลาดซื้อคืนเพิ่มขึ้นกว่าหมื่นล้านบาทจากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า
2. อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินผันผวนในกรอบแคบๆ และมีทิศทางลดต่ำลงจากสิ้นปี 2546 ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ตลอดครึ่งแรกของปี
3. ธพ. ขนาดใหญ่ 5 แห่งยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดียวกับปลายปี 2546 ในขณะที่ ธพ. ขนาดกลางและเล็กบางแห่งเริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะ 12 และ 24 เดือนเพื่อปรับสภาพคล่อง
4. ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกและไตรมาสสองอยู่ในเกณฑ์ดี และสแตนดาร์ดแอนร์พัวร์ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ไทย 7 แห่งในช่วงปลายเดือนมิถุนายน
5. เงินบาทในเดือนมกราคมแข็งค่าต่อเนื่องจากปลายปี 2546 ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ตลอดครึ่งแรกของปี 2547 จากปัจจัยภายในและต่างประเทศ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ
6. ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงเนื่องจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 16 จากสิ้นปี 2546 และนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิตลอด 5 เดือนแรกของปี ต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสสามของปี 2546
7. ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวน โดยในไตรมาสแรกตลาดปรับตัวขึ้น ทั้งปริมาณการซื้อขายและดัชนีผลตอบแทน แต่ในไตรมาสสองกลับมีทิศทางลดลง เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ทำให้อัตราผลตอบแทน (yield) เพิ่มสูงขึ้นมาก
สภาพคล่องในตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปลายปี 2546
จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ และการไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง โดยฐานเงิน (Monetary base) ณ สิ้นเดือน พฤษภาคมขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 12.2 ตามการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากหนี้สินต่างประเทศที่ลดลง เช่นเดียวกับปริมาณเงิน M2a ที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับตลอดช่วงครึ่งปีแรกตามเงินฝากที่ขยายตัว ส่วนหนึ่งจากการไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้ กึ่งทุนของธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าสภาพคล่องจะถูกดึงออกจากระบบไปได้บางส่วนจากการออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และการออกพันธบัตร ธปท. เพื่อดูดซับสภาพคล่อง ตลอดจนการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกจากระบบได้มากนัก สัดส่วนสินเชื่อ (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 92.6 แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นปี 2546 และระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้ว่าสินเชื่อจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2546 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกหลังจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 แต่ธนาคารพาณิชย์ยัง
มีการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรเพื่อปรับสภาพคล่องส่วนเกินที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการลงทุนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้ากว่าหมื่นล้านบาทอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินและอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศจะมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ซึ่งส่งสัญญาณการปรับขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงต้นไตรมาส 2 แต่แนวโน้มการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินและอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ไทย เนื่องจากสภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ทั้งอัตราดอกเบี้ย Interbank และ Repurchase ผันผวนในกรอบแคบๆ และมี ทิศทางลดต่ำลงจากสิ้นปี 2546
โดยอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสแรกถึงกลางไตรมาสสองมีทิศทางลดลงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายไตรมาสสองมีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากสถาบันการเงินมีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการจ่ายเงินปันผลและการจ่ายชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของภาคเอกชน ตลอดจนเพื่อรองรับการไถ่ถอนพันธบัตรของกระทรวงการคลัง ซึ่งทำให้มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น ในขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปีตลอดครึ่งแรกของปี 2547 โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในเป้าหมาย ในขณะเดียวกัน ธนาคารสหรัฐฯ ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ขึ้นจากระดับร้อยละ 1 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 46 ปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน แต่ยังไม่มีผลกระทบต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทย เนื่องจากสภาพคล่องในประเทศยังมีอยู่มาก
ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่งยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดียวกับปลายปี 2546
ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและขนาดเล็กบางแห่งเริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะ 12 และ 24 เดือนเพื่อปรับสมดุลในพอร์ตสินทรัพย์และหนี้สิน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ 1 ปีของ 5 ธนาคารใหญ่เฉลี่ยทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.75 และ 1.0 ต่อปีตามลำดับ ซึ่งเมื่อปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real interest rate) ติดลบ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม MLR เฉลี่ยทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดครึ่งปีแรกของปี 2547 เช่นเดียวกัน ส่วนผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกและไตรมาสสองอยู่ในเกณฑ์ดี โดยรายได้จากดอกเบี้ยสูงขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อและต้นทุนทางการเงินที่ลดลงจากการไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง แม้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะลดลงในไตรมาสสองตามภาวะตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ ซึ่งทำให้กำไรของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสแรก แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้วคาดว่าผลประกอบการจะยังคงขยายตัวสูง ทั้งนี้ สถาบันจัดอันดับสแตนดาร์ดแอนร์พัวร์ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ไทย 7 แห่ง ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และฐานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ปรับตัวดีขึ้น ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์มีความคืบหน้ามากขึ้น
เงินบาทในเดือนมกราคมแข็งค่าต่อเนื่องจากปลายปี 2546 ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงครึ่งแรกของปี
แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีปัจจัยกดดันภายในประเทศจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ตลอดจนความเสี่ยงจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศที่กดดันค่าเงินบาท ได้แก่ ระดับราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ทั่วเอเชีย และนโยบายชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่เดือนมีนาคม จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลังจากที่สหรัฐฯ ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคเป็นระยะ โดยเฉพาะหลังจากข้อเรียกร้องจากกลุ่ม G-7 ให้ประเทศในภูมิภาคปล่อยให้ค่าเงินมีความยืดหยุ่นมากขึ้น การปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ของประเทศและของสถาบันการเงินจากสถาบันจัดอันดับต่างๆ ตลอดจนเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าลงเป็นบางช่วงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ บางตัวออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจทำให้มีการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ
ภาวะตลาดหุ้นซบเซาลง
ภาวะตลาดหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2546 กลับซบเซาลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 34,236 ล้านบาท ในไตรมาสสี่ ปี 2546 เป็น 28,355 ล้านบาท และ 19,070 ล้านบาท ในไตรมาสหนึ่งและสองของปีนี้ตามลำดับ ดัชนีราคาเปิดตลาดต้นปีที่ 790.93 จุด จากนั้นมีทิศทางลดลงเป็นส่วนใหญ่ จนปิดตลาดครึ่งปีที่ 646.64 จุด หรือลดลงร้อยละ 16
สาเหตุที่ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง
เนื่องมาจากปัจจัยภายในประเทศหลายประการ ทั้งการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก การก่อความไม่สงบในภาคใต้ และปัญหาจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในช่วงครึ่งปีหลังของปีที่แล้ว ทำให้นักลงทุนเริ่มมีความกังวล และตลาดค่อนข้างเปราะบางต่อข่าวทางลบที่มากระทบ การปรับฐานจึงค่อนข้างรุนแรง สำหรับปัจจัยภายนอก ได้แก่ สถานการณ์ก่อการร้ายในต่างประเทศ การส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ การประกาศชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น นอกจากนี้การที่นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิติดต่อกันในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ รวม 53.94 พันล้านบาท ในขณะที่ในปี 2546 มียอดขายสุทธิเพียง 24.54 พันล้านบาท สร้างความไม่มั่นใจให้นักลงทุนในประเทศ ถึงแม้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะดีขึ้น และเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีมาตรการสนับสนุนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับนักลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนระยะยาว แต่การซื้อขายยังคงมีแนวโน้มลดต่ำลงตลอดสองไตรมาสแรก
การประกาศใช้มาตรการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันร้อยละ 10 สำหรับการซื้อขายเงินสดในวงเงินที่เกินกว่า 1 ล้านบาท ในวันที่ 1 ก.ค.47 เป็นมาตรการเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดทุนในระยะยาว อาจส่งผลต่อมูลค่าซื้อขายบ้างในระยะแรกของการประกาศใช้ เนื่องจากนักลงทุนต้องใช้เวลาในการปรับตัว แต่คาดว่าผลกระทบจะไม่มาก เนื่องจากมีนักลงทุนรายย่อยที่วงเงินซื้อขายไม่เกิน 1 ล้านบาท ที่อยู่ในข่ายได้รับการผ่อนผันเป็นระยะเวลา 6 เดือน ถึงประมาณร้อยละ 70 ของบัญชีซื้อขาย มีมูลค่าร้อยละ 12 ของมูลค่าการซื้อขายรวม ในขณะเดียวกัน สำหรับนักลงทุนรายใหญ่และสถาบันส่วนใหญ่มีความสามารถที่จะวางหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ เนื่องจากถือหลักทรัพย์ไว้เกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าซื้อขาย
สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนตลาด ได้แก่ เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวดี และการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งแนวโน้มผลประกอบการที่อยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้หุ้นของสถาบันการเงินซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงเป็นที่สนใจของนักลงทุน และตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยรวมมีความน่าสนใจมากขึ้น การกลับเข้ามาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในเดือน มิ.ย. 2547 หลังจากมียอดขายสุทธิต่อเนื่องตั้งแต่ปลายไตรมาสสามของปี 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่พื้นฐานดี เป็นตัวชี้นำอย่างหนึ่งว่าตลาดในช่วงครึ่งหลังของปีน่าจะขยายตัวได้ดีกว่าในช่วงครึ่งแรก แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในเรื่องราคาน้ำมันที่จะกระทบต้นทุนของผู้ประกอบการ สำหรับปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะยังไม่มีผลต่อต้นทุน แต่อาจมีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศมากขึ้น
ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวนสูง
มูลค่าซื้อขายรวมในครึ่งปีแรกเท่ากับ 1,463.2 พันล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,193 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2546 โดยในไตรมาสแรกตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 10,553 ล้านบาท ในปี 2546 มาเป็น 12,818 ล้านบาท เนื่องจากนักลงทุนย้ายการลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ที่ซบเซาลงมาที่ตลาดตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) จึงลดลงตลอดไตรมาส และดัชนีผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (Total Return Index) เพิ่มขึ้นเป็น 149.12 จุด เทียบกับ 143.22 จุด เมื่อสิ้นไตรมาสสี่ของปี 2546 ภาวะตลาดตราสารหนี้กลับปรับตัวลงในไตรมาสสอง มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือเพียง 11,524 ล้านบาทต่อวัน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ปรับเพิ่มสูงขึ้นจากสิ้นไตรมาสหนึ่งมาก ตาม US Treasury Yield ที่ปรับตัวขึ้น จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ต้นไตรมาส ทำให้เริ่มมีการทยอยเทขายตราสารหนี้เพื่อลดผลขาดทุน โดยเฉพาะตราสารหนี้อายุ 5 และ 10 ปี เมื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ณ สิ้นไตรมาสสองของปี 2547 กับสิ้นปี 2546 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1-3 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 28-45 basis point อายุ 5-7 ปี เพิ่มขึ้น 54-74 basis point อายุ 10-12 ปี เพิ่มขึ้น 12-23 basis point แต่สำหรับพันธบัตร อายุ 14 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนลดลง 6-8 basis point ดัชนีผลตอบแทนจากการลงทุนในไตรมาสนี้ลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 144.1 จุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2547 ซึ่งอยู่ในระดับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ จึงไม่มีผลต่อตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากมีการปรับตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว ขณะเดียวกันเป็นการสร้างความชัดเจนให้กับตลาดมากขึ้น นักลงทุนสามารถวางแผนการลงทุนได้ดีขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
2. อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินผันผวนในกรอบแคบๆ และมีทิศทางลดต่ำลงจากสิ้นปี 2546 ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ตลอดครึ่งแรกของปี
3. ธพ. ขนาดใหญ่ 5 แห่งยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดียวกับปลายปี 2546 ในขณะที่ ธพ. ขนาดกลางและเล็กบางแห่งเริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะ 12 และ 24 เดือนเพื่อปรับสภาพคล่อง
4. ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกและไตรมาสสองอยู่ในเกณฑ์ดี และสแตนดาร์ดแอนร์พัวร์ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ไทย 7 แห่งในช่วงปลายเดือนมิถุนายน
5. เงินบาทในเดือนมกราคมแข็งค่าต่อเนื่องจากปลายปี 2546 ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ตลอดครึ่งแรกของปี 2547 จากปัจจัยภายในและต่างประเทศ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ
6. ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงเนื่องจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 16 จากสิ้นปี 2546 และนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิตลอด 5 เดือนแรกของปี ต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสสามของปี 2546
7. ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวน โดยในไตรมาสแรกตลาดปรับตัวขึ้น ทั้งปริมาณการซื้อขายและดัชนีผลตอบแทน แต่ในไตรมาสสองกลับมีทิศทางลดลง เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ทำให้อัตราผลตอบแทน (yield) เพิ่มสูงขึ้นมาก
สภาพคล่องในตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากปลายปี 2546
จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ และการไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง โดยฐานเงิน (Monetary base) ณ สิ้นเดือน พฤษภาคมขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 12.2 ตามการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากหนี้สินต่างประเทศที่ลดลง เช่นเดียวกับปริมาณเงิน M2a ที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับตลอดช่วงครึ่งปีแรกตามเงินฝากที่ขยายตัว ส่วนหนึ่งจากการไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้ กึ่งทุนของธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าสภาพคล่องจะถูกดึงออกจากระบบไปได้บางส่วนจากการออกพันธบัตรเพื่อชดใช้ความเสียหายให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และการออกพันธบัตร ธปท. เพื่อดูดซับสภาพคล่อง ตลอดจนการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่นที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกจากระบบได้มากนัก สัดส่วนสินเชื่อ (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 92.6 แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นปี 2546 และระยะเดียวกันของปีก่อนหน้า แม้ว่าสินเชื่อจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2546 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกหลังจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 แต่ธนาคารพาณิชย์ยัง
มีการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรเพื่อปรับสภาพคล่องส่วนเกินที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการลงทุนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนหน้ากว่าหมื่นล้านบาทอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินและอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศจะมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ซึ่งส่งสัญญาณการปรับขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงต้นไตรมาส 2 แต่แนวโน้มการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินและอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ไทย เนื่องจากสภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ทั้งอัตราดอกเบี้ย Interbank และ Repurchase ผันผวนในกรอบแคบๆ และมี ทิศทางลดต่ำลงจากสิ้นปี 2546
โดยอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสแรกถึงกลางไตรมาสสองมีทิศทางลดลงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายไตรมาสสองมีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากสถาบันการเงินมีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการจ่ายเงินปันผลและการจ่ายชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของภาคเอกชน ตลอดจนเพื่อรองรับการไถ่ถอนพันธบัตรของกระทรวงการคลัง ซึ่งทำให้มีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น ในขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปีตลอดครึ่งแรกของปี 2547 โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในเป้าหมาย ในขณะเดียวกัน ธนาคารสหรัฐฯ ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ขึ้นจากระดับร้อยละ 1 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 46 ปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน แต่ยังไม่มีผลกระทบต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทย เนื่องจากสภาพคล่องในประเทศยังมีอยู่มาก
ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่งยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดียวกับปลายปี 2546
ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและขนาดเล็กบางแห่งเริ่มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะ 12 และ 24 เดือนเพื่อปรับสมดุลในพอร์ตสินทรัพย์และหนี้สิน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ 1 ปีของ 5 ธนาคารใหญ่เฉลี่ยทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.75 และ 1.0 ต่อปีตามลำดับ ซึ่งเมื่อปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real interest rate) ติดลบ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม MLR เฉลี่ยทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดครึ่งปีแรกของปี 2547 เช่นเดียวกัน ส่วนผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกและไตรมาสสองอยู่ในเกณฑ์ดี โดยรายได้จากดอกเบี้ยสูงขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อและต้นทุนทางการเงินที่ลดลงจากการไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง แม้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะลดลงในไตรมาสสองตามภาวะตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ ซึ่งทำให้กำไรของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสแรก แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้วคาดว่าผลประกอบการจะยังคงขยายตัวสูง ทั้งนี้ สถาบันจัดอันดับสแตนดาร์ดแอนร์พัวร์ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ไทย 7 แห่ง ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และฐานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ปรับตัวดีขึ้น ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์มีความคืบหน้ามากขึ้น
เงินบาทในเดือนมกราคมแข็งค่าต่อเนื่องจากปลายปี 2546 ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงครึ่งแรกของปี
แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีปัจจัยกดดันภายในประเทศจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ตลอดจนความเสี่ยงจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศที่กดดันค่าเงินบาท ได้แก่ ระดับราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ทั่วเอเชีย และนโยบายชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่เดือนมีนาคม จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หลังจากที่สหรัฐฯ ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคเป็นระยะ โดยเฉพาะหลังจากข้อเรียกร้องจากกลุ่ม G-7 ให้ประเทศในภูมิภาคปล่อยให้ค่าเงินมีความยืดหยุ่นมากขึ้น การปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ของประเทศและของสถาบันการเงินจากสถาบันจัดอันดับต่างๆ ตลอดจนเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าลงเป็นบางช่วงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ บางตัวออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจทำให้มีการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ
ภาวะตลาดหุ้นซบเซาลง
ภาวะตลาดหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2546 กลับซบเซาลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 34,236 ล้านบาท ในไตรมาสสี่ ปี 2546 เป็น 28,355 ล้านบาท และ 19,070 ล้านบาท ในไตรมาสหนึ่งและสองของปีนี้ตามลำดับ ดัชนีราคาเปิดตลาดต้นปีที่ 790.93 จุด จากนั้นมีทิศทางลดลงเป็นส่วนใหญ่ จนปิดตลาดครึ่งปีที่ 646.64 จุด หรือลดลงร้อยละ 16
สาเหตุที่ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลง
เนื่องมาจากปัจจัยภายในประเทศหลายประการ ทั้งการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก การก่อความไม่สงบในภาคใต้ และปัญหาจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในช่วงครึ่งปีหลังของปีที่แล้ว ทำให้นักลงทุนเริ่มมีความกังวล และตลาดค่อนข้างเปราะบางต่อข่าวทางลบที่มากระทบ การปรับฐานจึงค่อนข้างรุนแรง สำหรับปัจจัยภายนอก ได้แก่ สถานการณ์ก่อการร้ายในต่างประเทศ การส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ การประกาศชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น นอกจากนี้การที่นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิติดต่อกันในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ รวม 53.94 พันล้านบาท ในขณะที่ในปี 2546 มียอดขายสุทธิเพียง 24.54 พันล้านบาท สร้างความไม่มั่นใจให้นักลงทุนในประเทศ ถึงแม้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะดีขึ้น และเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีมาตรการสนับสนุนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับนักลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนระยะยาว แต่การซื้อขายยังคงมีแนวโน้มลดต่ำลงตลอดสองไตรมาสแรก
การประกาศใช้มาตรการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันร้อยละ 10 สำหรับการซื้อขายเงินสดในวงเงินที่เกินกว่า 1 ล้านบาท ในวันที่ 1 ก.ค.47 เป็นมาตรการเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดทุนในระยะยาว อาจส่งผลต่อมูลค่าซื้อขายบ้างในระยะแรกของการประกาศใช้ เนื่องจากนักลงทุนต้องใช้เวลาในการปรับตัว แต่คาดว่าผลกระทบจะไม่มาก เนื่องจากมีนักลงทุนรายย่อยที่วงเงินซื้อขายไม่เกิน 1 ล้านบาท ที่อยู่ในข่ายได้รับการผ่อนผันเป็นระยะเวลา 6 เดือน ถึงประมาณร้อยละ 70 ของบัญชีซื้อขาย มีมูลค่าร้อยละ 12 ของมูลค่าการซื้อขายรวม ในขณะเดียวกัน สำหรับนักลงทุนรายใหญ่และสถาบันส่วนใหญ่มีความสามารถที่จะวางหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ เนื่องจากถือหลักทรัพย์ไว้เกินกว่าร้อยละ 10 ของมูลค่าซื้อขาย
สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนตลาด ได้แก่ เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวดี และการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งแนวโน้มผลประกอบการที่อยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้หุ้นของสถาบันการเงินซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงเป็นที่สนใจของนักลงทุน และตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยรวมมีความน่าสนใจมากขึ้น การกลับเข้ามาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในเดือน มิ.ย. 2547 หลังจากมียอดขายสุทธิต่อเนื่องตั้งแต่ปลายไตรมาสสามของปี 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่พื้นฐานดี เป็นตัวชี้นำอย่างหนึ่งว่าตลาดในช่วงครึ่งหลังของปีน่าจะขยายตัวได้ดีกว่าในช่วงครึ่งแรก แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในเรื่องราคาน้ำมันที่จะกระทบต้นทุนของผู้ประกอบการ สำหรับปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะยังไม่มีผลต่อต้นทุน แต่อาจมีผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศมากขึ้น
ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวนสูง
มูลค่าซื้อขายรวมในครึ่งปีแรกเท่ากับ 1,463.2 พันล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,193 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2546 โดยในไตรมาสแรกตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 10,553 ล้านบาท ในปี 2546 มาเป็น 12,818 ล้านบาท เนื่องจากนักลงทุนย้ายการลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ที่ซบเซาลงมาที่ตลาดตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) จึงลดลงตลอดไตรมาส และดัชนีผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (Total Return Index) เพิ่มขึ้นเป็น 149.12 จุด เทียบกับ 143.22 จุด เมื่อสิ้นไตรมาสสี่ของปี 2546 ภาวะตลาดตราสารหนี้กลับปรับตัวลงในไตรมาสสอง มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือเพียง 11,524 ล้านบาทต่อวัน อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Yield) ปรับเพิ่มสูงขึ้นจากสิ้นไตรมาสหนึ่งมาก ตาม US Treasury Yield ที่ปรับตัวขึ้น จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ต้นไตรมาส ทำให้เริ่มมีการทยอยเทขายตราสารหนี้เพื่อลดผลขาดทุน โดยเฉพาะตราสารหนี้อายุ 5 และ 10 ปี เมื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ณ สิ้นไตรมาสสองของปี 2547 กับสิ้นปี 2546 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1-3 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 28-45 basis point อายุ 5-7 ปี เพิ่มขึ้น 54-74 basis point อายุ 10-12 ปี เพิ่มขึ้น 12-23 basis point แต่สำหรับพันธบัตร อายุ 14 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนลดลง 6-8 basis point ดัชนีผลตอบแทนจากการลงทุนในไตรมาสนี้ลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 144.1 จุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2547 ซึ่งอยู่ในระดับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ จึงไม่มีผลต่อตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากมีการปรับตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว ขณะเดียวกันเป็นการสร้างความชัดเจนให้กับตลาดมากขึ้น นักลงทุนสามารถวางแผนการลงทุนได้ดีขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-