- อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน จากการทยอยไหลกลับของสภาพคล่องหลังจากช่วงสิ้นเดือนและวันหยุดยาว การปิดสำรองรายปักษ์ของธนาคารพาณิชย์ และการนำสภาพคล่องส่วนเกินกลับมาลงทุนในตลาด
- ภาวะตราสารหนี้ทั้งในตลาดแรกและตลาดรองค่อนข้างเงียบ อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ US Treasury Yield ลดลงต่อเนื่องตลอดสัปดาห์
- เงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยกดดันด้านราคาน้ำมันและการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขภาคการผลิตที่ออกมาดี และตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ในการประชุมวันที่ 10 ส.ค.
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากการทยอยไหลกลับของสภาพคล่องหลังผ่านพ้นช่วงสิ้นเดือนและวันหยุดต่อเนื่อง ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนระยะสั้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.0625 ต่อปีในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 1.03125 ต่อปี ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน จากการเตรียมปิดสำรองรายปักษ์ในวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ได้นำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้กลับมาลงทุนในตลาดเงินอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.03125 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันเคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ และปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ทั้งนี้ ธปท. ได้ยกเลิกการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วันในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ และเริ่มมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน โดยอัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดที่ร้อยละ 1.25 ต่อปีในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 1.03 - 1.11 และอัตรากลาง (Mode) มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 1.05 - 1.08 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐเพียง 2 รุ่น มูลค่ารวม 8,500 ล้านบาท เนื่องจากวันจันทร์เป็นวันหยุดธนาคาร ซึ่งมีการประมูลตั๋วเงินคลังไปล่วงหน้าในสัปดาห์ก่อน สำหรับสัปดาห์นี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 364 วัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วมาก มีมูลค่าซื้อขายรวม 30,486 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 7,622 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 52 ทั้งนี้ อาจเป็นนักลงทุนเพราะรอดูผลการประชุม FOMC ในวันที่ 10 ส.ค. นี้ ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 17,245 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 57 อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวในช่วงแคบๆ ส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 และ 5 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และพันธบัตรฯ อายุ 2 และ 10 ปี อัตราผลตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับ US Treasury Yield ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นสัปดาห์ทุกช่วงอายุ ดัชนีราคา (Clean Price Index) ของพันธบัตรรัฐบาลลดลง 2 basis point ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 4 basis point
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2546 41.48
เฉลี่ยเดือน ก.ค. 47 40.88
เฉลี่ย 26 - 30 ก.ค. 47 41.26
3 ส.ค. 47 41.28
4 ส.ค. 47 41.35
5 ส.ค. 47 41.41
6 ส.ค. 47 41.42
เฉลี่ย 3 - 6 ส.ค. 47 41.37
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนตามค่าเงินเยน เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการประกาศเพิ่มระดับมาตรการเตือนภัยก่อการร้าย ประกอบกับตัวเลข GDP ในไตรมาสสองของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์ จากปัจจัยกดดันภายในประเทศ ได้แก่ การปรับตัวสูงขึ้นของระดับราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ปรับลดลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์และปิดตลาดในระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนในวันศุกร์ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ เงินเยนที่ยังมีทิศทางอ่อนค่าลงจากปัจจัยกดดันด้านราคาน้ำมันซึ่งส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวปรับตัวลดลงมากเช่นกัน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขด้านการผลิตในเดือนกรกฎาคมที่ออกมาดี ประกอบกับนักลงทุนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันอังคารที่ 10 ส.ค. แม้ว่าการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมในวันศุกร์ที่ 6 ส.ค. จะออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มาก ซึ่งจะส่งผลต่อการคาดการณ์ของนักลงทุนและการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในระยะต่อไปในขณะเดียวกันธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับที่ร้อยละ 2.0 เนื่องจากมีความเหมาะสมกับกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอของเขตเศรษฐกิจยุโรปและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ส่วนธนาคารกลางอังกฤษตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.75 เพื่อชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภคและราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- ภาวะตราสารหนี้ทั้งในตลาดแรกและตลาดรองค่อนข้างเงียบ อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ US Treasury Yield ลดลงต่อเนื่องตลอดสัปดาห์
- เงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยกดดันด้านราคาน้ำมันและการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขภาคการผลิตที่ออกมาดี และตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ในการประชุมวันที่ 10 ส.ค.
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากการทยอยไหลกลับของสภาพคล่องหลังผ่านพ้นช่วงสิ้นเดือนและวันหยุดต่อเนื่อง ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนระยะสั้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.0625 ต่อปีในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 1.03125 ต่อปี ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน จากการเตรียมปิดสำรองรายปักษ์ในวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ได้นำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้กลับมาลงทุนในตลาดเงินอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.03125 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันเคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ และปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ทั้งนี้ ธปท. ได้ยกเลิกการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วันในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ และเริ่มมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน โดยอัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดที่ร้อยละ 1.25 ต่อปีในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 1.03 - 1.11 และอัตรากลาง (Mode) มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 1.05 - 1.08 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐเพียง 2 รุ่น มูลค่ารวม 8,500 ล้านบาท เนื่องจากวันจันทร์เป็นวันหยุดธนาคาร ซึ่งมีการประมูลตั๋วเงินคลังไปล่วงหน้าในสัปดาห์ก่อน สำหรับสัปดาห์นี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 364 วัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 9 ปี วงเงิน 2,500 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วมาก มีมูลค่าซื้อขายรวม 30,486 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 7,622 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 52 ทั้งนี้ อาจเป็นนักลงทุนเพราะรอดูผลการประชุม FOMC ในวันที่ 10 ส.ค. นี้ ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 17,245 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 57 อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวในช่วงแคบๆ ส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 1 และ 5 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และพันธบัตรฯ อายุ 2 และ 10 ปี อัตราผลตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับ US Treasury Yield ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นสัปดาห์ทุกช่วงอายุ ดัชนีราคา (Clean Price Index) ของพันธบัตรรัฐบาลลดลง 2 basis point ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 4 basis point
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2546 41.48
เฉลี่ยเดือน ก.ค. 47 40.88
เฉลี่ย 26 - 30 ก.ค. 47 41.26
3 ส.ค. 47 41.28
4 ส.ค. 47 41.35
5 ส.ค. 47 41.41
6 ส.ค. 47 41.42
เฉลี่ย 3 - 6 ส.ค. 47 41.37
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนตามค่าเงินเยน เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการประกาศเพิ่มระดับมาตรการเตือนภัยก่อการร้าย ประกอบกับตัวเลข GDP ในไตรมาสสองของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์ จากปัจจัยกดดันภายในประเทศ ได้แก่ การปรับตัวสูงขึ้นของระดับราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ปรับลดลงเป็นลำดับตลอดสัปดาห์และปิดตลาดในระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนในวันศุกร์ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ เงินเยนที่ยังมีทิศทางอ่อนค่าลงจากปัจจัยกดดันด้านราคาน้ำมันซึ่งส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวปรับตัวลดลงมากเช่นกัน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขด้านการผลิตในเดือนกรกฎาคมที่ออกมาดี ประกอบกับนักลงทุนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันอังคารที่ 10 ส.ค. แม้ว่าการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมในวันศุกร์ที่ 6 ส.ค. จะออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มาก ซึ่งจะส่งผลต่อการคาดการณ์ของนักลงทุนและการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในระยะต่อไปในขณะเดียวกันธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับที่ร้อยละ 2.0 เนื่องจากมีความเหมาะสมกับกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแอของเขตเศรษฐกิจยุโรปและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ส่วนธนาคารกลางอังกฤษตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.75 เพื่อชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภคและราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มสูงขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-