แท็ก
ทรัพยากรธรรมชาติ
6 ผลการบูรณาการแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อให้เกิดความสมดุลและ
การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม
ผลการประชุมกลุ่มย่อยชี้ให้เห็นว่า ทุกกลุ่มในที่ประชุมมีวิธีการคิด วิธีทำงาน และเป้าหมายที่สอดคล้องกัน พร้อมทั้งนำเสนอแนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่จะเชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของพหุภาคีในทุกระดับอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมให้สังเคราะห์ภาพรวมผลของการประชุม ก็ได้สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องและควรได้รับการพิจารณาในการดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มเติมไว้อีก 7 เรื่อง คือ
6.1 การพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งทั้งนี้หมายถึง การดูแลตัวเองได้
6.2 ทุนทางสังคม ซึ่งได้แก่ การสามารถใช้และสร้างทุนทางสังคมในการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องระดมสถาบันทางสังคมที่มีอยู่ให้สามารถร่วมงานกันได้ โดยอาศัยทุนทางสังคม เช่น ความเชื่อมั่น ความเชื่อใจ ความเอื้ออาทร การไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่เบียดเบียน การมีค่านิยมเชิงอนุรักษ์ รวมทั้งสถาบันครอบครัวและสถาบันสงฆ์ เป็นต้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้
6.3 ต้องเชื่อมบทบาทระหว่างภาครัฐและชุมชนให้ได้ ซึ่งบทบาทสำคัญของภาครัฐ มีอยู่ 6 ด้านคือ
(1) กฎหมาย ต้องใช้กลไกรัฐในการออกกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรและการใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง
(2) ระบบราชการ ต้องปรับให้เสริมและเกิดการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนจากชุมชน ไม่ใช่จากการสั่งการ
(3) งบประมาณ ใช้กลไกและมาตรการทางการคลังและงบประมาณ เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนรู้จักใช้และเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น เช่น การยกเว้นภาษีของกรมสรรพสามิต ในการผลิตไวน์หรือเหล้าจากชุมชน เป็นต้น
(4) มหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของรัฐ ต้องใช้มหาวิทยาลัยช่วยสร้างปัญญาและการเรียนรู้แก่ชุมชนและประชาชนในท้องถิ่น
(5) กลไกและนโยบายอื่นๆ ของรัฐ หรือข้อห้ามต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน ต้องได้รับการปรับแก้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาได้
(6) กติกาสังคมอื่นๆ ประเทศไทยต้องเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจหรือกติกาที่ต้องรับมาดำเนินการ ดังนั้น รัฐจะต้องบริหารจัดการมิให้ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมหรือการใช้ทรัพยากรของชุมชน อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
6.4 จิตสำนึกใหม่ เน้นความสามารถของสังคม มองเป้าหมายใหม่ คิดแนวใหม่ ไม่เอาเงินเป็นใหญ่ ซึ่งอาจถูกกระทำ ทำลาย หรือเบี่ยงเบนด้วยระบบเดิม โดยทั้งนี้ให้ใช้กลไกสื่อมวลชน เพื่อสร้างการเรียนรู้และเกิดจิตสำนึกใหม่ขึ้นในสังคม ซึ่งถือเป็นกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงพลวัตร (dynamic) ในระยะยาว
6.5 ต้องให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และปัญญา ทั้งในระดับชุมชน ครอบครัว และปัจเจกชน ต้องมีระบบการจัดการที่ดี มีภูมิคุ้มกันของสังคม ด้วยระบบการเรียนรู้หรือปัญญา ใน 3 ด้าน คือ
(1)การจัดการ ไม่เฉพาะการสร้างกลไกหรือกติกาใหม่ๆเท่านั้น แต่จะต้องมีการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการทางปัญญา และให้ทุกคนทำงานด้วยกันได้ สามารถจัดการให้ทุกฝ่ายในสังคมมีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน ถึงแม้จะมีพื้นฐานที่หลากหลาย แต่ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันได้
(2) ระบบข้อมูล ได้แก่ (1) สำรวจ รวบรวม และจัดระบบข้อมูลภาคีร่วมพัฒนา (mapping partner) ให้ทราบว่า ใครทำอะไรที่ไหน เพื่อจะได้เชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ให้ถึงกัน รวมถึงภาคีร่วมพัฒนาเชิงกลยุทธ์ (Strategic partner) เพื่อให้ทราบว่า จะเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงอะไร อย่างไร และ ณ ที่ใด (2) ใช้ข้อมูล GIS เพื่อให้ทราบถึงพื้นที่ หรือรู้สถานะการพัฒนา เพื่อปรับปรุงเป้าหมายว่า ต้องทำอะไร แก้ไขตรงไหน และ (3) ต้องปรับข้อมูลให้มีความเป็นพลวัตรและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(3) ระบบการตรวจสอบและติดตาม ซึ่งจะทำให้ภาคีร่วมพัฒนาถูกติดตามตรวจสอบจากสังคม อันจะช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้จะทำให้ทราบว่า สิ่งที่ทำอยู่เป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ และจะต้องแก้ไขอะไร
6.6 ตัวชี้วัด จะต้องมีตัวชี้วัด เพื่อให้สามารถสะท้อนผลการพัฒนาอย่างยั่งยืน ใน 6 ด้าน คือ
(1) สามารถตรวจวัดความเข้มแข็งของชุมชน
(2) สามารถตรวจวัดความเป็นธรรม
(3) สามารถตรวจวัดจิตสำนึกใหม่
(4) สามารถวัดเศรษฐกิจชุมชน
(5) สามารถวัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
(6) สามารถวัดการมีภูมิคุ้มกัน
6.7 การปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนครอบคลุมทุกมิติและพื้นที่ ควรให้ สศช. เป็นกลไกหลัก ที่จะขับเคลื่อน โดยการสร้างและร่วมดำเนินการในลักษณะพหุภาคี ทั้งนี้อาจจะมองในมุมของพื้นที่ หรือโครงการขนาดใหญ่หรือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำ ภาคีร่วมพัฒนาในระดับพื้นที่จะขยายการปฏิบัติออกไป ตัวกลไกการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา (สศช.) จะเชื่อมโยงจากระดับพื้นที่กับนโยบายระดับชาติ โดยทั้งนี้ฝ่ายเลขานุการที่มีอยู่ตามยุทธศาสตร์หลักของแผนฯ 9 ใน 4 ด้าน ต้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม
ผลการประชุมกลุ่มย่อยชี้ให้เห็นว่า ทุกกลุ่มในที่ประชุมมีวิธีการคิด วิธีทำงาน และเป้าหมายที่สอดคล้องกัน พร้อมทั้งนำเสนอแนวคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่จะเชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของพหุภาคีในทุกระดับอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมให้สังเคราะห์ภาพรวมผลของการประชุม ก็ได้สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องและควรได้รับการพิจารณาในการดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มเติมไว้อีก 7 เรื่อง คือ
6.1 การพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งทั้งนี้หมายถึง การดูแลตัวเองได้
6.2 ทุนทางสังคม ซึ่งได้แก่ การสามารถใช้และสร้างทุนทางสังคมในการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องระดมสถาบันทางสังคมที่มีอยู่ให้สามารถร่วมงานกันได้ โดยอาศัยทุนทางสังคม เช่น ความเชื่อมั่น ความเชื่อใจ ความเอื้ออาทร การไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่เบียดเบียน การมีค่านิยมเชิงอนุรักษ์ รวมทั้งสถาบันครอบครัวและสถาบันสงฆ์ เป็นต้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้
6.3 ต้องเชื่อมบทบาทระหว่างภาครัฐและชุมชนให้ได้ ซึ่งบทบาทสำคัญของภาครัฐ มีอยู่ 6 ด้านคือ
(1) กฎหมาย ต้องใช้กลไกรัฐในการออกกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรและการใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง
(2) ระบบราชการ ต้องปรับให้เสริมและเกิดการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนจากชุมชน ไม่ใช่จากการสั่งการ
(3) งบประมาณ ใช้กลไกและมาตรการทางการคลังและงบประมาณ เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนรู้จักใช้และเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น เช่น การยกเว้นภาษีของกรมสรรพสามิต ในการผลิตไวน์หรือเหล้าจากชุมชน เป็นต้น
(4) มหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของรัฐ ต้องใช้มหาวิทยาลัยช่วยสร้างปัญญาและการเรียนรู้แก่ชุมชนและประชาชนในท้องถิ่น
(5) กลไกและนโยบายอื่นๆ ของรัฐ หรือข้อห้ามต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน ต้องได้รับการปรับแก้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาได้
(6) กติกาสังคมอื่นๆ ประเทศไทยต้องเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจหรือกติกาที่ต้องรับมาดำเนินการ ดังนั้น รัฐจะต้องบริหารจัดการมิให้ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมหรือการใช้ทรัพยากรของชุมชน อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
6.4 จิตสำนึกใหม่ เน้นความสามารถของสังคม มองเป้าหมายใหม่ คิดแนวใหม่ ไม่เอาเงินเป็นใหญ่ ซึ่งอาจถูกกระทำ ทำลาย หรือเบี่ยงเบนด้วยระบบเดิม โดยทั้งนี้ให้ใช้กลไกสื่อมวลชน เพื่อสร้างการเรียนรู้และเกิดจิตสำนึกใหม่ขึ้นในสังคม ซึ่งถือเป็นกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงพลวัตร (dynamic) ในระยะยาว
6.5 ต้องให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และปัญญา ทั้งในระดับชุมชน ครอบครัว และปัจเจกชน ต้องมีระบบการจัดการที่ดี มีภูมิคุ้มกันของสังคม ด้วยระบบการเรียนรู้หรือปัญญา ใน 3 ด้าน คือ
(1)การจัดการ ไม่เฉพาะการสร้างกลไกหรือกติกาใหม่ๆเท่านั้น แต่จะต้องมีการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการทางปัญญา และให้ทุกคนทำงานด้วยกันได้ สามารถจัดการให้ทุกฝ่ายในสังคมมีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน ถึงแม้จะมีพื้นฐานที่หลากหลาย แต่ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันได้
(2) ระบบข้อมูล ได้แก่ (1) สำรวจ รวบรวม และจัดระบบข้อมูลภาคีร่วมพัฒนา (mapping partner) ให้ทราบว่า ใครทำอะไรที่ไหน เพื่อจะได้เชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ให้ถึงกัน รวมถึงภาคีร่วมพัฒนาเชิงกลยุทธ์ (Strategic partner) เพื่อให้ทราบว่า จะเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงอะไร อย่างไร และ ณ ที่ใด (2) ใช้ข้อมูล GIS เพื่อให้ทราบถึงพื้นที่ หรือรู้สถานะการพัฒนา เพื่อปรับปรุงเป้าหมายว่า ต้องทำอะไร แก้ไขตรงไหน และ (3) ต้องปรับข้อมูลให้มีความเป็นพลวัตรและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
(3) ระบบการตรวจสอบและติดตาม ซึ่งจะทำให้ภาคีร่วมพัฒนาถูกติดตามตรวจสอบจากสังคม อันจะช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้จะทำให้ทราบว่า สิ่งที่ทำอยู่เป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ และจะต้องแก้ไขอะไร
6.6 ตัวชี้วัด จะต้องมีตัวชี้วัด เพื่อให้สามารถสะท้อนผลการพัฒนาอย่างยั่งยืน ใน 6 ด้าน คือ
(1) สามารถตรวจวัดความเข้มแข็งของชุมชน
(2) สามารถตรวจวัดความเป็นธรรม
(3) สามารถตรวจวัดจิตสำนึกใหม่
(4) สามารถวัดเศรษฐกิจชุมชน
(5) สามารถวัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
(6) สามารถวัดการมีภูมิคุ้มกัน
6.7 การปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนครอบคลุมทุกมิติและพื้นที่ ควรให้ สศช. เป็นกลไกหลัก ที่จะขับเคลื่อน โดยการสร้างและร่วมดำเนินการในลักษณะพหุภาคี ทั้งนี้อาจจะมองในมุมของพื้นที่ หรือโครงการขนาดใหญ่หรือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำ ภาคีร่วมพัฒนาในระดับพื้นที่จะขยายการปฏิบัติออกไป ตัวกลไกการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา (สศช.) จะเชื่อมโยงจากระดับพื้นที่กับนโยบายระดับชาติ โดยทั้งนี้ฝ่ายเลขานุการที่มีอยู่ตามยุทธศาสตร์หลักของแผนฯ 9 ใน 4 ด้าน ต้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-