- สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างทรงตัว โดยการปรับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ไม่มีผลกระทบต่อตลาดเงินของไทย และคาดว่าการเตรียมชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในสัปดาห์หน้า
- มูลค่าซื้อขายในตลาดรองยังคงซบเซาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ จากปัจจัยกดดันด้านราคาน้ำมัน การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และการอ่อนค่าของเงินเยน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และตัวเลขการขอรับสวัสดิการการว่างงานที่ลดลง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ของการสำรองสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ความต้องการลงทุนระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 14 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน เคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ แต่ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนที่ร้อยละ 1.03125 และ 1.25 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความต้องการกู้ยืมมีมากกว่าความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน ในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.0625 ต่อปี ในขณะที่มีธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อปี ในวันพุธ แต่มีปริมาณการซื้อขายไม่มากนัก ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 1.0 - 1.11 และอัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวลดลงจากร้อยละ 1.05 - 1.08 มาปิดตลาดที่ร้อยละ 1.05 ตลอดสัปดาห์ ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการประชุมที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบมากนักต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน และการเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นช่วงก่อนกำหนดการชำระเงินค่าพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 26 ส.ค. 2547
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 24,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท ซึ่งจะมีการประมูลตั้งแต่เดือน ส.ค.-ต.ค. วงเงินรวมทั้งสิ้น 45,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 363 วัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท แต่เนื่องจาก ธปท. เห็นว่าอัตราผลตอบแทนที่เสนอประมูลพันธบัตร ธปท. สูงกว่าภาวะปกติของตลาด จึงจัดสรรให้แก่ผู้ประมูลเพียง 3,180 ล้านบาท ตราสารที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. ในขณะที่ตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 30,542 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 7,635 ล้านบาทต่อวัน ใกล้เคียงสัปดาห์ก่อน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 19,976 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 65 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมา ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่ปรับลดลง ยกเว้นพันธบัตรอายุต่ำกว่า 2 ปี 7 ปี และมากกว่า 15 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับเพิ่มขึ้นในวันที่ธนาคารกลางสหรัฐปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ก่อนจะปรับลดลงในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างมากทำให้นักลงทุนบางส่วนเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และตลาดหุ้นอาจเกิดความผันผวนขึ้นได้ จึงนำเงินมาลงทุนในตลาดพันธบัตรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม US Treasury Yield ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าสัปดาห์ก่อน ดัชนีราคา (Clean Price Index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 11 basis point ส่วนหุ้นกู้เอกชนดัชนีราคาลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2546 41.48
เฉลี่ยเดือน ก.ค. 47 40.88
เฉลี่ย 3 - 6 ส.ค. 47 41.37
9 ส.ค. 47 41.33
10 ส.ค. 47 41.33
11 ส.ค. 47 41.44
13 ส.ค. 47 41.51
เฉลี่ย 9 - 13 ส.ค. 47 41.40
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.40 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในวันทำการที่เหลือของสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินเยน ที่ถูกกดดันจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันและตัวเลข GDP ในไตรมาสสองของญี่ปุ่นที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการประชุมในวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามความคาดการณ์ของตลาด และตัวเลขการขอรับสวัสดิการการว่างงานที่ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเป็นลำดับและปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 1 ปี ในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ที่ระดับ 41.51 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายในตลาดรองยังคงซบเซาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงตลอดสัปดาห์ จากปัจจัยกดดันด้านราคาน้ำมัน การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และการอ่อนค่าของเงินเยน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate และตัวเลขการขอรับสวัสดิการการว่างงานที่ลดลง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ของการสำรองสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ความต้องการลงทุนระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 14 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน เคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ แต่ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนที่ร้อยละ 1.03125 และ 1.25 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความต้องการกู้ยืมมีมากกว่าความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน ในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.0625 ต่อปี ในขณะที่มีธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อปี ในวันพุธ แต่มีปริมาณการซื้อขายไม่มากนัก ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 1.0 - 1.11 และอัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวลดลงจากร้อยละ 1.05 - 1.08 มาปิดตลาดที่ร้อยละ 1.05 ตลอดสัปดาห์ ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการประชุมที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบมากนักต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน และการเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นช่วงก่อนกำหนดการชำระเงินค่าพันธบัตรดังกล่าวในวันที่ 26 ส.ค. 2547
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 24,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท ซึ่งจะมีการประมูลตั้งแต่เดือน ส.ค.-ต.ค. วงเงินรวมทั้งสิ้น 45,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 363 วัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท แต่เนื่องจาก ธปท. เห็นว่าอัตราผลตอบแทนที่เสนอประมูลพันธบัตร ธปท. สูงกว่าภาวะปกติของตลาด จึงจัดสรรให้แก่ผู้ประมูลเพียง 3,180 ล้านบาท ตราสารที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. ในขณะที่ตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 30,542 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 7,635 ล้านบาทต่อวัน ใกล้เคียงสัปดาห์ก่อน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 19,976 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 65 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมา ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่ปรับลดลง ยกเว้นพันธบัตรอายุต่ำกว่า 2 ปี 7 ปี และมากกว่า 15 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับเพิ่มขึ้นในวันที่ธนาคารกลางสหรัฐปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ก่อนจะปรับลดลงในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างมากทำให้นักลงทุนบางส่วนเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และตลาดหุ้นอาจเกิดความผันผวนขึ้นได้ จึงนำเงินมาลงทุนในตลาดพันธบัตรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม US Treasury Yield ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าสัปดาห์ก่อน ดัชนีราคา (Clean Price Index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 11 basis point ส่วนหุ้นกู้เอกชนดัชนีราคาลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2546 41.48
เฉลี่ยเดือน ก.ค. 47 40.88
เฉลี่ย 3 - 6 ส.ค. 47 41.37
9 ส.ค. 47 41.33
10 ส.ค. 47 41.33
11 ส.ค. 47 41.44
13 ส.ค. 47 41.51
เฉลี่ย 9 - 13 ส.ค. 47 41.40
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.40 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในวันทำการที่เหลือของสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินเยน ที่ถูกกดดันจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันและตัวเลข GDP ในไตรมาสสองของญี่ปุ่นที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการประชุมในวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามความคาดการณ์ของตลาด และตัวเลขการขอรับสวัสดิการการว่างงานที่ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเป็นลำดับและปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 1 ปี ในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ที่ระดับ 41.51 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-