เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2547 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (สพข.) ได้จัดสัมมนานานาชาติเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันเรื่อง “Competitiveness : Challenges and Opportunities for Asian Countries” ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และสื่อมวลชน ทั้งในและต่างประเทศ รวมประมาณ 1,000 คน
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กล่าวเปิดการสัมมนาว่า การที่จะประสบความสำเร็จในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนั้น ประเทศไทยและประเทศในเอเชียจะต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว โดยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ดังนี้
- การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของภาครัฐและเอกชนในประเทศ โดยภาครัฐมีนโยบายการจัดตั้งผู้ว่าและทูตซีอีโอ (CEO) ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้การทำงานภาครัฐมีมิติใหม่ๆ นอกจากนั้นยังมีการลดจำนวนข้าราชการลงร้อยละ 2.5 และปรับทัศนคติและระบบความคิดของข้าราชการให้สอดคล้องกับรูปแบบของการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ทางด้านภาคเอกชนนั้น มีการส่งเสริมความสำคัญของระบบจัดการที่ดี และนโยบายธรรมาภิบาลซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำให้บริษัทซึ่งมีปัจจัยแข็งแกร่งสามารถผ่านพ้นความผันผวนของตลาดทุนในประเทศได้เป็นอย่างดี
- การเสาะหาจุดเด่นในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีหลัก นอกจากอุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์ การท่องเที่ยว แฟชั่น และซอฟต์แวร์แล้ว ประเทศไทยยังต้องการสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมด้านการรักษาสุขภาพ ยาง ผลิตภัณฑ์จากยาง เฟอร์นิเจอร์ และการศึกษาอีกด้วย นอกจากนั้นในแต่ละอุตสาหกรรมยังมีความจำเป็นที่จะต้องหาจุดเด่นเฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีรถกระบะ และยานพาหนะขนส่งขนาดเล็ก เป็นสินค้านำ ทั้งนี้นวัตกรรมใหม่ๆ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถนำพาประเทศไปสู่ฐานะผู้นำทางด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสู่ความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นด้วย
- การสร้างและกระจายโอกาสให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ยังมีทรัพยากรทั้งด้านมนุษย์ ธรรมชาติ สังคม และทุน ที่ยังไม่ได้พัฒนาอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งในและนอกเมือง ซึ่งรัฐบาลจะส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างเช่น การดำเนินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP นั้น เป็นการสร้างโอกาสให้แก่ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านสามารถพัฒนาเป็นกิจการระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือระดับอุตสาหกรรมได้ โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะขจัดความยากจนให้หมดไปภายใน 5-6 ปีข้างหน้า
- การพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ โดยด้านทรัพยากรมนุษย์ มีนโยบายให้สร้างสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นสังคมแห่งความรู้อย่างแท้จริงในที่สุด ส่วนในด้านทรัพยากรธรรมชาตินั้น รัฐบาลจะพยายามกำกับให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างชาญฉลาดและสร้างสรรค์ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการสร้างทางเลือกใหม่ๆ ของพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยได้วางยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไว้ 7 ประการ ซึ่งสามารถแบ่งตามระดับการพัฒนาได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับจุลภาค ระดับมหภาค และระดับสังคม โดยในระดับจุลภาค ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การสร้างฐานรากการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคง และการมีบทบาทที่เข้มแข็งในเวทีระหว่างประเทศ ในระดับมหภาค ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นเลิศของสินค้าในตลาดโลก การชูจุดยืนเป็นประเทศที่สามารถผลิตนวัตกรรม โดยมีพื้นฐานจากการเรียนรู้และภูมิปัญญา และการเป็นสังคมผู้ประกอบการ และในระดับสังคม ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การเป็นสังคมที่เชื่อมั่นและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตน และการเป็นสังคมที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี
“ผลการสัมมนาครั้งนี้คาดว่าจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ ที่มุ่งเน้นการพัฒนายุทธศาสตร์และการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าในหลายๆ ด้าน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนกลยุทธ์การพัฒนาขีดความสามารถเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างให้เกิดความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศต่างๆ นำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย ในฐานะผู้นำวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเอเชียในเวทีการค้าโลกอีกด้วย” เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้าย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กล่าวเปิดการสัมมนาว่า การที่จะประสบความสำเร็จในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนั้น ประเทศไทยและประเทศในเอเชียจะต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว โดยการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ดังนี้
- การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของภาครัฐและเอกชนในประเทศ โดยภาครัฐมีนโยบายการจัดตั้งผู้ว่าและทูตซีอีโอ (CEO) ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้การทำงานภาครัฐมีมิติใหม่ๆ นอกจากนั้นยังมีการลดจำนวนข้าราชการลงร้อยละ 2.5 และปรับทัศนคติและระบบความคิดของข้าราชการให้สอดคล้องกับรูปแบบของการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ทางด้านภาคเอกชนนั้น มีการส่งเสริมความสำคัญของระบบจัดการที่ดี และนโยบายธรรมาภิบาลซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำให้บริษัทซึ่งมีปัจจัยแข็งแกร่งสามารถผ่านพ้นความผันผวนของตลาดทุนในประเทศได้เป็นอย่างดี
- การเสาะหาจุดเด่นในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีหลัก นอกจากอุตสาหกรรมอาหาร ยานยนต์ การท่องเที่ยว แฟชั่น และซอฟต์แวร์แล้ว ประเทศไทยยังต้องการสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมด้านการรักษาสุขภาพ ยาง ผลิตภัณฑ์จากยาง เฟอร์นิเจอร์ และการศึกษาอีกด้วย นอกจากนั้นในแต่ละอุตสาหกรรมยังมีความจำเป็นที่จะต้องหาจุดเด่นเฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีรถกระบะ และยานพาหนะขนส่งขนาดเล็ก เป็นสินค้านำ ทั้งนี้นวัตกรรมใหม่ๆ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถนำพาประเทศไปสู่ฐานะผู้นำทางด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสู่ความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นด้วย
- การสร้างและกระจายโอกาสให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ยังมีทรัพยากรทั้งด้านมนุษย์ ธรรมชาติ สังคม และทุน ที่ยังไม่ได้พัฒนาอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งในและนอกเมือง ซึ่งรัฐบาลจะส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างเช่น การดำเนินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP นั้น เป็นการสร้างโอกาสให้แก่ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านสามารถพัฒนาเป็นกิจการระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือระดับอุตสาหกรรมได้ โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะขจัดความยากจนให้หมดไปภายใน 5-6 ปีข้างหน้า
- การพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ โดยด้านทรัพยากรมนุษย์ มีนโยบายให้สร้างสังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นสังคมแห่งความรู้อย่างแท้จริงในที่สุด ส่วนในด้านทรัพยากรธรรมชาตินั้น รัฐบาลจะพยายามกำกับให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างชาญฉลาดและสร้างสรรค์ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการสร้างทางเลือกใหม่ๆ ของพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยได้วางยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไว้ 7 ประการ ซึ่งสามารถแบ่งตามระดับการพัฒนาได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับจุลภาค ระดับมหภาค และระดับสังคม โดยในระดับจุลภาค ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การสร้างฐานรากการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคง และการมีบทบาทที่เข้มแข็งในเวทีระหว่างประเทศ ในระดับมหภาค ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นเลิศของสินค้าในตลาดโลก การชูจุดยืนเป็นประเทศที่สามารถผลิตนวัตกรรม โดยมีพื้นฐานจากการเรียนรู้และภูมิปัญญา และการเป็นสังคมผู้ประกอบการ และในระดับสังคม ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การเป็นสังคมที่เชื่อมั่นและภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตน และการเป็นสังคมที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี
“ผลการสัมมนาครั้งนี้คาดว่าจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ ที่มุ่งเน้นการพัฒนายุทธศาสตร์และการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจการค้าในหลายๆ ด้าน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนกลยุทธ์การพัฒนาขีดความสามารถเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างให้เกิดความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับประเทศต่างๆ นำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย ในฐานะผู้นำวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเอเชียในเวทีการค้าโลกอีกด้วย” เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้าย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-