เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคตของประเทศไทย” ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กทม. โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคตของประเทศไทย ให้เกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสมภายใต้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เสริมสร้างความร่วมมือที่ดี จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการผลักดันนโยบายสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายอุทิศ ขาวเธียร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. เปิดเผยว่า สศช. ได้จัดทำโครงการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank - ADB) มีระยะดำเนินโครงการระหว่างเดือนกรกฎาคม 2545 — เดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ได้คัดเลือกพื้นที่ศึกษาในเขตขยายของเมืองในจังหวัด ได้แก่ จ. นครราชสีมา จ. พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่หัวหิน-ชะอำ จ.ประจวบคีรีขันธ์-เพชรบุรี เป็นพื้นที่นำร่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีการสัมภาษณ์หน่วยงาน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ และจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นระยะๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของการพัฒนารวมถึงผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชน และประชาชนที่สนใจแสดงข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษาด้วย
ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรในพื้นที่เป็นเมืองในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 42 โดยในปี 2549 จะขยายตัวเป็นร้อยละ 43 และในปี 2563 จะมีการขยายตัวของประชากรในพื้นที่เมืองสูงถึงร้อยละ 50 ของประเทศ โดยบริเวณที่จะมีการขยายตัวประชากรเมืองสูงมากประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) เมืองหลวง และปริมณฑล 2) เมืองอุตสาหกรรม เช่น เมืองปริมณฑลของกรุงเทพฯ อยุธยา ชลบุรี ระยอง และพื้นที่ท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต สมุย หัวหิน ชะอำ เป็นต้น และ 3) เมืองหลักของภูมิภาคและเมืองที่ใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น หนองคาย และอุบลราชธานี เป็นต้น
ดังนั้นจึงควรเร่งทำแผนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในส่วนของ กทม. และปริมณฑล ควรวางโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคม รวมถึงการลงทุนในด้านสาธารณูปโภคในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ซึ่งคาดว่าภายใน 4-5 ปี รัฐต้องใช้เงินลงทุน 1.5 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนดังกล่าว ควรพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน และให้ความสำคัญกับพื้นที่รอบนอกเมืองที่มักจะมีผู้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่มาก รวมทั้งสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการให้บริการทางด้านสิ่งแวดล้อม ขยายการปรับปรุงโครงการที่สร้างเส้นทางและการเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อปรับให้ที่บริเวณรอบๆ นอกเมืองมีมูลค่า ตลอดจนประสานการวางแผนและการให้บริการให้ครอบคลุมพื้นที่เมืองและส่วนขยายเมืองทั้งหมด และลดจำนวนขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตเมือง
ปัจจุบันการดำเนินงานการศึกษามาถึงขั้นสุดท้ายของโครงการ ซึ่งจะได้สังเคราะห์และประมวลผลการศึกษาในพื้นที่นำร่องทั้ง 3 พื้นที่ดังกล่าวข้างต้น พร้อมทั้งจัดทำเป็นทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคตของประเทศ และนำเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการพัฒนากระบวนการวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ และช่วยพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ส่วนขยายของเมือง และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายอุทิศ ขาวเธียร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. เปิดเผยว่า สศช. ได้จัดทำโครงการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank - ADB) มีระยะดำเนินโครงการระหว่างเดือนกรกฎาคม 2545 — เดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ได้คัดเลือกพื้นที่ศึกษาในเขตขยายของเมืองในจังหวัด ได้แก่ จ. นครราชสีมา จ. พระนครศรีอยุธยา และพื้นที่หัวหิน-ชะอำ จ.ประจวบคีรีขันธ์-เพชรบุรี เป็นพื้นที่นำร่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีการสัมภาษณ์หน่วยงาน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ และจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นระยะๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของการพัฒนารวมถึงผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชน และประชาชนที่สนใจแสดงข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษาด้วย
ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรในพื้นที่เป็นเมืองในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 42 โดยในปี 2549 จะขยายตัวเป็นร้อยละ 43 และในปี 2563 จะมีการขยายตัวของประชากรในพื้นที่เมืองสูงถึงร้อยละ 50 ของประเทศ โดยบริเวณที่จะมีการขยายตัวประชากรเมืองสูงมากประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) เมืองหลวง และปริมณฑล 2) เมืองอุตสาหกรรม เช่น เมืองปริมณฑลของกรุงเทพฯ อยุธยา ชลบุรี ระยอง และพื้นที่ท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต สมุย หัวหิน ชะอำ เป็นต้น และ 3) เมืองหลักของภูมิภาคและเมืองที่ใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น หนองคาย และอุบลราชธานี เป็นต้น
ดังนั้นจึงควรเร่งทำแผนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในส่วนของ กทม. และปริมณฑล ควรวางโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคม รวมถึงการลงทุนในด้านสาธารณูปโภคในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ซึ่งคาดว่าภายใน 4-5 ปี รัฐต้องใช้เงินลงทุน 1.5 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ ในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนดังกล่าว ควรพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน และให้ความสำคัญกับพื้นที่รอบนอกเมืองที่มักจะมีผู้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่มาก รวมทั้งสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการให้บริการทางด้านสิ่งแวดล้อม ขยายการปรับปรุงโครงการที่สร้างเส้นทางและการเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อปรับให้ที่บริเวณรอบๆ นอกเมืองมีมูลค่า ตลอดจนประสานการวางแผนและการให้บริการให้ครอบคลุมพื้นที่เมืองและส่วนขยายเมืองทั้งหมด และลดจำนวนขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตเมือง
ปัจจุบันการดำเนินงานการศึกษามาถึงขั้นสุดท้ายของโครงการ ซึ่งจะได้สังเคราะห์และประมวลผลการศึกษาในพื้นที่นำร่องทั้ง 3 พื้นที่ดังกล่าวข้างต้น พร้อมทั้งจัดทำเป็นทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคตของประเทศ และนำเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการพัฒนากระบวนการวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ และช่วยพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ส่วนขยายของเมือง และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-