การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในระยะที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นผลมาจากการขยายตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจในระบบแล้ว กิจกรรมเศรษฐกิจนอกระบบก็นับว่ามีส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะเศรษฐกิจนอกระบบในส่วนที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (Informal Sector) ซึ่งในปี 2545 มีมูลค่าถึง 2.38 ล้านล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 43.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ อีกทั้งยังครอบคลุมแรงงานถึงกว่า 20 ล้านคน หรือร้อยละ 71.9 ของผู้มีงานทำทั้งประเทศ ดังนั้น การบริหารจัดการกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการให้มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ผลกระทบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ ส่งผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิตของประเทศ การเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการป้อนแรงงาน วัตถุดิบ และสินค้าขั้นกลางให้แก่ระบบเศรษฐกิจ การเป็นแหล่งผลิตผู้ประกอบการรายใหม่ ตลอดจนการเป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจนอกระบบนี้ได้ส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและสังคมด้วยเช่นกัน อาทิ ก่อให้เกิดการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้มีอิทธิพลกับผู้ประกอบอาชีพธุรกิจนอกระบบผู้บริโภคมีความเสี่ยงในการบริโภคสินค้าและบริการที่ขาดมาตรฐานและความปลอดภัย รวมทั้งแรงงานในกิจกรรมนอกระบบถูกเอาเปรียบจากนายจ้างและไม่มีความมั่นคงในอาชีพเป็นต้น
ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบให้เป็นฐานสนับสนุนเศรษฐกิจไทย
ด้วยความสำคัญและผลกระทบของเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการดังกล่าว ทำให้รัฐจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบให้เป็นฐานสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของภาครัฐและผู้ประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการ ดังกล่าวในตาราง ทำให้สามารถกำหนดแนวทางของยุทธศาสตร์ได้ดังนี้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของภาครัฐและผู้ประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการ
จุดแข็ง
1.รัฐบาลสามารถจัดการธุรกิจนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในความควบคุมดูแลของภาครัฐและสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้
2.การประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการส่วนใหญ่มีการผลิตสินค้าและบริการในราคาที่ต่ำกว่าราคาปกติทั่วไป
3.ธุรกิจชุมชนในเมืองมีลักษณะเด่นที่เป็นการผลิตหรือบริการสำหรับผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อต่ำ ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือการขนส่งสาธารณะในระบบได้ เป็นต้น
4.ธุรกิจชุมชน โดยเฉพาะธุรกิจประเภทที่มีการพัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจนมีคุณภาพมาตรฐาน และมีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวจนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
5.อาชีพบริการด้านขนส่ง เช่น รถตู้/รถจักรยานยนต์รับจ้างโดยทั่วไป สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมในช่วงกลางคืนหรือในพื้นที่อันตรายให้แก่ผู้โดยสารได้
6.การประกอบอาชีพการรับงานมาทำที่บ้านจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัวให้มีความอบอุ่นมากขึ้น
จุดอ่อน
1.การจัดการกิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการยังมีลักษณะการจัดการเฉพาะเรื่อง ขาดการเชื่อมโยงหรือจัดการอย่างเป็นองค์รวม
2.ภาครัฐยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการ
3.ผู้ประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการส่วนใหญ่มีเงินออมต่ำ และขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ
4.ผู้ประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการส่วนใหญ่ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาอาชีพ/ธุรกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
5.ผู้ประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการส่วนใหญ่ยังขาดองค์กรหรือการรวมกลุ่มเพื่อการช่วยเหลือ สนับสนุนซึ่งกันและกัน
6.ผู้ประกอบอาชีพบางประเภทยังขาดจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อการให้บริการ
โอกาส
1.การเติบโตทางเศรษฐกิจเอื้ออำนวยให้ภาครัฐสามารถดำเนินการจัดการเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.รัฐธรรมนูญปัจจุบันส่งเสริมสนับสนุนในการสร้างโอากาสให้กับผู้ประกอบอาชีพธุรกิจแรงงานที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการให้ได้รับความเป็นธรรมและผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการของภาครัฐ
3.เทคโนโลยีสื่อสารช่วยสร้างโอกาสด้านการตลาดการเรียนรู้ให้ทั้งกับผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่
4.ตลาดมีความต้องการสินค้านอกระบบที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวและทันสมัยสูง
5.ภาคเอกชนสมัยใหม่มีแนวโน้มสนับสนุนการส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจธุรกิจชุมชนมากขึ้น
6.การดำเนินธุรกิจสมัยใหม่มีแนวโน้มการจ้างผลิตนอกโรงงาน / ร้านค้าเพื่อการลดต้นทุน
ข้อจำกัด
1.ภาครัฐไม่สามารถให้การสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมนอกระบบที่มีความหลากหลายได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
2.ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจกรรมนอกระบบที่ไม่เป็นทางการมีจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยหรือคัดค้รการเข้าสู่ระบบ
3.กลุ่มธุรกิจชุมชนผู้ให้บริการขนส่ง/รถจักรยานยนต์/รถตู้โดยสาร และผู้รับงานมาทำที่บ้านยังไม่มีกฎหมายรองรับการประกอบอาชีพ
แนวทางการดำเนินงาน
1. สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยด้วยการดำเนินการให้เข้าสู่ระบบเพื่อได้รับการคุ้มครอง ดูแล และส่งเสริมจากภาครัฐโดย 1.จัดทำทำเนียบหรือทะเบียนผู้ประกอบอาชีพและธุรกิจรายย่อย ประกอบด้วย หาบเร่ แผงลอย รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถตู้โดยสาร และธุรกิจชุมชน 2.จัดให้มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจแต่ละประเภท 3.พิจารณากำหนดมาตรการส่งเสริมและจูงใจในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เข้าสู่ระบบ และ 4.สร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการเศรษฐกิจนอกระบบเพื่อชี้ให้เห็นประโยชน์ของการเข้าสู่ระบบ
2. เพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยที่เข้าสู่ระาบบแล้ว ในการพัฒนาการประกอบอาชีพและธุรกิจ โดย 1.จัดให้มีการฝึกอบรมที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ เช่น ด้านการให้บริการแก่ผู้ประกอบอาชีพในกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้าง และรถตู้โดยสาร และด้านการผลิตและการให้บริการที่ถูกสุขลักษณะกับกลุ่มหาบเร่ แผงลอย 2.จัดหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพให้แก่ผู้รับงานมาทำที่บ้าน 3.สนับสนุนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ให้จัดการศึกษานอกระบบแก่ผู้ประกอบอาชีพและแรงงาน และ 4.ส่งเสริมความร่วมมือขององค์กรธุรกิจภาคเอกชนที่มีศักยภาพให้เข้ามามีบทบาทในการสร้างความเป็นธรรมด้านค่าตอบแทน และป้องกันงานที่เป็นอันตรายแก่กลุ่มผู้รับงานมาทำที่บ้าน รวมทั้งจ้างเหมาการผลิต หาตลาด และจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มธุรกิจชุมชน
3. สนับสนุนด้านการเงินให้แก่ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย เพื่อให้เข้าถึงบริการการเงินได้มากขึ้น โดย 1.ปรับปรุงและขยายการบริการด้านการเงินของภาครัฐที่ผู้มีอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบจะได้รับประโยชน์ผ่านกองทุนและโครงการสินเชื่อต่างๆ ให้มากขึ้น 2.สนับสนุนองค์กรการเงินนอกระบบของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งส่งเสริมการรวมตัวเป็นเครือข่าย 3.ให้การส่งเสริมด้านการลงทุนสำหรับการเงินที่จัดตั้งขึ้นใหม่หรือขยายบริการเพื่อให้บริการระดับฐานราก และ 4.ส่งเสริมการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนให้เกิดผลและเป็นที่ยอมรับของสถาบันการเงิน
4. ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนหรือเศรษฐกิจของชาวบ้าน ให้มีความเข้มแข็งและพัฒนาไปสู่เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนสามารถเป็นฐาน และเชื่อมต่อกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมุ่งเน้นให้มีบทบาทในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจโดยรวม ดังนี้ 1.สนับสนุนการทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง 2.การเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของกลุ่ม/ชุมชน โดยเน้นการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะอย่างเป็นขั้นตอน ตามระดับความรู้ ความสามารถของแต่ละกลุ่ม 3.ส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นและความต้องการของตลาด โดยพัฒนาการใช้ภูมิปัญญา ฝีมือแรงงาน วัตถุดิบเฉพาะท้องถิ่น 4.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน รวมทั้งสร้างมาตรฐานให้เป็นที่เชื่อถือสอดคล้องกับความต้องการของตลาด 5.ส่งเสริมการสร้างกลไกการประสานงานความร่วมมือระหว่างภาคี ส่งเสริมช่องทางการจำหน่าย การตลาด การบริหารจัดการ และการจัดทำระบบข้อมูลข่าวสาร และ 6.เร่งรัดการออก พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเพื่อทำให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องถูกต้องตามกฎหมายและมีหน่วยงานสนับสนุนส่งเสริมอย่างเป็นระบบ
การกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบดังกล่าวนับเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้รัฐสามารถลดผลกระทบในทางลบ ส่งเสริมผลกระทบในทางบวก และบริหารจัดการกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้กิจกรรมเหล่านี้กลายเป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-ดพ/พห-
ผลกระทบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ ส่งผลกระทบทางบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิตของประเทศ การเป็นแหล่งจ้างงานที่สำคัญ อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการป้อนแรงงาน วัตถุดิบ และสินค้าขั้นกลางให้แก่ระบบเศรษฐกิจ การเป็นแหล่งผลิตผู้ประกอบการรายใหม่ ตลอดจนการเป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกเพื่อตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจนอกระบบนี้ได้ส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและสังคมด้วยเช่นกัน อาทิ ก่อให้เกิดการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้มีอิทธิพลกับผู้ประกอบอาชีพธุรกิจนอกระบบผู้บริโภคมีความเสี่ยงในการบริโภคสินค้าและบริการที่ขาดมาตรฐานและความปลอดภัย รวมทั้งแรงงานในกิจกรรมนอกระบบถูกเอาเปรียบจากนายจ้างและไม่มีความมั่นคงในอาชีพเป็นต้น
ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบให้เป็นฐานสนับสนุนเศรษฐกิจไทย
ด้วยความสำคัญและผลกระทบของเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการดังกล่าว ทำให้รัฐจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบให้เป็นฐานสนับสนุนเศรษฐกิจไทย ซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของภาครัฐและผู้ประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการ ดังกล่าวในตาราง ทำให้สามารถกำหนดแนวทางของยุทธศาสตร์ได้ดังนี้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของภาครัฐและผู้ประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการ
จุดแข็ง
1.รัฐบาลสามารถจัดการธุรกิจนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในความควบคุมดูแลของภาครัฐและสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้
2.การประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการส่วนใหญ่มีการผลิตสินค้าและบริการในราคาที่ต่ำกว่าราคาปกติทั่วไป
3.ธุรกิจชุมชนในเมืองมีลักษณะเด่นที่เป็นการผลิตหรือบริการสำหรับผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อต่ำ ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือการขนส่งสาธารณะในระบบได้ เป็นต้น
4.ธุรกิจชุมชน โดยเฉพาะธุรกิจประเภทที่มีการพัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจนมีคุณภาพมาตรฐาน และมีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวจนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
5.อาชีพบริการด้านขนส่ง เช่น รถตู้/รถจักรยานยนต์รับจ้างโดยทั่วไป สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมในช่วงกลางคืนหรือในพื้นที่อันตรายให้แก่ผู้โดยสารได้
6.การประกอบอาชีพการรับงานมาทำที่บ้านจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัวให้มีความอบอุ่นมากขึ้น
จุดอ่อน
1.การจัดการกิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการยังมีลักษณะการจัดการเฉพาะเรื่อง ขาดการเชื่อมโยงหรือจัดการอย่างเป็นองค์รวม
2.ภาครัฐยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการ
3.ผู้ประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการส่วนใหญ่มีเงินออมต่ำ และขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ
4.ผู้ประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการส่วนใหญ่ขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาอาชีพ/ธุรกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
5.ผู้ประกอบอาชีพ/ธุรกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการส่วนใหญ่ยังขาดองค์กรหรือการรวมกลุ่มเพื่อการช่วยเหลือ สนับสนุนซึ่งกันและกัน
6.ผู้ประกอบอาชีพบางประเภทยังขาดจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อการให้บริการ
โอกาส
1.การเติบโตทางเศรษฐกิจเอื้ออำนวยให้ภาครัฐสามารถดำเนินการจัดการเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.รัฐธรรมนูญปัจจุบันส่งเสริมสนับสนุนในการสร้างโอากาสให้กับผู้ประกอบอาชีพธุรกิจแรงงานที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการให้ได้รับความเป็นธรรมและผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการของภาครัฐ
3.เทคโนโลยีสื่อสารช่วยสร้างโอกาสด้านการตลาดการเรียนรู้ให้ทั้งกับผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่
4.ตลาดมีความต้องการสินค้านอกระบบที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวและทันสมัยสูง
5.ภาคเอกชนสมัยใหม่มีแนวโน้มสนับสนุนการส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจธุรกิจชุมชนมากขึ้น
6.การดำเนินธุรกิจสมัยใหม่มีแนวโน้มการจ้างผลิตนอกโรงงาน / ร้านค้าเพื่อการลดต้นทุน
ข้อจำกัด
1.ภาครัฐไม่สามารถให้การสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมนอกระบบที่มีความหลากหลายได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
2.ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจกรรมนอกระบบที่ไม่เป็นทางการมีจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยหรือคัดค้รการเข้าสู่ระบบ
3.กลุ่มธุรกิจชุมชนผู้ให้บริการขนส่ง/รถจักรยานยนต์/รถตู้โดยสาร และผู้รับงานมาทำที่บ้านยังไม่มีกฎหมายรองรับการประกอบอาชีพ
แนวทางการดำเนินงาน
1. สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยด้วยการดำเนินการให้เข้าสู่ระบบเพื่อได้รับการคุ้มครอง ดูแล และส่งเสริมจากภาครัฐโดย 1.จัดทำทำเนียบหรือทะเบียนผู้ประกอบอาชีพและธุรกิจรายย่อย ประกอบด้วย หาบเร่ แผงลอย รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถตู้โดยสาร และธุรกิจชุมชน 2.จัดให้มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจแต่ละประเภท 3.พิจารณากำหนดมาตรการส่งเสริมและจูงใจในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เข้าสู่ระบบ และ 4.สร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการเศรษฐกิจนอกระบบเพื่อชี้ให้เห็นประโยชน์ของการเข้าสู่ระบบ
2. เพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยที่เข้าสู่ระาบบแล้ว ในการพัฒนาการประกอบอาชีพและธุรกิจ โดย 1.จัดให้มีการฝึกอบรมที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ เช่น ด้านการให้บริการแก่ผู้ประกอบอาชีพในกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้าง และรถตู้โดยสาร และด้านการผลิตและการให้บริการที่ถูกสุขลักษณะกับกลุ่มหาบเร่ แผงลอย 2.จัดหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพให้แก่ผู้รับงานมาทำที่บ้าน 3.สนับสนุนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน ให้จัดการศึกษานอกระบบแก่ผู้ประกอบอาชีพและแรงงาน และ 4.ส่งเสริมความร่วมมือขององค์กรธุรกิจภาคเอกชนที่มีศักยภาพให้เข้ามามีบทบาทในการสร้างความเป็นธรรมด้านค่าตอบแทน และป้องกันงานที่เป็นอันตรายแก่กลุ่มผู้รับงานมาทำที่บ้าน รวมทั้งจ้างเหมาการผลิต หาตลาด และจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มธุรกิจชุมชน
3. สนับสนุนด้านการเงินให้แก่ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย เพื่อให้เข้าถึงบริการการเงินได้มากขึ้น โดย 1.ปรับปรุงและขยายการบริการด้านการเงินของภาครัฐที่ผู้มีอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบจะได้รับประโยชน์ผ่านกองทุนและโครงการสินเชื่อต่างๆ ให้มากขึ้น 2.สนับสนุนองค์กรการเงินนอกระบบของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งส่งเสริมการรวมตัวเป็นเครือข่าย 3.ให้การส่งเสริมด้านการลงทุนสำหรับการเงินที่จัดตั้งขึ้นใหม่หรือขยายบริการเพื่อให้บริการระดับฐานราก และ 4.ส่งเสริมการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนให้เกิดผลและเป็นที่ยอมรับของสถาบันการเงิน
4. ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนหรือเศรษฐกิจของชาวบ้าน ให้มีความเข้มแข็งและพัฒนาไปสู่เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนสามารถเป็นฐาน และเชื่อมต่อกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมุ่งเน้นให้มีบทบาทในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจโดยรวม ดังนี้ 1.สนับสนุนการทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง 2.การเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของกลุ่ม/ชุมชน โดยเน้นการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะอย่างเป็นขั้นตอน ตามระดับความรู้ ความสามารถของแต่ละกลุ่ม 3.ส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นและความต้องการของตลาด โดยพัฒนาการใช้ภูมิปัญญา ฝีมือแรงงาน วัตถุดิบเฉพาะท้องถิ่น 4.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน รวมทั้งสร้างมาตรฐานให้เป็นที่เชื่อถือสอดคล้องกับความต้องการของตลาด 5.ส่งเสริมการสร้างกลไกการประสานงานความร่วมมือระหว่างภาคี ส่งเสริมช่องทางการจำหน่าย การตลาด การบริหารจัดการ และการจัดทำระบบข้อมูลข่าวสาร และ 6.เร่งรัดการออก พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเพื่อทำให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องถูกต้องตามกฎหมายและมีหน่วยงานสนับสนุนส่งเสริมอย่างเป็นระบบ
การกำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบดังกล่าวนับเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้รัฐสามารถลดผลกระทบในทางลบ ส่งเสริมผลกระทบในทางบวก และบริหารจัดการกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้กิจกรรมเหล่านี้กลายเป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-ดพ/พห-