คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ได้ประชุมพิจารณางบประมาณของ สศช. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม 2547 เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุม 213-216 ชั้น 2 อาคาร 2 รัฐสภา มีสาระสำคัญของการนำเสนอ การซักถาม และการตอบข้อซักถามดังนี้
1. การนำเสนอ
ลศช. ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ พันธกิจ งบประมาณของ สศช. ปี 2548 ผลการดำเนินงานในปี 2547 และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานต่อคณะกรรมาธิการฯ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และงบประมาณของ สศช.
1.1.1 วิสัยทัศน์ของ สศช. เป็นหน่วยงานยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ได้รับความเชื่อถือ โดยมีพันธกิจที่สำคัญคือ
(1) วางแผนและผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
(2) จัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินตาม พรฎ. ว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยมี สศช. เป็นหลัก
(3) พัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจและสังคม
(4) ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยมีวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน การแก้ไขปัญหาความยากจน ทุนทางสังคม และ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
(5) พัฒนาระบบบริหารจัดการของ สศช. ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งแต่เดิมสนองเฉพาะรัฐบาล ต่อไปจะบริหารจัดการองค์ความรู้ข้อมูล ให้กับประชาชน และทุกหน่วยภาคี
(6) สภาที่ปรึกษาฯ เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล
1.1.2 แผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2548
จากงบประมาณ 523.548 ล้านบาท เป็นของสภาที่ปรึกษาฯ ร้อยละ 38.4 หรือ 201.043 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2547 ที่ได้รับ 179.448 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ในส่วนของ สศช. ของบประมาณไว้ 322.505 ล้านบาท หรือร้อยละ 17 ของงบประมาณทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 15.5 โดยมีแผนการดำเนินงานของ สศช. ในปีงบประมาณ 2548 ดังนี้
(1) จำแนกตามผลผลิต ประกอบด้วย งานวางแผนร้อยละ 25.7 งานจัดทำข้อมูลร้อยละ 17.7 งานบริหารองค์กรร้อยละ 10.8 และงานประเมินผลร้อยละ 7.4
(2) ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 วางแผนผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศจำนวน 6 เรื่อง จาก 16 เรื่อง เช่น ทุนทางสังคม แก้ไขปัญหาความยากจน เมืองน่าอยู่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน เกณฑ์พื้นฐานคนไทย และการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้และความร่วมมือประเทศเพื่อนบ้าน
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 การติดตามประเมินผลการพัฒนาและสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณชน โดยพัฒนาดัชนีชี้วัดและติดตามประเมินผล จำนวน 6 เรื่อง จาก 16 เรื่อง เช่น ดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย (น้ำ อากาศ ฝุ่น เสียง) ดัชนีชี้วัดคนยากจน ดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ดัชนีประเมินผลความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และดัชนีการติดตามประเมินผลเศรษฐกิจรากหญ้า นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ความรู้ ให้บริการข้อมูล โดยให้สถาบันราชภัฏทำการสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการให้บริการด้านข้อมูลและความต้องการของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดทำข้อมูลเศรษฐกิจสังคมรายไตรมาสพัฒนาคลังข้อมูล และสนับสนุนจังหวัดให้จัดทำ GPP
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการองค์กรสู่การเรียนรู้ ดำเนินการ 5 เรื่องจาก 11 เรื่อง เช่น การพัฒนา e-Office การพัฒนาบุคลากรทุกระดับทุกคน รวมทั้งพนักงานขับรถยนต์ และพนักงานรับโทรศัพท์
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบงานของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ให้มีประสิทธิภาพ โดยจะดำเนินงานประมาณ 10 เรื่อง และจะมีการสรรหาสภาที่ปรึกษาฯ ใหม่ในปีนี้
1.2 ผลการดำเนินงานในปี 2547 สศช. ได้รับงบประมาณ 273.99 ล้านบาท สภาที่ปรึกษาฯ 179.45 ล้านบาท รวมเป็น 453.44 ล้านบาท ดำเนินโครงการวิจัยแล้วเสร็จ 4 เรื่อง อยู่ระหว่างการผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ 17 เรื่อง การพัฒนาระบบการวางแผนอยู่ระหว่างดำเนินการ 5 เรื่อง ดำเนินงานประเมินผลเสร็จแล้ว 4 เรื่อง สำหรับการพัฒนาองค์กรสู่การเรียนรู้ได้ดำเนินการหมดแล้ว และในส่วนของสภาที่ปรึกษาฯ เสนอ ครม.แล้ว 15 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 1 เรื่อง
1.3 ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน มี 3 ประเด็น คือ
1.3.1 การปรับลดงบประมาณทำให้การดำเนินโครงการ/งานมีคุณภาพลดลง
1.3.2 ภารกิจเพิ่มขึ้นในระหว่างปีจากการมอบหมายของ นรม. และ ครม. เช่น การ
จัดทำยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการต่าง ๆ
ที่แก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งความสามารถในการแข่งขันเพื่อการพัฒนา
ยั่งยืนไม่ได้รับงบประมาณ
1.3.3 งบประมาณเดินทางไปต่างประเทศไม่เพียงพอและรวมอยู่ในงบประมาณของ
สำนักนายกฯ ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปประชุมต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำ
เป็นของ สศช. ที่ต้องปรับตัวให้เป็นระหว่างประเทศมากขึ้นตามวิสัยทัศน์
2. ข้อคิดเห็นและข้อซักถาม
คณะกรรมาธิการได้แสดงความคิดเห็น และซักถามในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ด้านเศรษฐกิจมหภาค
2.1.1 ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่าถึงจุดอิ่มตัวแล้วหรือยัง และรัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรต่อไปเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหา
2.1.2 ปัญหาของภาคการเงิน เกี่ยวกับสภาวะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) โดยเฉพาะปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารกรุงไทยที่อยู่ในระดับสูงและปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นว่า ภาครัฐควรจะปล่อยตามกลไกตลาด หรือเข้าไปแทรกแซง และประชาชนควรจะปรับตัวอย่างไร
2.1.3 สถานการณ์น้ำมันที่มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รัฐบาลควรจะมีนโยบายอย่างไร
2.1.4 การขยายตัวของ GDP ในปี 2545-2546 เกิดจากการขยายตัวขององค์ประกอบของ GDP แต่ละตัวอย่างไร เช่น การบริโภค การลงทุน และภาคต่างประเทศและการขยายตัวของแต่ละองค์ประกอบดังกล่าวเกิดจากปัจจัยอะไร โดยขอให้ส่งเป็นเอกสาร พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่พ้นภาวะวิกฤตนั้น ประชาชนจำเป็นต้องอดออม และใช้จ่ายอย่างพอเพียง
2.1.5 สศช. จะเสนอแนะรัฐบาลและประชาชน เกี่ยวกับ FTA และ WTO อย่างไร
2.2 ด้านขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาพื้นที่และความยากจน
2.2.1 สถานะของงบกลางของ สศช. (งบเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) ซึ่งได้รับจัดสรรถึง 2 ครั้ง ได้ใช้หมดแล้วหรือไม่ และโครงการของสหกรณ์ประมงน้ำจืดของจังหวัดสุพรรณบุรีใช้งบประมาณจากแหล่งใดจำนวนเท่าไร และได้ใช้ไปเท่าไรแล้ว
2.2.2 ความก้าวหน้าของโครงการความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน GMS
2.2.3 เส้นความยากจนของ สศช. กับของกระทรวงมหาดไทยที่ไม่เท่ากัน เกิดจากสาเหตุอะไร และควรจะใช้ของหน่วยงานไหนเป็นหลัก
2.3 ด้านบทบาทของ สศช.
2.3.1 ภายหลังการปฏิรูปการเมือง อำนาจฝ่ายบริหารเข้มแข็งขึ้น ทำให้บทบาทของสศช. ลดลง มีผลกระทบต่อการทำงานของ สศช. อย่างไร และแนวคิดในเชิงนโยบายของรัฐบาลใดบ้างที่ไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ
2.3.2 งบประมาณของ สศช. สอดคล้องกับการดำเนินภารกิจในการปรับบทบาทนำองค์กรไปสู่การเรียนรู้ได้หรือไม่
2.3.3 ความหมายของ บทบาทของ สศช. เกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
2.3.4 ต้องการเห็น สศช. มีบทบาทในการชี้แจงเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการเอื้ออาทรและกองทุนหมู่บ้านว่า มีผลดีต่อเศรษฐกิจหรือไม่ หรือมีผลกระทบทำให้ประชาชนมีหนี้สินเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะการนำไปซื้อมอเตอร์ไซด์ที่อาจไม่ช่วยเสริมการสร้างรายได้
2.4 ด้านสภาที่ปรึกษาฯ ในการศึกษาของสภาที่ปรึกษาฯ 51 เรื่อง รัฐบาลได้ดำเนินการกี่เรื่องและในกรณีที่ได้มีการเสนอแนะให้กับรัฐบาลแล้ว สภาที่ปรึกษาฯ ได้มีการดำเนินต่อไปอย่างไร และในขณะนี้กำลังจะครบวาระ ได้มีกระบวนการสรรหาไปถึงขั้นตอนไหน และเปิดโอกาสให้คนอื่น ๆ เข้ามาเป็นแทนคนเก่าหรือไม่อย่างไร
3. ข้อชี้แจง
ลศช. ได้แสดงความคิดเห็นและตอบข้อซักถามในส่วนของ สศช. และ รศช.-พรรณราย ได้ตอบข้อซักถามในส่วนของสภาที่ปรึกษาฯ โดยสรุปดังนี้
3.1 ด้านเศรษฐกิจมหภาค
3.1.1 ภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีปัญหาในบางจุดเท่านั้น สำหรับกลุ่มรายได้น้อยและปานกลางยังไม่มีปัญหา ส่วนกลุ่มรายได้สูง และใน prime area เริ่มมีปัญหาบ้าง ทิศทางของอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างสัมพันธ์กับตลาดหุ้น ดังเช่นกรณีของฮ่องกง ดังนั้นรัฐบาลต้องพยายามทำให้มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ขณะนี้มูลค่าทรัพย์สินก็เริ่มสูงขึ้นแล้ว
3.1.2 ในส่วนปัญหา NPL ของภาคการเงิน ขณะนี้มีอยู่ประมาณร้อยละ 12 ของสินเชื่อ ถ้าธนาคารมี NPL 1 บาท จะต้องใช้เงินกู้ 8 บาทในการชดเชยปัญหา ส่วนธนาคารกรุงไทยมีปัญหา NPL เฉพาะผู้ขอกู้บางรายเท่านั้น
3.1.3 สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ย่อมมีผลกระทบต่อผู้ผ่อนซื้อบ้านโดยหากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1% ราคาบ้านจะเพิ่มขึ้นถึง 5% แต่เนื่องจากประเทศอยู่ในระบบทุนนิยมจึงต้องยอมรับว่าเหตุการณ์เช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ในระยะที่ผ่านมานับว่าดอกเบี้ยต่ำ เนื่องจากสภาพคล่องอยู่ในระดับสูงแต่รัฐบาลก็ต้องเข้ามาดูแลลดภาระความเดือดร้อนของประชาชน
3.1.4 สถานการณ์ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ รัฐบาลควรดำเนินนโยบายปล่อยให้ระดับราคาเคลื่อนไหวเสรีตามกลไกตลาด และจะต้องมีมาตรการประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม
3.1.5 ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ การบริโภคสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ GDP ขยับสูงขึ้น ปัจจุบัน สศช. ได้จัดจ้างสถาบันวิจัยทำการศึกษาและจัดทำรายงานประเมินผลกระทบของโครงการตามนโยบายรัฐบาลเป็นประจำทุกปี
3.1.6 FTA มีความแตกต่างจาก WTO ตรงที่เป็นเวทีเล็กกว่า สามารถเจรจาตกลงร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ ได้ง่าย ในการประเมินผลในช่วง 15 ปี สามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้ ส่วน WTO เป็นเวทีใหญ่ที่ตกลงกันยากและอาจเป็นเครื่องมือของบางประเทศได้
3.2 ด้านขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาพื้นที่และความยากจน
3.2.1 งบกลางที่ สศช. ได้รับการจัดสรรเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งได้ใช้ไปในการทำการศึกษาและผลักดันแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนั้น ขณะนี้มีงบประมาณคงเหลือประมาณ 60 ล้านบาท สำหรับโครงการที่จังหวัดสุพรรณบุรีไม่ได้ใช้งบ 1 พันล้านบาท
3.2.2 โครงการความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านขณะนี้ดำเนินไปด้วยดี โดยรัฐบาลได้ให้ลาวกู้เงินสร้างสนามบิน สะพาน และให้ความช่วยเหลือประเทศพม่าสร้างถนนจากเมียวดีถึงย่างกุ้ง
3.2.3 ตัวเลขความยากจนของ สศช. ขณะนี้คือ 922/คน/เดือน ซึ่งคำนวณจากรายจ่าย ปัจจัยพื้นฐานสี่ประการ ส่วนของกระทรวงมหาดไทยใช้ข้อมูลจาก จปฐ.ซึ่ง สศช. ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยในเรื่องความจำเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว และอยู่ในระหว่างการทบทวนการวัดเส้นความยากจนใหม่
3.3 ด้านบทบาทของ สศช.
3.3.1 เมื่ออำนาจฝ่ายบริหารเข้มแข็งมากขึ้น หากเป็นประเทศพัฒนาแล้วจะยุบส่วนที่เป็นหน่วยวางแผนกลางไป สำหรับ สศช. จัดตั้งขึ้นเมื่อ 50 ปีที่แล้ว มีหน้าที่จัดทำแผนและวิเคราะห์โครงการ ในปัจจุบันทุกกระทรวงมีหน่วยงานวางแผนแล้ว แต่ภายใต้ พรบ. สศช. ต้องพิจารณาโครงการต่างประเทศ งบลงทุนภาครัฐ ฯลฯ
3.3.2 โครงการ การปรับบทบาทเพื่อนำองค์กรสู่การเรียนรู้ อาจต้องใช้งบประมาณมาก แต่ปัจจุบันประชาชนมีส่วนสำคัญ และ สศช. พยายามนำความรู้สู่สาธารณะมากขึ้นโดยผ่านทาง Website ซึ่งสามารถเข้ามาสืบค้นข้อมูลได้
3.3.3 บทบาทของ สศช. ในการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลหมายถึงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของรัฐบาล เป็นเหมือนกระจกส่องให้กับรัฐบาล
3.4 ด้านสภาที่ปรึกษาฯ
3.4.1 ครม. ได้ให้ความสนใจการศึกษาของสภาที่ปรึกษาฯ ทั้ง 51 เรื่อง หลังจากได้เสนอแนะต่อ ครม. แล้ว ได้ส่งรายงานประจำปีให้กับ สส. และ สว.รวมทั้งเครือข่ายประชาชน นอกจากนี้ยังมี Website และสารสภาที่ปรึกษาฯ สำหรับสมาชิกที่กำลังจะครบวาระในวันที่ 6 สิงหาคม จะมีการสรรหาชุดที่ 2 ซึ่งคณะกรรมการสรรหาจะเป็นผู้กำหนดทุกขั้นตอน จะไม่เกี่ยวกับชุดเดิม ส่วนเวลาจะใช้น้อยกว่าเดิมประมาณ 3 สัปดาห์
4. คณะกรรมาธิการฯ ขอเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
4.1 เอกสารของ สศช.
4.1.1 การวิเคราะห์ปัจจัยของตัวแปรแต่ละตัวที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และดุลบัญชีเดินสะพัด ของปี 2545-2546 และแนวโน้ม
4.1.2 แผนโครงการความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน GMS
4.1.3 รายงานการประเมินภาพรวมของ FTA
4.2 เอกสารของสภาที่ปรึกษาฯ
4.2.1 เอกสารคำปรึกษาและข้อเสนอแนะที่เสนอคณะรัฐมนตรี 3 เรื่องคือ
(1) การเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม
(2) นโยบายการบินพาณิชย์กับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ
(3) การจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey)
4.2.2 เอกสารสรุปกระบวนการสรรหาสภาที่ปรึกษาฯ
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณของ สศช. และได้ขอเอกสารข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการอภิปรายในสภาฯ และขอบคุณ ลศช. และคณะที่ได้มาชี้แจงให้ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการฯ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1. การนำเสนอ
ลศช. ได้นำเสนอวิสัยทัศน์ พันธกิจ งบประมาณของ สศช. ปี 2548 ผลการดำเนินงานในปี 2547 และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานต่อคณะกรรมาธิการฯ สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และงบประมาณของ สศช.
1.1.1 วิสัยทัศน์ของ สศช. เป็นหน่วยงานยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ได้รับความเชื่อถือ โดยมีพันธกิจที่สำคัญคือ
(1) วางแผนและผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
(2) จัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินตาม พรฎ. ว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยมี สศช. เป็นหลัก
(3) พัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจและสังคม
(4) ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล โดยมีวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน การแก้ไขปัญหาความยากจน ทุนทางสังคม และ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
(5) พัฒนาระบบบริหารจัดการของ สศช. ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งแต่เดิมสนองเฉพาะรัฐบาล ต่อไปจะบริหารจัดการองค์ความรู้ข้อมูล ให้กับประชาชน และทุกหน่วยภาคี
(6) สภาที่ปรึกษาฯ เสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล
1.1.2 แผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2548
จากงบประมาณ 523.548 ล้านบาท เป็นของสภาที่ปรึกษาฯ ร้อยละ 38.4 หรือ 201.043 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2547 ที่ได้รับ 179.448 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ในส่วนของ สศช. ของบประมาณไว้ 322.505 ล้านบาท หรือร้อยละ 17 ของงบประมาณทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 15.5 โดยมีแผนการดำเนินงานของ สศช. ในปีงบประมาณ 2548 ดังนี้
(1) จำแนกตามผลผลิต ประกอบด้วย งานวางแผนร้อยละ 25.7 งานจัดทำข้อมูลร้อยละ 17.7 งานบริหารองค์กรร้อยละ 10.8 และงานประเมินผลร้อยละ 7.4
(2) ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 วางแผนผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศจำนวน 6 เรื่อง จาก 16 เรื่อง เช่น ทุนทางสังคม แก้ไขปัญหาความยากจน เมืองน่าอยู่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน เกณฑ์พื้นฐานคนไทย และการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้และความร่วมมือประเทศเพื่อนบ้าน
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 การติดตามประเมินผลการพัฒนาและสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณชน โดยพัฒนาดัชนีชี้วัดและติดตามประเมินผล จำนวน 6 เรื่อง จาก 16 เรื่อง เช่น ดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย (น้ำ อากาศ ฝุ่น เสียง) ดัชนีชี้วัดคนยากจน ดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ดัชนีประเมินผลความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และดัชนีการติดตามประเมินผลเศรษฐกิจรากหญ้า นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ความรู้ ให้บริการข้อมูล โดยให้สถาบันราชภัฏทำการสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการให้บริการด้านข้อมูลและความต้องการของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดทำข้อมูลเศรษฐกิจสังคมรายไตรมาสพัฒนาคลังข้อมูล และสนับสนุนจังหวัดให้จัดทำ GPP
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการองค์กรสู่การเรียนรู้ ดำเนินการ 5 เรื่องจาก 11 เรื่อง เช่น การพัฒนา e-Office การพัฒนาบุคลากรทุกระดับทุกคน รวมทั้งพนักงานขับรถยนต์ และพนักงานรับโทรศัพท์
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบงานของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ให้มีประสิทธิภาพ โดยจะดำเนินงานประมาณ 10 เรื่อง และจะมีการสรรหาสภาที่ปรึกษาฯ ใหม่ในปีนี้
1.2 ผลการดำเนินงานในปี 2547 สศช. ได้รับงบประมาณ 273.99 ล้านบาท สภาที่ปรึกษาฯ 179.45 ล้านบาท รวมเป็น 453.44 ล้านบาท ดำเนินโครงการวิจัยแล้วเสร็จ 4 เรื่อง อยู่ระหว่างการผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ 17 เรื่อง การพัฒนาระบบการวางแผนอยู่ระหว่างดำเนินการ 5 เรื่อง ดำเนินงานประเมินผลเสร็จแล้ว 4 เรื่อง สำหรับการพัฒนาองค์กรสู่การเรียนรู้ได้ดำเนินการหมดแล้ว และในส่วนของสภาที่ปรึกษาฯ เสนอ ครม.แล้ว 15 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ 1 เรื่อง
1.3 ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน มี 3 ประเด็น คือ
1.3.1 การปรับลดงบประมาณทำให้การดำเนินโครงการ/งานมีคุณภาพลดลง
1.3.2 ภารกิจเพิ่มขึ้นในระหว่างปีจากการมอบหมายของ นรม. และ ครม. เช่น การ
จัดทำยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการต่าง ๆ
ที่แก้ไขปัญหาความยากจน รวมทั้งความสามารถในการแข่งขันเพื่อการพัฒนา
ยั่งยืนไม่ได้รับงบประมาณ
1.3.3 งบประมาณเดินทางไปต่างประเทศไม่เพียงพอและรวมอยู่ในงบประมาณของ
สำนักนายกฯ ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปประชุมต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำ
เป็นของ สศช. ที่ต้องปรับตัวให้เป็นระหว่างประเทศมากขึ้นตามวิสัยทัศน์
2. ข้อคิดเห็นและข้อซักถาม
คณะกรรมาธิการได้แสดงความคิดเห็น และซักถามในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ด้านเศรษฐกิจมหภาค
2.1.1 ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่าถึงจุดอิ่มตัวแล้วหรือยัง และรัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรต่อไปเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหา
2.1.2 ปัญหาของภาคการเงิน เกี่ยวกับสภาวะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) โดยเฉพาะปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารกรุงไทยที่อยู่ในระดับสูงและปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นว่า ภาครัฐควรจะปล่อยตามกลไกตลาด หรือเข้าไปแทรกแซง และประชาชนควรจะปรับตัวอย่างไร
2.1.3 สถานการณ์น้ำมันที่มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รัฐบาลควรจะมีนโยบายอย่างไร
2.1.4 การขยายตัวของ GDP ในปี 2545-2546 เกิดจากการขยายตัวขององค์ประกอบของ GDP แต่ละตัวอย่างไร เช่น การบริโภค การลงทุน และภาคต่างประเทศและการขยายตัวของแต่ละองค์ประกอบดังกล่าวเกิดจากปัจจัยอะไร โดยขอให้ส่งเป็นเอกสาร พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่พ้นภาวะวิกฤตนั้น ประชาชนจำเป็นต้องอดออม และใช้จ่ายอย่างพอเพียง
2.1.5 สศช. จะเสนอแนะรัฐบาลและประชาชน เกี่ยวกับ FTA และ WTO อย่างไร
2.2 ด้านขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาพื้นที่และความยากจน
2.2.1 สถานะของงบกลางของ สศช. (งบเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) ซึ่งได้รับจัดสรรถึง 2 ครั้ง ได้ใช้หมดแล้วหรือไม่ และโครงการของสหกรณ์ประมงน้ำจืดของจังหวัดสุพรรณบุรีใช้งบประมาณจากแหล่งใดจำนวนเท่าไร และได้ใช้ไปเท่าไรแล้ว
2.2.2 ความก้าวหน้าของโครงการความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน GMS
2.2.3 เส้นความยากจนของ สศช. กับของกระทรวงมหาดไทยที่ไม่เท่ากัน เกิดจากสาเหตุอะไร และควรจะใช้ของหน่วยงานไหนเป็นหลัก
2.3 ด้านบทบาทของ สศช.
2.3.1 ภายหลังการปฏิรูปการเมือง อำนาจฝ่ายบริหารเข้มแข็งขึ้น ทำให้บทบาทของสศช. ลดลง มีผลกระทบต่อการทำงานของ สศช. อย่างไร และแนวคิดในเชิงนโยบายของรัฐบาลใดบ้างที่ไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ
2.3.2 งบประมาณของ สศช. สอดคล้องกับการดำเนินภารกิจในการปรับบทบาทนำองค์กรไปสู่การเรียนรู้ได้หรือไม่
2.3.3 ความหมายของ บทบาทของ สศช. เกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
2.3.4 ต้องการเห็น สศช. มีบทบาทในการชี้แจงเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการเอื้ออาทรและกองทุนหมู่บ้านว่า มีผลดีต่อเศรษฐกิจหรือไม่ หรือมีผลกระทบทำให้ประชาชนมีหนี้สินเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะการนำไปซื้อมอเตอร์ไซด์ที่อาจไม่ช่วยเสริมการสร้างรายได้
2.4 ด้านสภาที่ปรึกษาฯ ในการศึกษาของสภาที่ปรึกษาฯ 51 เรื่อง รัฐบาลได้ดำเนินการกี่เรื่องและในกรณีที่ได้มีการเสนอแนะให้กับรัฐบาลแล้ว สภาที่ปรึกษาฯ ได้มีการดำเนินต่อไปอย่างไร และในขณะนี้กำลังจะครบวาระ ได้มีกระบวนการสรรหาไปถึงขั้นตอนไหน และเปิดโอกาสให้คนอื่น ๆ เข้ามาเป็นแทนคนเก่าหรือไม่อย่างไร
3. ข้อชี้แจง
ลศช. ได้แสดงความคิดเห็นและตอบข้อซักถามในส่วนของ สศช. และ รศช.-พรรณราย ได้ตอบข้อซักถามในส่วนของสภาที่ปรึกษาฯ โดยสรุปดังนี้
3.1 ด้านเศรษฐกิจมหภาค
3.1.1 ภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีปัญหาในบางจุดเท่านั้น สำหรับกลุ่มรายได้น้อยและปานกลางยังไม่มีปัญหา ส่วนกลุ่มรายได้สูง และใน prime area เริ่มมีปัญหาบ้าง ทิศทางของอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างสัมพันธ์กับตลาดหุ้น ดังเช่นกรณีของฮ่องกง ดังนั้นรัฐบาลต้องพยายามทำให้มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ขณะนี้มูลค่าทรัพย์สินก็เริ่มสูงขึ้นแล้ว
3.1.2 ในส่วนปัญหา NPL ของภาคการเงิน ขณะนี้มีอยู่ประมาณร้อยละ 12 ของสินเชื่อ ถ้าธนาคารมี NPL 1 บาท จะต้องใช้เงินกู้ 8 บาทในการชดเชยปัญหา ส่วนธนาคารกรุงไทยมีปัญหา NPL เฉพาะผู้ขอกู้บางรายเท่านั้น
3.1.3 สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ย่อมมีผลกระทบต่อผู้ผ่อนซื้อบ้านโดยหากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1% ราคาบ้านจะเพิ่มขึ้นถึง 5% แต่เนื่องจากประเทศอยู่ในระบบทุนนิยมจึงต้องยอมรับว่าเหตุการณ์เช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ในระยะที่ผ่านมานับว่าดอกเบี้ยต่ำ เนื่องจากสภาพคล่องอยู่ในระดับสูงแต่รัฐบาลก็ต้องเข้ามาดูแลลดภาระความเดือดร้อนของประชาชน
3.1.4 สถานการณ์ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ รัฐบาลควรดำเนินนโยบายปล่อยให้ระดับราคาเคลื่อนไหวเสรีตามกลไกตลาด และจะต้องมีมาตรการประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม
3.1.5 ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ การบริโภคสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจทำให้ GDP ขยับสูงขึ้น ปัจจุบัน สศช. ได้จัดจ้างสถาบันวิจัยทำการศึกษาและจัดทำรายงานประเมินผลกระทบของโครงการตามนโยบายรัฐบาลเป็นประจำทุกปี
3.1.6 FTA มีความแตกต่างจาก WTO ตรงที่เป็นเวทีเล็กกว่า สามารถเจรจาตกลงร่วมกันในเรื่องต่าง ๆ ได้ง่าย ในการประเมินผลในช่วง 15 ปี สามารถจัดการแก้ไขปัญหาได้ ส่วน WTO เป็นเวทีใหญ่ที่ตกลงกันยากและอาจเป็นเครื่องมือของบางประเทศได้
3.2 ด้านขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาพื้นที่และความยากจน
3.2.1 งบกลางที่ สศช. ได้รับการจัดสรรเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งได้ใช้ไปในการทำการศึกษาและผลักดันแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนั้น ขณะนี้มีงบประมาณคงเหลือประมาณ 60 ล้านบาท สำหรับโครงการที่จังหวัดสุพรรณบุรีไม่ได้ใช้งบ 1 พันล้านบาท
3.2.2 โครงการความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านขณะนี้ดำเนินไปด้วยดี โดยรัฐบาลได้ให้ลาวกู้เงินสร้างสนามบิน สะพาน และให้ความช่วยเหลือประเทศพม่าสร้างถนนจากเมียวดีถึงย่างกุ้ง
3.2.3 ตัวเลขความยากจนของ สศช. ขณะนี้คือ 922/คน/เดือน ซึ่งคำนวณจากรายจ่าย ปัจจัยพื้นฐานสี่ประการ ส่วนของกระทรวงมหาดไทยใช้ข้อมูลจาก จปฐ.ซึ่ง สศช. ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยในเรื่องความจำเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว และอยู่ในระหว่างการทบทวนการวัดเส้นความยากจนใหม่
3.3 ด้านบทบาทของ สศช.
3.3.1 เมื่ออำนาจฝ่ายบริหารเข้มแข็งมากขึ้น หากเป็นประเทศพัฒนาแล้วจะยุบส่วนที่เป็นหน่วยวางแผนกลางไป สำหรับ สศช. จัดตั้งขึ้นเมื่อ 50 ปีที่แล้ว มีหน้าที่จัดทำแผนและวิเคราะห์โครงการ ในปัจจุบันทุกกระทรวงมีหน่วยงานวางแผนแล้ว แต่ภายใต้ พรบ. สศช. ต้องพิจารณาโครงการต่างประเทศ งบลงทุนภาครัฐ ฯลฯ
3.3.2 โครงการ การปรับบทบาทเพื่อนำองค์กรสู่การเรียนรู้ อาจต้องใช้งบประมาณมาก แต่ปัจจุบันประชาชนมีส่วนสำคัญ และ สศช. พยายามนำความรู้สู่สาธารณะมากขึ้นโดยผ่านทาง Website ซึ่งสามารถเข้ามาสืบค้นข้อมูลได้
3.3.3 บทบาทของ สศช. ในการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลหมายถึงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของรัฐบาล เป็นเหมือนกระจกส่องให้กับรัฐบาล
3.4 ด้านสภาที่ปรึกษาฯ
3.4.1 ครม. ได้ให้ความสนใจการศึกษาของสภาที่ปรึกษาฯ ทั้ง 51 เรื่อง หลังจากได้เสนอแนะต่อ ครม. แล้ว ได้ส่งรายงานประจำปีให้กับ สส. และ สว.รวมทั้งเครือข่ายประชาชน นอกจากนี้ยังมี Website และสารสภาที่ปรึกษาฯ สำหรับสมาชิกที่กำลังจะครบวาระในวันที่ 6 สิงหาคม จะมีการสรรหาชุดที่ 2 ซึ่งคณะกรรมการสรรหาจะเป็นผู้กำหนดทุกขั้นตอน จะไม่เกี่ยวกับชุดเดิม ส่วนเวลาจะใช้น้อยกว่าเดิมประมาณ 3 สัปดาห์
4. คณะกรรมาธิการฯ ขอเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
4.1 เอกสารของ สศช.
4.1.1 การวิเคราะห์ปัจจัยของตัวแปรแต่ละตัวที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และดุลบัญชีเดินสะพัด ของปี 2545-2546 และแนวโน้ม
4.1.2 แผนโครงการความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน GMS
4.1.3 รายงานการประเมินภาพรวมของ FTA
4.2 เอกสารของสภาที่ปรึกษาฯ
4.2.1 เอกสารคำปรึกษาและข้อเสนอแนะที่เสนอคณะรัฐมนตรี 3 เรื่องคือ
(1) การเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม
(2) นโยบายการบินพาณิชย์กับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ
(3) การจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey)
4.2.2 เอกสารสรุปกระบวนการสรรหาสภาที่ปรึกษาฯ
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณของ สศช. และได้ขอเอกสารข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการอภิปรายในสภาฯ และขอบคุณ ลศช. และคณะที่ได้มาชี้แจงให้ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการฯ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-