10. กลไก/องค์กรรองรับขบวนการเพิ่มผลผลิต
10.1 กลไก/องค์กรและภารกิจการเพิ่มผลผลิตเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และคิดค้น
ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการสร้างกระบวนการเพิ่มผลผลิต จะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ การสร้างจิตสำนึก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยหล่อลื่น ประสาน และลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการทำงานตามแผนพัฒนาของชาติในส่วนต่างๆ ให้สามารถมุ่งสู่เป้าหมายโดยรวม ในด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวในการผลักดันให้นโยบายที่กำหนดไว้บังเกิดผลในทางปฏิบัติ รัฐจำเป็นต้องจัดให้มีกลไกและกระบวนการในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อสร้างหลักประกันในการจัดสรรทรัพยากรและผลประโยชน์ในการพัฒนาให้ถึงประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ในการสร้างโอกาสเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ดังนั้นการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตของชาติให้บรรลุ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีการจัดตั้งกลไก/องค์กรเพื่อกำกับ ดูแล และผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและเกิดการแปลงแผนยุทธศาสตร์การสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริงตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อนและประหยัดทรัพยากรของประเทศ โดย
1. สนับสนุนให้มีคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทั้งนี้คณะกรรมการควรประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิเกินครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมด และรัฐมนตรีจากกระทรวงสำคัญที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทนจากหน่วยงานราชการโดยคณะกรรมการนี้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มผลผลิตของประเทศและระดับรายสาขาเพื่อเป็นเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลสำเร็จของงาน
2. ส่งเสริมบทบาทของหน่วยงานกลางในการเร่งรัดขบวนการเพิ่มผลผลิต โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ในระยะ 3 ปีแรกของการดำเนินงาน
3. พัฒนากลไกกลางในการประสานงานด้านการเพิ่มผลผลิตที่ครอบคลุมภาคการผลิตอื่นๆ เช่น ภาคเกษตร รวมถึงนอกภาคการผลิต และทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในระยะต่อไป
4. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน โดยให้มีคณะอนุกรรมการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตทำหน้าที่เร่งรัดและประสานให้เกิดการปรับและจัดทำแผนปฏิบัติการงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้ง 4 ประการ ให้สอดคล้องกับภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ประการ ซึ่งได้แก่
1) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
2) คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร. ปช.)
3) คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
4) หน่วยงานนโยบายด้านการศึกษา
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
สถานภาพปัจจุบัน
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2537 มีฐานะเป็นมูลนิธิ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการเพิ่มผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมและยกระดับการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในตลาดโลก พัฒนาการบริหารและคุณภาพให้ได้ระดับมาตรฐานโลก และเป็นศูนย์กลางประสานงานและรณรงค์ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตทั่วประเทศ ทั้งนี้ ภารกิจหลักของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้แก่
(1) บริการให้คำปรึกษาแนะนำ และการฝึกอบรมด้านการเพิ่มผลผลิต ISO 9000 และ ISO 14000 และการจัดการด้านทรัพยากรบุคคลแก่ธุรกิจเป้าหมาย รวมทั้งการพัฒนาวิทยากร และที่ปรึกษาด้านการเพิ่มผลผลิตของ หน่วยงานภายนอก เพื่อขยายผลการเพิ่มผลผลิตให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(2) รณรงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาจิตสำนึกการเพิ่มผลผลิตแก่ธุรกิจผู้ใช้แรงงาน และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง
(3) เป็นศูนย์กลาง รวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการเพิ่มผลผลิตตลอดจนพัฒนารูปแบบและเทคนิควิธีการที่เหมาะสมแก่ธุรกิจของไทย
(4) เป็นที่ให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบาย มาตรการ ในการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตของชาติ
(5) ประสานงานกับองค์กรทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตอย่างไรก็ตาม ภารกิจหลักของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติยังคงเน้นการให้คำปรึกษาแนะนำและบริการฝึกอบรมในระดับหน่วยการผลิต โดยเฉพาะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม แม้ว่าจะได้มีกิจกรรมในส่วนการเผยแพร่และกระตุ้นจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต สถาบันฯ ยังคงมีขีดความสามารถในขอบเขตที่จำกัดอยู่มาก
ภารกิจภายใต้ขบวนการเพิ่มผลผลิต
การผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาของชาติในส่วนต่างๆ นับเป็นสินค้าสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมที่รัฐควรเป็นผู้ผลิต ทว่าการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตเป็นเรื่องใหม่ที่คาบเกี่ยวกับหลายหน่วยงาน แต่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องล้วนถูกจำกัดโดยบทบาทหน้าที่และลำดับความสำคัญในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานตนทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าสาธารณะที่เป็นองค์รวมได้หน่วยงานที่มีอยู่และมีความพร้อมทางด้านองค์ความรู้ที่จะรับไปประสานดำเนินงานได้แก่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นไปสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจะต้องเลี้ยงตัวเองโดยการหารายได้จากการขายบริการ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ผลิตสินค้าสาธารณะในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมเช่น การสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตได้การพัฒนากลไกในการผลิตสินค้าสาธารณะนี้ จึงควรดำเนินการในลักษณะการจ้างเหมาบริการที่มีคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติผ่านหน่วยงานรัฐหน่วยใดหน่วยหนึ่งเป็นผู้ซื้อบริการจากมูลนิธิสถาบันเพิ่มผลผลิตหรือหน่วยงานอื่นใดที่สามารถผลิตบริการสาธารณะในลักษณะเดียวกัน โดยมีผลได้และระยะเวลาที่ แน่นอน
ทั้งนี้สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติต้องขยายขอบเขตของภารกิจให้ครอบคลุมทั้ง ภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และต้องดำเนินงานติดตาม และประเมินผลแผนงาน/โครงการภายใต้ภารกิจทางยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ประการ โดยจะต้องสร้างตัวชี้วัดการเพิ่มผลผลิต (Productivity Index) และสร้างเกณฑ์ (Benchmarking)เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับมาตรฐานระหว่างประเทศ ในส่วนการสร้างให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตให้เกิดขึ้นในวงกว้าง จะต้องครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายทั้งนักการเมือง เยาวชน ประชาชน ผู้ประกอบการเกษตรกร แรงงาน ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และสื่อมวลชน
การปรับองค์กร
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติควรขยายบทบาทให้ครอบคลุมภารกิจในภาพรวมโดยยกระดับการทำงานขึ้นเป็นหน่วยงานระดับชาติหรือในระดับประเทศ รวมทั้งให้ความสำคัญกับบทบาทในการสนับสนุนให้เกิดการเพิ่มผลผลิตทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ โดยมีขีดความสามารถด้านทรัพยากรสนับสนุนการทำงานที่เพียงพอในการสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นจากหน่วยงานที่ทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง ทั้งนี้สถาบันเพิ่มผลผลิตจะดำเนินการในฐานะเป็นผู้ให้บริการ และรัฐบาลเป็นผู้ว่าจ้างและผู้ประเมินผลงาน
คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร. ปช.)
การเสริมบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงาน
การฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร. ปช.)
สถานภาพปัจจุบัน
คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.)ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแล มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กำหนดนโยบายหลักและทิศทางในการพัฒนาแรงงาน และประสานงานการฝึกอาชีพของผู้อยู่ในกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(2) ประสานแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างระบบการศึกษา และการพัฒนากำลังแรงงานให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องตามทิศทางนโยบายแห่งรัฐ
(3) ประสานนโยบายและแผนการฝึกอาชีพของทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อขจัดปัญหาความซ้ำซ้อนและความสิ้นเปลือง
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานในภาครัฐบาลและภาคเอกชนทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ
(5) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผนของหน่วยงานต่างๆ
(6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามที่เห็นสมควรอำนาจหน้าที่ของ กพร.ปช. ดังกล่าว มีความสอดคล้องกับการผลักดันให้ขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศประสบความสำเร็จได้โดยอาศัยโครงสร้างของกฎหมายที่มีอยู่เดิมภารกิจภายใต้ขบวนการเพิ่มผลผลิต
(1) การให้ความสำคัญกับบทบาทภารกิจในการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาแรงงานนอกเหนือจากการประสานแรงงาน
(2) การสร้างแรงจูงใจในการเพิ่มผลผลิต โดยจัดให้มีกองทุนพัฒนาการจัดการและทักษะแรงงาน
(3) การยกระดับทักษะด้วยการจัดให้มีมาตรฐานฝีมือแรงงานทั้งในและนอกระบบให้เชื่อมโยงกับอัตราค่าตอบแทน
(4) การสนับสนุนการทำงานร่วมกันแบบไตรภาคีด้วยการพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของพนักงานในกระบวนการพัฒนาขององค์กรเอกชน
(5) การเตรียมความพร้อมของแรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว ให้สามารถปรับตัวได้ทันและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
การปรับองค์กร
การเสริมความเข้มแข็งและขีดความสามารถของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ กพร.ปช. เพื่อให้สามารถรองรับภารกิจเพิ่มเติมในส่วนของขบวนการเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาแรงงานที่มีเอกภาพและมีเป้าหมายร่วมที่ชัดเจนโดยการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
การเสริมบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
สถานภาพปัจจุบัน
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(กวทช.) มีบทบาทและอำนาจหน้าที่สรุปได้ ดังนี้
(1) พิจารณาอนุมัติแผนหลักเกี่ยวกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมของภาครัฐบาล ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา และส่งเสริมความร่วมมือด้านนี้ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนกับนานาประเทศ
(2) กำหนดนโยบายและควบคุมดูแลการดำเนินงานของสำนักงานในการบริหารกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพิจารณาจัดสรรทุนสำหรับกิจกรรมหลักต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในการพัฒนาประเทศ
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ รวมทั้งการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน
(4) วางมาตรการ กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนเพื่อสนับสนุนการรับและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
(5) อนุมัติแผนการเงินและงบประมาณประจำปีของสำนักงาน
(6) จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะทางขึ้นในสำนักงาน โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนากิจกรรมใดเป็นกรณีพิเศษ
ภารกิจภายใต้ขบวนการเพิ่มผลผลิต
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) จะต้องช่วยสนับสนุนกระบวนการจัดหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศที่เป็นระบบ ซึ่งสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกิจกรรมวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรม
และการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยดำเนินการและสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมจนถึงขั้นที่นำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และต่อสาธารณะ สร้างเสริมบุคลากรและความสามารถในสาขาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีของภาคเอกชน และจัดสถานที่และระบบที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือในลักษณะไตรภาคีระหว่างภาคเอกชน (ผู้ใช้เทคโนโลยี) มหาวิทยาลัย (ผู้ผลิตเทคโนโลยี) และ สวทช. (ผู้ชักนำและร่วมผลิตเทคโนโลยี) รวมทั้งจัดระบบบริการภาคเอกชนและประชาชนโดยทั่วไปในส่วนที่ต้องใช้เทคโนโลยีแผนใหม่ ตลอดจนใช้การลงทุนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะในภาคเอกชน
การปรับองค์กร
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ต้องปรับแนวคิด (Paradigm) และวิธีการทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะที่เป็นฐานราก (Embodiment) ของภาคการผลิตและบริการไปสู่การปรับโครงสร้าง และการพัฒนาตามแนวคิดความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง (Strategic partnership)หน่วยงานนโยบายด้านการศึกษาการเสริมบทบาทของหน่วยงานนโยบายด้านการศึกษา
สถานภาพปัจจุบัน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(สกศ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่และภารกิจต่างๆ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในมาตรา 10 ดังนี้
(1) ศึกษาวิเคราะห์และวิจัยปัญหา และภาวะการจัดการศึกษาของประเทศเพื่อเสนอนโยบายและมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวในอันที่จะเสริมสร้างการพัฒนาการศึกษา
(2) ดำเนินการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดการศึกษาของประเทศ
(3) ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ สำหรับช่วงเวลาหนึ่งให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
(4) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายการศึกษาของรัฐบาล
(5) เสนอผลการพัฒนาการศึกษารวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบายการศึกษาของรัฐบาล
(6) รวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษา
(7) ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งในด้านการจัดทำแผน โครงการพัฒนา และการปฏิบัติงานตามแผน
(8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ หรือสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังดำเนินการปฏิรูประบบการศึกษาของประเทศตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ โดยแบ่งการจัดการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ดังนั้น หน่วยงานที่จะเข้ามามีบทบาทรับผิดชอบดูแลด้านนโยบายการศึกษาของประเทศจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
ภารกิจภายใต้ขบวนการเพิ่มผลผลิต
การสร้างบรรยากาศและโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยประสานเพื่อผลักดันกระบวนการปฏิรูปการศึกษา สอดแทรกจิตสำนึกในการเพิ่มผลผลิตในกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เพื่อเป็นการเตรียมคนที่มีความรู้และทักษะในทางเศรษฐกิจ และมีสติรู้คิดเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทศวรรษหน้า (Moving with Awareness)
10.2 ระบบการประสานงาน
ในทางปฏิบัติ กลไก/องค์กรทั้ง 4 หน่วยงาน มีขีดความสามารถและความพร้อมในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในภารกิจที่กำลังปฏิบัติอยู่ตามกรอบเดิม และในภารกิจใหม่ที่ได้รับการคาดหวังให้เข้ามาเป็นแกนกลางของการขับเคลื่อนขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศ ดังนั้น รัฐจะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและปรับปรุงองค์กรที่มีอยู่ให้สามารถรองรับภารกิจที่กำหนด โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็ง (Strengthening) และยกระดับขีดความสามารถ (Upgrading) ของแต่ละกลไก/องค์กร และสร้างเครือข่ายสัมพันธ์เชื่อมโยงในการทำงานให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน (Networking) โดยทั้ง 4 หน่วยงานหลักนี้จะต้องมีนโยบายเชื่อมโยงและประสานงานกันผ่านทางคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติซึ่งจะจัดตั้งขึ้นโดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นเลขานุการการประสานงานระหว่าง 4 หน่วยงานหลักกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้โดยผ่านระบบเครือข่ายหรือการร่วมงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยในด้านการศึกษา หน่วยงานระดับนโยบายด้านการศึกษานั้นดูแลนโยบายที่ครอบคลุมการศึกษาทั้งในระดับสามัญและอุดมศึกษา ซึ่งครอบคลุมการศึกษาเกือบทั้งหมดของประเทศสำหรับด้านแรงงาน คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร. ปช.) ประกอบด้วยผู้แทน/ข้าราชการระดับสูงจากกระทรวง/ทบวง/กรมต่างๆ ซึ่งสามารถนำนโยบายของคณะกรรมการฯไปปฏิบัติได้ ในส่วนด้านการสร้างจิตสำนึกนั้น
สถาบันเพิ่มผลผลิตสามารถใช้ความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงในระดับผู้ประกอบการ ในการประสานงานและสร้างจิตสำนึกได้ในวงกว้างอย่างไรก็ตามในด้านวิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมต้องเร่งสร้างเครื่อข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวกับภาคการผลิต ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรและการค้า รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆที่มีความสามารถและทรัพยากรในการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
10.1 กลไก/องค์กรและภารกิจการเพิ่มผลผลิตเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และคิดค้น
ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการสร้างกระบวนการเพิ่มผลผลิต จะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ การสร้างจิตสำนึก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยหล่อลื่น ประสาน และลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการทำงานตามแผนพัฒนาของชาติในส่วนต่างๆ ให้สามารถมุ่งสู่เป้าหมายโดยรวม ในด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวในการผลักดันให้นโยบายที่กำหนดไว้บังเกิดผลในทางปฏิบัติ รัฐจำเป็นต้องจัดให้มีกลไกและกระบวนการในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อสร้างหลักประกันในการจัดสรรทรัพยากรและผลประโยชน์ในการพัฒนาให้ถึงประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ในการสร้างโอกาสเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ดังนั้นการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตของชาติให้บรรลุ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีการจัดตั้งกลไก/องค์กรเพื่อกำกับ ดูแล และผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและเกิดการแปลงแผนยุทธศาสตร์การสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริงตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อนและประหยัดทรัพยากรของประเทศ โดย
1. สนับสนุนให้มีคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทั้งนี้คณะกรรมการควรประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิเกินครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมด และรัฐมนตรีจากกระทรวงสำคัญที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทนจากหน่วยงานราชการโดยคณะกรรมการนี้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มผลผลิตของประเทศและระดับรายสาขาเพื่อเป็นเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลสำเร็จของงาน
2. ส่งเสริมบทบาทของหน่วยงานกลางในการเร่งรัดขบวนการเพิ่มผลผลิต โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ในระยะ 3 ปีแรกของการดำเนินงาน
3. พัฒนากลไกกลางในการประสานงานด้านการเพิ่มผลผลิตที่ครอบคลุมภาคการผลิตอื่นๆ เช่น ภาคเกษตร รวมถึงนอกภาคการผลิต และทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในระยะต่อไป
4. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน โดยให้มีคณะอนุกรรมการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตทำหน้าที่เร่งรัดและประสานให้เกิดการปรับและจัดทำแผนปฏิบัติการงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้ง 4 ประการ ให้สอดคล้องกับภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ประการ ซึ่งได้แก่
1) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
2) คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร. ปช.)
3) คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
4) หน่วยงานนโยบายด้านการศึกษา
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
สถานภาพปัจจุบัน
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2537 มีฐานะเป็นมูลนิธิ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการเพิ่มผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมและยกระดับการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในตลาดโลก พัฒนาการบริหารและคุณภาพให้ได้ระดับมาตรฐานโลก และเป็นศูนย์กลางประสานงานและรณรงค์ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตทั่วประเทศ ทั้งนี้ ภารกิจหลักของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้แก่
(1) บริการให้คำปรึกษาแนะนำ และการฝึกอบรมด้านการเพิ่มผลผลิต ISO 9000 และ ISO 14000 และการจัดการด้านทรัพยากรบุคคลแก่ธุรกิจเป้าหมาย รวมทั้งการพัฒนาวิทยากร และที่ปรึกษาด้านการเพิ่มผลผลิตของ หน่วยงานภายนอก เพื่อขยายผลการเพิ่มผลผลิตให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(2) รณรงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาจิตสำนึกการเพิ่มผลผลิตแก่ธุรกิจผู้ใช้แรงงาน และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง
(3) เป็นศูนย์กลาง รวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการเพิ่มผลผลิตตลอดจนพัฒนารูปแบบและเทคนิควิธีการที่เหมาะสมแก่ธุรกิจของไทย
(4) เป็นที่ให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบาย มาตรการ ในการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตของชาติ
(5) ประสานงานกับองค์กรทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตอย่างไรก็ตาม ภารกิจหลักของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติยังคงเน้นการให้คำปรึกษาแนะนำและบริการฝึกอบรมในระดับหน่วยการผลิต โดยเฉพาะผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม แม้ว่าจะได้มีกิจกรรมในส่วนการเผยแพร่และกระตุ้นจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต สถาบันฯ ยังคงมีขีดความสามารถในขอบเขตที่จำกัดอยู่มาก
ภารกิจภายใต้ขบวนการเพิ่มผลผลิต
การผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาของชาติในส่วนต่างๆ นับเป็นสินค้าสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมที่รัฐควรเป็นผู้ผลิต ทว่าการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตเป็นเรื่องใหม่ที่คาบเกี่ยวกับหลายหน่วยงาน แต่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องล้วนถูกจำกัดโดยบทบาทหน้าที่และลำดับความสำคัญในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานตนทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าสาธารณะที่เป็นองค์รวมได้หน่วยงานที่มีอยู่และมีความพร้อมทางด้านองค์ความรู้ที่จะรับไปประสานดำเนินงานได้แก่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นไปสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจะต้องเลี้ยงตัวเองโดยการหารายได้จากการขายบริการ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ผลิตสินค้าสาธารณะในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมเช่น การสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตได้การพัฒนากลไกในการผลิตสินค้าสาธารณะนี้ จึงควรดำเนินการในลักษณะการจ้างเหมาบริการที่มีคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติผ่านหน่วยงานรัฐหน่วยใดหน่วยหนึ่งเป็นผู้ซื้อบริการจากมูลนิธิสถาบันเพิ่มผลผลิตหรือหน่วยงานอื่นใดที่สามารถผลิตบริการสาธารณะในลักษณะเดียวกัน โดยมีผลได้และระยะเวลาที่ แน่นอน
ทั้งนี้สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติต้องขยายขอบเขตของภารกิจให้ครอบคลุมทั้ง ภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และต้องดำเนินงานติดตาม และประเมินผลแผนงาน/โครงการภายใต้ภารกิจทางยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ประการ โดยจะต้องสร้างตัวชี้วัดการเพิ่มผลผลิต (Productivity Index) และสร้างเกณฑ์ (Benchmarking)เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับมาตรฐานระหว่างประเทศ ในส่วนการสร้างให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตให้เกิดขึ้นในวงกว้าง จะต้องครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายทั้งนักการเมือง เยาวชน ประชาชน ผู้ประกอบการเกษตรกร แรงงาน ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และสื่อมวลชน
การปรับองค์กร
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติควรขยายบทบาทให้ครอบคลุมภารกิจในภาพรวมโดยยกระดับการทำงานขึ้นเป็นหน่วยงานระดับชาติหรือในระดับประเทศ รวมทั้งให้ความสำคัญกับบทบาทในการสนับสนุนให้เกิดการเพิ่มผลผลิตทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ โดยมีขีดความสามารถด้านทรัพยากรสนับสนุนการทำงานที่เพียงพอในการสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นจากหน่วยงานที่ทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง ทั้งนี้สถาบันเพิ่มผลผลิตจะดำเนินการในฐานะเป็นผู้ให้บริการ และรัฐบาลเป็นผู้ว่าจ้างและผู้ประเมินผลงาน
คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร. ปช.)
การเสริมบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงาน
การฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร. ปช.)
สถานภาพปัจจุบัน
คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.)ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแล มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กำหนดนโยบายหลักและทิศทางในการพัฒนาแรงงาน และประสานงานการฝึกอาชีพของผู้อยู่ในกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(2) ประสานแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างระบบการศึกษา และการพัฒนากำลังแรงงานให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องตามทิศทางนโยบายแห่งรัฐ
(3) ประสานนโยบายและแผนการฝึกอาชีพของทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน เพื่อขจัดปัญหาความซ้ำซ้อนและความสิ้นเปลือง
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานในภาครัฐบาลและภาคเอกชนทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณ
(5) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผนของหน่วยงานต่างๆ
(6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานได้ตามที่เห็นสมควรอำนาจหน้าที่ของ กพร.ปช. ดังกล่าว มีความสอดคล้องกับการผลักดันให้ขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศประสบความสำเร็จได้โดยอาศัยโครงสร้างของกฎหมายที่มีอยู่เดิมภารกิจภายใต้ขบวนการเพิ่มผลผลิต
(1) การให้ความสำคัญกับบทบาทภารกิจในการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาแรงงานนอกเหนือจากการประสานแรงงาน
(2) การสร้างแรงจูงใจในการเพิ่มผลผลิต โดยจัดให้มีกองทุนพัฒนาการจัดการและทักษะแรงงาน
(3) การยกระดับทักษะด้วยการจัดให้มีมาตรฐานฝีมือแรงงานทั้งในและนอกระบบให้เชื่อมโยงกับอัตราค่าตอบแทน
(4) การสนับสนุนการทำงานร่วมกันแบบไตรภาคีด้วยการพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของพนักงานในกระบวนการพัฒนาขององค์กรเอกชน
(5) การเตรียมความพร้อมของแรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว ให้สามารถปรับตัวได้ทันและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
การปรับองค์กร
การเสริมความเข้มแข็งและขีดความสามารถของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ กพร.ปช. เพื่อให้สามารถรองรับภารกิจเพิ่มเติมในส่วนของขบวนการเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาแรงงานที่มีเอกภาพและมีเป้าหมายร่วมที่ชัดเจนโดยการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
การเสริมบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
สถานภาพปัจจุบัน
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(กวทช.) มีบทบาทและอำนาจหน้าที่สรุปได้ ดังนี้
(1) พิจารณาอนุมัติแผนหลักเกี่ยวกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมของภาครัฐบาล ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา และส่งเสริมความร่วมมือด้านนี้ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนกับนานาประเทศ
(2) กำหนดนโยบายและควบคุมดูแลการดำเนินงานของสำนักงานในการบริหารกองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพิจารณาจัดสรรทุนสำหรับกิจกรรมหลักต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในการพัฒนาประเทศ
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ รวมทั้งการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน
(4) วางมาตรการ กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับกองทุนเพื่อสนับสนุนการรับและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
(5) อนุมัติแผนการเงินและงบประมาณประจำปีของสำนักงาน
(6) จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะทางขึ้นในสำนักงาน โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนากิจกรรมใดเป็นกรณีพิเศษ
ภารกิจภายใต้ขบวนการเพิ่มผลผลิต
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) จะต้องช่วยสนับสนุนกระบวนการจัดหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศที่เป็นระบบ ซึ่งสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกิจกรรมวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรม
และการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยดำเนินการและสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมจนถึงขั้นที่นำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และต่อสาธารณะ สร้างเสริมบุคลากรและความสามารถในสาขาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีของภาคเอกชน และจัดสถานที่และระบบที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือในลักษณะไตรภาคีระหว่างภาคเอกชน (ผู้ใช้เทคโนโลยี) มหาวิทยาลัย (ผู้ผลิตเทคโนโลยี) และ สวทช. (ผู้ชักนำและร่วมผลิตเทคโนโลยี) รวมทั้งจัดระบบบริการภาคเอกชนและประชาชนโดยทั่วไปในส่วนที่ต้องใช้เทคโนโลยีแผนใหม่ ตลอดจนใช้การลงทุนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะในภาคเอกชน
การปรับองค์กร
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ต้องปรับแนวคิด (Paradigm) และวิธีการทำงานร่วมกับองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานะที่เป็นฐานราก (Embodiment) ของภาคการผลิตและบริการไปสู่การปรับโครงสร้าง และการพัฒนาตามแนวคิดความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง (Strategic partnership)หน่วยงานนโยบายด้านการศึกษาการเสริมบทบาทของหน่วยงานนโยบายด้านการศึกษา
สถานภาพปัจจุบัน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(สกศ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่และภารกิจต่างๆ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในมาตรา 10 ดังนี้
(1) ศึกษาวิเคราะห์และวิจัยปัญหา และภาวะการจัดการศึกษาของประเทศเพื่อเสนอนโยบายและมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวในอันที่จะเสริมสร้างการพัฒนาการศึกษา
(2) ดำเนินการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดการศึกษาของประเทศ
(3) ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ สำหรับช่วงเวลาหนึ่งให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
(4) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และนโยบายการศึกษาของรัฐบาล
(5) เสนอผลการพัฒนาการศึกษารวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาในการกำหนดนโยบายการศึกษาของรัฐบาล
(6) รวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษา
(7) ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งในด้านการจัดทำแผน โครงการพัฒนา และการปฏิบัติงานตามแผน
(8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ หรือสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังดำเนินการปฏิรูประบบการศึกษาของประเทศตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ โดยแบ่งการจัดการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ดังนั้น หน่วยงานที่จะเข้ามามีบทบาทรับผิดชอบดูแลด้านนโยบายการศึกษาของประเทศจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
ภารกิจภายใต้ขบวนการเพิ่มผลผลิต
การสร้างบรรยากาศและโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยประสานเพื่อผลักดันกระบวนการปฏิรูปการศึกษา สอดแทรกจิตสำนึกในการเพิ่มผลผลิตในกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เพื่อเป็นการเตรียมคนที่มีความรู้และทักษะในทางเศรษฐกิจ และมีสติรู้คิดเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทศวรรษหน้า (Moving with Awareness)
10.2 ระบบการประสานงาน
ในทางปฏิบัติ กลไก/องค์กรทั้ง 4 หน่วยงาน มีขีดความสามารถและความพร้อมในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในภารกิจที่กำลังปฏิบัติอยู่ตามกรอบเดิม และในภารกิจใหม่ที่ได้รับการคาดหวังให้เข้ามาเป็นแกนกลางของการขับเคลื่อนขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศ ดังนั้น รัฐจะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและปรับปรุงองค์กรที่มีอยู่ให้สามารถรองรับภารกิจที่กำหนด โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็ง (Strengthening) และยกระดับขีดความสามารถ (Upgrading) ของแต่ละกลไก/องค์กร และสร้างเครือข่ายสัมพันธ์เชื่อมโยงในการทำงานให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน (Networking) โดยทั้ง 4 หน่วยงานหลักนี้จะต้องมีนโยบายเชื่อมโยงและประสานงานกันผ่านทางคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติซึ่งจะจัดตั้งขึ้นโดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นเลขานุการการประสานงานระหว่าง 4 หน่วยงานหลักกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้โดยผ่านระบบเครือข่ายหรือการร่วมงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยในด้านการศึกษา หน่วยงานระดับนโยบายด้านการศึกษานั้นดูแลนโยบายที่ครอบคลุมการศึกษาทั้งในระดับสามัญและอุดมศึกษา ซึ่งครอบคลุมการศึกษาเกือบทั้งหมดของประเทศสำหรับด้านแรงงาน คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร. ปช.) ประกอบด้วยผู้แทน/ข้าราชการระดับสูงจากกระทรวง/ทบวง/กรมต่างๆ ซึ่งสามารถนำนโยบายของคณะกรรมการฯไปปฏิบัติได้ ในส่วนด้านการสร้างจิตสำนึกนั้น
สถาบันเพิ่มผลผลิตสามารถใช้ความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงในระดับผู้ประกอบการ ในการประสานงานและสร้างจิตสำนึกได้ในวงกว้างอย่างไรก็ตามในด้านวิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมต้องเร่งสร้างเครื่อข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวกับภาคการผลิต ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรและการค้า รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆที่มีความสามารถและทรัพยากรในการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-