บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary)
การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เศรษฐกิจและการเมืองโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ได้แก่ ความพยายามในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกระดับ ทั้งในระดับพหุภาคี ภูมิภาค และทวิภาคี การเกิดขึ้นของประเทศกำลังพัฒนาใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ของประเทศจีน รูปแบบของการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ทางภาษี (Non-tariff Barriers : NTB) ถูกนำมาใช้ในการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ต่างเป็นปัจจัยสำคัญที่ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสนใจต่อการกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศในทิศทางที่ชัดเจน และสอดคล้องกับภารกิจดังกล่าวมากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Opened Economy) ประกอบกับ สถานภาพทางการแข่งขันของไทยในเวทีโลกปัจจุบันทั้งทางด้านการผลิต การค้า และการลงทุน ที่อยู่ในสภาวะค่อนข้างต่ำ และในบางส่วนมีแนวโน้มที่ถดถอย คงหนีไม่พ้นที่จะต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเช่นกัน ในการปรับตัวของประเทศไทยนั้น สิ่งสำคัญในเบื้องต้น คือ ประเทศจะต้องมีตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Position) และเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งจากการพิจารณาสถานภาพทางการแข่งขันของไทย สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณเตือนว่า ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบจากประทศที่มีต้นทุนแรงงานถูก และประเทศที่มีระดับเทคโนโลยีที่เหนือกว่า (Nutcracker) การติดอยู่ในกับดักของการเติบโตที่ไร้กำไร การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในสัดส่วนต่ำกว่า (More for Less) และขาดการลงทุนเพื่ออนาคต นอกจากนั้น การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกค่อนข้างต่ำ ตลอดจนไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในภูมิทัศน์
การเมืองและเศรษฐกิจโลก
ดังนั้น ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนาของไทย ควรจะให้ความสำคัญกับการก้าวไปสู่การมีระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่มีสมรรถนะสูง (Modern/High Performance Economy)โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการคือ การเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออก การกำหนดตำแหน่งของสาขาการผลิตที่ประเทศมีความได้เปรียบ เพื่อสร้างความเป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) และการเพิ่มผลผลิต (Productivity) ในทุกภาคการผลิตและบริการ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขันของไทย (Thailand Competitive Strategy) ได้ถูกกำหนดขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การกำหนดตำแหน่งของสาขาการผลิตที่ประเทศไทยมีความเป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) การกำหนด Strategic Thrust ในด้านต่างๆ (การผลิตและบริการ การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ และการต่างประเทศ) และการปรับบทบาทของภาครัฐให้เอื้อต่อภาคเอกชน ทั้งเพื่อลดต้นทุนการประกอบการ การสร้างโอกาสทางธุรกิจ และการเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงาน
1. การกำหนดตำแหน่งของสาขาการผลิตที่ประเทศไทยมีความเป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) ในเบื้องต้น ควรมีประมาณ 8-10 Niches อาทิ การเป็น 1 ใน 10 ประเทศท่องเที่ยวโลก การเป็นศูนย์กลางแฟชั่น การเป็นครัวของโลก การเป็น Top 5 Trader ในเอเซีย หรือการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
2. การกำหนด Strategic Thrust หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดยุทธศาสตร์การแข่งขันทางด้านต่างๆ ได้แก่
2.1 ด้านการเกษตร จะปรับเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นเฉพาะด้านฐานการผลิตไปสู่การดำเนินงานที่ครบวงจร ตั้งแต่การผลิตระดับไร่นา ไปจนถึงมือผู้บริโภค (From Farm to Table) โดยเน้นเรื่องคุณภาพ และความปลอดภัยของสินค้า
2.2 ด้านอุตสาหกรรม ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เพื่อสนองความต้องการของตลาดเป็นหลัก (Mass Customization) โดยจะต้องวางยุทธศาสตร์การพัฒนา 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีศักยภาพแข่งขันในระดับโลก ในระดับภูมิภาค และกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐาน
2.3 ด้านการค้าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ มุ่งเน้นการดำเนินนโยบายคู่ขนาน ให้ความสำคัญกับการเจรจาการค้าในระดับต่างๆ ควบคู่กับการกำหนดกลยุทธ์การนำเข้าในเชิงรุก ในส่วนการค้าบริการ ได้จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจที่ควรพัฒนา ธุรกิจที่สร้างรายได้ที่ทำได้ดีอยู่แล้ว และธุรกิจที่มีการจัดระเบียบ เพื่อให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์และหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ชัดเจน
2.4 ด้านการต่างประเทศ กำหนดให้ไทยเป็นผู้นำในอาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค เป็นศูนย์กลางและจุดเชื่อมในเอเซีย เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ผลักดันให้การร่วมมือในภูมิภาคเอเซีย (ACD) เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างเป็นขั้นตอน กำหนดยุทธศาสตร์การเจรจาที่ชัดเจนในกรอบเวทีต่างๆ โดยให้มีระบบข้อมูลในการทำงาน
2.5 ด้านการคลัง จะต้องมีการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรทั้งระบบ ปรับบทบาทของกรมศุลกากรและกรมสรรพากรในการให้บริการได้อย่างรวดเร็วและไม่ซับซ้อน โดยใช้สื่ออิเล็คทรอนิกส์ และการจัดเก็บภาษีให้เป็นปัจจุบัน ทั่วถึงและเป็นธรรม
2.6 ด้านการลงทุน ให้ความสำคัญกับการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทั้งกายภาพและเทคโนโลยี เน้นสร้างแรงจูงใจการลงทุนที่ใช้ปัญญา เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปรับกฎระเบียบให้โปร่งใส และเน้นการตลาดเชิงรุกและตลาดเป้าหมายของอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ชัดเจน
2.7 ด้านการท่องเที่ยว เน้นสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลาดเป้าหมายเชิงคุณภาพ ตลาดเฉพาะกลุ่มของภูมิภาคและตลาดในประเทศ โดยจะต้องมีการปรับบทบาทของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้สามารถประสานการทำงานร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานราชการอื่น รวมทั้ง ใช้ประโยชน์จากการปรับแผนกลยุทธ์ของบริษัทการบินไทยให้สามารถเป็น Multiple Tourist Hub โดยมีการกำหนด Global Destination Mapping เพื่อทำแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันอย่างชัดเจน
3. การปรับบทบาทของภาครัฐให้เอื้อต่อภาคเอกชน การปรับตัวของประเทศไทยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกจะไม่สำเร็จได้ด้วยดี ถ้าปราศจากการมีกลไกที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน รวมทั้ง สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานที่เหมาะสมและเพียงพอ โดยเฉพาะกลไกของภาครัฐ ที่จะต้องมีการปรับรูปแบบและบทบาทไปพร้อมกัน ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ
ระดับนโยบาย คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งแล้วเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาครัฐและเอกชน รวม 10 คน และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้ ทำหน้าที่ในการกำหนดกรอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งในภาพรวมและรายสาขา กำกับดูแล และผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้ง อนุมัติแผนงานและโครงการภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ระดับปฏิบัติ กระทรวงที่เกี่ยวข้องจะปฏิรูปบทบาทของตนเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การแข่งขันที่ได้กำหนดขึ้น และเพื่อตอบสนองต่อภาคธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เศรษฐกิจและการเมืองโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ได้แก่ ความพยายามในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกระดับ ทั้งในระดับพหุภาคี ภูมิภาค และทวิภาคี การเกิดขึ้นของประเทศกำลังพัฒนาใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ของประเทศจีน รูปแบบของการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ทางภาษี (Non-tariff Barriers : NTB) ถูกนำมาใช้ในการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ต่างเป็นปัจจัยสำคัญที่ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสนใจต่อการกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศในทิศทางที่ชัดเจน และสอดคล้องกับภารกิจดังกล่าวมากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Opened Economy) ประกอบกับ สถานภาพทางการแข่งขันของไทยในเวทีโลกปัจจุบันทั้งทางด้านการผลิต การค้า และการลงทุน ที่อยู่ในสภาวะค่อนข้างต่ำ และในบางส่วนมีแนวโน้มที่ถดถอย คงหนีไม่พ้นที่จะต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเช่นกัน ในการปรับตัวของประเทศไทยนั้น สิ่งสำคัญในเบื้องต้น คือ ประเทศจะต้องมีตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Position) และเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งจากการพิจารณาสถานภาพทางการแข่งขันของไทย สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณเตือนว่า ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบจากประทศที่มีต้นทุนแรงงานถูก และประเทศที่มีระดับเทคโนโลยีที่เหนือกว่า (Nutcracker) การติดอยู่ในกับดักของการเติบโตที่ไร้กำไร การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในสัดส่วนต่ำกว่า (More for Less) และขาดการลงทุนเพื่ออนาคต นอกจากนั้น การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกค่อนข้างต่ำ ตลอดจนไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในภูมิทัศน์
การเมืองและเศรษฐกิจโลก
ดังนั้น ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนาของไทย ควรจะให้ความสำคัญกับการก้าวไปสู่การมีระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่มีสมรรถนะสูง (Modern/High Performance Economy)โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการคือ การเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออก การกำหนดตำแหน่งของสาขาการผลิตที่ประเทศมีความได้เปรียบ เพื่อสร้างความเป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) และการเพิ่มผลผลิต (Productivity) ในทุกภาคการผลิตและบริการ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ยุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขันของไทย (Thailand Competitive Strategy) ได้ถูกกำหนดขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การกำหนดตำแหน่งของสาขาการผลิตที่ประเทศไทยมีความเป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) การกำหนด Strategic Thrust ในด้านต่างๆ (การผลิตและบริการ การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ และการต่างประเทศ) และการปรับบทบาทของภาครัฐให้เอื้อต่อภาคเอกชน ทั้งเพื่อลดต้นทุนการประกอบการ การสร้างโอกาสทางธุรกิจ และการเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงาน
1. การกำหนดตำแหน่งของสาขาการผลิตที่ประเทศไทยมีความเป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) ในเบื้องต้น ควรมีประมาณ 8-10 Niches อาทิ การเป็น 1 ใน 10 ประเทศท่องเที่ยวโลก การเป็นศูนย์กลางแฟชั่น การเป็นครัวของโลก การเป็น Top 5 Trader ในเอเซีย หรือการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
2. การกำหนด Strategic Thrust หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดยุทธศาสตร์การแข่งขันทางด้านต่างๆ ได้แก่
2.1 ด้านการเกษตร จะปรับเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นเฉพาะด้านฐานการผลิตไปสู่การดำเนินงานที่ครบวงจร ตั้งแต่การผลิตระดับไร่นา ไปจนถึงมือผู้บริโภค (From Farm to Table) โดยเน้นเรื่องคุณภาพ และความปลอดภัยของสินค้า
2.2 ด้านอุตสาหกรรม ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เพื่อสนองความต้องการของตลาดเป็นหลัก (Mass Customization) โดยจะต้องวางยุทธศาสตร์การพัฒนา 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีศักยภาพแข่งขันในระดับโลก ในระดับภูมิภาค และกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐาน
2.3 ด้านการค้าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ มุ่งเน้นการดำเนินนโยบายคู่ขนาน ให้ความสำคัญกับการเจรจาการค้าในระดับต่างๆ ควบคู่กับการกำหนดกลยุทธ์การนำเข้าในเชิงรุก ในส่วนการค้าบริการ ได้จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจที่ควรพัฒนา ธุรกิจที่สร้างรายได้ที่ทำได้ดีอยู่แล้ว และธุรกิจที่มีการจัดระเบียบ เพื่อให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์และหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ชัดเจน
2.4 ด้านการต่างประเทศ กำหนดให้ไทยเป็นผู้นำในอาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค เป็นศูนย์กลางและจุดเชื่อมในเอเซีย เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ผลักดันให้การร่วมมือในภูมิภาคเอเซีย (ACD) เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างเป็นขั้นตอน กำหนดยุทธศาสตร์การเจรจาที่ชัดเจนในกรอบเวทีต่างๆ โดยให้มีระบบข้อมูลในการทำงาน
2.5 ด้านการคลัง จะต้องมีการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรทั้งระบบ ปรับบทบาทของกรมศุลกากรและกรมสรรพากรในการให้บริการได้อย่างรวดเร็วและไม่ซับซ้อน โดยใช้สื่ออิเล็คทรอนิกส์ และการจัดเก็บภาษีให้เป็นปัจจุบัน ทั่วถึงและเป็นธรรม
2.6 ด้านการลงทุน ให้ความสำคัญกับการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทั้งกายภาพและเทคโนโลยี เน้นสร้างแรงจูงใจการลงทุนที่ใช้ปัญญา เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปรับกฎระเบียบให้โปร่งใส และเน้นการตลาดเชิงรุกและตลาดเป้าหมายของอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ชัดเจน
2.7 ด้านการท่องเที่ยว เน้นสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลาดเป้าหมายเชิงคุณภาพ ตลาดเฉพาะกลุ่มของภูมิภาคและตลาดในประเทศ โดยจะต้องมีการปรับบทบาทของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้สามารถประสานการทำงานร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานราชการอื่น รวมทั้ง ใช้ประโยชน์จากการปรับแผนกลยุทธ์ของบริษัทการบินไทยให้สามารถเป็น Multiple Tourist Hub โดยมีการกำหนด Global Destination Mapping เพื่อทำแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกันอย่างชัดเจน
3. การปรับบทบาทของภาครัฐให้เอื้อต่อภาคเอกชน การปรับตัวของประเทศไทยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกจะไม่สำเร็จได้ด้วยดี ถ้าปราศจากการมีกลไกที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน รวมทั้ง สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานที่เหมาะสมและเพียงพอ โดยเฉพาะกลไกของภาครัฐ ที่จะต้องมีการปรับรูปแบบและบทบาทไปพร้อมกัน ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ
ระดับนโยบาย คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งแล้วเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาครัฐและเอกชน รวม 10 คน และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้ ทำหน้าที่ในการกำหนดกรอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งในภาพรวมและรายสาขา กำกับดูแล และผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้ง อนุมัติแผนงานและโครงการภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ระดับปฏิบัติ กระทรวงที่เกี่ยวข้องจะปฏิรูปบทบาทของตนเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การแข่งขันที่ได้กำหนดขึ้น และเพื่อตอบสนองต่อภาคธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-