แท็ก
วิกฤติเศรษฐกิจ
(4) ในภาคบริการ ช่วงปี 2535-2543 มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.26 ต่อปีเป็นผลมาจากการขยายตัวของผลิตภาพปัจจัยแรงงานและปัจจัยทุน ร้อยละ 1.19 และร้อยละ 4.89ตามลำดับ ในขณะที่ TFP ติดลบร้อยละ 2.82 และเมื่อพิจารณาในแต่ละช่วง พบว่า TFP ของสาขาบริการและอื่นๆ ในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนวิกฤติและช่วงวิกฤติโดยที่ค่า TFP ในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจมีค่าติดลบร้อยละ 0.03 เทียบกับในช่วงก่อนวิกฤติและช่วงวิกฤติที่มีค่า TFP ติดลบเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.66 และร้อยละ 8.52 ตามลำดับ
2.4 ด้านบริการ
ภาคบริการที่สำคัญของไทย คือ การท่องเที่ยว แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 9.5 ล้านคนในปี 2543 เป็น 10.06 ล้านคนในปี 2544 แต่ส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลกเริ่มลดลงจากอันดับที่ 19 ในปี 2542 เป็นอันดับที่ 21 ในปี 2543 เช่นเดียวกับส่วนแบ่งตลาดนักท่องเที่ยวของไทยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ลดลง รวมถึงระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยมีแนวโน้มลดลงในเกือบทุกตลาด ในขณะที่รายจ่ายของนักท่องเที่ยวต่อคนต่อวันที่อยู่ในระดับคงที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาคือ 3,700-3,800 บาท ทั้งนี้ สาเหตุที่การเติบโตของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยลดลงนั้นเนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ทำให้คนไม่ต้องการที่จะท่องเที่ยวมากนัก เหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ ทำให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ข่าวลือเรื่องความไม่สงบทางภาคใต้ของประเทศไทยภายหลังที่เกิดวิกฤตในสหรัฐอเมริกาปัญหาทัวร์คุณภาพต่ำในตลาดจีนและตลาดฝรั่งเศส และ ความไม่สะดวกในการเดินทาง อันเป็นผลมาจากการยกเลิกเที่ยวบินและเปลี่ยนเส้นทางบินในบางเส้นทาง เช่น สายการบิน Alitalia ยกเลิกเที่ยวบินจากมิลานมาประเทศไทย และสายการบินไทยเปลี่ยนเส้นทางบินตรงเพิร์ธ-ภูเก็ต มาบินผ่านกรุงเทพฯ แทน เป็นต้น
3. การกำหนดตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์และเป้าหมายของการพัฒนา
จากการทบทวนสถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองโลก และการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลต่อสมรรถนะการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป พบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต การค้า และการลงทุนของประเทศไทยโดยสะท้อนถึงสัญญาณเตือนว่า ประเทศไทยได้ตกอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบจากประเทศที่มีต้นทุนแรงงานถูก และประเทศที่มีระดับเทคโนโลยีที่เหนือกว่า(Nutcracker) รวมทั้งยังติดอยู่ในกับดักของการเติบโตที่ไร้กำไร ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดจากการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า (More for Less) มาสู่การลงทุนที่ได้มูลค่าตอบแทนที่มากกว่า(More for More Value) และห่วงโซ่มูลค่าที่เน้นอุปสงค์เป็นตัวนำ (Demand Driven Value Chain) นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องของการลงทุนเพื่ออนาคตมีน้อย และมีความล่าช้าในการตอบสนองต่อ
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกต่ำ ตลอดจนไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในภูมิทัศน์การเมืองและเศรษฐกิจโลก ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศ และกรอบของการแข่งขันและร่วมมือไปพร้อมๆ กัน (Co-opetitive Strategy) ในบริบทของเศรษฐกิจการเมืองโลก
การปรับทิศทางการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนาของประเทศ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยของสภาวะแวดล้อมต่างๆ ดังกล่าว ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้ เพื่อนำประเทศไปสู่แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมทั้งในปัจจุบันและอนาคต และการจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ
3.1 ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนา (Desired Strategic Position)
ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนา (Desired Strategic Position) ได้กำหนดไว้ใน เบื้องต้น คือ การให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่/ที่มีสมรรถนะสูง (Modern/High Performance Economy) ซึ่งหมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
(1) ระบบเศรษฐกิจที่แข่งขันด้วยความเร็ว (Economy of Speed) ซึ่งหมายถึงการตอบสนองและการปรับตัวที่รวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
(2) การมีธรรมาภิบาล ทั้งในภาครัฐและเอกชน (Good and Corporate Governance) คือ การนำหลักการบริหารจัดการที่ดีมาปฏิบัติ ได้แก่ หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบหลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ หลักนิติธรรม และหลักคุณธรรม
(3) การมีโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ(Efficient Infrastructure) โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่พอเพียงและมีคุณภาพในระดับมาตรฐาน รวมทั้งมีความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับคุณภาพสินค้า กระตุ้นการพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะที่ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
(4) การบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่รอบคอบ (Sound Economic Management) ในการดำเนินนโยบายด้านการเงิน การคลัง และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนระบบเศรษฐกิจให้มีสมดุล ภูมิคุ้มกัน และมีเสถียรภาพ
(5) ทุนทางสังคมที่มีคุณภาพ (High Quality of Social Capital) ทั้งในส่วนของทรัพยากรมนุษย์ รวมตลอดทั้งวัฒนธรรม จารีตประเพณี และชีวิตความเป็นอยู่
3.2 เป้าหมายการพัฒนา
การที่จะนำพาประเทศให้สามารถบรรลุถึงตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนาดังกล่าวข้างต้น เห็นควรกำหนดเป้าหมายหลักของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อยกระดับการแข่งขัน เพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนี้
(1) เพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทย จากระดับร้อยละ 0.9 ในปี 2544 ให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี 2549
(2) กำหนดตำแหน่งของสาขาที่ประเทศมีความได้เปรียบเพื่อสร้างความเป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) ประมาณ 8-10 สาขา อาทิ การเป็น 1 ใน 10 ประเทศท่องเที่ยวโลกการเป็นศูนย์กลางแฟชั่น การเป็นครัวของโลก (Kicthen of the World) การเป็นประเทศผู้นำการค้า5 อันดับแรกในเอเชีย หรือการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
(3) การเพิ่มผลผลิต (Productivity) ในทุกภาคการผลิตและบริการ
4. ยุทธศาสตร์การแข่งขันของเศรษฐกิจไทย (Thailand Competitive Strategy)
การที่จะบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้จำเป็นที่จะต้องมียุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขันของประเทศไทย (Thailand Competitive Strategy) ที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วย
4.1 การกำหนดตำแหน่งของสาขาที่ประเทศไทยมีความเป็นเลิศในตลาดโลก (GlobalNiche) เพื่อการพัฒนาจุดเด่นของสินค้าและบริการไทยให้มีความแตกต่างจากประเทศคู่แข่งขัน และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รวมทั้ง สามารถนำพาประเทศไปสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ที่มีสมรรถนะสูง โดยมีขั้นตอนของการดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ การกำหนดเป้าหมาย (Goal) และตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนา (Positioning) รวมทั้ง กลยุทธเพื่อการดำเนินงาน (Strategy)
4.2 การกำหนดยุทธศาสตร์การแข่งขัน (Strategic Thrust) ในด้านต่างๆ ได้แก่
(1) ด้านการผลิตและบริการ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ในการดำเนินงานใหม่ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ดังนี้
(1.1) ด้านการเกษตร จะต้องให้ความสำคัญกับการเกษตรทั้งระบบจากการผลิตระดับไร่นามาสู่ผู้บริโภคคนสุดท้ายอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย โดยเน้นการผลิตตามความต้องการของตลาด เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างความหลากหลายของสินค้า
(1.2) ด้านอุตสาหกรรม จะต้องให้ความสำคัญกับการผลิตที่สนองความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นการเพิ่มผลผลิต การปรับห่วงโซ่อุปทาน การสร้างมูลค่าเพิ่ม และมีการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความแตกต่างและมีศักยภาพอย่างเป็นระบบในแต่ละกลุ่มสินค้า (Sector) รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่เน้นกรอบของการแข่งขันและความร่วมมือไปพร้อมๆ กัน (Cooperative Strategy) อาทิ แนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เป็นต้น
(1.3) ด้านการบริการท่องเที่ยว จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดจากการลงทุนที่มากแต่ให้ผลตอบแทนในสัดส่วนที่ต่ำ (More for Less) มาสู่การลงทุนที่ได้มูลค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น (More for More Value) และการกำหนดตำแหน่งทางการตลาด (Market Positioning)มากกว่าการดำเนินการตลาด (Marketing)
(2) ด้านการลงทุน ควรให้ความสำคัญกับการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและเทคโนโลยี และกระตุ้นการถ่ายทอด พัฒนาเทคโนโลยีและทักษะ รวมทั้งปรับโครงสร้างด้านสิ่งจูงใจเพื่อดึงดูดการลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดจนให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรม
(3) ด้านการค้าระหว่างประเทศ มุ่งเน้นการกระจายตลาดสินค้าส่งออกให้กว้างขวางส่งเสริมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดหาและเป็นช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้า ทบทวน/ปรับปรุงกฎระเบียบและกฎหมายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้ง ปรับระบบการเจรจาและความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจการค้าอย่างเป็นเอกภาพ เสริมสร้างอำนาจต่อรองของไทยในเวทีเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ และส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน การกำหนดยุทธศาสตร์การค้าบริการระหว่างประเทศ โดยส่งเสริมการส่งออกในสินค้าบริการมากขึ้นภายใต้สัญลักษณ์ทางการค้า (Brand Name) ของไทย และที่สำคัญให้มีองค์กรดูแลภาพรวมทิศทาง และนโยบายด้านการค้าบริการที่ชัดเจน
(4) ด้านการต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับบทบาทของประเทศไทยในการเป็น ผู้นำในเวทีความร่วมมือระดับภูมิภาค และเป็นจุดเชื่อมในเอเชียระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้ง การมียุทธศาสตร์การเจรจาที่ชัดเจนในกรอบเวทีต่างๆ ตลอดจนมีระบบข้อมูลเชิงลึกในการทำงาน
4.3 การปรับบทบาทภาครัฐให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนในด้านต่างๆได้แก่
3.1 ช่วยลดต้นทุนการประกอบธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างต่อเนื่องและคาดการณ์ได้ การผ่อนคลายข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ การปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
3.2 สร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยเน้นการลดความเสี่ยงของภาคธุรกิจ การเพิ่ม Critical Mass การส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่มูลค่า และการสร้างระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ทั้งในภาครัฐและเอกชน
3.3 เสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงานของภาคเอกชน ซึ่งประกอบไปด้วยการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การส่งเสริมการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่รวดเร็ว การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม และการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในทุกภาคส่วนของสังคม
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
2.4 ด้านบริการ
ภาคบริการที่สำคัญของไทย คือ การท่องเที่ยว แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 9.5 ล้านคนในปี 2543 เป็น 10.06 ล้านคนในปี 2544 แต่ส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลกเริ่มลดลงจากอันดับที่ 19 ในปี 2542 เป็นอันดับที่ 21 ในปี 2543 เช่นเดียวกับส่วนแบ่งตลาดนักท่องเที่ยวของไทยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ลดลง รวมถึงระยะเวลาพำนักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยมีแนวโน้มลดลงในเกือบทุกตลาด ในขณะที่รายจ่ายของนักท่องเที่ยวต่อคนต่อวันที่อยู่ในระดับคงที่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาคือ 3,700-3,800 บาท ทั้งนี้ สาเหตุที่การเติบโตของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยลดลงนั้นเนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ทำให้คนไม่ต้องการที่จะท่องเที่ยวมากนัก เหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ ทำให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ข่าวลือเรื่องความไม่สงบทางภาคใต้ของประเทศไทยภายหลังที่เกิดวิกฤตในสหรัฐอเมริกาปัญหาทัวร์คุณภาพต่ำในตลาดจีนและตลาดฝรั่งเศส และ ความไม่สะดวกในการเดินทาง อันเป็นผลมาจากการยกเลิกเที่ยวบินและเปลี่ยนเส้นทางบินในบางเส้นทาง เช่น สายการบิน Alitalia ยกเลิกเที่ยวบินจากมิลานมาประเทศไทย และสายการบินไทยเปลี่ยนเส้นทางบินตรงเพิร์ธ-ภูเก็ต มาบินผ่านกรุงเทพฯ แทน เป็นต้น
3. การกำหนดตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์และเป้าหมายของการพัฒนา
จากการทบทวนสถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองโลก และการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลต่อสมรรถนะการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป พบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต การค้า และการลงทุนของประเทศไทยโดยสะท้อนถึงสัญญาณเตือนว่า ประเทศไทยได้ตกอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบจากประเทศที่มีต้นทุนแรงงานถูก และประเทศที่มีระดับเทคโนโลยีที่เหนือกว่า(Nutcracker) รวมทั้งยังติดอยู่ในกับดักของการเติบโตที่ไร้กำไร ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดจากการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่า (More for Less) มาสู่การลงทุนที่ได้มูลค่าตอบแทนที่มากกว่า(More for More Value) และห่วงโซ่มูลค่าที่เน้นอุปสงค์เป็นตัวนำ (Demand Driven Value Chain) นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนในเรื่องของการลงทุนเพื่ออนาคตมีน้อย และมีความล่าช้าในการตอบสนองต่อ
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกต่ำ ตลอดจนไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในภูมิทัศน์การเมืองและเศรษฐกิจโลก ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศ และกรอบของการแข่งขันและร่วมมือไปพร้อมๆ กัน (Co-opetitive Strategy) ในบริบทของเศรษฐกิจการเมืองโลก
การปรับทิศทางการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนาของประเทศ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยของสภาวะแวดล้อมต่างๆ ดังกล่าว ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้ เพื่อนำประเทศไปสู่แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมทั้งในปัจจุบันและอนาคต และการจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ
3.1 ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนา (Desired Strategic Position)
ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนา (Desired Strategic Position) ได้กำหนดไว้ใน เบื้องต้น คือ การให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่/ที่มีสมรรถนะสูง (Modern/High Performance Economy) ซึ่งหมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
(1) ระบบเศรษฐกิจที่แข่งขันด้วยความเร็ว (Economy of Speed) ซึ่งหมายถึงการตอบสนองและการปรับตัวที่รวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
(2) การมีธรรมาภิบาล ทั้งในภาครัฐและเอกชน (Good and Corporate Governance) คือ การนำหลักการบริหารจัดการที่ดีมาปฏิบัติ ได้แก่ หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบหลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ หลักนิติธรรม และหลักคุณธรรม
(3) การมีโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ(Efficient Infrastructure) โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่พอเพียงและมีคุณภาพในระดับมาตรฐาน รวมทั้งมีความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับคุณภาพสินค้า กระตุ้นการพัฒนานวัตกรรม โดยเฉพาะที่ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
(4) การบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่รอบคอบ (Sound Economic Management) ในการดำเนินนโยบายด้านการเงิน การคลัง และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนระบบเศรษฐกิจให้มีสมดุล ภูมิคุ้มกัน และมีเสถียรภาพ
(5) ทุนทางสังคมที่มีคุณภาพ (High Quality of Social Capital) ทั้งในส่วนของทรัพยากรมนุษย์ รวมตลอดทั้งวัฒนธรรม จารีตประเพณี และชีวิตความเป็นอยู่
3.2 เป้าหมายการพัฒนา
การที่จะนำพาประเทศให้สามารถบรรลุถึงตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนาดังกล่าวข้างต้น เห็นควรกำหนดเป้าหมายหลักของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อยกระดับการแข่งขัน เพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนี้
(1) เพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทย จากระดับร้อยละ 0.9 ในปี 2544 ให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.1 ของตลาดโลกในปี 2549
(2) กำหนดตำแหน่งของสาขาที่ประเทศมีความได้เปรียบเพื่อสร้างความเป็นเลิศในตลาดโลก (Global Niche) ประมาณ 8-10 สาขา อาทิ การเป็น 1 ใน 10 ประเทศท่องเที่ยวโลกการเป็นศูนย์กลางแฟชั่น การเป็นครัวของโลก (Kicthen of the World) การเป็นประเทศผู้นำการค้า5 อันดับแรกในเอเชีย หรือการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
(3) การเพิ่มผลผลิต (Productivity) ในทุกภาคการผลิตและบริการ
4. ยุทธศาสตร์การแข่งขันของเศรษฐกิจไทย (Thailand Competitive Strategy)
การที่จะบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้จำเป็นที่จะต้องมียุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขันของประเทศไทย (Thailand Competitive Strategy) ที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประกอบด้วย
4.1 การกำหนดตำแหน่งของสาขาที่ประเทศไทยมีความเป็นเลิศในตลาดโลก (GlobalNiche) เพื่อการพัฒนาจุดเด่นของสินค้าและบริการไทยให้มีความแตกต่างจากประเทศคู่แข่งขัน และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รวมทั้ง สามารถนำพาประเทศไปสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ที่มีสมรรถนะสูง โดยมีขั้นตอนของการดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ การกำหนดเป้าหมาย (Goal) และตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนา (Positioning) รวมทั้ง กลยุทธเพื่อการดำเนินงาน (Strategy)
4.2 การกำหนดยุทธศาสตร์การแข่งขัน (Strategic Thrust) ในด้านต่างๆ ได้แก่
(1) ด้านการผลิตและบริการ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ในการดำเนินงานใหม่ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ดังนี้
(1.1) ด้านการเกษตร จะต้องให้ความสำคัญกับการเกษตรทั้งระบบจากการผลิตระดับไร่นามาสู่ผู้บริโภคคนสุดท้ายอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย โดยเน้นการผลิตตามความต้องการของตลาด เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างความหลากหลายของสินค้า
(1.2) ด้านอุตสาหกรรม จะต้องให้ความสำคัญกับการผลิตที่สนองความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นการเพิ่มผลผลิต การปรับห่วงโซ่อุปทาน การสร้างมูลค่าเพิ่ม และมีการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความแตกต่างและมีศักยภาพอย่างเป็นระบบในแต่ละกลุ่มสินค้า (Sector) รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่เน้นกรอบของการแข่งขันและความร่วมมือไปพร้อมๆ กัน (Cooperative Strategy) อาทิ แนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เป็นต้น
(1.3) ด้านการบริการท่องเที่ยว จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดจากการลงทุนที่มากแต่ให้ผลตอบแทนในสัดส่วนที่ต่ำ (More for Less) มาสู่การลงทุนที่ได้มูลค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น (More for More Value) และการกำหนดตำแหน่งทางการตลาด (Market Positioning)มากกว่าการดำเนินการตลาด (Marketing)
(2) ด้านการลงทุน ควรให้ความสำคัญกับการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและเทคโนโลยี และกระตุ้นการถ่ายทอด พัฒนาเทคโนโลยีและทักษะ รวมทั้งปรับโครงสร้างด้านสิ่งจูงใจเพื่อดึงดูดการลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดจนให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรม
(3) ด้านการค้าระหว่างประเทศ มุ่งเน้นการกระจายตลาดสินค้าส่งออกให้กว้างขวางส่งเสริมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดหาและเป็นช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้า ทบทวน/ปรับปรุงกฎระเบียบและกฎหมายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้ง ปรับระบบการเจรจาและความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจการค้าอย่างเป็นเอกภาพ เสริมสร้างอำนาจต่อรองของไทยในเวทีเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ และส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน การกำหนดยุทธศาสตร์การค้าบริการระหว่างประเทศ โดยส่งเสริมการส่งออกในสินค้าบริการมากขึ้นภายใต้สัญลักษณ์ทางการค้า (Brand Name) ของไทย และที่สำคัญให้มีองค์กรดูแลภาพรวมทิศทาง และนโยบายด้านการค้าบริการที่ชัดเจน
(4) ด้านการต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับบทบาทของประเทศไทยในการเป็น ผู้นำในเวทีความร่วมมือระดับภูมิภาค และเป็นจุดเชื่อมในเอเชียระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้ง การมียุทธศาสตร์การเจรจาที่ชัดเจนในกรอบเวทีต่างๆ ตลอดจนมีระบบข้อมูลเชิงลึกในการทำงาน
4.3 การปรับบทบาทภาครัฐให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนในด้านต่างๆได้แก่
3.1 ช่วยลดต้นทุนการประกอบธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างต่อเนื่องและคาดการณ์ได้ การผ่อนคลายข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ การปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
3.2 สร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยเน้นการลดความเสี่ยงของภาคธุรกิจ การเพิ่ม Critical Mass การส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่มูลค่า และการสร้างระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ทั้งในภาครัฐและเอกชน
3.3 เสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงานของภาคเอกชน ซึ่งประกอบไปด้วยการกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การส่งเสริมการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่รวดเร็ว การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม และการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในทุกภาคส่วนของสังคม
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-