(ต่อ1)บทสรุปสำหรับผู้บริหาร Executive Summary (ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 2, 2004 15:06 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

        ยุทธศาสตร์การค้าบริการระหว่างประเทศ
(1) การปรับเปลี่ยนจากผู้นำเข้าเป็นผู้ส่งออกการบริการ
* ลดการออกไปใช้บริการในต่างประเทศ เช่น การศึกษา ท่องเที่ยว
* ส่งเสริมการส่งออกธุรกิจที่มีศักยภาพ ได้แก่ ธุรกิจที่สร้างรายได้ เช่น การจัดroad show และจัด business contact ให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการไทยพบกับผู้แทนและนักธุรกิจต่างชาติ (กรมส่งเสริมการส่งออกมีเป้าหมายที่จะเพิ่มร้านอาหารในต่างประเทศ)
* สร้าง Image การให้บริการในตลาดที่มีกำลังซื้อสูง (Thailand's brand) เช่น ภัตตาคารไทย นวดแผนโบราณไทย และไปในตลาดที่มีกำลังซื้อ เช่น ยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น
* พัฒนาผู้ประกอบการสู่สากล (ดังที่กรมส่งเสริมการส่งออกและกรมทะเบียนการค้าดำเนินการอยู่) เช่น ปรับปรุงให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ทำฐานข้อมูลเชื่อมโยงกับต่างประเทศ การอบรมผู้ประกอบการให้เป็นสากล
(2) การปรับการเจรจาจากการตั้งรับเป็นการรุก
* เรียกร้องให้การเปิดตลาดบริการที่ไทยมีศักยภาพ ซึ่งในอดีตไทยเป็นฝ่ายตั้งรับไม่เรียกร้อง (request) ประเทศใด และเป็นฝ่ายที่ถูกต่างชาติเรียกร้องให้พิจารณาเปิดตลาด จะต้องเป็นฝ่ายรุก โดยการมี request เขาบ้าง
* สร้างกฎระเบียบ/ยกมาตรฐานคุณภาพให้ทัดเทียมต่างประเทศ คือ เมื่อเปิดตลาดแล้วต้องมีกฎระเบียบที่สร้างอุปสรรคทางการค้าแอบแฝง เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น การกำหนดมาตรฐานคุณภาพ หรือกำหนดให้ต้องมีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น เป็นต้น
(3) การปรับบทบาทองค์กร
* ให้มีองค์กรดูแลภาพรวมทิศทาง/นโยบายด้านการค้าบริการ (เช่น กำหนดทิศทางว่า ไทยจะมุ่งเน้นการค้าบริการด้านใด เปิดเสรีได้หรือไม่)
* ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในบริการที่มีศักยภาพใน 2 กลุ่มธุรกิจบริการที่กล่าวไปแล้วข้างต้น คือ กลุ่มธุรกิจบริการที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ และกลุ่มธุรกิจบริการที่ควรพัฒนา
ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว
ประเด็นท้าทาย
จากการประเมินการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมโลก พบว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวคิดความต้องการของนักท่องเที่ยว รวมทั้งวิธีการดำเนินงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งด้านการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งสามารถสรุปความเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์โลกที่ส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยวได้ ดังนี้
1. Globalisation หมายถึง การรับรู้ข้อมูลข่าวสารภายในโลกที่รวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
2. New Competitors หมายถึง การเกิดคู่แข่งขันใหม่ๆ ซึ่งนำเสนอสินค้าทางการท่องเที่ยวที่มีความใกล้เคียงกัน ทำให้การแข่งขันมีสูงขึ้น และผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น
3. Sustainable Tourism หมายถึง แนวคิดในด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือการ ท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แต่ให้เกิดการกระจายผลทางเศรษฐกิจสู่ชุมชนท้องถิ่นมากที่สุด ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวในแนวทางใหม่และส่งผลกระทบต่อแนวคิดการคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
4. Quality Based Products หมายถึง การคำนึงถึงคุณภาพมากกว่าปริมาณ ในราคา ที่สมเหตุสมผล
5. IT หมายถึง การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องทางในการเผยแพร่และการขาย รวมไปถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ
6. Human Rights and World Peace ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการเกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย และสงครามในบริเวณต่างๆ จึงมีแนวคิดในการใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างสันติภาพในโลกเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ทั้งยังเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ความรู้ และความเข้าใจระหว่างกัน
7. Change of Lifestyle หมายถึง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบความต้องการและแนวทางการดำรงชีวิต เช่น การมีเวลาเดินทางลดลงในขณะที่มีเงินมากพอ (Time Poor Money Ricln) ทำให้เกิดความต้องการสินค้าเพื่อสนองตอบความต้องการเฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การนำเสนอสินค้า จะเป็นไปในลักษณะ Tailor-Made เฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
8. Safety and Security หมายถึง นักท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งมีอิทธิพลสูงต่อการคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของนักท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็ว
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวไทย 3 ปี
จากการศึกษาวิเคราะห์จากประเด็นท้าทายดังที่กล่าวไปแล้ว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้นำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยระยะ 3 ปี ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติไปแล้วเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2545 โดยนำเสนอกรอบกลยุทธ์การดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์สำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์
กลยุทธ์ที่ 1 : ศึกษาและจัดทำ Positioning ของประเทศไทยในตลาดการท่องเที่ยวโลก เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย โดยเน้นให้ประเทศเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ มาตรฐานโลก
กลยุทธ์ที่ 2 : กำหนดและเผยแพร่ Brand Name ของประเทศไทย เพื่อมุ่งนำเสนอประเทศไทยในรูปแบบที่แตกต่างจากคู่แข่งขันในภูมิภาคเดียว โดยนำเอกลักษณ์ของประเทศไทยมานำเสนอ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาสินค้าและบริการ
กำหนดแนวทางการพัฒนาสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเพื่อให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน โดยแบ่งกลุ่มสินค้าที่จะดำเนินการพัฒนา ใน 3 ปี ในรูปแบบของ Cluster 5 กลุ่ม เพื่อทำให้กิจกรรมต่างๆ ของการท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงกัน ดังนี้
กลุ่ม 1 : หาดทราย ชายทะเล
กลุ่ม 2 : อุทยาน ป่าเขา
กลุ่ม 3 : ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม
กลุ่ม 4 : สินค้าตามความสนใจเฉพาะ
กลุ่ม 5 : สินค้าที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กลยุทธ์ที่ 1 : การขยายพื้นที่ท่องเที่ยว โดย
1. ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในระดับต่างๆ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวในภูมิภาค และดึงนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น
2. ผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมด้านการบริการและการท่องเที่ยว
3. ผลักดันอย่างต่อเนื่องให้ประเทศไทยช่วงชิงการเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว (Tourism Hub) โดยเฉพาะด้านการบินจากสิงคโปร์
กลยุทธ์ที่ 2 : การปรับเปลี่ยนจุดเน้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดย
1. มุ่งกลุ่มเป้าหมายคุณภาพควบคู่กับรักษาการเติบโตของตลาดเชิงปริมาณ ทั้งตลาด ในประเทศและต่างประเทศ โดยมีตลาดเป้าหมายที่สำคัญ แบ่งได้เป็น
1.1 ตลาดเป้าหมายคุณภาพ (ตลาดต่างประเทศ)
* ภูมิภาคเอเชีย : ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลี จีน
* ภูมิภาคโอเชียเนีย : ออสเตรเลีย
* ภูมิภาคยุโรป : อังกฤษ เยอรมัน สแกนดิเนเวีย ฝรั่งเศส อิตาลี และ เนเธอร์แลนด์
* ภูมิภาคตะวันออกกลาง : UAE และ อิสราเอล
1.2 ตลาดเฉพาะกลุ่ม (ตลาดต่างประเทศ) ประกอบด้วย กลุ่ม MICE
กลุ่มเยาวชน กลุ่ม Long Stay กลุ่ม Sport (กลุ่มกอล์ฟและกลุ่มดำน้ำ) กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มศาสนา และกลุ่มครอบครัว
1.3 ตลาดในประเทศ ประกอบด้วย กลุ่ม MICE กลุ่มครอบครัว กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มเยาวชน
2. เน้นการดำเนินงานแบบ More for More เพื่อเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
3. เพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และเพิ่มเครือข่าย ในการทำการตลาด
4. เน้นการทำตลาดแบบ Target Marketing ควบคู่กับการทำตลาดแบบ Mass Marketing
กลยุทธ์ที่ 3 : การกำหนดกลยุทธ์และการบริหารจัดการใหม่ โดยการเปลี่ยนยุทธศาสตร์การจัดการจากส่วนกลางเป็นส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มากขึ้น
กลยุทธ์ที่ 4 : การแบ่งภาระรับผิดชอบใหม่ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพและบทบาทในการบริหารจัดการให้กับท้องถิ่นมากขึ้น
กลยุทธ์ที่ 5 : การปรับบทบาทองค์กรการบริหาร (Restructure) โดยการแบ่งความ รับผิดชอบให้ชัดเจน ดังนี้
1. ภาครัฐ เป็น Regulators กำหนดมาตรฐานและบังคับใช้กฎหมาย
2. ภาคเอกชน เป็น Self Regulation และสร้างเครือข่ายการขายให้แข่งขันได้ในระดับโลก
3. องค์กรท้องถิ่น เป็นผู้บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว
(ยังมีต่อ).../ยุทธศาสตร์การ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ