แท็ก
สารสนเทศ
ยุทธศาสตร์ด้านการคลัง
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งทางด้านการค้าและการเงินระหว่างประเทศในยุคสารสนเทศในปัจจุบัน เป็นความท้าทายของคนไทยในการร่วมมือกันในการรักษาเสถียร-ภาพทางเศรษฐกิจ สร้างการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและเป็นธรรม ให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ และกับคนไทยทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต
ภาคราชการได้ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจจนประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ และถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปการทำงานให้ภาคราชการเป็นกลไกในการผลักดันการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ให้ประเทศเข้าสู่ระดับการพัฒนาที่สูงขึ้น
กระทรวงการคลังมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิรูประบบงานและการทำงานของหน่วยงาน ภายใต้สังกัดของกระทรวงอย่างจริงจังให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใส และพร้อมให้บริการกับประชาชน โดยกระทรวงการได้จัดทำ "แผนปฏิรูปกระทรวงการคลัง" เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวและให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในกระทรวงการคลัง
แผนปฏิรูปกระทรวงการคลัง
1. ปรับประบวนการทำงานเป็นเชิงรุกมากขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพ และการพัฒนาประเทศ กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญในการปรับกระบวนการทำงานของระบบราชการให้มีความคล่องตัว และเป็นไปในเชิงรุกมากขึ้น ดังนี้
* สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ปรับแนวคิดและแนวทางการทำงานเป็นการสร้างเสถียรภาพและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเป็นศูนย์รวมข้อมูลและระบบการติดตามดูแลและวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจ และปรับบทบาทให้เป็นผู้นำในการออกแบบนโยบายการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาค โดยมีการพยากรณ์ทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปรับบทบาทในการเสนอแนะนโยบายส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียให้เป็นไปในเชิงรุก เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีเศรษฐกิจโลก
* ด้านกรมจัดเก็บภาษี (กรมสรรพากร, กรมศุลกากร, กรมสรรพสามิต)จะทำการเร่งสำรวจเพื่อขยายฐานภาษีไปสู่ผู้เสียภาษีรายใหม่เพื่อดึงผู้เสียภาษีนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบ รวมทั้งมีการกระจายภาระภาษี และมีการจัดเก็บภาษีอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมมากขึ้น และยังได้ให้ความสำคัญในการเปลี่ยนบทบาทจากการมุ่งเน้นการจัดเก็บภาษีอากร เป็นการสนับสนุนภาคการผลิตและการส่งออก และประสานงานด้านศุลกากรระหว่างประเทศมากขึ้น โดยการปรับปรุงระเบียบพิธีการปฏิบัติงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพการให้บริการ ให้มีความรวดเร็ว ฉับไว บริการประชาชนด้วยข้อมูล และความสะดวกในการเสียภาษี รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กวดขันและจับกุมผู้เลี่ยงภาษี โดยการปรับปรุงการตรวจสอบ และระบบการติดตามประเมินผล
* กรมธนารักษ์ สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และสำนักหนี้สาธารณะ ในส่วนของระบบการบริหารการเบิกจ่ายภาครัฐนั้น ได้ปรับระบบดังกล่าวให้เป็นระบบที่รัดกุม รวดเร็ว และสามารถให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่รวดเร็ว ด้านการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐนั้น ได้ปรับแนวทางการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินให้เป็นการบริหารในเชิงธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ทรัพย์สินสุทธิของภาครัฐมีมูลค่าสูงสุด
2. สร้างความยั่งยืนทางการคลัง และลดความเสี่ยงวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต
เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของรัฐบาลในการสร้างดุลยภาพทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังจึงได้ให้ความสำคัญต่อการสร้างเสถียรภาพทางการคลังในระยะ 5 ปีข้างหน้า
* สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จึงเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความยั่งยืนทางการคลังและการบริหารความเสี่ยงทางการคลัง โดยการประสานกับกรมจัดเก็บในการปรับปรุงระบบการจัดเก็บ และเสนอแนวทางในการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้มิได้เน้นเฉพาะการจัดเก็บรายได้สูงสุดในปัจจุบัน แต่เน้นรวมถึงการสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มีความเข้มแข็งซึ่งจะเป็นฐานภาษีในอนาคต และมีรายได้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศโดยยั่งยืน รวมทั้งการปฏิรูปสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากร ที่ใช้ในการส่งเสริมการลงทุนและการส่งออก ผลักดันให้มีการนำระบบภาษีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ปฏิรูประบบภาษีท้องถิ่นและผลักดันให้มีการจัดตั้งบรรษัทเงินทุนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ทางด้านการบริหารความเสี่ยงทางการคลังนั้น นำระบบบริหารความเสี่ยงทางด้านการคลังมาใช้ในการเสนอแนะนโยบาย และสร้างกลไกการวิเคราะห์การบริหารด้านการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย ดุลการคลัง หนี้สาธารณะ และทรัพย์สินของรัฐ โดยอาศัยระบบฐานข้อมูลเชิงลึกและพัฒนาระบบฐานข้อมูลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ การคลังภาคสาธารณะ ทางด้านการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการเงิน สถาบันการเงิน การออมการลงทุน SMEs รวมทั้งนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การจัดตั้งสถาบันหรือองค์กรทางการเงินเพื่อสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริง รวมทั้งลดภาระภาครัฐ เช่น การจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต ส่งเสริมขีดความสามารถของภาคการผลิตด้วยมาตรการการพัฒนาตลาดทุนทั้งตลาดแรก และตลาดรอง เป็นต้น นอกจากนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะต้องทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นเพื่อให้เกิดกำลังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
3. ปรับแนวทางและระบบงานในการจัดเก็บภาษีแนวใหม่
การวางระบบบริหารการจัดเก็บภาษีซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลไกหลักของกระทรวงการคลังในการดำเนินนโยบายการคลังให้เป็นแนวใหม่นั้น จะมีส่วนสำคัญยิ่งในการเอื้ออำนวยประโยชน์ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันต่อภาคการผลิตของประเทศ
* กรมสรรพากร ได้ปรับแนวทางในการจัดเก็บภาษีโดยเน้นการจัดเก็บภาษีให้เป็นปัจจุบัน แทนการตรวจสอบย้อนหลัง เพื่อลดปัญหาการตรวจสอบภาษีซึ่งเป็นภาระของภาคเอกชนและสร้างความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษี เร่งสำรวจผู้เสียภาษีใหม่เพื่อขยายและสร้างฐานภาษีที่ยั่งยืนและชักจูงให้ผู้หลบเลี่ยงภาษีเข้าสู่ระบบมากขึ้น เร่งติดตามอากรค้าง มีการกระจายภาระภาษี และมีการจัดเก็บภาษีอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมมากขึ้น ปรับปรุงระบบงานคืนภาษีให้รวดเร็วและมีความโปร่งใสยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนของภาคการผลิตอีกทางหนึ่ง
* กรมสรรพสามิต เน้นการเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการบริหารงานจัดเก็บภาษี และลดการเลี่ยงภาษี ตรวจสอบ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยการวางมาตร-การตรวจสอบ เช่น การเติมสาร Marker ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีน้ำมัน และ การนำมิเตอร์มาใช้ในการควบคุมการจัดเก็บภาษีแทนการตรวจนับจำนวนภาชนะบรรจุเบียร์ เป็นต้น นอกจากนี้กรมสรรพสามิตยังต้องประสานงานและเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการบริหารงานจัดเก็บภาษีกับหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงการคลัง เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกัน
* กรมศุลกากร ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจเดิมที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากการค้าระหว่างประเทศเพื่อเป็นรายได้ให้แก่รัฐ เป็นการเพิ่มความสำคัญกับการส่งเสริมสนับสนุนการส่งออก และการประสานงานด้านศุลกากรระหว่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มบทบาทในการ คุ้มครองผู้บริโภค สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการ ด้วยการเพิ่มช่องทางการรับข้อมูลใบขนสินค้าจากผู้ประกอบการผ่านทาง Internet ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจปล่อยสินค้าที่ส่งออกด้วยระบบคอนเทนเนอร์ เน้นตรวจสอบเฉพาะ Shipment ที่มีความเสี่ยงสูงโดยใช้หลักการบริหารความเสี่ยง แทนการตรวจสอบทุก Shipment จะช่วยให้ผู้ส่งออกประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการส่งออก ทำให้สามารถส่งออกสินค้าได้รวดเร็วขึ้น ส่งเสริมให้มีการ จัดตั้งเขตปลอดอากรตามกฎหมายศุลกากร เพื่อเป็นการลดภาระค่าภาษีอากรซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้กรมศุลกากรได้มีแผนในการอำนวยความสะดวกทางการค้าและสนับสนุนการส่งออก โดยการปรับปรุงระเบียบพิธีการของถ่ายลำที่บรรจุในคอนเทนเนอร์ การยกเว้นการปฏิบัติพิธีการส่งออกสำหรับของที่ผู้โดยสารนำออกนอกราชอาณาจักรโดยนำติดตัวไปพร้อมกับตน การ ยกเว้นการปฏิบัติพิธีการส่งออกสำหรับของส่งออกทางไปรษณีย์ ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับร้านค้าปลอดอากร ปรับลดหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน
4. ปรับปรุงประสิทธิภาพการเบิกจ่าย
การใช้จ่ายของภาครัฐบาลถือเป็นกลไลหลักที่รัฐบาลนำมาใช้ในการฟื้นฟูและกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งในอนาคตนั้นการใช้จ่ายของภาครัฐจะเป็นกลไกหลักที่ก่อให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการเบิกจ่ายของภาครัฐจะเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้นโยบายของรัฐบาลเกิดประสิทธิผลต่อระบบเศรษฐกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
* กรมบัญชีกลาง ถือเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลงานด้านดังกล่าว และได้มีแผนปฏิรูประบบการรับ-จ่ายเงินและการบริหารเงินสดภาครัฐ จากระบบ Manual เป็นการรับตรงจ่ายตรง โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบผ่านเครือข่ายของธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสะดวก ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเพิ่มความโปร่งใสและลดช่องทางการทุจริตคอรัปชั่นในระบบการรับ-จ่ายเงินของรัฐ ด้านระบบบัญชีภาครัฐได้วางแผนปฏิรูปเป็นการวางระบบบัญชีเกณฑ์เงินคงค้างแทนการใช้ระบบบัญชีเกณฑ์เงินสดสำหรับทุกหน่วยงานภาครัฐ คือ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างมาตรฐานบัญชีสากลระบบเดียวกัน พร้อมทั้งพัฒนาจัดทำโปรแกรมระบบบัญชีเกณฑ์เงินคงค้างให้ส่วนราชการแต่ละแห่งนำไปใช้เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่มีระบบบัญชีและข้อมูลทางบัญชีของตนเองโดยสมบูรณ์ สอดคล้องกับการให้อิสระแก่ส่วนราชการในการบริหารตนเองตามการปฏิรูประบบราชการ ด้านระบบการจัดทำรายงานฐานะการเงินแผ่นดินได้วางแผนปฏิรูป โดยให้ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐทุกแห่งจัดทำบัญชีของตนเองด้วยระบบเกณฑ์คงค้างและส่งข้อมูลทางการเงินมาที่กรมบัญชีกลาง โดยผ่านทางระบบ on-line เพื่อให้กรมบัญชีกลางนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อจัดทำรายงานฐานะการเงินแผ่นดิน (Consolidated Financial Statement) ต่อไป ด้านระบบการตรวจสอบภายในเน้นการเสริมสร้างศักยภาพ โดยการตรวจสอบก่อนเสร็จสิ้นการดำเนินงาน (Pre Audit) โดยผู้บริหารส่วนราชการ ก่อนที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะเข้าตรวจซึ่งจะเป็นระบบเหมือนภาคเอกชน แทนการตรวจสอบผลการดำเนินงานของส่วนราชการภายหลังการดำเนินงาน (Post Audit) ที่ใช้ในปัจจุบัน ด้านการปฏิรูประบบเงินนอกงบประมาณจะปรับปรุงระบบการบริหารงานและการติดตามประเมินผลการทำงานของทุนหมุนเวียนต่างๆ ทั้งที่กำหนดโดยกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีและโดยกฎหมายเฉพาะ เพื่อให้ทุนหมุนเวียนเหล่านี้มีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพสอดรับกับระบบงบประมาณใหม่ ด้านการปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและลูกจ้างประจำ ได้มีการเตรียมการจัดทำฐานข้อมูลข้าราชการและผู้มีสิทธิรับการรักษาเพื่อนำมาใช้ประกอบการพัฒนาสวัสดิการรักษาพยาบาลแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ลดการรั่วไหลและประหยัดงบประมาณของรัฐด้วย ด้านการปฏิรูประบบพัสดุจะมีการโอนงานบริหารพัสดุจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาไว้ที่กรมบัญชีกลาง ขณะนี้กรมได้เตรียมความพร้อมในการโอนงานบริหารพัสดุร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะงานในเรื่องระเบียบพัสดุและงานข้อมูลสารสนเทศพัสดุ เพื่อพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของส่วนราชการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดสอดคล้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศของรัฐบาล
5. บริหารทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐแบบมืออาชีพ
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเห็นภาพรวมของสถานะทรัพย์สินสุทธิของภาครัฐ กระทรวงการคลังต้องปรับการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินของภาครัฐเป็นการบริหารในเชิงธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ทรัพย์สินสุทธิของภาครัฐมีมูลค่าสูงสุด ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพย์สิน ได้แก่ กรมธนารักษ์ และสำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และสำนักบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารหนี้สาธารณะนับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา
* กรมธนารักษ์ ได้มีแผนการปฏิรูประบบวิธีการทำงาน ด้วยการแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้ขั้นตอนการทำงานสั้นลงเกิดความคล่องตัวในการทำงาน และกระจายอำนาจในการตัดสินใจลงไปในระดับต่างๆ และสร้างมาตรฐานในการทำงาน รวมทั้งออกแบบและจัดทำโครงสร้างฐานของข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ มาเป็นเครื่องมือเพื่อจัดเก็บข้อมูล ด้านการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มพันธกิจประกอบด้วย ด้านที่ราชพัสดุ ด้านบริหารเงินตรา ด้านกษาปณ์ และด้านทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินและมีการจัดทำรายละเอียดของงาน (Scope of Work) แต่ละพันธกิจให้ครบถ้วน แล้วจึงจัดกลุ่มของงานตามลักษณะงานออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านปฏิบัติการ ด้านสนับสนุนปฏิบัติการ และด้านสนับสนุน
* สำนักรัฐวิสาหกิจแลหลักทรัพย์ของรัฐ เพื่อให้การบริหารเป็นไปเชิงธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพนั้น สำนักรัฐวิสาหกิจได้ปรับกระบวนการทำงานให้ครบทั้งระบบ ตั้งแต่การศึกษานโยบายในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ การกำกับดูแล การพัฒนาศูนย์ข้อมูล การให้การสนับสนุนด้านต่างๆการประเมินผล การประชาสัมพันธ์ และการบริหารหลักทรัพย์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่รัฐวิสาหกิจให้สามารถพึ่งตนเองได้ และให้รัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
* สำนักหนี้สาธารณะ ได้กำหนดแผนปฏิรูปงานไว้ 9 ด้าน ได้แก่
- ปฏิรูปการจัดทำแผนบริหารหนี้สาธารณะ
- การจัดทำระบบการประเมินผลและบริหารความเสี่ยงเพื่อสนับสนุนการบริหารและปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
- ปฏิรูปการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และปรับปรุงระบบการค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจ
- ปฏิรูปหลักเกณฑ์การก่อหนี้โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรของรัฐอื่นๆ
- โครงการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลหนี้สาธารณะ
- การดำเนินการให้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะเป็นกฎหมาย
- โครงการปรับปรุงระบบบริหารการชำระหนี้
- ปฏิรูประบบติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ
- ปฏิรูปและพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย
6. วางระบบการบริหารสมัยใหม่
6.1 ให้ความสำคัญเรื่องความโปร่งใสในการทำงาน โดยเน้นการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในกระบวนการเก็บภาษีโดยเฉพาะในภาษีนำเข้าและภาษีส่งออก เน้นหลักการการให้บริการใสสะอาด โดยการปรับลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในบางขั้นตอน เพื่อให้การให้บริการเป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดภาระนอกระบบของ ผู้ประกอบการ รวมทั้ง การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในการการเก็บภาษีประเภทต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เกิดความรวดเร็วในการให้บริการต่างๆ ทางด้านภาษี และช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการได้ โดย
* กรมสรรพากร : E-Revenue ขยายบริการยื่นแบบและชำระภาษีทางระบบ internet ให้ครอบคลุมทุกประเภทภาษี,บริการออกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเงินได้แบบ on-line, ให้บริการข้อมูลกฎหมาย และวิธีปฏิบัติส่งตรงถึงผู้เสียภาษีทาง e-mail และผ่านทาง Web-site, ให้บริการ download แบบแสดงรายการภาษีประเภทต่างๆ ทาง internet, ปรับปรุงบริการตรวจเช็คการจดทะเบียนทาง Internet
* กรมสรรพสามิต : E-Excise นำระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E--Commerce) มาใช้ในโครงการรับชำระภาษีสรรพสามิตจากสินค้าประเภทน้ำมัน รถยนต์ (ในระยะแรก) และสินค้าอื่นๆ (ในระยะต่อมา) ผ่านทางระบบ Internet เป็นทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดต่อประสานงานเชื่อมต่อกับธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการ และการเตรียมจัดตั้งศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพสามิต (ศพส.) คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการรับชำระภาษีได้เร็วๆ นี้
* กรมศุลกากร : ให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ Internet ในการส่ง ข้อมูลใบขนสินค้าให้กรมศุลกากร นอกเหนือจากระบบ EDI ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นการเพิ่มทางเลือกและลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ
6.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการแก่ประชาชนและเพื่อเพิ่มประสิทธภาพในการบริหาร
* สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง : เป็นศูนย์กลาง Network ของกระทรวงการคลัง บริหารจัดการระบบข้อมูลระบบ IT ให้กับทุกกรมในสังกัดกระทรวงการคลัง โดยปฏิบัติงานด้าน IT Service and IT Management ทั้งด้าน Hardware Software and Network
* สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง : E-Fiscal การให้บริการข้อมูลเศรษฐกิจการคลังผ่านเครือข่าย Internet พัฒนาพัฒนาศูนย์รวมของฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังภาคสาธารณะ ให้เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการเสนอแนะนโยบายและเผยแพร่ต่อสาธารณะชนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการทำงาน
* กรมบัญชีกลาง : เปลี่ยนระบบการรับ-จ่ายเงินและบริหารเงินสด ภาครัฐจากระบบ Manual เป็นระบบการรับตรงจ่ายตรงโดยใช้ระบบ Electronic ผ่านเครือข่ายธนาคารพาณิชย์ การส่งข้อมูลบัญชีของแต่ละหน่วยงานผ่านระบบ on-line เพื่อนำมาจัดทำรายงานฐานะการเงินของแผ่นดิน ศึกษาพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประมวลผลรายงานฐานะการเงินแผ่นดิน และระบบข้อมูลด้านการคลังภาครัฐหรือระบบ GFMIS (Government Financial Management Information System) พัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของส่วนราชการด้วยระบบ Electronic
* กรมธนารักษ์ : ออกแบบและจัดทำโครงสร้างฐานของข้อมูลของกรม ธนารักษ์ให้ครบถ้วนถูกต้องสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ มาเป็นเครื่องมือเพื่อจัดเก็บข้อมูล
* สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ : จัดตั้งและพัฒนาศูนย์ข้อมูลรัฐวิสาหกิจ
* สำนักบริหารหนี้สาธารณะ : โครงการปฏิรูประบบฐานข้อมูลหนี้สาธารณะ และการปฏิรูปและพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย
(ยังมีต่อ).../กลไกการดำ..
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งทางด้านการค้าและการเงินระหว่างประเทศในยุคสารสนเทศในปัจจุบัน เป็นความท้าทายของคนไทยในการร่วมมือกันในการรักษาเสถียร-ภาพทางเศรษฐกิจ สร้างการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและเป็นธรรม ให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ และกับคนไทยทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต
ภาคราชการได้ทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจจนประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ และถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปการทำงานให้ภาคราชการเป็นกลไกในการผลักดันการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ให้ประเทศเข้าสู่ระดับการพัฒนาที่สูงขึ้น
กระทรวงการคลังมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิรูประบบงานและการทำงานของหน่วยงาน ภายใต้สังกัดของกระทรวงอย่างจริงจังให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใส และพร้อมให้บริการกับประชาชน โดยกระทรวงการได้จัดทำ "แผนปฏิรูปกระทรวงการคลัง" เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวและให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในกระทรวงการคลัง
แผนปฏิรูปกระทรวงการคลัง
1. ปรับประบวนการทำงานเป็นเชิงรุกมากขึ้นเพื่อสร้างเสถียรภาพ และการพัฒนาประเทศ กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญในการปรับกระบวนการทำงานของระบบราชการให้มีความคล่องตัว และเป็นไปในเชิงรุกมากขึ้น ดังนี้
* สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ปรับแนวคิดและแนวทางการทำงานเป็นการสร้างเสถียรภาพและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเป็นศูนย์รวมข้อมูลและระบบการติดตามดูแลและวิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจ และปรับบทบาทให้เป็นผู้นำในการออกแบบนโยบายการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาค โดยมีการพยากรณ์ทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการปรับบทบาทในการเสนอแนะนโยบายส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียให้เป็นไปในเชิงรุก เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีเศรษฐกิจโลก
* ด้านกรมจัดเก็บภาษี (กรมสรรพากร, กรมศุลกากร, กรมสรรพสามิต)จะทำการเร่งสำรวจเพื่อขยายฐานภาษีไปสู่ผู้เสียภาษีรายใหม่เพื่อดึงผู้เสียภาษีนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบ รวมทั้งมีการกระจายภาระภาษี และมีการจัดเก็บภาษีอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมมากขึ้น และยังได้ให้ความสำคัญในการเปลี่ยนบทบาทจากการมุ่งเน้นการจัดเก็บภาษีอากร เป็นการสนับสนุนภาคการผลิตและการส่งออก และประสานงานด้านศุลกากรระหว่างประเทศมากขึ้น โดยการปรับปรุงระเบียบพิธีการปฏิบัติงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพการให้บริการ ให้มีความรวดเร็ว ฉับไว บริการประชาชนด้วยข้อมูล และความสะดวกในการเสียภาษี รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กวดขันและจับกุมผู้เลี่ยงภาษี โดยการปรับปรุงการตรวจสอบ และระบบการติดตามประเมินผล
* กรมธนารักษ์ สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และสำนักหนี้สาธารณะ ในส่วนของระบบการบริหารการเบิกจ่ายภาครัฐนั้น ได้ปรับระบบดังกล่าวให้เป็นระบบที่รัดกุม รวดเร็ว และสามารถให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่รวดเร็ว ด้านการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐนั้น ได้ปรับแนวทางการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินให้เป็นการบริหารในเชิงธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ทรัพย์สินสุทธิของภาครัฐมีมูลค่าสูงสุด
2. สร้างความยั่งยืนทางการคลัง และลดความเสี่ยงวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต
เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของรัฐบาลในการสร้างดุลยภาพทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังจึงได้ให้ความสำคัญต่อการสร้างเสถียรภาพทางการคลังในระยะ 5 ปีข้างหน้า
* สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จึงเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความยั่งยืนทางการคลังและการบริหารความเสี่ยงทางการคลัง โดยการประสานกับกรมจัดเก็บในการปรับปรุงระบบการจัดเก็บ และเสนอแนวทางในการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้มิได้เน้นเฉพาะการจัดเก็บรายได้สูงสุดในปัจจุบัน แต่เน้นรวมถึงการสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มีความเข้มแข็งซึ่งจะเป็นฐานภาษีในอนาคต และมีรายได้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศโดยยั่งยืน รวมทั้งการปฏิรูปสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากร ที่ใช้ในการส่งเสริมการลงทุนและการส่งออก ผลักดันให้มีการนำระบบภาษีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ปฏิรูประบบภาษีท้องถิ่นและผลักดันให้มีการจัดตั้งบรรษัทเงินทุนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ทางด้านการบริหารความเสี่ยงทางการคลังนั้น นำระบบบริหารความเสี่ยงทางด้านการคลังมาใช้ในการเสนอแนะนโยบาย และสร้างกลไกการวิเคราะห์การบริหารด้านการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย ดุลการคลัง หนี้สาธารณะ และทรัพย์สินของรัฐ โดยอาศัยระบบฐานข้อมูลเชิงลึกและพัฒนาระบบฐานข้อมูลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน และ การคลังภาคสาธารณะ ทางด้านการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการเงิน สถาบันการเงิน การออมการลงทุน SMEs รวมทั้งนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การจัดตั้งสถาบันหรือองค์กรทางการเงินเพื่อสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริง รวมทั้งลดภาระภาครัฐ เช่น การจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเครดิต ส่งเสริมขีดความสามารถของภาคการผลิตด้วยมาตรการการพัฒนาตลาดทุนทั้งตลาดแรก และตลาดรอง เป็นต้น นอกจากนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะต้องทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นเพื่อให้เกิดกำลังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
3. ปรับแนวทางและระบบงานในการจัดเก็บภาษีแนวใหม่
การวางระบบบริหารการจัดเก็บภาษีซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลไกหลักของกระทรวงการคลังในการดำเนินนโยบายการคลังให้เป็นแนวใหม่นั้น จะมีส่วนสำคัญยิ่งในการเอื้ออำนวยประโยชน์ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันต่อภาคการผลิตของประเทศ
* กรมสรรพากร ได้ปรับแนวทางในการจัดเก็บภาษีโดยเน้นการจัดเก็บภาษีให้เป็นปัจจุบัน แทนการตรวจสอบย้อนหลัง เพื่อลดปัญหาการตรวจสอบภาษีซึ่งเป็นภาระของภาคเอกชนและสร้างความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษี เร่งสำรวจผู้เสียภาษีใหม่เพื่อขยายและสร้างฐานภาษีที่ยั่งยืนและชักจูงให้ผู้หลบเลี่ยงภาษีเข้าสู่ระบบมากขึ้น เร่งติดตามอากรค้าง มีการกระจายภาระภาษี และมีการจัดเก็บภาษีอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมมากขึ้น ปรับปรุงระบบงานคืนภาษีให้รวดเร็วและมีความโปร่งใสยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนของภาคการผลิตอีกทางหนึ่ง
* กรมสรรพสามิต เน้นการเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการบริหารงานจัดเก็บภาษี และลดการเลี่ยงภาษี ตรวจสอบ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยการวางมาตร-การตรวจสอบ เช่น การเติมสาร Marker ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีน้ำมัน และ การนำมิเตอร์มาใช้ในการควบคุมการจัดเก็บภาษีแทนการตรวจนับจำนวนภาชนะบรรจุเบียร์ เป็นต้น นอกจากนี้กรมสรรพสามิตยังต้องประสานงานและเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านการบริหารงานจัดเก็บภาษีกับหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงการคลัง เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกัน
* กรมศุลกากร ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจเดิมที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากการค้าระหว่างประเทศเพื่อเป็นรายได้ให้แก่รัฐ เป็นการเพิ่มความสำคัญกับการส่งเสริมสนับสนุนการส่งออก และการประสานงานด้านศุลกากรระหว่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มบทบาทในการ คุ้มครองผู้บริโภค สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการ ด้วยการเพิ่มช่องทางการรับข้อมูลใบขนสินค้าจากผู้ประกอบการผ่านทาง Internet ปรับปรุงระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจปล่อยสินค้าที่ส่งออกด้วยระบบคอนเทนเนอร์ เน้นตรวจสอบเฉพาะ Shipment ที่มีความเสี่ยงสูงโดยใช้หลักการบริหารความเสี่ยง แทนการตรวจสอบทุก Shipment จะช่วยให้ผู้ส่งออกประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการส่งออก ทำให้สามารถส่งออกสินค้าได้รวดเร็วขึ้น ส่งเสริมให้มีการ จัดตั้งเขตปลอดอากรตามกฎหมายศุลกากร เพื่อเป็นการลดภาระค่าภาษีอากรซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้กรมศุลกากรได้มีแผนในการอำนวยความสะดวกทางการค้าและสนับสนุนการส่งออก โดยการปรับปรุงระเบียบพิธีการของถ่ายลำที่บรรจุในคอนเทนเนอร์ การยกเว้นการปฏิบัติพิธีการส่งออกสำหรับของที่ผู้โดยสารนำออกนอกราชอาณาจักรโดยนำติดตัวไปพร้อมกับตน การ ยกเว้นการปฏิบัติพิธีการส่งออกสำหรับของส่งออกทางไปรษณีย์ ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับร้านค้าปลอดอากร ปรับลดหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน
4. ปรับปรุงประสิทธิภาพการเบิกจ่าย
การใช้จ่ายของภาครัฐบาลถือเป็นกลไลหลักที่รัฐบาลนำมาใช้ในการฟื้นฟูและกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งในอนาคตนั้นการใช้จ่ายของภาครัฐจะเป็นกลไกหลักที่ก่อให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการเบิกจ่ายของภาครัฐจะเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้นโยบายของรัฐบาลเกิดประสิทธิผลต่อระบบเศรษฐกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
* กรมบัญชีกลาง ถือเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลงานด้านดังกล่าว และได้มีแผนปฏิรูประบบการรับ-จ่ายเงินและการบริหารเงินสดภาครัฐ จากระบบ Manual เป็นการรับตรงจ่ายตรง โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบผ่านเครือข่ายของธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสะดวก ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเพิ่มความโปร่งใสและลดช่องทางการทุจริตคอรัปชั่นในระบบการรับ-จ่ายเงินของรัฐ ด้านระบบบัญชีภาครัฐได้วางแผนปฏิรูปเป็นการวางระบบบัญชีเกณฑ์เงินคงค้างแทนการใช้ระบบบัญชีเกณฑ์เงินสดสำหรับทุกหน่วยงานภาครัฐ คือ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างมาตรฐานบัญชีสากลระบบเดียวกัน พร้อมทั้งพัฒนาจัดทำโปรแกรมระบบบัญชีเกณฑ์เงินคงค้างให้ส่วนราชการแต่ละแห่งนำไปใช้เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่มีระบบบัญชีและข้อมูลทางบัญชีของตนเองโดยสมบูรณ์ สอดคล้องกับการให้อิสระแก่ส่วนราชการในการบริหารตนเองตามการปฏิรูประบบราชการ ด้านระบบการจัดทำรายงานฐานะการเงินแผ่นดินได้วางแผนปฏิรูป โดยให้ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐทุกแห่งจัดทำบัญชีของตนเองด้วยระบบเกณฑ์คงค้างและส่งข้อมูลทางการเงินมาที่กรมบัญชีกลาง โดยผ่านทางระบบ on-line เพื่อให้กรมบัญชีกลางนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อจัดทำรายงานฐานะการเงินแผ่นดิน (Consolidated Financial Statement) ต่อไป ด้านระบบการตรวจสอบภายในเน้นการเสริมสร้างศักยภาพ โดยการตรวจสอบก่อนเสร็จสิ้นการดำเนินงาน (Pre Audit) โดยผู้บริหารส่วนราชการ ก่อนที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะเข้าตรวจซึ่งจะเป็นระบบเหมือนภาคเอกชน แทนการตรวจสอบผลการดำเนินงานของส่วนราชการภายหลังการดำเนินงาน (Post Audit) ที่ใช้ในปัจจุบัน ด้านการปฏิรูประบบเงินนอกงบประมาณจะปรับปรุงระบบการบริหารงานและการติดตามประเมินผลการทำงานของทุนหมุนเวียนต่างๆ ทั้งที่กำหนดโดยกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีและโดยกฎหมายเฉพาะ เพื่อให้ทุนหมุนเวียนเหล่านี้มีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพสอดรับกับระบบงบประมาณใหม่ ด้านการปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและลูกจ้างประจำ ได้มีการเตรียมการจัดทำฐานข้อมูลข้าราชการและผู้มีสิทธิรับการรักษาเพื่อนำมาใช้ประกอบการพัฒนาสวัสดิการรักษาพยาบาลแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ลดการรั่วไหลและประหยัดงบประมาณของรัฐด้วย ด้านการปฏิรูประบบพัสดุจะมีการโอนงานบริหารพัสดุจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาไว้ที่กรมบัญชีกลาง ขณะนี้กรมได้เตรียมความพร้อมในการโอนงานบริหารพัสดุร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะงานในเรื่องระเบียบพัสดุและงานข้อมูลสารสนเทศพัสดุ เพื่อพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของส่วนราชการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนใช้ทรัพยากรของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดสอดคล้องกับการจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศของรัฐบาล
5. บริหารทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐแบบมืออาชีพ
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเห็นภาพรวมของสถานะทรัพย์สินสุทธิของภาครัฐ กระทรวงการคลังต้องปรับการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินของภาครัฐเป็นการบริหารในเชิงธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ทรัพย์สินสุทธิของภาครัฐมีมูลค่าสูงสุด ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพย์สิน ได้แก่ กรมธนารักษ์ และสำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และสำนักบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารหนี้สาธารณะนับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา
* กรมธนารักษ์ ได้มีแผนการปฏิรูประบบวิธีการทำงาน ด้วยการแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้ขั้นตอนการทำงานสั้นลงเกิดความคล่องตัวในการทำงาน และกระจายอำนาจในการตัดสินใจลงไปในระดับต่างๆ และสร้างมาตรฐานในการทำงาน รวมทั้งออกแบบและจัดทำโครงสร้างฐานของข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ มาเป็นเครื่องมือเพื่อจัดเก็บข้อมูล ด้านการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มพันธกิจประกอบด้วย ด้านที่ราชพัสดุ ด้านบริหารเงินตรา ด้านกษาปณ์ และด้านทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินและมีการจัดทำรายละเอียดของงาน (Scope of Work) แต่ละพันธกิจให้ครบถ้วน แล้วจึงจัดกลุ่มของงานตามลักษณะงานออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านปฏิบัติการ ด้านสนับสนุนปฏิบัติการ และด้านสนับสนุน
* สำนักรัฐวิสาหกิจแลหลักทรัพย์ของรัฐ เพื่อให้การบริหารเป็นไปเชิงธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพนั้น สำนักรัฐวิสาหกิจได้ปรับกระบวนการทำงานให้ครบทั้งระบบ ตั้งแต่การศึกษานโยบายในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ การกำกับดูแล การพัฒนาศูนย์ข้อมูล การให้การสนับสนุนด้านต่างๆการประเมินผล การประชาสัมพันธ์ และการบริหารหลักทรัพย์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่รัฐวิสาหกิจให้สามารถพึ่งตนเองได้ และให้รัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
* สำนักหนี้สาธารณะ ได้กำหนดแผนปฏิรูปงานไว้ 9 ด้าน ได้แก่
- ปฏิรูปการจัดทำแผนบริหารหนี้สาธารณะ
- การจัดทำระบบการประเมินผลและบริหารความเสี่ยงเพื่อสนับสนุนการบริหารและปรับโครงสร้างหนี้ของภาครัฐ
- ปฏิรูปการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐวิสาหกิจ และปรับปรุงระบบการค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจ
- ปฏิรูปหลักเกณฑ์การก่อหนี้โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรของรัฐอื่นๆ
- โครงการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลหนี้สาธารณะ
- การดำเนินการให้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะเป็นกฎหมาย
- โครงการปรับปรุงระบบบริหารการชำระหนี้
- ปฏิรูประบบติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ
- ปฏิรูปและพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย
6. วางระบบการบริหารสมัยใหม่
6.1 ให้ความสำคัญเรื่องความโปร่งใสในการทำงาน โดยเน้นการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในกระบวนการเก็บภาษีโดยเฉพาะในภาษีนำเข้าและภาษีส่งออก เน้นหลักการการให้บริการใสสะอาด โดยการปรับลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในบางขั้นตอน เพื่อให้การให้บริการเป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดภาระนอกระบบของ ผู้ประกอบการ รวมทั้ง การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในการการเก็บภาษีประเภทต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เกิดความรวดเร็วในการให้บริการต่างๆ ทางด้านภาษี และช่วยประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการได้ โดย
* กรมสรรพากร : E-Revenue ขยายบริการยื่นแบบและชำระภาษีทางระบบ internet ให้ครอบคลุมทุกประเภทภาษี,บริการออกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเงินได้แบบ on-line, ให้บริการข้อมูลกฎหมาย และวิธีปฏิบัติส่งตรงถึงผู้เสียภาษีทาง e-mail และผ่านทาง Web-site, ให้บริการ download แบบแสดงรายการภาษีประเภทต่างๆ ทาง internet, ปรับปรุงบริการตรวจเช็คการจดทะเบียนทาง Internet
* กรมสรรพสามิต : E-Excise นำระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E--Commerce) มาใช้ในโครงการรับชำระภาษีสรรพสามิตจากสินค้าประเภทน้ำมัน รถยนต์ (ในระยะแรก) และสินค้าอื่นๆ (ในระยะต่อมา) ผ่านทางระบบ Internet เป็นทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดต่อประสานงานเชื่อมต่อกับธนาคารที่จะเข้าร่วมโครงการ และการเตรียมจัดตั้งศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพสามิต (ศพส.) คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการรับชำระภาษีได้เร็วๆ นี้
* กรมศุลกากร : ให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ Internet ในการส่ง ข้อมูลใบขนสินค้าให้กรมศุลกากร นอกเหนือจากระบบ EDI ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นการเพิ่มทางเลือกและลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ
6.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการแก่ประชาชนและเพื่อเพิ่มประสิทธภาพในการบริหาร
* สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง : เป็นศูนย์กลาง Network ของกระทรวงการคลัง บริหารจัดการระบบข้อมูลระบบ IT ให้กับทุกกรมในสังกัดกระทรวงการคลัง โดยปฏิบัติงานด้าน IT Service and IT Management ทั้งด้าน Hardware Software and Network
* สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง : E-Fiscal การให้บริการข้อมูลเศรษฐกิจการคลังผ่านเครือข่าย Internet พัฒนาพัฒนาศูนย์รวมของฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังภาคสาธารณะ ให้เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการเสนอแนะนโยบายและเผยแพร่ต่อสาธารณะชนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการทำงาน
* กรมบัญชีกลาง : เปลี่ยนระบบการรับ-จ่ายเงินและบริหารเงินสด ภาครัฐจากระบบ Manual เป็นระบบการรับตรงจ่ายตรงโดยใช้ระบบ Electronic ผ่านเครือข่ายธนาคารพาณิชย์ การส่งข้อมูลบัญชีของแต่ละหน่วยงานผ่านระบบ on-line เพื่อนำมาจัดทำรายงานฐานะการเงินของแผ่นดิน ศึกษาพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประมวลผลรายงานฐานะการเงินแผ่นดิน และระบบข้อมูลด้านการคลังภาครัฐหรือระบบ GFMIS (Government Financial Management Information System) พัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของส่วนราชการด้วยระบบ Electronic
* กรมธนารักษ์ : ออกแบบและจัดทำโครงสร้างฐานของข้อมูลของกรม ธนารักษ์ให้ครบถ้วนถูกต้องสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ มาเป็นเครื่องมือเพื่อจัดเก็บข้อมูล
* สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ : จัดตั้งและพัฒนาศูนย์ข้อมูลรัฐวิสาหกิจ
* สำนักบริหารหนี้สาธารณะ : โครงการปฏิรูประบบฐานข้อมูลหนี้สาธารณะ และการปฏิรูปและพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย
(ยังมีต่อ).../กลไกการดำ..