แท็ก
เศรษฐกิจโลก
ส่วนที่ 3 กลไกการดำเนินงาน
เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้ง ความเข้มแข็งของภาคการผลิตและบริการ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาที่มีเสถียรภาพและยั่งยืน นอกเหนือจากการมียุทธศาสตร์เพื่อการ แข่งขันของเศรษฐกิจไทยภายใต้สถานการณ์ใหม่ของเศรษฐกิจโลก จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดกลไกและการปฏิรูปบทบาทการดำเนินงาน โดยเฉพาะกลไกของภาครัฐ ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ สำหรับผลักดันให้เกิดการดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การแข่งขันที่ได้กำหนดไว้
ระดับนโยบาย
1. การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แล้วเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาครัฐและเอกขน รวม 10 คน และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการฯ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดกรอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งในภาพรวมและรายสาขา กำกับดูแล และผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งอนุมัติแผนงาน/โครงการภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก)
2. การทำงานร่วมกับคณะกรรมการระดับประเทศอื่นๆ การกำหนดและผลักดันกรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ (Visioning) การกำหนดประเด็นสำคัญในแต่ละด้านเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ (Agenda Setting) การนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม (Executing) และการกำกับดูแลการดำเนินงาน (Monitoring) เพื่อให้รับทราบถึงความสำเร็จและหรือแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงาน ซึ่งในส่วนของคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง และนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยประสานหรือมอบหมายให้คณะกรรมการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการในการกำหนดกลยุทธ์ พร้อมทั้งกำกับดูแลให้หน่วยงานต่างๆ นำไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับ กรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
3. การจัดตั้งคณะกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่พิจารณา กลั่นกรองแผนงานและโครงการของหน่วยงานต่างๆ ที่ขออนุมัติใช้เงินจากงบประมาณ สำหรับปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ระดับปฏิบัติ
กระทรวงที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีการปรับบทบาทของหน่วยงาน เพื่อรองรับให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ทั้งในภาพรวมและในระดับสาขา โดยในเบื้องต้น 7 หน่วยงานที่กำหนดยุทธศาสตร์ เมื่อ วันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เสนอแนวทางในการปรับบทบาทการดำเนินงานไว้ ดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมการและปรับกระบวนการบริหารงานเพื่อสนับสนับสนุนยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ได้จัดตั้งองค์กรกลางขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อกำกับดูแลเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งต่อมาได้รับความเห็นชอบให้รวมการดูแลในเรื่องมาตรฐานอาหารด้วย อันจะทำให้มีเอกภาพในการบริหารจัดการในเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารได้ดียิ่งขึ้นต่อไปอีก
2. การปรับปรุงคณะกรรมการรายสินค้าซึ่งมีอยู่มากและมีความซ้ำซ้อนในบางส่วน เพื่อให้มีเอกภาพในการบริหารจัดการ รวมทั้งการเตรียมจัดตั้งหน่วยงานสินค้าเกษตรขั้นปฐม เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการกำกับดูแลสินค้าชนิดต่างๆ อย่างครบวงจร รวมทั้งการผลักดันการออกกฎหมายสภาการเกษตร
3. การปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตร โดยเน้นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคและลงสู่ส่วนท้องถิ่นในโอกาสต่อไป เพิ่มเติมการจัดระบบการให้บริการ เช่น คลินิกเกษตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พัฒนาและนำเอาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการส่งเสริมการเกษตรให้มากขึ้น ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และตัดสินใจให้มากยิ่งขึ้น
4. พัฒนาศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลให้เป็นองค์กรประสานและดำเนินการพัฒนาการเกษตรร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและกับประชาชนในชุมชนนั้นๆ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน โดยออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นแนวทางและให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
5. จัดตั้งบรรษัทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรและวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง-ขนาดย่อม (SME) เพื่อการสนับสนุนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการผลิตและการตลาดที่จำเป็น
6. จัดตั้งสำนักงานกองทุนวิจัยเป็นองค์กรอิสระเพื่อสนับสนุนการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยที่จะก่อให้เกิดผลในทางเศรษฐกิจ
7. เพิ่มขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการใช้มาตรการกีดกันการค้าในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการสนับสนุนและส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรในต่างประเทศ
8. ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค และไม่สามารถจะสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
กระทรวงอุตสาหกรรม
เพื่อให้การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมเป็นไปตามแนวทางข้างต้น จำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านนโยบาย การดำเนินงาน และองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะหลักการในส่วนของนโยบายนั้น รัฐจำต้องคำนึงถึงบทบาทของตนเองในฐานะผู้ชี้นำ สนับสนุน และส่งเสริม มากกว่าเป็นผู้ดำเนินการ และการสร้างบรรยากาศในการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแนวทางหลักของการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมไว้ ดังนี้
1. การชี้นำ ดูแล เพื่อให้อุตสาหกรรมและ SMEs มีความพร้อมสำหรับการแข่งขัน แนวทางการดำเนินงานจะเน้นการสนับสนุน การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้มาตรฐาน
2. การส่งเสริมการลงทุน จะให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศการลงทุนความพร้อมโครงสร้างพื้นฐาน และแรงจูงใจที่เหมาะสม
3. การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรม และSMEs เน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาด้านนวัตกรรม
4. บทบาทความร่วมมือภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่จะประสานประโยชน์และโอกาสในความร่วมมือต่างๆ ในการขยายศักยภาพการแข่งขัน และการขยายตลาด
5. การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ เน้นด้านการพัฒนา การบริหารจัดการ การปรับตัวที่รวดเร็ว และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
6. การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชน เน้นการเชื่อมโยงวิสาหกิจกับการตลาดมากขึ้น รวมทั้ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดำรงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของท้องถิ่น
กระทรวงพาณิชย์
เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ข้างต้น กระทรวงพาณิชย์กำหนดบทบาทไว้ ดังนี้
1. เสริมสร้างหน่วยงานเจรจาการค้าระหว่างประเทศให้เข้มแข็งขึ้น
2. ผลักดันการส่งออกไปตลาดใหม่ เช่น จีน เอเชียใต้ รัสเซีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง
3. ปรับปรุงประสิทธิภาพของสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศให้มีการคิดริเริ่มและอิสระในแนวนโยบาย
4. พัฒนา e-commerce โดยเฉพาะในเรื่องของ B To B ให้แพร่หลายมากขึ้น
5. สร้างองค์กรกำกับดูแลนโยบายด้านการนำเข้า ซึ่งปัจจุบันยังขาดอยู่ในส่วนของการที่จะเสริมสร้างอำนาจต่อรอง
6. การปรับกฎระเบียบภายในประเทศที่จะช่วยดูแลภาคบริการของไทยให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ และรวมถึงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจบริการ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เพื่อให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวบรรลุผลตามที่ตั้งไว้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงเสนอให้มีการปรับบทบาทขององค์กร ดังนี้
1. ปรับบทบาทขององค์กร จากเดิมที่มีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแลเรื่องการท่องเที่ยวเพียงผู้เดียว เปลี่ยนเป็นลักษณะของ Inter-Ministry Agenda เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ให้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ท่องเที่ยว เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดโครงสร้างการบริหารการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่าง พ.ร.บ.)
3. จัดตั้งคณะกรรมการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ททช.) เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ให้มีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน
4. จัดตั้งบรรษัทพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (Thailand Tourism Development Corporation : TTDC) ในลักษณะ Holding Company ซึ่งหากต้องการพัฒนาพื้นที่ใด TTDC ก็ไปจัดตั้งบรรษัทพัฒนาพื้นที่นั้นๆ โดยหาผู้ร่วมทุนในพื้นที่เพื่อดำเนินการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
บทบาทของสำนักงานจะเปลี่ยนจากการให้สิทธิประโยชน์มาเป็นการอำนวยความสะดวกและให้บริการเพื่อการส่งเสริมการลงทุน โดยจะดำเนินการปฏิรูปองค์กร ทั้งการปฏิรูปโครงสร้าง (Restructure) การปฏิรูปจุดเน้นของการทำงาน (Refocus) และการปฏิรูปบทบาท (Redefine Roles)
1. การปฏิรูปโครงสร้าง (Restructure) โดยการให้ความสำคัญกับรูปแบบการ ส่งเสริมการลงทุนที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้ง การปรับปรุงกฎ ระเบียบ ให้เกิดความเท่าเทียม โปร่งใส และไม่สลับซับซ้อน
2. การปฏิรูปจุดเน้นของการทำงาน (Refocus) ซึ่งจะต้องมีการกำหนดอุตสาหกรรม เป้าหมาย การตลาดในเชิงรุกและเฉพาะมากขึ้น การส่งเสริมและพัฒนา SMEs ธุรกิจชุมชน รวมทั้ง ผู้ประกอบการ
3. การปฏิรูปบทบาท (Redefine Roles) ที่จะให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับการประสานงาน ควบคู่กับการสร้างเครือข่าย และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
กระทรวงการต่างประเทศ
1. การปฏิรูปองค์กร (Organization Reform) ประกอบด้วย
1.1 สร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาบุคลากร และส่งเสริมขีดความสามารถของภาครัฐ ภาคเอกชน โดยการจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1.2 ยกระดับหน่วยงาน กองนโยบายและวางแผน เป็น สำนักนโยบายและแผน เพื่อให้ความสำคัญกับงานความร่วมมือเอเซีย (Asia Cooperation Dialogue) งานให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศ งานบริหารราชการในต่างประเทศ ตลอดจนงานประสานกิจการรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
1.3 ปรับวิธีการทำงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยทั่วโลก ให้สามารถสนับสนุนยุทธศาสตร์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในประเทศต่างๆ ที่ไม่มีสถานเอกอัคร- ราชทูตหรือสถานกงสุล
2. การปฏิรูปกลไก (Mechanism Reform) ประกอบด้วย
2.1 การส่งเสริมประสิทธิภาพและเอกภาพในการทำงานเป็นทีมประเทศไทย ทั้งในประเทศ โดยการปรับปรุงการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารราชการในต่างประเทศ และในต่างประเทศ โดยการดำเนินโครงการเอกอัครราชทูต CEO ตามนโยบายของรัฐบาล
2.2 การปรับโครงสร้างสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกให้สามารถตอบสนองยุทธศาสตร์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยพิจารณาเปิดสำนักงาน ปรับ/โอน/ลด บุคลากร การจัดตั้ง Regional Embassy เป็นต้น
2.3 พัฒนาองค์ความรู้ และเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านข้อมูล ข่าวสารเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อชี้โอกาสและเตือนภัยล่วงหน้า โดยการจัดตั้งระบบฐานข้อมูลเชิง intelligence เน้นการวิเคราะห์และติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดในลักษณะ Global Economic Watch and Early Warning System ทั้งในส่วนกลางและในต่างประเทศ
2.4 ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในต่างประเทศ (Foreign Service Act)
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลังปฏิรูประบบงานและการทำงานของหน่วยงานภายใต้สังกัดของกระทรวง โดยจัดทำ "แผนปฏิรูปกระทรวงการคลัง" ซึ่งประกอบด้วย ปรับกระบวนการทำงานเป็นเชิงรุกมากขึ้น ปรับแนวทางและระบบงานในการจัดเก็บภาษีแนวใหม่ ปรับปรุงประสิทธิภาพการเบิกจ่ายของกรมบัญชีกลาง และปรับปรุงการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินของภาครัฐให้เป็นในเชิงธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้ง ความเข้มแข็งของภาคการผลิตและบริการ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาที่มีเสถียรภาพและยั่งยืน นอกเหนือจากการมียุทธศาสตร์เพื่อการ แข่งขันของเศรษฐกิจไทยภายใต้สถานการณ์ใหม่ของเศรษฐกิจโลก จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดกลไกและการปฏิรูปบทบาทการดำเนินงาน โดยเฉพาะกลไกของภาครัฐ ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ สำหรับผลักดันให้เกิดการดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การแข่งขันที่ได้กำหนดไว้
ระดับนโยบาย
1. การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แล้วเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาครัฐและเอกขน รวม 10 คน และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการฯ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดกรอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งในภาพรวมและรายสาขา กำกับดูแล และผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งอนุมัติแผนงาน/โครงการภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (รายละเอียดแสดงในภาคผนวก)
2. การทำงานร่วมกับคณะกรรมการระดับประเทศอื่นๆ การกำหนดและผลักดันกรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ (Visioning) การกำหนดประเด็นสำคัญในแต่ละด้านเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ (Agenda Setting) การนำแผนปฏิบัติการไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม (Executing) และการกำกับดูแลการดำเนินงาน (Monitoring) เพื่อให้รับทราบถึงความสำเร็จและหรือแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงาน ซึ่งในส่วนของคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง และนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยประสานหรือมอบหมายให้คณะกรรมการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการในการกำหนดกลยุทธ์ พร้อมทั้งกำกับดูแลให้หน่วยงานต่างๆ นำไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับ กรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
3. การจัดตั้งคณะกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่พิจารณา กลั่นกรองแผนงานและโครงการของหน่วยงานต่างๆ ที่ขออนุมัติใช้เงินจากงบประมาณ สำหรับปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ระดับปฏิบัติ
กระทรวงที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีการปรับบทบาทของหน่วยงาน เพื่อรองรับให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ทั้งในภาพรวมและในระดับสาขา โดยในเบื้องต้น 7 หน่วยงานที่กำหนดยุทธศาสตร์ เมื่อ วันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เสนอแนวทางในการปรับบทบาทการดำเนินงานไว้ ดังนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมการและปรับกระบวนการบริหารงานเพื่อสนับสนับสนุนยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ได้จัดตั้งองค์กรกลางขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อกำกับดูแลเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งต่อมาได้รับความเห็นชอบให้รวมการดูแลในเรื่องมาตรฐานอาหารด้วย อันจะทำให้มีเอกภาพในการบริหารจัดการในเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารได้ดียิ่งขึ้นต่อไปอีก
2. การปรับปรุงคณะกรรมการรายสินค้าซึ่งมีอยู่มากและมีความซ้ำซ้อนในบางส่วน เพื่อให้มีเอกภาพในการบริหารจัดการ รวมทั้งการเตรียมจัดตั้งหน่วยงานสินค้าเกษตรขั้นปฐม เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการกำกับดูแลสินค้าชนิดต่างๆ อย่างครบวงจร รวมทั้งการผลักดันการออกกฎหมายสภาการเกษตร
3. การปรับปรุงระบบการส่งเสริมการเกษตร โดยเน้นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคและลงสู่ส่วนท้องถิ่นในโอกาสต่อไป เพิ่มเติมการจัดระบบการให้บริการ เช่น คลินิกเกษตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พัฒนาและนำเอาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการส่งเสริมการเกษตรให้มากขึ้น ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และตัดสินใจให้มากยิ่งขึ้น
4. พัฒนาศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลให้เป็นองค์กรประสานและดำเนินการพัฒนาการเกษตรร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและกับประชาชนในชุมชนนั้นๆ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน โดยออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นแนวทางและให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
5. จัดตั้งบรรษัทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรและวิสาหกิจชุมชนขนาดกลาง-ขนาดย่อม (SME) เพื่อการสนับสนุนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการผลิตและการตลาดที่จำเป็น
6. จัดตั้งสำนักงานกองทุนวิจัยเป็นองค์กรอิสระเพื่อสนับสนุนการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยที่จะก่อให้เกิดผลในทางเศรษฐกิจ
7. เพิ่มขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการใช้มาตรการกีดกันการค้าในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการสนับสนุนและส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรในต่างประเทศ
8. ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค และไม่สามารถจะสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
กระทรวงอุตสาหกรรม
เพื่อให้การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมเป็นไปตามแนวทางข้างต้น จำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านนโยบาย การดำเนินงาน และองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะหลักการในส่วนของนโยบายนั้น รัฐจำต้องคำนึงถึงบทบาทของตนเองในฐานะผู้ชี้นำ สนับสนุน และส่งเสริม มากกว่าเป็นผู้ดำเนินการ และการสร้างบรรยากาศในการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแนวทางหลักของการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมไว้ ดังนี้
1. การชี้นำ ดูแล เพื่อให้อุตสาหกรรมและ SMEs มีความพร้อมสำหรับการแข่งขัน แนวทางการดำเนินงานจะเน้นการสนับสนุน การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้มาตรฐาน
2. การส่งเสริมการลงทุน จะให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศการลงทุนความพร้อมโครงสร้างพื้นฐาน และแรงจูงใจที่เหมาะสม
3. การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรม และSMEs เน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาด้านนวัตกรรม
4. บทบาทความร่วมมือภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่จะประสานประโยชน์และโอกาสในความร่วมมือต่างๆ ในการขยายศักยภาพการแข่งขัน และการขยายตลาด
5. การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ เน้นด้านการพัฒนา การบริหารจัดการ การปรับตัวที่รวดเร็ว และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
6. การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชน เน้นการเชื่อมโยงวิสาหกิจกับการตลาดมากขึ้น รวมทั้ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดำรงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของท้องถิ่น
กระทรวงพาณิชย์
เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ข้างต้น กระทรวงพาณิชย์กำหนดบทบาทไว้ ดังนี้
1. เสริมสร้างหน่วยงานเจรจาการค้าระหว่างประเทศให้เข้มแข็งขึ้น
2. ผลักดันการส่งออกไปตลาดใหม่ เช่น จีน เอเชียใต้ รัสเซีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง
3. ปรับปรุงประสิทธิภาพของสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศให้มีการคิดริเริ่มและอิสระในแนวนโยบาย
4. พัฒนา e-commerce โดยเฉพาะในเรื่องของ B To B ให้แพร่หลายมากขึ้น
5. สร้างองค์กรกำกับดูแลนโยบายด้านการนำเข้า ซึ่งปัจจุบันยังขาดอยู่ในส่วนของการที่จะเสริมสร้างอำนาจต่อรอง
6. การปรับกฎระเบียบภายในประเทศที่จะช่วยดูแลภาคบริการของไทยให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ และรวมถึงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจบริการ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
เพื่อให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวบรรลุผลตามที่ตั้งไว้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงเสนอให้มีการปรับบทบาทขององค์กร ดังนี้
1. ปรับบทบาทขององค์กร จากเดิมที่มีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแลเรื่องการท่องเที่ยวเพียงผู้เดียว เปลี่ยนเป็นลักษณะของ Inter-Ministry Agenda เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ให้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ท่องเที่ยว เพื่อเป็นกรอบในการกำหนดโครงสร้างการบริหารการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่าง พ.ร.บ.)
3. จัดตั้งคณะกรรมการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ททช.) เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ให้มีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน
4. จัดตั้งบรรษัทพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (Thailand Tourism Development Corporation : TTDC) ในลักษณะ Holding Company ซึ่งหากต้องการพัฒนาพื้นที่ใด TTDC ก็ไปจัดตั้งบรรษัทพัฒนาพื้นที่นั้นๆ โดยหาผู้ร่วมทุนในพื้นที่เพื่อดำเนินการ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
บทบาทของสำนักงานจะเปลี่ยนจากการให้สิทธิประโยชน์มาเป็นการอำนวยความสะดวกและให้บริการเพื่อการส่งเสริมการลงทุน โดยจะดำเนินการปฏิรูปองค์กร ทั้งการปฏิรูปโครงสร้าง (Restructure) การปฏิรูปจุดเน้นของการทำงาน (Refocus) และการปฏิรูปบทบาท (Redefine Roles)
1. การปฏิรูปโครงสร้าง (Restructure) โดยการให้ความสำคัญกับรูปแบบการ ส่งเสริมการลงทุนที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้ง การปรับปรุงกฎ ระเบียบ ให้เกิดความเท่าเทียม โปร่งใส และไม่สลับซับซ้อน
2. การปฏิรูปจุดเน้นของการทำงาน (Refocus) ซึ่งจะต้องมีการกำหนดอุตสาหกรรม เป้าหมาย การตลาดในเชิงรุกและเฉพาะมากขึ้น การส่งเสริมและพัฒนา SMEs ธุรกิจชุมชน รวมทั้ง ผู้ประกอบการ
3. การปฏิรูปบทบาท (Redefine Roles) ที่จะให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับการประสานงาน ควบคู่กับการสร้างเครือข่าย และการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
กระทรวงการต่างประเทศ
1. การปฏิรูปองค์กร (Organization Reform) ประกอบด้วย
1.1 สร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาบุคลากร และส่งเสริมขีดความสามารถของภาครัฐ ภาคเอกชน โดยการจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1.2 ยกระดับหน่วยงาน กองนโยบายและวางแผน เป็น สำนักนโยบายและแผน เพื่อให้ความสำคัญกับงานความร่วมมือเอเซีย (Asia Cooperation Dialogue) งานให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศ งานบริหารราชการในต่างประเทศ ตลอดจนงานประสานกิจการรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
1.3 ปรับวิธีการทำงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยทั่วโลก ให้สามารถสนับสนุนยุทธศาสตร์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในประเทศต่างๆ ที่ไม่มีสถานเอกอัคร- ราชทูตหรือสถานกงสุล
2. การปฏิรูปกลไก (Mechanism Reform) ประกอบด้วย
2.1 การส่งเสริมประสิทธิภาพและเอกภาพในการทำงานเป็นทีมประเทศไทย ทั้งในประเทศ โดยการปรับปรุงการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารราชการในต่างประเทศ และในต่างประเทศ โดยการดำเนินโครงการเอกอัครราชทูต CEO ตามนโยบายของรัฐบาล
2.2 การปรับโครงสร้างสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกให้สามารถตอบสนองยุทธศาสตร์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยพิจารณาเปิดสำนักงาน ปรับ/โอน/ลด บุคลากร การจัดตั้ง Regional Embassy เป็นต้น
2.3 พัฒนาองค์ความรู้ และเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านข้อมูล ข่าวสารเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อชี้โอกาสและเตือนภัยล่วงหน้า โดยการจัดตั้งระบบฐานข้อมูลเชิง intelligence เน้นการวิเคราะห์และติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดในลักษณะ Global Economic Watch and Early Warning System ทั้งในส่วนกลางและในต่างประเทศ
2.4 ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในต่างประเทศ (Foreign Service Act)
กระทรวงการคลัง
กระทรวงการคลังปฏิรูประบบงานและการทำงานของหน่วยงานภายใต้สังกัดของกระทรวง โดยจัดทำ "แผนปฏิรูปกระทรวงการคลัง" ซึ่งประกอบด้วย ปรับกระบวนการทำงานเป็นเชิงรุกมากขึ้น ปรับแนวทางและระบบงานในการจัดเก็บภาษีแนวใหม่ ปรับปรุงประสิทธิภาพการเบิกจ่ายของกรมบัญชีกลาง และปรับปรุงการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินของภาครัฐให้เป็นในเชิงธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-