สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำสถิติบัญชีเศรษฐกิจเงินทุนของประเทศไทยปี 2544 และได้ปรับปรุงสถิติปี 2543 ให้ทันสมัยตามการปรับปรุงของแหล่งข้อมูลพื้นฐาน โดยสถิตินี้แสดงให้เห็นการหมุนเวียนเงินทุนในระบบเศรษฐกิจของไทย แสดงการออมและการลงทุนที่เชื่อมโยงกับบัญชีรายได้ประชาชาติ แหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินทุนของแต่ละสถาบันเศรษฐกิจโดยผ่านเครื่องมือทางการเงินประเภทต่างๆ ทั้งนี้ได้สรุปผลการจัดทำออกเป็น 3 ส่วน คือ ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2544 ภาวะการออมและการลงทุน และภาวะเศรษฐกิจเงินทุนของไทยปี 2544
1. ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2544
เศรษฐกิจไทยในปี 2544 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) อยู่ในภาวะชะลอตัว โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาคงที่มีการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.1 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 4.8 ในปี 2542 และ 2543 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาวะการผลิตในปีนี้ชะลอลงและลดลงเกือบทุกสาขาการผลิต ยกเว้นสาขาตัวกลางทางการเงินที่เริ่มฟื้นตัวเป็นปีแรกเช่นเดียวกับสาขาก่อสร้าง หลังจากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนฯ 8 และเป็นปีที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ การใช้จ่ายรวมก็ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปี 2543 เหลือเพียงร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นการชะลอลงทั้งการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน และการสะสมทุนถาวรเบื้องต้น โดยการออมของประเทศยังคงสูงกว่าการลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.6 ซึ่งสูงกว่าปี 2543 เล็กน้อย ดุลบัญชีเดินสะพัดชะลอลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา สาเหตุมาจากการเกินดุลการค้าลดลงมาก ในขณะที่การไหลออกของเงินทุนยังคงมีอย่างต่อเนื่องตามการชำระหนี้ต่างประเทศ แต่ลดลงจากปี 2543 ทำให้ดุลการชำระเงินเริ่มเกินดุลเป็นปีแรก เทียบกับที่ขาดดุลในปีที่แล้ว ซึ่งมีส่วนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพและเงินสำรองทางการสูงขึ้น ส่วนฐานะการคลังของรัฐบาลยังคงขาดดุลต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายขาดดุลเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและมีการขยายตัวในที่สุด ภาวะการเงินในปี 2544 มีสภาพคล่องสูงมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีปริมาณเงินฝากมากกว่าปริมาณสินเชื่อ เนื่องจากมีความต้องการเงินทุนลดลง ซึ่งเป็นผลจากภาวะชะลอตัวของทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังในการปล่อยกู้ในภาวะที่แนวโน้มธุรกิจยังไม่ดีนัก ในปีนี้ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยืมลงถึง 2 ครั้ง โดยธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีผลการดำเนินงานดีขึ้นกว่าปีก่อน
เนื่องจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยรวมทั้งหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลงจากปีก่อนมาก มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (Asset Management Corporation : AMCs) ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน รวมทั้งมีการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (Thai Asset Management Corporation : TAMC) เพื่อรับโอนหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์
ในปีนี้มีการออกหลักทรัพย์ใหม่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของหลักทรัพย์ภาครัฐสูงถึงร้อยละ 72 เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ส่วนภาคเอกชนโดยรวมมีการออกหลักทรัพย์ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.7 อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆทั้งจากภายในและต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนของไทยและทั่วโลก อย่างไรก็ตามในส่วนของตลาดรองมูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันทำการยังเพิ่มขึ้นสูง แม้จะมีภาวะที่ค่อนข้างผันผวน ในปี 2544 ได้มีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market for Alternative Investment : MAI) ขึ้นเพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้มีแหล่งเงินทุนระยะยาวในการลงทุนและขยายกิจการโดยปลอดภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย ด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งได้เริ่มเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2544 ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยมีมูลค่าการซื้อขายที่ยังขยายตัวสูง ถึงแม้จะชะลอลงจากปี 2543 ก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนหันมาลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า รวมทั้งตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเช่นกัน
2. ภาวะการออมและการลงทุน
ปี 2544 การออมขยายตัวร้อยละ 0.5 ในขณะที่การลงทุนขยายตัว 10.1 ทำให้ช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 5.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจเอกชน และภาครัฐบาล เป็นภาคที่มีการเกินดุลเงินออม ส่วนภาครัฐวิสาหกิจและภาคสถาบันการเงินยังขาดดุลเงินออมอยู่
3. ภาวะเศรษฐกิจเงินทุนของไทยปี 2544
แม้ภาวะเศรษฐกิจปี 2544 ชะลอลงจากปี 2543 แต่การเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยรวมระหว่างภาคเศรษฐกิจต่างๆ ปรับตัวดีขึ้นมาก โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างภาคเศรษฐกิจจริงกับภาคสถาบันการเงิน และภายในภาคเศรษฐกิจจริงด้วยกัน อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนภายในภาคสถาบันการเงินกลับลดลง ภาคเศรษฐกิจที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐบาล และภาครัฐวิสาหกิจ ขณะเดียวกันก็มีการระดมเงินทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเครื่องมือทางการเงินที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนย้ายเงินทุน ได้แก่ หุ้นทุน เงินฝากธนาคาร และหลักทรัพย์
ภาครัฐ
3.1 ภาคครัวเรือนมีการลงทุนในตราสารทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากระดับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ประชาชนบางส่วนหันไปลงทุนในหุ้นของภาคธุรกิจเอกชนและสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมทั้งการออมเงินไว้กับบริษัทประกันชีวิตและกองทุนฯ ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ส่วนแหล่งเงินทุน ได้จากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อ
3.2 ภาคธุรกิจยังคงระดมทุนโดยการออกหุ้นสามัญและหุ้นกู้เพิ่มขึ้น หลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สถาบันการเงินมีการระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจมากขึ้น ดังนั้น ธุรกิจขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงระดมเงินทุนด้วยการออกหุ้นสามัญ และหุ้นกู้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การชำระหนี้ต่างประเทศชะลอลง ขณะเดียวกันก็ลงทุนในต่างประเทศลดลง
3.3 ภาครัฐบาลยังคงระดมทุนโดยการออกหลักทรัพย์ภาครัฐและกู้ยืมจากต่างประเทศ การออกหลักทรัพย์ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นสูง ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล ส่วนการลงทุนทางด้านการเงินที่สำคัญ คือ การฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน การเพิ่มทุนจดทะเบียนให้กับบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3.4 ภาครัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมสถาบันการเงิน) ลงทุนในตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้นสูง ขณะเดียวกันก็ชะลอการฝากเงินที่ธนาคารลง ส่วนแหล่งเงินทุนที่สำคัญ ได้แก่ การกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารออมสิน การออกหุ้นทุน และการออกพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
3.5 ภาคสถาบันการเงินลงทุนในหลักทรัพย์ภาครัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่แล้ว มีการให้สินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อ และลงทุนในหุ้นกู้เพิ่มขึ้น แต่การให้กู้ยืมและการลงทุนในหุ้นทุนยังคงลดลง ส่งผลให้การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินรวมดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ขณะเดียวกันมีการระดมทุนมากขึ้น จากเงินรับฝาก การออกพันธบัตรของสถาบันการเงิน ตราสารพาณิชย์ การประกันชีวิตและกองทุนฯ
3.6 เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุลลดลงจากปีที่แล้วตามการชำระคืนหนี้ต่างประเทศที่ลดลงของกิจการวิเทศธนกิจและภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในปีนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1. ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2544
เศรษฐกิจไทยในปี 2544 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) อยู่ในภาวะชะลอตัว โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาคงที่มีการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.1 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 4.8 ในปี 2542 และ 2543 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาวะการผลิตในปีนี้ชะลอลงและลดลงเกือบทุกสาขาการผลิต ยกเว้นสาขาตัวกลางทางการเงินที่เริ่มฟื้นตัวเป็นปีแรกเช่นเดียวกับสาขาก่อสร้าง หลังจากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนฯ 8 และเป็นปีที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ การใช้จ่ายรวมก็ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปี 2543 เหลือเพียงร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นการชะลอลงทั้งการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน และการสะสมทุนถาวรเบื้องต้น โดยการออมของประเทศยังคงสูงกว่าการลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.6 ซึ่งสูงกว่าปี 2543 เล็กน้อย ดุลบัญชีเดินสะพัดชะลอลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา สาเหตุมาจากการเกินดุลการค้าลดลงมาก ในขณะที่การไหลออกของเงินทุนยังคงมีอย่างต่อเนื่องตามการชำระหนี้ต่างประเทศ แต่ลดลงจากปี 2543 ทำให้ดุลการชำระเงินเริ่มเกินดุลเป็นปีแรก เทียบกับที่ขาดดุลในปีที่แล้ว ซึ่งมีส่วนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพและเงินสำรองทางการสูงขึ้น ส่วนฐานะการคลังของรัฐบาลยังคงขาดดุลต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายขาดดุลเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและมีการขยายตัวในที่สุด ภาวะการเงินในปี 2544 มีสภาพคล่องสูงมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีปริมาณเงินฝากมากกว่าปริมาณสินเชื่อ เนื่องจากมีความต้องการเงินทุนลดลง ซึ่งเป็นผลจากภาวะชะลอตัวของทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังในการปล่อยกู้ในภาวะที่แนวโน้มธุรกิจยังไม่ดีนัก ในปีนี้ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยืมลงถึง 2 ครั้ง โดยธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีผลการดำเนินงานดีขึ้นกว่าปีก่อน
เนื่องจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยรวมทั้งหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลงจากปีก่อนมาก มีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (Asset Management Corporation : AMCs) ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน รวมทั้งมีการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (Thai Asset Management Corporation : TAMC) เพื่อรับโอนหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์
ในปีนี้มีการออกหลักทรัพย์ใหม่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของหลักทรัพย์ภาครัฐสูงถึงร้อยละ 72 เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ส่วนภาคเอกชนโดยรวมมีการออกหลักทรัพย์ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.7 อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆทั้งจากภายในและต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนของไทยและทั่วโลก อย่างไรก็ตามในส่วนของตลาดรองมูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันทำการยังเพิ่มขึ้นสูง แม้จะมีภาวะที่ค่อนข้างผันผวน ในปี 2544 ได้มีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market for Alternative Investment : MAI) ขึ้นเพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้มีแหล่งเงินทุนระยะยาวในการลงทุนและขยายกิจการโดยปลอดภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย ด้วยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งได้เริ่มเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2544 ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยมีมูลค่าการซื้อขายที่ยังขยายตัวสูง ถึงแม้จะชะลอลงจากปี 2543 ก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนหันมาลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า รวมทั้งตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเช่นกัน
2. ภาวะการออมและการลงทุน
ปี 2544 การออมขยายตัวร้อยละ 0.5 ในขณะที่การลงทุนขยายตัว 10.1 ทำให้ช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 5.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจเอกชน และภาครัฐบาล เป็นภาคที่มีการเกินดุลเงินออม ส่วนภาครัฐวิสาหกิจและภาคสถาบันการเงินยังขาดดุลเงินออมอยู่
3. ภาวะเศรษฐกิจเงินทุนของไทยปี 2544
แม้ภาวะเศรษฐกิจปี 2544 ชะลอลงจากปี 2543 แต่การเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยรวมระหว่างภาคเศรษฐกิจต่างๆ ปรับตัวดีขึ้นมาก โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างภาคเศรษฐกิจจริงกับภาคสถาบันการเงิน และภายในภาคเศรษฐกิจจริงด้วยกัน อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนภายในภาคสถาบันการเงินกลับลดลง ภาคเศรษฐกิจที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐบาล และภาครัฐวิสาหกิจ ขณะเดียวกันก็มีการระดมเงินทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเครื่องมือทางการเงินที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนย้ายเงินทุน ได้แก่ หุ้นทุน เงินฝากธนาคาร และหลักทรัพย์
ภาครัฐ
3.1 ภาคครัวเรือนมีการลงทุนในตราสารทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากระดับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ประชาชนบางส่วนหันไปลงทุนในหุ้นของภาคธุรกิจเอกชนและสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมทั้งการออมเงินไว้กับบริษัทประกันชีวิตและกองทุนฯ ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ส่วนแหล่งเงินทุน ได้จากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อ
3.2 ภาคธุรกิจยังคงระดมทุนโดยการออกหุ้นสามัญและหุ้นกู้เพิ่มขึ้น หลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ สถาบันการเงินมีการระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจมากขึ้น ดังนั้น ธุรกิจขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงระดมเงินทุนด้วยการออกหุ้นสามัญ และหุ้นกู้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การชำระหนี้ต่างประเทศชะลอลง ขณะเดียวกันก็ลงทุนในต่างประเทศลดลง
3.3 ภาครัฐบาลยังคงระดมทุนโดยการออกหลักทรัพย์ภาครัฐและกู้ยืมจากต่างประเทศ การออกหลักทรัพย์ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นสูง ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐบาล ส่วนการลงทุนทางด้านการเงินที่สำคัญ คือ การฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน การเพิ่มทุนจดทะเบียนให้กับบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3.4 ภาครัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมสถาบันการเงิน) ลงทุนในตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้นสูง ขณะเดียวกันก็ชะลอการฝากเงินที่ธนาคารลง ส่วนแหล่งเงินทุนที่สำคัญ ได้แก่ การกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารออมสิน การออกหุ้นทุน และการออกพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ
3.5 ภาคสถาบันการเงินลงทุนในหลักทรัพย์ภาครัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีที่แล้ว มีการให้สินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อ และลงทุนในหุ้นกู้เพิ่มขึ้น แต่การให้กู้ยืมและการลงทุนในหุ้นทุนยังคงลดลง ส่งผลให้การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินรวมดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ขณะเดียวกันมีการระดมทุนมากขึ้น จากเงินรับฝาก การออกพันธบัตรของสถาบันการเงิน ตราสารพาณิชย์ การประกันชีวิตและกองทุนฯ
3.6 เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุลลดลงจากปีที่แล้วตามการชำระคืนหนี้ต่างประเทศที่ลดลงของกิจการวิเทศธนกิจและภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นในปีนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-