แท็ก
บัญชี
ภาวะเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยปี 2544 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) อยู่ในภาวะชะลอตัว มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 4.8 ในปี 2542 และ 2543 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาวะการผลิตในปีนี้ชะลอตัวลงทั้งภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร โดยการผลิตภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.5 ขณะที่ภาคนอกเกษตรซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 89.6 ของการผลิตรวมขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 โดยสาขาอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4 ชะลอลงจากปี 2543 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.0 ในขณะที่สาขาตัวกลางทางการเงินเริ่มมีการฟื้นตัวเป็นปีแรก หลังจากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และเป็นปีที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับสาขาการก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว จากการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างอาคารประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารโรงงานอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันการใช้จ่ายรวมก็ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นการชะลอลงทั้งการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น โดยมีสาเหตุจากการชะลอลงของการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักร ขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนยังขยายตัวต่อเนื่องจากปีที่แล้ว แต่การก่อสร้างภาครัฐยังคงหดตัวลงไปอีก
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ยังคงมีเงินออมสูงกว่าการลงทุนต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.6 สภาพคล่องทางการเงินยังมีมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญมาจากดุลการค้าลดลงมาก มูลค่าการส่งออกสินค้าชะลอลงจากปีก่อนหน้ามากตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยปริมาณการส่งออกสินค้าลดลงเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าในหมวดเครื่องจักรและสินค้าอุตสาหกรรม แต่การที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง จึงทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงเพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าชะลอลงเช่นกัน โดยเฉพาะปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกลดลงตามภาวะการชะลอตัวของการส่งออกสินค้า ในขณะที่ระดับราคาสินค้านำเข้าเฉลี่ยโดยรวมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนดุลบริการยังคงเกินดุล การไหลออกของเงินทุนยังคงมีอย่างต่อเนื่องตามการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ แต่ลดลงจากปี 2543 ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุลในปีนี้ จากที่เคยขาดดุลในปี 2543 ซึ่งมีส่วนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพและเงินสำรองทางการสูงขึ้น ฐานะการคลังของรัฐบาลขาดดุลต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องจากปีก่อนๆ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนและกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจมีกิจกรรมเกิดขึ้น รัฐชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้ยืมในประเทศ โดยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลัง รวมทั้งกู้ยืมจากต่างประเทศ รายได้จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวสูง ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของภาษีที่เก็บจากรายได้เนื่องจากการจ้างงานปรับตัวดีขึ้น ภาษีสรรพสามิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอากรขาเข้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลชะลอลงจากปีก่อน ส่วนภาษีที่เก็บได้ลดลงได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ส่วนรายได้จากการนำส่งของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นสูง จากการที่รัฐวิสาหกิจมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่วนรายจ่ายจากงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 3.0 ในปีนี้รัฐบาลยังได้ดำเนินการตามนโยบายกระจายอำนาจการปกครองให้แก่ส่วนราชการท้องถิ่น โดยการถ่ายโอนการบริหารงบประมาณสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และจัดสรรรายได้เพิ่มเติมแก่ อปท. จำนวน 12.7 พันล้านบาท เพื่อให้รายได้ของส่วนท้องถิ่นมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 20 ของรายได้รัฐบาล นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ออกมาตรการต่างๆ ทั้งที่ต่อเนื่องจากปีก่อนและที่เสริมความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการรักษาระดับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ลดภาระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อย โดยผ่านระบบสถาบันเกษตรกร ขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ต่อไปอีกหนึ่งปี มีการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อเป็นการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises -- SMEs) และมีมาตรการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ภาวะการเงิน
ในปี 2544 ทางการได้ปรับปรุงมาตรการทางด้านอัตราดอกเบี้ยให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินนโยบายการเงิน โดยการปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้น ยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ปรับปรุงและพัฒนาระเบียบต่างๆ ในตลาดการเงิน สนับสนุนการให้สินเชื่อ SMEs นอกจากนี้ ยังได้ผ่อนคลายมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ออกมาตรการในแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงิน การกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน ตลอดจนมาตรการในการดำเนินนโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน และการเร่งรัดจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (TAMC) และดำเนินการโอนหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ให้แก่ TAMC เพื่อเอื้อให้สถาบันการเงินกลับมาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินได้อย่างปกติ
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเงินฝากยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่สินเชื่อขยายตัวต่ำ ความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการมีจำกัด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัว ขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังการปล่อยกู้ในภาวะที่แนวโน้มธุรกิจไม่ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการส่งออก รวมทั้งความมั่นใจในข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงินยังอยู่ในระดับต่ำ ในปีนี้ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยืมลง 2 ครั้ง และธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีผลการดำเนินงานดีขึ้นกว่าปีก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยรวมทั้งหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลงมากจากปีก่อนหน้า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของระบบลดลงมากเนื่องจากมีการโอนหนี้ไป AMCs ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ภาวะตลาดทุน
ในปี 2544 การระดมทุนในตลาดแรก (Primary Market) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยภาครัฐมีการออกหลักทรัพย์มูลค่า 772,070 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ส่วนการออกหลักทรัพย์ใหม่ภาคเอกชน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.7 โดยหุ้นกู้ซึ่งมีสัดส่วนสูงในหลักทรัพย์ออกใหม่ภาคเอกชนมีมูลค่า 106,680 ล้านบาทลดลงร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า รองลงมาได้แก่ หุ้นสามัญมูลค่า 102,439 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ใบสำคัญแสดงสิทธิมูลค่า 382 ล้านบาท และหุ้นบุริมสิทธิมูลค่า 307 ล้านบาท ทั้งนี้ การระดมทุนส่วนใหญ่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement)
ตลาดรอง (Secondary Market) ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคึกคักกว่าปีก่อน โดยการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทำการมีมูลค่า 6,440 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 72.2 แต่การซื้อขายอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างผันผวน เนื่องจากในระหว่างปีมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งจากภายในและต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อต้นปี 2544 ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัญหาการก่อการร้าย ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ความผันผวนของภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ สะท้อนผ่านการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) โดยในปี 2544 SET Index เปิดตลาดที่ระดับ 272.03 จุด ได้ปรับขึ้นสูงสุดของปีที่ระดับ 342.56 จุด ก่อนการเกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ส่งผลให้ดัชนีราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงสู่จุดต่ำสุดในรอบปี ที่ระดับ 265.22 จุด และค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นจนปิดตลาด ณ สิ้นปี ที่ระดับ 303.85 จุด เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 13 การปรับตัวเพิ่มขึ้นของระดับราคาหลักทรัพย์ประกอบกับการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใหม่ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง เช่น หุ้นสามัญของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์จดทะเบียนตามราคาตลาด (Market Capitalization) ณ สิ้นปี 2544 เพิ่มขึ้นเป็น 1,607,300 ล้านบาท จาก 1,279,224 ล้านบาท เมื่อสิ้นปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีการจัดตั้ง "ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market for Alternative Investment : MAI)" ขึ้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กำลังเติบโตและมีอนาคตดี ที่มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 200 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก ได้มีแหล่งเงินทุนระยะยาวเพื่อการลงทุนและขยายกิจการโดยปลอดภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย โดยเปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้ามาระดมทุนในตลาดทุนได้ โดยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งเริ่มเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 มีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 3 บริษัท การซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมีมูลค่า 27.92 ล้านบาท จำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียนรวม 4 ราย โดยเป็นหุ้นสามัญ 3 ราย และใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ 1 ราย
ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยมีมูลค่าการซื้อขายทั้งปี 1,592,219.33 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 17.3 แม้ว่าจะชะลอลงจากปีก่อน แต่ขนาดของตลาดได้ขยายตัวตลอดปี 2544 โดยการซื้อขายส่วนใหญ่ยังคงให้น้ำหนักที่พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ประชาชนหันมาลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า รวมทั้งตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ณ สิ้นปี 2544 มีปริมาณทั้งสิ้น 1,506,681.73 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.68 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เศรษฐกิจไทยปี 2544 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) อยู่ในภาวะชะลอตัว มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 4.8 ในปี 2542 และ 2543 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาวะการผลิตในปีนี้ชะลอตัวลงทั้งภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร โดยการผลิตภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.5 ขณะที่ภาคนอกเกษตรซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 89.6 ของการผลิตรวมขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 โดยสาขาอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4 ชะลอลงจากปี 2543 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.0 ในขณะที่สาขาตัวกลางทางการเงินเริ่มมีการฟื้นตัวเป็นปีแรก หลังจากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และเป็นปีที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับสาขาการก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว จากการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างอาคารประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารโรงงานอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันการใช้จ่ายรวมก็ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นการชะลอลงทั้งการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น โดยมีสาเหตุจากการชะลอลงของการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักร ขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนยังขยายตัวต่อเนื่องจากปีที่แล้ว แต่การก่อสร้างภาครัฐยังคงหดตัวลงไปอีก
ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ยังคงมีเงินออมสูงกว่าการลงทุนต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.6 สภาพคล่องทางการเงินยังมีมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญมาจากดุลการค้าลดลงมาก มูลค่าการส่งออกสินค้าชะลอลงจากปีก่อนหน้ามากตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยปริมาณการส่งออกสินค้าลดลงเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าในหมวดเครื่องจักรและสินค้าอุตสาหกรรม แต่การที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง จึงทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงเพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าชะลอลงเช่นกัน โดยเฉพาะปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกลดลงตามภาวะการชะลอตัวของการส่งออกสินค้า ในขณะที่ระดับราคาสินค้านำเข้าเฉลี่ยโดยรวมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนดุลบริการยังคงเกินดุล การไหลออกของเงินทุนยังคงมีอย่างต่อเนื่องตามการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ แต่ลดลงจากปี 2543 ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุลในปีนี้ จากที่เคยขาดดุลในปี 2543 ซึ่งมีส่วนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพและเงินสำรองทางการสูงขึ้น ฐานะการคลังของรัฐบาลขาดดุลต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องจากปีก่อนๆ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนและกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจมีกิจกรรมเกิดขึ้น รัฐชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้ยืมในประเทศ โดยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลัง รวมทั้งกู้ยืมจากต่างประเทศ รายได้จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวสูง ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของภาษีที่เก็บจากรายได้เนื่องจากการจ้างงานปรับตัวดีขึ้น ภาษีสรรพสามิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนอากรขาเข้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลชะลอลงจากปีก่อน ส่วนภาษีที่เก็บได้ลดลงได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ส่วนรายได้จากการนำส่งของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นสูง จากการที่รัฐวิสาหกิจมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ส่วนรายจ่ายจากงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 3.0 ในปีนี้รัฐบาลยังได้ดำเนินการตามนโยบายกระจายอำนาจการปกครองให้แก่ส่วนราชการท้องถิ่น โดยการถ่ายโอนการบริหารงบประมาณสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และจัดสรรรายได้เพิ่มเติมแก่ อปท. จำนวน 12.7 พันล้านบาท เพื่อให้รายได้ของส่วนท้องถิ่นมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 20 ของรายได้รัฐบาล นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ออกมาตรการต่างๆ ทั้งที่ต่อเนื่องจากปีก่อนและที่เสริมความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการรักษาระดับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ลดภาระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อย โดยผ่านระบบสถาบันเกษตรกร ขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ต่อไปอีกหนึ่งปี มีการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อเป็นการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises -- SMEs) และมีมาตรการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ภาวะการเงิน
ในปี 2544 ทางการได้ปรับปรุงมาตรการทางด้านอัตราดอกเบี้ยให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินนโยบายการเงิน โดยการปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินระยะสั้น ยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ปรับปรุงและพัฒนาระเบียบต่างๆ ในตลาดการเงิน สนับสนุนการให้สินเชื่อ SMEs นอกจากนี้ ยังได้ผ่อนคลายมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ออกมาตรการในแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงิน การกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน ตลอดจนมาตรการในการดำเนินนโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน และการเร่งรัดจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (TAMC) และดำเนินการโอนหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ให้แก่ TAMC เพื่อเอื้อให้สถาบันการเงินกลับมาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินได้อย่างปกติ
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเงินฝากยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่สินเชื่อขยายตัวต่ำ ความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการมีจำกัด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัว ขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ยังคงระมัดระวังการปล่อยกู้ในภาวะที่แนวโน้มธุรกิจไม่ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการส่งออก รวมทั้งความมั่นใจในข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงินยังอยู่ในระดับต่ำ ในปีนี้ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ยืมลง 2 ครั้ง และธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีผลการดำเนินงานดีขึ้นกว่าปีก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยรวมทั้งหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลงมากจากปีก่อนหน้า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของระบบลดลงมากเนื่องจากมีการโอนหนี้ไป AMCs ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
ภาวะตลาดทุน
ในปี 2544 การระดมทุนในตลาดแรก (Primary Market) เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยภาครัฐมีการออกหลักทรัพย์มูลค่า 772,070 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ส่วนการออกหลักทรัพย์ใหม่ภาคเอกชน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 10.7 โดยหุ้นกู้ซึ่งมีสัดส่วนสูงในหลักทรัพย์ออกใหม่ภาคเอกชนมีมูลค่า 106,680 ล้านบาทลดลงร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า รองลงมาได้แก่ หุ้นสามัญมูลค่า 102,439 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ใบสำคัญแสดงสิทธิมูลค่า 382 ล้านบาท และหุ้นบุริมสิทธิมูลค่า 307 ล้านบาท ทั้งนี้ การระดมทุนส่วนใหญ่เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement)
ตลาดรอง (Secondary Market) ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคึกคักกว่าปีก่อน โดยการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทำการมีมูลค่า 6,440 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 72.2 แต่การซื้อขายอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างผันผวน เนื่องจากในระหว่างปีมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งจากภายในและต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อต้นปี 2544 ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัญหาการก่อการร้าย ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ความผันผวนของภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ สะท้อนผ่านการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) โดยในปี 2544 SET Index เปิดตลาดที่ระดับ 272.03 จุด ได้ปรับขึ้นสูงสุดของปีที่ระดับ 342.56 จุด ก่อนการเกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ส่งผลให้ดัชนีราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงสู่จุดต่ำสุดในรอบปี ที่ระดับ 265.22 จุด และค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นจนปิดตลาด ณ สิ้นปี ที่ระดับ 303.85 จุด เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 13 การปรับตัวเพิ่มขึ้นของระดับราคาหลักทรัพย์ประกอบกับการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใหม่ที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูง เช่น หุ้นสามัญของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์จดทะเบียนตามราคาตลาด (Market Capitalization) ณ สิ้นปี 2544 เพิ่มขึ้นเป็น 1,607,300 ล้านบาท จาก 1,279,224 ล้านบาท เมื่อสิ้นปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีการจัดตั้ง "ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (Market for Alternative Investment : MAI)" ขึ้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กำลังเติบโตและมีอนาคตดี ที่มีทุนจดทะเบียนน้อยกว่า 200 ล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก ได้มีแหล่งเงินทุนระยะยาวเพื่อการลงทุนและขยายกิจการโดยปลอดภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย โดยเปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้ามาระดมทุนในตลาดทุนได้ โดยการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งเริ่มเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 มีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 3 บริษัท การซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมีมูลค่า 27.92 ล้านบาท จำนวนหลักทรัพย์จดทะเบียนรวม 4 ราย โดยเป็นหุ้นสามัญ 3 ราย และใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ 1 ราย
ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยมีมูลค่าการซื้อขายทั้งปี 1,592,219.33 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 17.3 แม้ว่าจะชะลอลงจากปีก่อน แต่ขนาดของตลาดได้ขยายตัวตลอดปี 2544 โดยการซื้อขายส่วนใหญ่ยังคงให้น้ำหนักที่พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ประชาชนหันมาลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า รวมทั้งตราสารหนี้ที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย ณ สิ้นปี 2544 มีปริมาณทั้งสิ้น 1,506,681.73 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.68 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2543
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-