ส่วนที่ 2 ภาวะการออม การลงทุน และช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุน
การออมและการลงทุน
การออมเบื้องต้นของประเทศ (Gross Savings) ประกอบด้วย เงินออมสุทธิ ค่าเสื่อมราคาและเงินโอน ซึ่งในปี 2544 ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศยังมีเงินออมในประเทศเบื้องต้นขยายตัวเล็กน้อยจาก 1,557,890 ล้านบาทในปีที่แล้วเป็น 1,565,754 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 โดยปีนี้เป็นปีแรกของภาคสถาบันการเงินที่มีเงินออมจากการดำเนินงาน หลังจากขาดดุลเงินออมตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา ภาครัฐบาลและภาครัฐวิสาหกิจ มีการขยายตัวของเงินออมร้อยละ 8.7 และ 45.8 ตามลำดับ ส่วนเงินออมของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจลดลงจากปีที่แล้ว การลงทุนเบื้องต้นในราคาประจำปี (Gross capital formation) ประกอบด้วย การลงทุนใน สินทรัพย์ถาวรก่อนหักค่าเสื่อมราคาและการเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น มีมูลค่า 1,236,795 ล้านบาทเทียบกับ 1,123,060 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขยายตัวร้อยละ 10.1 ซึ่งการลงทุนของเกือบทุกภาคเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น ภาครัฐบาลกลางและภาคสถาบันการเงินที่มีการลงทุนลดลง
1. ภาคครัวเรือน
ปี 2544 รายได้ของภาคครัวเรือนส่วนใหญ่ได้จากค่าตอบแทนแรงงานซึ่งยังขยายตัวตามมาตรการเร่งด่วนของรัฐที่กระตุ้นให้ชุมชนมีงานทำตลอดปี โดยการจัดทำโครงการต่างๆ แต่เนื่องจากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงเรื่อยๆ ไม่จูงใจให้ประชาชนฝากเงินกับสถาบันการเงิน จึงหันไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ทำให้ภาคครัวเรือนมีเงินออมเบื้องต้นลดลงจาก 356,738 ล้านบาทในปีที่แล้ว เป็น 260,093 ล้านบาทในปีนี้ ลดลงร้อยละ 27.1 ในขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรด้านที่อยู่อาศัยยังขยายตัวจาก 54,823 ล้านบาทในปีที่แล้วเป็น 68,559 ล้านบาทในปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 25.1 เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงเรื่อยๆ และรัฐมีมาตรการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์จัดโครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยให้กับข้าราชการสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และธนาคารออมสินมีการปล่อยสินเชื่อเต็มวงเงินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายแก่กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เพราะเห็นว่าคนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อแน่นอนและมั่นคง ส่งผลให้ภาคครัวเรือนมีเงินออมเกินดุล 222,082 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34.2
2. ภาคธุรกิจ
จากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก การผลิตของภาคเอกชนชะลอลง รายได้จากผลตอบแทนปัจจัยขยายตัวน้อยลง ทำให้เงินออมเบื้องต้นของภาคธุรกิจชะลอตัวลงจาก 1,310,148 ล้านบาทในปีที่แล้วเป็น 810,997 ล้านบาทในปีนี้ ลดลงร้อยละ 38.1 จากมาตรการของรัฐที่สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนโดยการปรับลด และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ทำให้รายจ่ายเพื่อการลงทุนของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น จาก 622,567 ล้านบาทเป็น 732,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีเงินออม 321,207 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.5
3. ภาครัฐบาล (ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น)
รัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยมุ่งเน้นกระต นเศรษฐกิจ พัฒนาศักยภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ มาตรการต่างๆ ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายรับภาครัฐจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น ในขณะที่รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายประจำ แต่รายจ่ายลงทุนลดลง ทำให้ภาครัฐบาลมีเงินออมเบื้องต้นเพิ่มขึ้น รายจ่ายเพื่อการลงทุนด้านการก่อสร้างของภาครัฐบาลลดลง แต่การลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรยังมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น ทำให้รัฐบาลยังคงมีเงินออมเกินดุลอยู่
4. ภาครัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมสถาบันการเงิน)
ผลการปรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องของภาครัฐวิสาหกิจ ทำให้รัฐวิสาหกิจบางแห่งมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น รัฐวิสาหกิจมีเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนเพิ่มขึ้น ปีนี้ภาครัฐวิสาหกิจมีเงินออมเบื้องต้น 160,958 ล้านบาทเทียบกับ 110,434 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขยายตัวร้อยละ 45.8 ส่วนรายจ่ายเพื่อการลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 188,756 ล้านบาทในปีที่แล้วเป็น 189,474 ล้านบาทในปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) มีการลงทุนในการนำเข้าเครื่องบินลดลงจากปีที่แล้ว โดยในปีนี้นำเข้าเพียง 2 ลำ เมื่อเทียบกับที่นำเข้าปีที่แล้ว จำนวน 8 ลำ ภาครัฐวิสาหกิจขาดดุลเงินออมน้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 63.4
5. ภาคสถาบันการเงิน
ในปี 2544 ภาคสถาบันการเงินโดยรวมเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีเงินออมเพิ่มขึ้นเป็นปีแรก นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา สาขาที่มีเงินออมเพิ่มขึ้นได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัทประกันภัยเป็นต้น ส่วนสาขาที่ยังคงประสบปัญหาขาดทุนและมีเงินออมลดลงได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่วนด้านการลงทุนที่เพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์
6. ภาคต่างประเทศ
ภาคต่างประเทศยังคงขาดดุลการออมกับประเทศไทยต่อเนื่อง โดยบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 274,141 ล้านบาทเมื่อเทียบกับ 371,023 ล้านบาทในปีที่แล้ว ชะลอลงร้อยละ 5.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เนื่องจากอุปสงค์ของตลาดคู่ค้าของไทยลดลง ส่งผลให้มูลค่าส่งออกสินค้าและบริการชะลอลงร้อยละ 3.0 โดยเฉพาะหมวดเครื่องจักรและสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนรายจ่ายนำเข้าสินค้าทุนหมวดเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกก็ลดลงตามภาวะการชะลอตัวของการส่งออกเช่นกัน ดุลการค้าชะลอลง เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุลลดลงจากปีที่แล้ว มีผลทำให้ดุลการชำระเงินในปีนี้เกินดุล
ช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุน
เงินออมเบื้องต้นของประเทศมีมูลค่า 1,565,754 ล้านบาทเมื่อเทียบกับ 1,557,890 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขยายตัวร้อยละ 0.5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.5 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งภาคเศรษฐกิจที่มีเงินออมขยายตัวได้แก่ ภาครัฐบาล ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคสถาบันการเงิน โดยในปีนี้เป็นปีแรกของภาคสถาบันการเงินที่มีเงินออม หลังจากขาดดุลเงินออมมาตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในขณะที่การลงทุนรวมในประเทศมีมูลค่า 1,236,795 ล้านบาทเทียบกับ 1,123,060 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขยายตัวร้อยละ 10.1 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.1 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยภาครัฐบาลกลางและภาคสถาบันการเงินมีการขยายตัวการลงทุนลดลง ทำให้ช่องว่างระหว่างการออมกับการลงทุนในประเทศยังเกินดุลร้อยละ 5.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
การออมและการลงทุน
การออมเบื้องต้นของประเทศ (Gross Savings) ประกอบด้วย เงินออมสุทธิ ค่าเสื่อมราคาและเงินโอน ซึ่งในปี 2544 ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศยังมีเงินออมในประเทศเบื้องต้นขยายตัวเล็กน้อยจาก 1,557,890 ล้านบาทในปีที่แล้วเป็น 1,565,754 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.5 โดยปีนี้เป็นปีแรกของภาคสถาบันการเงินที่มีเงินออมจากการดำเนินงาน หลังจากขาดดุลเงินออมตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา ภาครัฐบาลและภาครัฐวิสาหกิจ มีการขยายตัวของเงินออมร้อยละ 8.7 และ 45.8 ตามลำดับ ส่วนเงินออมของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจลดลงจากปีที่แล้ว การลงทุนเบื้องต้นในราคาประจำปี (Gross capital formation) ประกอบด้วย การลงทุนใน สินทรัพย์ถาวรก่อนหักค่าเสื่อมราคาและการเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น มีมูลค่า 1,236,795 ล้านบาทเทียบกับ 1,123,060 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขยายตัวร้อยละ 10.1 ซึ่งการลงทุนของเกือบทุกภาคเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น ภาครัฐบาลกลางและภาคสถาบันการเงินที่มีการลงทุนลดลง
1. ภาคครัวเรือน
ปี 2544 รายได้ของภาคครัวเรือนส่วนใหญ่ได้จากค่าตอบแทนแรงงานซึ่งยังขยายตัวตามมาตรการเร่งด่วนของรัฐที่กระตุ้นให้ชุมชนมีงานทำตลอดปี โดยการจัดทำโครงการต่างๆ แต่เนื่องจากรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงเรื่อยๆ ไม่จูงใจให้ประชาชนฝากเงินกับสถาบันการเงิน จึงหันไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ทำให้ภาคครัวเรือนมีเงินออมเบื้องต้นลดลงจาก 356,738 ล้านบาทในปีที่แล้ว เป็น 260,093 ล้านบาทในปีนี้ ลดลงร้อยละ 27.1 ในขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรด้านที่อยู่อาศัยยังขยายตัวจาก 54,823 ล้านบาทในปีที่แล้วเป็น 68,559 ล้านบาทในปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 25.1 เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงเรื่อยๆ และรัฐมีมาตรการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์จัดโครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยให้กับข้าราชการสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และธนาคารออมสินมีการปล่อยสินเชื่อเต็มวงเงินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายแก่กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เพราะเห็นว่าคนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อแน่นอนและมั่นคง ส่งผลให้ภาคครัวเรือนมีเงินออมเกินดุล 222,082 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34.2
2. ภาคธุรกิจ
จากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก การผลิตของภาคเอกชนชะลอลง รายได้จากผลตอบแทนปัจจัยขยายตัวน้อยลง ทำให้เงินออมเบื้องต้นของภาคธุรกิจชะลอตัวลงจาก 1,310,148 ล้านบาทในปีที่แล้วเป็น 810,997 ล้านบาทในปีนี้ ลดลงร้อยละ 38.1 จากมาตรการของรัฐที่สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนโดยการปรับลด และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ทำให้รายจ่ายเพื่อการลงทุนของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น จาก 622,567 ล้านบาทเป็น 732,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีเงินออม 321,207 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.5
3. ภาครัฐบาล (ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น)
รัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยมุ่งเน้นกระต นเศรษฐกิจ พัฒนาศักยภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ มาตรการต่างๆ ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายรับภาครัฐจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น ในขณะที่รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายประจำ แต่รายจ่ายลงทุนลดลง ทำให้ภาครัฐบาลมีเงินออมเบื้องต้นเพิ่มขึ้น รายจ่ายเพื่อการลงทุนด้านการก่อสร้างของภาครัฐบาลลดลง แต่การลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรยังมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น ทำให้รัฐบาลยังคงมีเงินออมเกินดุลอยู่
4. ภาครัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมสถาบันการเงิน)
ผลการปรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องของภาครัฐวิสาหกิจ ทำให้รัฐวิสาหกิจบางแห่งมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นต้น รัฐวิสาหกิจมีเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนเพิ่มขึ้น ปีนี้ภาครัฐวิสาหกิจมีเงินออมเบื้องต้น 160,958 ล้านบาทเทียบกับ 110,434 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขยายตัวร้อยละ 45.8 ส่วนรายจ่ายเพื่อการลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 188,756 ล้านบาทในปีที่แล้วเป็น 189,474 ล้านบาทในปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) มีการลงทุนในการนำเข้าเครื่องบินลดลงจากปีที่แล้ว โดยในปีนี้นำเข้าเพียง 2 ลำ เมื่อเทียบกับที่นำเข้าปีที่แล้ว จำนวน 8 ลำ ภาครัฐวิสาหกิจขาดดุลเงินออมน้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 63.4
5. ภาคสถาบันการเงิน
ในปี 2544 ภาคสถาบันการเงินโดยรวมเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีเงินออมเพิ่มขึ้นเป็นปีแรก นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา สาขาที่มีเงินออมเพิ่มขึ้นได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัทประกันภัยเป็นต้น ส่วนสาขาที่ยังคงประสบปัญหาขาดทุนและมีเงินออมลดลงได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส่วนด้านการลงทุนที่เพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์
6. ภาคต่างประเทศ
ภาคต่างประเทศยังคงขาดดุลการออมกับประเทศไทยต่อเนื่อง โดยบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 274,141 ล้านบาทเมื่อเทียบกับ 371,023 ล้านบาทในปีที่แล้ว ชะลอลงร้อยละ 5.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เนื่องจากอุปสงค์ของตลาดคู่ค้าของไทยลดลง ส่งผลให้มูลค่าส่งออกสินค้าและบริการชะลอลงร้อยละ 3.0 โดยเฉพาะหมวดเครื่องจักรและสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนรายจ่ายนำเข้าสินค้าทุนหมวดเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกก็ลดลงตามภาวะการชะลอตัวของการส่งออกเช่นกัน ดุลการค้าชะลอลง เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุลลดลงจากปีที่แล้ว มีผลทำให้ดุลการชำระเงินในปีนี้เกินดุล
ช่องว่างระหว่างการออมและการลงทุน
เงินออมเบื้องต้นของประเทศมีมูลค่า 1,565,754 ล้านบาทเมื่อเทียบกับ 1,557,890 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขยายตัวร้อยละ 0.5 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.5 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งภาคเศรษฐกิจที่มีเงินออมขยายตัวได้แก่ ภาครัฐบาล ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคสถาบันการเงิน โดยในปีนี้เป็นปีแรกของภาคสถาบันการเงินที่มีเงินออม หลังจากขาดดุลเงินออมมาตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ในขณะที่การลงทุนรวมในประเทศมีมูลค่า 1,236,795 ล้านบาทเทียบกับ 1,123,060 ล้านบาทในปีที่แล้ว ขยายตัวร้อยละ 10.1 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.1 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยภาครัฐบาลกลางและภาคสถาบันการเงินมีการขยายตัวการลงทุนลดลง ทำให้ช่องว่างระหว่างการออมกับการลงทุนในประเทศยังเกินดุลร้อยละ 5.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-