5. ภาคสถาบันการเงิน
มูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินโดยรวมในปี 2544 ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยลดลงเท่ากับ 243,305 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลง 420,947 ล้านบาทในปี 2543 โดยส่วนใหญ่เป็นเงินที่ใช้หมุนเวียนในภาคสถาบันการเงินด้วยกันเองที่ลดลง ส่วนเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ภาคการผลิตกลับเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึง 140,122 ล้านบาท
ด้านการระดมเงินทุนของภาคสถาบันการเงินส่วนใหญ่ยังคงมาจากเงินรับฝาก เงินกองทุนของบริษัทประกันและกองทุนฯ และเงินกู้ยืม ส่วนหนี้ต่างประเทศยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากการชำระคืนสุทธิในปีนี้เท่ากับ 144,184 ล้านบาท
5.1 ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปี 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงมีการระดมเงินทุนโดยรวมลดลง ทั้งจากการลดลงของเงินกู้ยืมระยะยาว และเงินรับฝากที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้มีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยมีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศสุทธิ 18,052 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการชำระตามโปรแกรม IMF ในขณะที่การระดมเงินทุนจากการออกพันธบัตรเพิ่มขึ้น 110,375 ล้านบาท ซึ่งเป็นพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินส่วนด้านการช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินต่างๆ ของธปท. ในปีนี้กลับลดลง ทั้งเงินให้ความช่วยเหลือในรูปของเงินให้กู้ยืมและเงินเพิ่มทุน ยกเว้นตั๋วเงินที่เพิ่มขึ้นเพียง 5,169 ล้านบาท และมีการลงทุนในหลักทรัพย์ภาครัฐสุทธิเพิ่มขึ้น 18,168 ล้านบาท
โดยส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนในตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตามลำดับ นอกจากนี้ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2543 เป็น 57,566 ล้านบาท ในปี 2544
5.2 ธนาคารพาณิชย์
แรงจูงใจในเรื่องอัตราดอกเบี้ยยังคงมีผลกระทบต่อแหล่งเงินทุนหลักของธนาคารพาณิชย์ทำให้ยอดเงินรับฝากชะลอตัวลงจาก 239,217 ล้านบาทในปี 2543 เป็น 182,920 ล้านบาท ในปี 2544 นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ยังมีการระดมเงินทุนทางด้านการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 27,239 ล้านบาท ส่วนการชำระหนี้ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ยังคงมีการชำระอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
ส่วนยอดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปี 2544 โดยรวมลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ โดยมียอดเงินให้สินเชื่อหลักลดลงทั้งสิ้น 618,280 ล้านบาทเทียบกับปี 2543 ที่ลดลง 704,383 ล้านบาท โดยปัจจัยสำคัญยังคงมาจากการที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีสภาพคล่องส่วนเกินสูงต่อเนื่องจากปี 2543 และการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อป้องกันปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อีกทั้งมีการโอนหนี้ด้อยคุณภาพไปยัง AMC และ TAMC ในช่วงปลายปี และการลดลงของจำนวนกิจการวิเทศธนกิจของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ส่วนด้านการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ในหลักทรัพย์ภาครัฐและหุ้นกู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 90,191 และ 12,665 ล้านบาท ตามลำดับ ยกเว้นการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แหล่งเงินทุนที่สำคัญของธนาคารออมสินยังคงมาจากเงินรับฝากและเงินรับฝากสลากออมสินพิเศษและพันธบัตรที่ต่างเพิ่มสูงขึ้น โดยมีเงินรับฝากเพิ่มสูงขึ้น 41,118 ล้านบาทและมีเงินรับฝากสลากออมสินพิเศษและพันธบัตรเพิ่มขึ้น 19,800 ล้านบาท
ด้านการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อโดยการให้กู้ระยะสั้น โดยในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นการให้กู้กับภาครัฐวิสาหกิจถึง 61,443 ล้านบาท ในขณะที่การให้กู้ระยะยาวยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการลงทุนในหุ้นกู้เพิ่มขึ้น 5,143 ล้านบาท
5.4 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ยังคงลดลง การระดมทุนทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินได้แก่ เงินลงทุนในหุ้นทุน และหลักทรัพย์ภาครัฐชะลอตัวจาก 15,761 และ 6,453 ล้านบาท ในปี 2543 เป็น 782 และ 1,204 ล้านบาท ในปี 2544 ด้านเงินฝากกลับลดลงถึง 11,182 ล้านบาท ยกเว้นการให้สินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นเป็นปีที่สองนับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา
5.5 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ของบรรษัทฯ ยังคงมาจากภายในประเทศ โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้น 28,275 ล้านบาทและ 4,455 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนั้นยังได้มีการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้านการใช้ไปของเงินทุนส่วนใหญ่ยังคงเป็นการให้สินเชื่อระยะยาวแก่ภาคธุรกิจซึ่งชะลอลงจากปีก่อน ส่วนการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเพิ่มขึ้น 957 ล้านบาท ในขณะที่การลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
5.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เงินรับฝากของ ธกส. ยังคงเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ โดยในปีนี้ยอดเงินรับฝากเพิ่มขึ้นจาก 38,310 ล้านบาท เป็น 45,887 ล้านบาทในปี 2544 นอกจากนี้ยังมีหุ้นทุนเพิ่มขึ้น 2,511 ล้านบาท ส่วนด้านการใช้ไปของเงินทุนในปีนี้ขยายตัวค่อนข้างสูงทั้งการให้สินเชื่อทั้งระยะสั้น ระยะยาวที่ต่างปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 37,255 และ 34,141 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ภาครัฐลดลง 14,797 ล้านบาท
5.7 ธนาคารอาคารสงเคราะห์
สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ลดลงอย่างมากแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ในปีนี้มาจากการกู้ยืมโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นจำนวน 23,163 ล้านบาท ส่วนเงินรับฝากที่เคยเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ ธอส. ในปีนี้กลับลดลงกว่า 20,000 ล้านบาท ด้านการใช้ไปของเงินทุน ถูกใช้ไปในการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 3,269 ล้านบาท เทียบกับสองปีก่อนหน้าที่ลดลง แต่ถึงแม้เป็น การปล่อยกู้ที่เพิ่มขึ้นไม่มากเท่ากับสามสี่ปีที่ผ่านมา ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตามธนาคารอาคารสงเคราะห์เองก็ยังคงต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้และหลักทรัพย์ค้ำประกันที่มีมูลค่าเพียงพอต่อภาระหนี้สิน ส่วนการลงทุนส่วนใหญ่ลดลงเกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาดซื้อคืน การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ยกเว้นเงินฝากที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่ลดลงมาตลอดสองปีที่ผ่านมา
5.8 บริษัทประกันและกองทุนฯ
ในปี 2544 ประกอบด้วย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ยกเว้นกองทุนบำเหน็จพนักงานรัฐวิสาหกิจ)
สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินส่วนใหญ่ของบริษัทประกันและกองทุนฯ ต่างปรับตัวดีขึ้น เงินกองทุนประกันโดยรวมเพิ่มขึ้น 72,434 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นกองทุนประกันของบริษัทประกันชีวิตและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีเงินทุนทั้งจากต่างประเทศ และในประเทศประเภทหุ้นทุนและเงินกู้ยืมระยะสั้นอีกด้วย
ส่วนด้านการลงทุนในปีนี้ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ภาครัฐ 90,813 ล้านบาท และฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 33,472 ล้านบาท ส่วนตั๋วเงินลดลง 26,934 ล้านบาท
5.9 สหกรณ์ออมทรัพย์
ในปีนี้จำนวนเงินสะสมมูลค่าหุ้นของสมาชิกเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเป็นจำนวนเงิน 32,829 ล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากจำนวนสมาชิกและจำนวนสหกรณ์ที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นในส่วนของเงินรับฝากจากสมาชิกที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา การใช้ไปของเงินทุนในปีนี้ยังคงเป็นการปล่อยกู้ระยะยาวให้กับสมาชิกเพิ่มขึ้น 27,241 ล้านบาท รวมทั้งการปล่อยกู้ประเภทระยะสั้นและตั๋วเงินที่ต่างปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ยกเว้นเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ที่กลับลดลง 9,191 ล้านบาท
5.10 สถาบันการเงินอื่น
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
จากการที่บริษัทเร่งระดมเงินทุนทำให้ในปีที่ผ่านมาและปีนี้มีเงินทุนเพิ่มขึ้น โดยแหล่งเงินทุนที่สำคัญในปีนี้มาจากการกู้ยืมระยะยาว และยังคงกู้ยืมในรูปของตั๋วเงินเพิ่มขึ้น 553 ล้านบาทและ 356 ล้านบาทตามลำดับ ทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 601 ล้านบาท รวมทั้งมีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและลงทุนในหุ้นทุนเพิ่มขึ้น
สหกรณ์การเกษตร
แหล่งเงินทุนโดยรวมขยายตัวทั้งจากหุ้นสะสมจากสมาชิกและเงินรับฝากจากสมาชิก ทำให้สหกรณ์มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นสามารถปล่อยสินเชื่อแก่สมาชิกเพิ่มขึ้น 5,820 ล้านบาท นอกจากนั้นยังคงมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 1,716 ล้านบาทบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของ บอย. เพิ่มขึ้นมากในปี 2544 ทำให้ บอย. สามารถขยายสินเชื่อให้กับภาคเอกชนกลุ่ม SMEs เพิ่มขึ้นจาก 606 ล้านบาท ในปี 2543 เป็น 2,637 ล้านบาทในปี 2544 แหล่งเงินทุนที่สำคัญของ บอย. นอกจากได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาอาเซียน-ญี่ปุ่นของประเทศไทยแล้ว ในปีนี้ยังได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเพิ่มขึ้นและมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 1,000 ล้านบาท
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แหล่งเงินทุนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงมาจากเงินค่าธรรมเนียมจากบริษัทจดทะเบียน ค่าบำรุงจากบริษัทสมาชิก และค่าบริการจากบริษัทย่อย ซึ่งในปีนี้มีอัตราการขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้าด้านการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหุ้นทุนเพิ่มขึ้น 1,377 ล้านบาท
โรงรับจำนำ
ธุรกิจโรงรับจำนำชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าโดยมีเงินเพิ่มทุนเพิ่มขึ้น 360 ล้านบาทในปี 2544 ชะลอตัวลงจาก 482 ล้านบาทในปี 2543 ด้านการรับจำนำทรัพย์สินลดลง 276 ล้านบาทในขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้น 561 ล้านบาท
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ในปี 2544 สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินโดยรวมของ ธสน. ลดลงจากปี 2543 แหล่งเงินทุนมีเพียงเงินรับฝากจากธนาคารพาณิชย์เท่านั้นที่เพิ่มขึ้น 1,118 ล้านบาท ส่วนการกู้ยืมทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศกลับลดลง
ด้านการให้สินเชื่อแก่ผู้ส่งออกโดยตรงและสินเชื่อที่ปล่อยกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์กลับลดลง เนื่องจากเกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า อีกทั้งเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกายิ่งทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอยู่ก่อนแล้วกลับทรุดลงอีก จึงส่งผลให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกของประเทศไทยถดถอยลงจึงทำให้ ธสน. ไม่สามารถขยายสินเชื่อได้มากเท่าที่ควร
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ในที่นี้ประกอบด้วย บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) และยังมีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยที่ได้เปิดดำเนินการขึ้นในปีนี้ ในขณะที่ องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (อบส.) ได้ปิดกิจการลงแหล่งเงินทุนในปีนี้ส่วนใหญ่มาจากทุนประเดิมของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยเป็นจำนวน 1,000 ล้านบาท และการออกพันธบัตรของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยอีกจำนวน 62 ล้านบาทการใช้ไปของเงินทุนรวมลดลงทั้งจากเงินฝากธนาคาร เงินให้กู้ระยะยาวและเงินลงทุนในตั๋วเงินและหุ้นกู้ ยกเว้นเงินให้กู้ยืมระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นและเงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สาม ส่วนการลงทุนในหุ้นทุนชะลอลง
6. ภาคต่างประเทศ
ในปี 2544 ภาคต่างประเทศยังคงมีการลงทุนในสินทรัพย์การเงินลดลงแต่น้อยกว่าปีที่แล้วและมีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิ 223,339 ล้านบาทเมื่อเทียบกับที่ขาดดุล 405,448 ล้านบาทในปีที่แล้ว ดุลการชำระเงินเกินดุล 57,566 ล้านบาท การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่สำคัญ มีดังนี้
6.1 การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ (Loans) ยังคงมีการไหลออกสุทธิ 349,877 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 372,560 ล้านบาทในปีที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ต่างประเทศของภาคธุรกิจเอกชน กิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ รัฐวิสาหกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย
6.2 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Direct Investment) มีมูลค่ารวม 170,142 ล้านบาทเมื่อเทียบกับ 136,786 ล้านบาทในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ซึ่งเป็นการนำเข้าเงินทุนจากบริษัทแม่ และบริษัทร่วมทุนของภาคธุรกิจเอกชน ส่วนการลงทุนในต่างประเทศของคนไทย มีมูลค่าสุทธิเพิ่มขึ้น 7,219 ล้านบาท เมื่อเทียบกับที่ได้ลงทุนสุทธิลดลง 795 ล้านบาทในปีที่แล้ว
6.3 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) มียอดชำระคืนสุทธิ 43,940 ล้านบาทเมื่อเทียบกับ 21,041 ล้านบาทในปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการไถ่ถอนตราสารหนี้ของภาคธุรกิจเอกชนและสถาบันการเงิน ส่วนเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของไทยมีมูลค่าสุทธิ 10,912 ล้านบาทเทียบกับ 8,131 ล้านบาทในปี 2543
6.4 เงินตราและเงินฝาก (Currency and Deposit) มียอดสุทธิเพิ่มขึ้น 60,144 ล้านบาทเทียบกับที่ลดลง 12,138 ล้านบาทในปีที่แล้ว ปีนี้เป็นปีแรกที่มีเงินตราและเงินฝากต่างประเทศเพิ่มขึ้น หลังจากลดลงมาโดยตลอดตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนเงินตราและเงินฝากที่ไหลออกไปต่างประเทศยังคงชะลอลงต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า
6.5 สินเชื่อการค้า (Trade Credit) มียอดชำระคืนสุทธิ 22,936 ล้านบาทเทียบกับที่มีสินเชื่อสุทธิ 31,790 ล้านบาทในปีที่แล้ว ซึ่งยังคงเป็นการชำระคืนสุทธิของภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
มูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินโดยรวมในปี 2544 ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยลดลงเท่ากับ 243,305 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลง 420,947 ล้านบาทในปี 2543 โดยส่วนใหญ่เป็นเงินที่ใช้หมุนเวียนในภาคสถาบันการเงินด้วยกันเองที่ลดลง ส่วนเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ภาคการผลิตกลับเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึง 140,122 ล้านบาท
ด้านการระดมเงินทุนของภาคสถาบันการเงินส่วนใหญ่ยังคงมาจากเงินรับฝาก เงินกองทุนของบริษัทประกันและกองทุนฯ และเงินกู้ยืม ส่วนหนี้ต่างประเทศยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากการชำระคืนสุทธิในปีนี้เท่ากับ 144,184 ล้านบาท
5.1 ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปี 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงมีการระดมเงินทุนโดยรวมลดลง ทั้งจากการลดลงของเงินกู้ยืมระยะยาว และเงินรับฝากที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้มีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยมีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศสุทธิ 18,052 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการชำระตามโปรแกรม IMF ในขณะที่การระดมเงินทุนจากการออกพันธบัตรเพิ่มขึ้น 110,375 ล้านบาท ซึ่งเป็นพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินส่วนด้านการช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินต่างๆ ของธปท. ในปีนี้กลับลดลง ทั้งเงินให้ความช่วยเหลือในรูปของเงินให้กู้ยืมและเงินเพิ่มทุน ยกเว้นตั๋วเงินที่เพิ่มขึ้นเพียง 5,169 ล้านบาท และมีการลงทุนในหลักทรัพย์ภาครัฐสุทธิเพิ่มขึ้น 18,168 ล้านบาท
โดยส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนในตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตามลำดับ นอกจากนี้ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2543 เป็น 57,566 ล้านบาท ในปี 2544
5.2 ธนาคารพาณิชย์
แรงจูงใจในเรื่องอัตราดอกเบี้ยยังคงมีผลกระทบต่อแหล่งเงินทุนหลักของธนาคารพาณิชย์ทำให้ยอดเงินรับฝากชะลอตัวลงจาก 239,217 ล้านบาทในปี 2543 เป็น 182,920 ล้านบาท ในปี 2544 นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ยังมีการระดมเงินทุนทางด้านการออกตั๋วสัญญาใช้เงินของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 27,239 ล้านบาท ส่วนการชำระหนี้ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ยังคงมีการชำระอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
ส่วนยอดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปี 2544 โดยรวมลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ โดยมียอดเงินให้สินเชื่อหลักลดลงทั้งสิ้น 618,280 ล้านบาทเทียบกับปี 2543 ที่ลดลง 704,383 ล้านบาท โดยปัจจัยสำคัญยังคงมาจากการที่ธนาคารพาณิชย์ยังมีสภาพคล่องส่วนเกินสูงต่อเนื่องจากปี 2543 และการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อป้องกันปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อีกทั้งมีการโอนหนี้ด้อยคุณภาพไปยัง AMC และ TAMC ในช่วงปลายปี และการลดลงของจำนวนกิจการวิเทศธนกิจของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ส่วนด้านการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ในหลักทรัพย์ภาครัฐและหุ้นกู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 90,191 และ 12,665 ล้านบาท ตามลำดับ ยกเว้นการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แหล่งเงินทุนที่สำคัญของธนาคารออมสินยังคงมาจากเงินรับฝากและเงินรับฝากสลากออมสินพิเศษและพันธบัตรที่ต่างเพิ่มสูงขึ้น โดยมีเงินรับฝากเพิ่มสูงขึ้น 41,118 ล้านบาทและมีเงินรับฝากสลากออมสินพิเศษและพันธบัตรเพิ่มขึ้น 19,800 ล้านบาท
ด้านการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อโดยการให้กู้ระยะสั้น โดยในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นการให้กู้กับภาครัฐวิสาหกิจถึง 61,443 ล้านบาท ในขณะที่การให้กู้ระยะยาวยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการลงทุนในหุ้นกู้เพิ่มขึ้น 5,143 ล้านบาท
5.4 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ยังคงลดลง การระดมทุนทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินได้แก่ เงินลงทุนในหุ้นทุน และหลักทรัพย์ภาครัฐชะลอตัวจาก 15,761 และ 6,453 ล้านบาท ในปี 2543 เป็น 782 และ 1,204 ล้านบาท ในปี 2544 ด้านเงินฝากกลับลดลงถึง 11,182 ล้านบาท ยกเว้นการให้สินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นเป็นปีที่สองนับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา
5.5 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ของบรรษัทฯ ยังคงมาจากภายในประเทศ โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้น 28,275 ล้านบาทและ 4,455 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนั้นยังได้มีการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้านการใช้ไปของเงินทุนส่วนใหญ่ยังคงเป็นการให้สินเชื่อระยะยาวแก่ภาคธุรกิจซึ่งชะลอลงจากปีก่อน ส่วนการลงทุนในพันธบัตรภาครัฐเพิ่มขึ้น 957 ล้านบาท ในขณะที่การลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
5.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เงินรับฝากของ ธกส. ยังคงเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ โดยในปีนี้ยอดเงินรับฝากเพิ่มขึ้นจาก 38,310 ล้านบาท เป็น 45,887 ล้านบาทในปี 2544 นอกจากนี้ยังมีหุ้นทุนเพิ่มขึ้น 2,511 ล้านบาท ส่วนด้านการใช้ไปของเงินทุนในปีนี้ขยายตัวค่อนข้างสูงทั้งการให้สินเชื่อทั้งระยะสั้น ระยะยาวที่ต่างปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 37,255 และ 34,141 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ภาครัฐลดลง 14,797 ล้านบาท
5.7 ธนาคารอาคารสงเคราะห์
สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ลดลงอย่างมากแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ในปีนี้มาจากการกู้ยืมโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นจำนวน 23,163 ล้านบาท ส่วนเงินรับฝากที่เคยเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ ธอส. ในปีนี้กลับลดลงกว่า 20,000 ล้านบาท ด้านการใช้ไปของเงินทุน ถูกใช้ไปในการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 3,269 ล้านบาท เทียบกับสองปีก่อนหน้าที่ลดลง แต่ถึงแม้เป็น การปล่อยกู้ที่เพิ่มขึ้นไม่มากเท่ากับสามสี่ปีที่ผ่านมา ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตามธนาคารอาคารสงเคราะห์เองก็ยังคงต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้และหลักทรัพย์ค้ำประกันที่มีมูลค่าเพียงพอต่อภาระหนี้สิน ส่วนการลงทุนส่วนใหญ่ลดลงเกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตลาดซื้อคืน การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ยกเว้นเงินฝากที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่ลดลงมาตลอดสองปีที่ผ่านมา
5.8 บริษัทประกันและกองทุนฯ
ในปี 2544 ประกอบด้วย บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ยกเว้นกองทุนบำเหน็จพนักงานรัฐวิสาหกิจ)
สินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินส่วนใหญ่ของบริษัทประกันและกองทุนฯ ต่างปรับตัวดีขึ้น เงินกองทุนประกันโดยรวมเพิ่มขึ้น 72,434 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นกองทุนประกันของบริษัทประกันชีวิตและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีเงินทุนทั้งจากต่างประเทศ และในประเทศประเภทหุ้นทุนและเงินกู้ยืมระยะสั้นอีกด้วย
ส่วนด้านการลงทุนในปีนี้ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ภาครัฐ 90,813 ล้านบาท และฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 33,472 ล้านบาท ส่วนตั๋วเงินลดลง 26,934 ล้านบาท
5.9 สหกรณ์ออมทรัพย์
ในปีนี้จำนวนเงินสะสมมูลค่าหุ้นของสมาชิกเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเป็นจำนวนเงิน 32,829 ล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากจำนวนสมาชิกและจำนวนสหกรณ์ที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นในส่วนของเงินรับฝากจากสมาชิกที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา การใช้ไปของเงินทุนในปีนี้ยังคงเป็นการปล่อยกู้ระยะยาวให้กับสมาชิกเพิ่มขึ้น 27,241 ล้านบาท รวมทั้งการปล่อยกู้ประเภทระยะสั้นและตั๋วเงินที่ต่างปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ยกเว้นเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ที่กลับลดลง 9,191 ล้านบาท
5.10 สถาบันการเงินอื่น
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
จากการที่บริษัทเร่งระดมเงินทุนทำให้ในปีที่ผ่านมาและปีนี้มีเงินทุนเพิ่มขึ้น โดยแหล่งเงินทุนที่สำคัญในปีนี้มาจากการกู้ยืมระยะยาว และยังคงกู้ยืมในรูปของตั๋วเงินเพิ่มขึ้น 553 ล้านบาทและ 356 ล้านบาทตามลำดับ ทำให้สามารถปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 601 ล้านบาท รวมทั้งมีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและลงทุนในหุ้นทุนเพิ่มขึ้น
สหกรณ์การเกษตร
แหล่งเงินทุนโดยรวมขยายตัวทั้งจากหุ้นสะสมจากสมาชิกและเงินรับฝากจากสมาชิก ทำให้สหกรณ์มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นสามารถปล่อยสินเชื่อแก่สมาชิกเพิ่มขึ้น 5,820 ล้านบาท นอกจากนั้นยังคงมีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 1,716 ล้านบาทบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของ บอย. เพิ่มขึ้นมากในปี 2544 ทำให้ บอย. สามารถขยายสินเชื่อให้กับภาคเอกชนกลุ่ม SMEs เพิ่มขึ้นจาก 606 ล้านบาท ในปี 2543 เป็น 2,637 ล้านบาทในปี 2544 แหล่งเงินทุนที่สำคัญของ บอย. นอกจากได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาอาเซียน-ญี่ปุ่นของประเทศไทยแล้ว ในปีนี้ยังได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเพิ่มขึ้นและมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 1,000 ล้านบาท
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แหล่งเงินทุนของตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงมาจากเงินค่าธรรมเนียมจากบริษัทจดทะเบียน ค่าบำรุงจากบริษัทสมาชิก และค่าบริการจากบริษัทย่อย ซึ่งในปีนี้มีอัตราการขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้าด้านการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหุ้นทุนเพิ่มขึ้น 1,377 ล้านบาท
โรงรับจำนำ
ธุรกิจโรงรับจำนำชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าโดยมีเงินเพิ่มทุนเพิ่มขึ้น 360 ล้านบาทในปี 2544 ชะลอตัวลงจาก 482 ล้านบาทในปี 2543 ด้านการรับจำนำทรัพย์สินลดลง 276 ล้านบาทในขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้น 561 ล้านบาท
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ในปี 2544 สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินโดยรวมของ ธสน. ลดลงจากปี 2543 แหล่งเงินทุนมีเพียงเงินรับฝากจากธนาคารพาณิชย์เท่านั้นที่เพิ่มขึ้น 1,118 ล้านบาท ส่วนการกู้ยืมทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศกลับลดลง
ด้านการให้สินเชื่อแก่ผู้ส่งออกโดยตรงและสินเชื่อที่ปล่อยกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์กลับลดลง เนื่องจากเกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า อีกทั้งเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกายิ่งทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอยู่ก่อนแล้วกลับทรุดลงอีก จึงส่งผลให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกของประเทศไทยถดถอยลงจึงทำให้ ธสน. ไม่สามารถขยายสินเชื่อได้มากเท่าที่ควร
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ในที่นี้ประกอบด้วย บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) และยังมีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยที่ได้เปิดดำเนินการขึ้นในปีนี้ ในขณะที่ องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (อบส.) ได้ปิดกิจการลงแหล่งเงินทุนในปีนี้ส่วนใหญ่มาจากทุนประเดิมของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยเป็นจำนวน 1,000 ล้านบาท และการออกพันธบัตรของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยอีกจำนวน 62 ล้านบาทการใช้ไปของเงินทุนรวมลดลงทั้งจากเงินฝากธนาคาร เงินให้กู้ระยะยาวและเงินลงทุนในตั๋วเงินและหุ้นกู้ ยกเว้นเงินให้กู้ยืมระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นและเงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่สาม ส่วนการลงทุนในหุ้นทุนชะลอลง
6. ภาคต่างประเทศ
ในปี 2544 ภาคต่างประเทศยังคงมีการลงทุนในสินทรัพย์การเงินลดลงแต่น้อยกว่าปีที่แล้วและมีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิ 223,339 ล้านบาทเมื่อเทียบกับที่ขาดดุล 405,448 ล้านบาทในปีที่แล้ว ดุลการชำระเงินเกินดุล 57,566 ล้านบาท การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่สำคัญ มีดังนี้
6.1 การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ (Loans) ยังคงมีการไหลออกสุทธิ 349,877 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 372,560 ล้านบาทในปีที่แล้ว ส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ต่างประเทศของภาคธุรกิจเอกชน กิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ รัฐวิสาหกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย
6.2 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Direct Investment) มีมูลค่ารวม 170,142 ล้านบาทเมื่อเทียบกับ 136,786 ล้านบาทในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ซึ่งเป็นการนำเข้าเงินทุนจากบริษัทแม่ และบริษัทร่วมทุนของภาคธุรกิจเอกชน ส่วนการลงทุนในต่างประเทศของคนไทย มีมูลค่าสุทธิเพิ่มขึ้น 7,219 ล้านบาท เมื่อเทียบกับที่ได้ลงทุนสุทธิลดลง 795 ล้านบาทในปีที่แล้ว
6.3 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) มียอดชำระคืนสุทธิ 43,940 ล้านบาทเมื่อเทียบกับ 21,041 ล้านบาทในปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการไถ่ถอนตราสารหนี้ของภาคธุรกิจเอกชนและสถาบันการเงิน ส่วนเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของไทยมีมูลค่าสุทธิ 10,912 ล้านบาทเทียบกับ 8,131 ล้านบาทในปี 2543
6.4 เงินตราและเงินฝาก (Currency and Deposit) มียอดสุทธิเพิ่มขึ้น 60,144 ล้านบาทเทียบกับที่ลดลง 12,138 ล้านบาทในปีที่แล้ว ปีนี้เป็นปีแรกที่มีเงินตราและเงินฝากต่างประเทศเพิ่มขึ้น หลังจากลดลงมาโดยตลอดตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนเงินตราและเงินฝากที่ไหลออกไปต่างประเทศยังคงชะลอลงต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า
6.5 สินเชื่อการค้า (Trade Credit) มียอดชำระคืนสุทธิ 22,936 ล้านบาทเทียบกับที่มีสินเชื่อสุทธิ 31,790 ล้านบาทในปีที่แล้ว ซึ่งยังคงเป็นการชำระคืนสุทธิของภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-