GDP ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.3 ชะลอลงจากผลกระทบการระบาดของโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง
อัตราเพิ่มของการผลิต (%) อัตราเพิ่มของการใช้จ่าย (%)
2546 2547 2546 2547
2546 H1 H2 Q1 Q2 H1 2546 H1 H2 Q1 Q2 H1
ภาคเกษตร 6.9 7.3 6.5 -2.6 -7.5 -4.8 บริโภคเอกชน 6.3 6.2 6.3 6.1 5.5 5.8
ภาคนอกเกษตร 6.7 6.1 7.3 7.7 7.7 7.7 รัฐบาล 1.1 -3.8 6.0 8.2 4.3 6.2
GDP 6.8 6.3 7.2 6.6 6.3 6.4 การลงทุนรวม 11.7 8.3 15.0 16.2 12.1 14.1
GDP ปรับฤดูกาล 3.1 4.0 0.8 0.8 2.3 ส่งออกสินค้าบริการ 6.6 8.1 5.2 6.1 11.1 8.6
นำเข้าสินค้าบริการ 7.5 6.9 8.0 12.9 17.6 15.3
ภาพรวม :
GDP ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.3 ชะลอลงจากร้อยละ 6.6 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับฤดูกาลแล้ว GDP
ขยายตัวร้อยละ 0.8 ปัจจัยที่ส่งผลให้ขยายตัวในอัตราชะลอลง เป็นผลมาจากการระบาดของไข้หวัดนกต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว
ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
ด้านการผลิต :
ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยภาคเกษตรหดตัวลง ร้อยละ 7.5 เนื่องจากการระบาดของไข้หวัดนกยังไม่คลี่คลาย
และภัยแล้งทำให้ผลผลิตลดลง ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวค่อนข้างทรงตัว อัตราร้อยละ 7.7 โดยสาขาอุตสาหกรรม
คมนาคมขนส่ง และโรงแรมภัตตาคารเป็นสาขา
หลักในการขับเคลื่อนการขยายตัว
เกษตรกรรม หดตัวลงร้อยละ 7.5 โดยหมวดพืชผล และหมวดปศุสัตว์ หดตัวลงร้อยละ 7.4 และ 19.3 ตามลำดับ
โดยผลผลิตหลักที่ลดลงได้แก่ ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด ส่วนหมวดปศุสัตว์หดตัวลงเป็นผลกระทบเนื่องมาจาก
ไข้หวัดนกจากไตรมาสที่แล้ว
อุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 7.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 10.3 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการชะลอตัวลง
ของอุตสาหกรรมวัตถุดิบและสินค้าทุน ขณะที่อุตสาหกรรมเบาหดตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 4.6 โดยมูลค่าเพิ่มของการก่อสร้างภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 15.6 ชะลอลงจาก
ไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยเริ่มชะลอตัวลงเล็กน้อย มาจากปัญหาราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น
ส่วนมูลค่าเพิ่มการก่อสร้างภาครัฐลดลง ร้อยละ 5.4
ขนส่งคมนาคม ขยายตัวร้อยละ 10.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการขยายตัวของการ
ขนส่งทางอากาศร้อยละ 39.2 และกิจการโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 10.4
โรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 29.7 จากการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผล
มาจากสาขาโรงแรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 74.8 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขยายตัวร้อยละ 88.1 จากระยะเดียวกัน
ของปีก่อนที่มีปัญหาของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS)
การเงิน ขยายตัวร้อยละ 16.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์
และธนาคารออมสินที่มีผลประกอบการที่ดีจากการขยายตัวของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง
ด้านการใช้จ่าย :
การบริโภคของครัวเรือน การใช้จ่ายของรัฐบาลและการลงทุนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ดุลการค้าและบริการสุทธิ
เกินดุลลดลงการใช้จ่ายในประเทศ ชะลอตัวลงทั้งการบริโภคของครัวเรือน การใช้จ่ายของรัฐบาล และการลงทุนรวม
(1) การบริโภค การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 5.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 6.1 ของ
ไตรมาสที่แล้ว แม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือน เช่นการปรับเงินเดือนของข้าราชการตั้งแต่วันที่ 1
เมษายน 2547 รายได้ของภาคเกษตรขยายตัวในเกณฑ์ดี การขยายตัวในระดับสูงของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของ
ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกเริ่มคลี่คลายไปในทางดีขึ้น แต่การปรับเพิ่มราคาขายปลีกราคาน้ำมันเบนซิน
ในไตรมาสนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและชะลอการใช้จ่ายลง โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์มี
แนวโน้มชะลอตัว ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 4.3 ชะลอลงจากร้อยละ 8.2 ในไตรมาสที่แล้ว
(2) การลงทุน ขยายตัวอัตราร้อยละ 12.1 ชะลอลงจากร้อยละ 16.2 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการลงทุนภาค
เอกชนขยายตัวร้อยละ 16.2 ชะลอลงจากร้อยละ 17.8 ในไตรมาสที่แล้ว ทั้งการก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องจักร ส่วนการลงทุน
ของภาครัฐขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 เทียบกับร้อยละ 10.8 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการก่อสร้างหดตัวร้อยละ 6.6 ผลมาจากการ
ก่อสร้างของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงร้อยละ 13.1 เนื่องมาจากโครงการการถ่ายโอนกิจกรรมของรัฐบาล
กลางสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เริ่มชะลอลง
การส่งออกสุทธิ มูลค่าส่งออกและบริการสุทธิ ในราคาปีฐานลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 13.2
เนื่องจากการนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 17.6 สูงกว่าการส่งออกสินค้าและบริการร้อยละ 11.1
(1) การส่งออก สินค้าและบริการขยายตัว ร้อยละ 11.1 สูงกว่าไตรมาสที่แล้วเป็นผลมาจากการขยายตัวของ
ตลาดส่งออกหลักโดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว
(2) การนำเข้า สินค้าและบริการขยายตัว ร้อยละ 17.6 สูงขึ้นจากร้อยละ 12.9 ในไตรมาสที่แล้วเป็นผลจาก
การขยายตัวสูงขึ้นของสินค้านำเข้าหลัก เช่น น้ำมันดิบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น
อัตราขยายตัวเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (y-o-y)
GDP ด้านการผลิต
หน่วย : ร้อยละ
น้ำหนัก 2546 2547
2545 2546
2546 Q1 Q2 H1 Q3 Q4 H2 Q1 Q2 H1
เกษตร 10.2 3.0 6.9 10.0 4.2 7.3 6.6 6.5 6.5 -2.6 -7.5 -4.8
นอกเกษตร 89.8 5.7 6.7 6.3 6.0 6.1 6.6 8.0 7.3 7.7 7.7 7.7
อุตสาหกรรม 37.9 6.8 10.3 10.3 11.1 10.7 8.9 10.9 9.9 10.3 7.5 8.9
ไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ 3.3 6.0 4.7 4.6 7.4 6.1 4.7 2.0 3.3 3.3 5.4 4.4
ก่อสร้าง 2.4 5.7 3.4 -5.2 0.7 -2.2 6.1 13.6 9.0 13.4 4.6 8.7
การค้า 14.3 1.7 3.7 3.6 3.7 3.6 3.6 3.8 3.7 3.6 3.1 3.4
ขนส่ง 10.0 6.5 4.6 6.8 1.3 4.1 5.3 4.8 5.0 5.5 10.5 7.9
โรงแรม ภัตตาคาร 3.5 4.7 -3.5 -1.8 -13.0 -7.1 -1.3 1.3 0.1 0.3 29.7 13.3
การเงิน 3.0 9.0 12.4 9.3 10.1 9.7 12.7 17.8 15.0 11.7 16.3 14.1
อื่น ๆ 15.4 6.0 5.1 3.0 3.7 3.4 5.7 8.0 6.9 7.6 6.1 6.9
GDP 100.0 5.4 6.8 6.7 5.8 6.3 6.6 7.8 7.2 6.6 6.3 6.4
GDP ด้านการใช้จ่าย
หน่วย : ร้อยละ
น้ำหนัก 2546 2547
2545 2546
2546 Q1 Q2 H1 Q3 Q4 H2 Q1 Q2 H1
การใช้จ่ายของครัวเรือน 54.3 4.9 6.3 6.8 5.7 6.2 5.4 7.1 6.3 6.1 5.5 5.8
-ไม่รวมรายจ่ายนักท่องเที่ยว 52.4 4.8 6.4 6.5 6.5 6.5 5.5 7.1 6.3 5.9 5.9 5.9
การใช้จ่ายของรัฐบาล 8.5 2.5 1.1 -10.0 2.8 -3.8 3.2 9.5 6.0 8.2 4.3 6.2
การลงทุน 20.8 6.5 11.7 7.5 9.1 8.3 10.8 19.8 15.0 16.2 12.1 14.1
- ภาคเอกชน 15.2 13.2 17.9 19.8 16.8 18.3 16.5 18.5 17.6 17.8 16.2 17.0
- ภาครัฐ 5.6 -5.8 -2.3 -20.2 -7.9 -13.8 1.7 24.3 9.2 10.8 0.3 5.0
การส่งออก 64.5 12.1 6.6 12.1 4.3 8.1 3.7 6.6 5.2 6.1 11.1 8.6
- สินค้า 53.0 12.2 8.8 14.6 9.5 12.0 4.3 7.8 6.1 6.4 6.4 6.4
- บริการ 11.5 11.7 -2.8 2.9 -19.1 -7.4 1.0 1.7 1.4 4.8 39.9 19.1
หัก : การนำเข้า 50.1 13.6 7.5 12.4 2.0 6.9 3.7 12.5 8.0 12.9 17.6 15.3
- สินค้า 42.4 13.1 8.8 13.2 3.3 8.0 4.1 15.3 9.6 14.9 20.0 17.5
- บริการ 7.7 16.0 0.7 8.6 -4.9 1.6 1.3 -1.4 -0.1 2.5 4.2 3.3
GDP 100.0 5.4 6.8 6.7 5.8 6.3 6.6 7.8 7.2 6.6 6.3 6.4
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
อัตราเพิ่มของการผลิต (%) อัตราเพิ่มของการใช้จ่าย (%)
2546 2547 2546 2547
2546 H1 H2 Q1 Q2 H1 2546 H1 H2 Q1 Q2 H1
ภาคเกษตร 6.9 7.3 6.5 -2.6 -7.5 -4.8 บริโภคเอกชน 6.3 6.2 6.3 6.1 5.5 5.8
ภาคนอกเกษตร 6.7 6.1 7.3 7.7 7.7 7.7 รัฐบาล 1.1 -3.8 6.0 8.2 4.3 6.2
GDP 6.8 6.3 7.2 6.6 6.3 6.4 การลงทุนรวม 11.7 8.3 15.0 16.2 12.1 14.1
GDP ปรับฤดูกาล 3.1 4.0 0.8 0.8 2.3 ส่งออกสินค้าบริการ 6.6 8.1 5.2 6.1 11.1 8.6
นำเข้าสินค้าบริการ 7.5 6.9 8.0 12.9 17.6 15.3
ภาพรวม :
GDP ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.3 ชะลอลงจากร้อยละ 6.6 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับฤดูกาลแล้ว GDP
ขยายตัวร้อยละ 0.8 ปัจจัยที่ส่งผลให้ขยายตัวในอัตราชะลอลง เป็นผลมาจากการระบาดของไข้หวัดนกต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว
ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
ด้านการผลิต :
ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยภาคเกษตรหดตัวลง ร้อยละ 7.5 เนื่องจากการระบาดของไข้หวัดนกยังไม่คลี่คลาย
และภัยแล้งทำให้ผลผลิตลดลง ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวค่อนข้างทรงตัว อัตราร้อยละ 7.7 โดยสาขาอุตสาหกรรม
คมนาคมขนส่ง และโรงแรมภัตตาคารเป็นสาขา
หลักในการขับเคลื่อนการขยายตัว
เกษตรกรรม หดตัวลงร้อยละ 7.5 โดยหมวดพืชผล และหมวดปศุสัตว์ หดตัวลงร้อยละ 7.4 และ 19.3 ตามลำดับ
โดยผลผลิตหลักที่ลดลงได้แก่ ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด ส่วนหมวดปศุสัตว์หดตัวลงเป็นผลกระทบเนื่องมาจาก
ไข้หวัดนกจากไตรมาสที่แล้ว
อุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 7.5 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 10.3 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการชะลอตัวลง
ของอุตสาหกรรมวัตถุดิบและสินค้าทุน ขณะที่อุตสาหกรรมเบาหดตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 4.6 โดยมูลค่าเพิ่มของการก่อสร้างภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 15.6 ชะลอลงจาก
ไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยเริ่มชะลอตัวลงเล็กน้อย มาจากปัญหาราคาวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้น
ส่วนมูลค่าเพิ่มการก่อสร้างภาครัฐลดลง ร้อยละ 5.4
ขนส่งคมนาคม ขยายตัวร้อยละ 10.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการขยายตัวของการ
ขนส่งทางอากาศร้อยละ 39.2 และกิจการโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 10.4
โรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 29.7 จากการขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นผล
มาจากสาขาโรงแรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 74.8 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขยายตัวร้อยละ 88.1 จากระยะเดียวกัน
ของปีก่อนที่มีปัญหาของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS)
การเงิน ขยายตัวร้อยละ 16.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์
และธนาคารออมสินที่มีผลประกอบการที่ดีจากการขยายตัวของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง
ด้านการใช้จ่าย :
การบริโภคของครัวเรือน การใช้จ่ายของรัฐบาลและการลงทุนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ดุลการค้าและบริการสุทธิ
เกินดุลลดลงการใช้จ่ายในประเทศ ชะลอตัวลงทั้งการบริโภคของครัวเรือน การใช้จ่ายของรัฐบาล และการลงทุนรวม
(1) การบริโภค การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 5.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 6.1 ของ
ไตรมาสที่แล้ว แม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือน เช่นการปรับเงินเดือนของข้าราชการตั้งแต่วันที่ 1
เมษายน 2547 รายได้ของภาคเกษตรขยายตัวในเกณฑ์ดี การขยายตัวในระดับสูงของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของ
ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกเริ่มคลี่คลายไปในทางดีขึ้น แต่การปรับเพิ่มราคาขายปลีกราคาน้ำมันเบนซิน
ในไตรมาสนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นและชะลอการใช้จ่ายลง โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์มี
แนวโน้มชะลอตัว ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 4.3 ชะลอลงจากร้อยละ 8.2 ในไตรมาสที่แล้ว
(2) การลงทุน ขยายตัวอัตราร้อยละ 12.1 ชะลอลงจากร้อยละ 16.2 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการลงทุนภาค
เอกชนขยายตัวร้อยละ 16.2 ชะลอลงจากร้อยละ 17.8 ในไตรมาสที่แล้ว ทั้งการก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องจักร ส่วนการลงทุน
ของภาครัฐขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 เทียบกับร้อยละ 10.8 ในไตรมาสที่แล้ว โดยการก่อสร้างหดตัวร้อยละ 6.6 ผลมาจากการ
ก่อสร้างของรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลงร้อยละ 13.1 เนื่องมาจากโครงการการถ่ายโอนกิจกรรมของรัฐบาล
กลางสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เริ่มชะลอลง
การส่งออกสุทธิ มูลค่าส่งออกและบริการสุทธิ ในราคาปีฐานลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 13.2
เนื่องจากการนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 17.6 สูงกว่าการส่งออกสินค้าและบริการร้อยละ 11.1
(1) การส่งออก สินค้าและบริการขยายตัว ร้อยละ 11.1 สูงกว่าไตรมาสที่แล้วเป็นผลมาจากการขยายตัวของ
ตลาดส่งออกหลักโดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว
(2) การนำเข้า สินค้าและบริการขยายตัว ร้อยละ 17.6 สูงขึ้นจากร้อยละ 12.9 ในไตรมาสที่แล้วเป็นผลจาก
การขยายตัวสูงขึ้นของสินค้านำเข้าหลัก เช่น น้ำมันดิบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น
อัตราขยายตัวเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า (y-o-y)
GDP ด้านการผลิต
หน่วย : ร้อยละ
น้ำหนัก 2546 2547
2545 2546
2546 Q1 Q2 H1 Q3 Q4 H2 Q1 Q2 H1
เกษตร 10.2 3.0 6.9 10.0 4.2 7.3 6.6 6.5 6.5 -2.6 -7.5 -4.8
นอกเกษตร 89.8 5.7 6.7 6.3 6.0 6.1 6.6 8.0 7.3 7.7 7.7 7.7
อุตสาหกรรม 37.9 6.8 10.3 10.3 11.1 10.7 8.9 10.9 9.9 10.3 7.5 8.9
ไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ 3.3 6.0 4.7 4.6 7.4 6.1 4.7 2.0 3.3 3.3 5.4 4.4
ก่อสร้าง 2.4 5.7 3.4 -5.2 0.7 -2.2 6.1 13.6 9.0 13.4 4.6 8.7
การค้า 14.3 1.7 3.7 3.6 3.7 3.6 3.6 3.8 3.7 3.6 3.1 3.4
ขนส่ง 10.0 6.5 4.6 6.8 1.3 4.1 5.3 4.8 5.0 5.5 10.5 7.9
โรงแรม ภัตตาคาร 3.5 4.7 -3.5 -1.8 -13.0 -7.1 -1.3 1.3 0.1 0.3 29.7 13.3
การเงิน 3.0 9.0 12.4 9.3 10.1 9.7 12.7 17.8 15.0 11.7 16.3 14.1
อื่น ๆ 15.4 6.0 5.1 3.0 3.7 3.4 5.7 8.0 6.9 7.6 6.1 6.9
GDP 100.0 5.4 6.8 6.7 5.8 6.3 6.6 7.8 7.2 6.6 6.3 6.4
GDP ด้านการใช้จ่าย
หน่วย : ร้อยละ
น้ำหนัก 2546 2547
2545 2546
2546 Q1 Q2 H1 Q3 Q4 H2 Q1 Q2 H1
การใช้จ่ายของครัวเรือน 54.3 4.9 6.3 6.8 5.7 6.2 5.4 7.1 6.3 6.1 5.5 5.8
-ไม่รวมรายจ่ายนักท่องเที่ยว 52.4 4.8 6.4 6.5 6.5 6.5 5.5 7.1 6.3 5.9 5.9 5.9
การใช้จ่ายของรัฐบาล 8.5 2.5 1.1 -10.0 2.8 -3.8 3.2 9.5 6.0 8.2 4.3 6.2
การลงทุน 20.8 6.5 11.7 7.5 9.1 8.3 10.8 19.8 15.0 16.2 12.1 14.1
- ภาคเอกชน 15.2 13.2 17.9 19.8 16.8 18.3 16.5 18.5 17.6 17.8 16.2 17.0
- ภาครัฐ 5.6 -5.8 -2.3 -20.2 -7.9 -13.8 1.7 24.3 9.2 10.8 0.3 5.0
การส่งออก 64.5 12.1 6.6 12.1 4.3 8.1 3.7 6.6 5.2 6.1 11.1 8.6
- สินค้า 53.0 12.2 8.8 14.6 9.5 12.0 4.3 7.8 6.1 6.4 6.4 6.4
- บริการ 11.5 11.7 -2.8 2.9 -19.1 -7.4 1.0 1.7 1.4 4.8 39.9 19.1
หัก : การนำเข้า 50.1 13.6 7.5 12.4 2.0 6.9 3.7 12.5 8.0 12.9 17.6 15.3
- สินค้า 42.4 13.1 8.8 13.2 3.3 8.0 4.1 15.3 9.6 14.9 20.0 17.5
- บริการ 7.7 16.0 0.7 8.6 -4.9 1.6 1.3 -1.4 -0.1 2.5 4.2 3.3
GDP 100.0 5.4 6.8 6.7 5.8 6.3 6.6 7.8 7.2 6.6 6.3 6.4
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-