6. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2548
เศรษฐกิจไทยในปี 2548 มีแนวโน้มขยายตัวในช่วงประมาณร้อยละ 5.5-6.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ใกล้เคียงกับศักยภาพการขยายตัวร้อยละ 6.0-6.5 ของประเทศในระยะปานกลาง แต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงกว่าการขยายตัวในระดับสูงในปี 2546-2547 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2548 และเป็นข้อจำกัดของการส่งออกของไทย สำหรับปัจจัยภายในประเทศที่จะเป็นข้อจำกัดการขยายตัวของเศรษฐกิจประกอบด้วย อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล เมื่อยกเลิกการตรึงราคาน้ำมันและปล่อยให้ราคาถูกกำหนดโดยกลไกตลาด ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นในระยะปานกลางเพื่อสนับสนุนให้เกิดการปรับประสิทธิภาพการผลิตอย่างจริงจังและลดความบิดเบือนในระบบเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามปัจจัยข้อจำกัดดังกล่าวยกเว้นราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากจากแรงกดดันด้านอุปทานนั้นเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจตามแนวโน้มปกติของวัฏจักรเศรษฐกิจเมื่อมีการขยายตัวในอัตราสูงกว่าศักยภาพการผลิตโดยใช้กำลังการผลิตส่วนเกินจำนวนมากมาระยะหนึ่ง อัตราการว่างงานจะลดลงและกดดันให้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งความต้องการใช้วัตถุดิบและปัจจัยในการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาปัจจัยการผลิตและต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและกำลังการผลิตส่วนเกินลดลง ซึ่งในที่สุดแล้วจะทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศสูงขึ้น นอกจากนั้น หากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นลบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงและขาดเสถียรภาพ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เริ่มทะยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 และคาดว่าจะมีการทะยอยปรับเพิ่มในปี 2548 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2548 จะเท่ากับร้อยละ 2.8-3.0
การขยายตัวในกรณีสูงประมาณร้อยละ 6.5 จะต้องอาศัยการขยายตัวได้ดีของการส่งออก ราคาสินค้าเกษตรดีและเป็นฐานรายได้สำหรับการใช้จ่ายที่จะขยายตัวได้ต่อไป และความต่อเนื่องของการลงทุนภาคเอกชนที่จะต้องได้รับการสนับสนุนสินเชื่อในตลาดเงินและการระดมทุนในตลาดทุนที่เหมาะสม เนื่องจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้จำเป็นต้องพึ่งพิงการระดมทุนจากภายนอกบริษัท (external financing) มากขึ้น โดยที่การระดมทุนเพียงแต่จากในบริษัท (internal financing) จะไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากสภาพคล่องในปัจจุบันที่ระดับ 5-6 แสนล้านบาท ความต้องการเงินทุนและสินเชื่อภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับประมาณร้อยละ 5.5-6.5 จะยังไม่ทำให้ตลาดการเงินประสบปัญหาสภาพคล่องตึงตัวที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงคาดว่า การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะเป็นการค่อย ๆ ทยอยปรับขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลลดลงเนื่องจากการนำเข้าที่ยังเพิ่มเร็วกว่าการส่งออก และราคาน้ำมันดิบที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงจะทำให้ความได้เปรียบอัตราการค้าลดลง และประเทศไทยอาจจะกลับมาเสียเปรียบอัตราการค้าในปี 2548 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 3 ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2548 คือการสร้างความต่อเนื่องของการลงทุน และการรักษาการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนในอัตราที่เหมาะสม โดยการจัดการเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้การขยายตัวด้านอุปสงค์ร้อนแรงจนเกินไปและสอดคล้องกับศักยภาพการผลิตด้านอุปทาน และในขณะเดียวกันก็ต้องระวังมิให้เศรษฐกิจชะลอตัวเร็วเกินไป และที่สำคัญจะต้องให้ลำดับความสำคัญต่อนโยบายการปรับประสิทธิภาพและเพิ่มศักยภาพการผลิตทางด้านอุปทานให้มากขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาการเรียนรู้ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปฏิรูปกฎหมายให้มีความทันสมัย และการบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เศรษฐกิจไทยในปี 2548 มีแนวโน้มขยายตัวในช่วงประมาณร้อยละ 5.5-6.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ใกล้เคียงกับศักยภาพการขยายตัวร้อยละ 6.0-6.5 ของประเทศในระยะปานกลาง แต่เป็นอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงกว่าการขยายตัวในระดับสูงในปี 2546-2547 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2548 และเป็นข้อจำกัดของการส่งออกของไทย สำหรับปัจจัยภายในประเทศที่จะเป็นข้อจำกัดการขยายตัวของเศรษฐกิจประกอบด้วย อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล เมื่อยกเลิกการตรึงราคาน้ำมันและปล่อยให้ราคาถูกกำหนดโดยกลไกตลาด ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นในระยะปานกลางเพื่อสนับสนุนให้เกิดการปรับประสิทธิภาพการผลิตอย่างจริงจังและลดความบิดเบือนในระบบเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามปัจจัยข้อจำกัดดังกล่าวยกเว้นราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากจากแรงกดดันด้านอุปทานนั้นเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจตามแนวโน้มปกติของวัฏจักรเศรษฐกิจเมื่อมีการขยายตัวในอัตราสูงกว่าศักยภาพการผลิตโดยใช้กำลังการผลิตส่วนเกินจำนวนมากมาระยะหนึ่ง อัตราการว่างงานจะลดลงและกดดันให้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งความต้องการใช้วัตถุดิบและปัจจัยในการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาปัจจัยการผลิตและต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและกำลังการผลิตส่วนเกินลดลง ซึ่งในที่สุดแล้วจะทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศสูงขึ้น นอกจากนั้น หากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นลบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงและขาดเสถียรภาพ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เริ่มทะยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 และคาดว่าจะมีการทะยอยปรับเพิ่มในปี 2548 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2548 จะเท่ากับร้อยละ 2.8-3.0
การขยายตัวในกรณีสูงประมาณร้อยละ 6.5 จะต้องอาศัยการขยายตัวได้ดีของการส่งออก ราคาสินค้าเกษตรดีและเป็นฐานรายได้สำหรับการใช้จ่ายที่จะขยายตัวได้ต่อไป และความต่อเนื่องของการลงทุนภาคเอกชนที่จะต้องได้รับการสนับสนุนสินเชื่อในตลาดเงินและการระดมทุนในตลาดทุนที่เหมาะสม เนื่องจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้จำเป็นต้องพึ่งพิงการระดมทุนจากภายนอกบริษัท (external financing) มากขึ้น โดยที่การระดมทุนเพียงแต่จากในบริษัท (internal financing) จะไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากสภาพคล่องในปัจจุบันที่ระดับ 5-6 แสนล้านบาท ความต้องการเงินทุนและสินเชื่อภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับประมาณร้อยละ 5.5-6.5 จะยังไม่ทำให้ตลาดการเงินประสบปัญหาสภาพคล่องตึงตัวที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงคาดว่า การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะเป็นการค่อย ๆ ทยอยปรับขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลลดลงเนื่องจากการนำเข้าที่ยังเพิ่มเร็วกว่าการส่งออก และราคาน้ำมันดิบที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงจะทำให้ความได้เปรียบอัตราการค้าลดลง และประเทศไทยอาจจะกลับมาเสียเปรียบอัตราการค้าในปี 2548 การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 3 ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2548 คือการสร้างความต่อเนื่องของการลงทุน และการรักษาการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนในอัตราที่เหมาะสม โดยการจัดการเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้การขยายตัวด้านอุปสงค์ร้อนแรงจนเกินไปและสอดคล้องกับศักยภาพการผลิตด้านอุปทาน และในขณะเดียวกันก็ต้องระวังมิให้เศรษฐกิจชะลอตัวเร็วเกินไป และที่สำคัญจะต้องให้ลำดับความสำคัญต่อนโยบายการปรับประสิทธิภาพและเพิ่มศักยภาพการผลิตทางด้านอุปทานให้มากขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาการเรียนรู้ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การปฏิรูปกฎหมายให้มีความทันสมัย และการบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-