- การเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์ และการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ปลายสัปดาห์ ส่งผลให้สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยและอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น
- มูลค่าซื้อขายในตลาดรองยังคงซบเซาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ในขณะที่ US Treasury Yield เกือบไม่เปลี่ยนแปลง
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ตามทิศทางค่าเงินเยน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ปรับตัวดีขึ้น และการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย สภาพคล่องในตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์ซึ่งมีกำหนดการชำระเงินในวันที่ 26 ส.ค. ตลอดจนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ของธนาคารพาณิชย์ในช่วงปลายสัปดาห์ ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 1.03125 ต่อปีในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาปิดตลาดที่ร้อยละ 1.0625 ต่อปีตลอดสัปดาห์ และความต้องการกู้ยืมในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วันเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากวันครบกำหนดเป็นวันเดียวกับกำหนดการชำระเงินพันธบัตรออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.03125 - 1.0625 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.0625 - 1.09375 ต่อปีในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน เคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ และปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ในขณะที่วันอังคารมีธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อปี ในปริมาณการซื้อขายไม่มากนัก ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 1.02 -1.11 และอัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.05 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.05 - 1.07 สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ทั้งนี้ ตลาดกำลังรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยในวันที่ 25 ส.ค. ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือไม่ โดยผู้ว่าการ ธปท. ได้กล่าวเตือนตลาดเงินให้มีการปรับตัวล่วงหน้า เพื่อรับมือกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 25,070 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,570 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 364 วัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท ซึ่ง ธปท. ได้จัดสรรให้แก่ผู้ประมูลเพียง 4,520 ล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่ตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน มีผู้เสนอประมูลเพียง 5,530 ล้านบาท ไม่เต็มวงเงินที่ประกาศประมูล ในสัปดาห์นี้จึงมีตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดสรร 23,550 ล้านบาท โดยตราสารทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน อายุ 3 และ 15 ปี วงเงินรวม 1,800 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 45,420 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 9,084 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากสัปดาห์ก่อน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 27,843 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมา ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่ปรับลดลง ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนของ US Treasury Yield เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนีราคา (Clean Price Index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 17 basis point ส่วนหุ้นกู้เอกชนดัชนีราคาใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน
อัตราแลกเปลี่ยน
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.38 - 41.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ แต่เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 โดยในช่วงต้นสัปดาห์ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับที่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 1 ปีในวันศุกร์ และปรับแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย และการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันและเหตุการณ์การโจมตีสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงแบกแดด ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาไม่ดีนัก เช่น ตัวเลขการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก หรือดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเกิดความกังวลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และลดการถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนเป็นเงินสกุลหลักอื่นๆ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายในตลาดรองยังคงซบเซาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรไทยปรับตัวขึ้นลงในช่วงแคบๆ ในขณะที่ US Treasury Yield เกือบไม่เปลี่ยนแปลง
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ ตามทิศทางค่าเงินเยน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ปรับตัวดีขึ้น และการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย สภาพคล่องในตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์ซึ่งมีกำหนดการชำระเงินในวันที่ 26 ส.ค. ตลอดจนการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ของธนาคารพาณิชย์ในช่วงปลายสัปดาห์ ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันในช่วงต้นสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 1.03125 ต่อปีในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาปิดตลาดที่ร้อยละ 1.0625 ต่อปีตลอดสัปดาห์ และความต้องการกู้ยืมในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วันเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากวันครบกำหนดเป็นวันเดียวกับกำหนดการชำระเงินพันธบัตรออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวจึงปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.03125 - 1.0625 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.0625 - 1.09375 ต่อปีในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน เคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ และปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ในขณะที่วันอังคารมีธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อปี ในปริมาณการซื้อขายไม่มากนัก ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ระหว่างร้อยละ 1.02 -1.11 และอัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.05 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.05 - 1.07 สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ทั้งนี้ ตลาดกำลังรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยในวันที่ 25 ส.ค. ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือไม่ โดยผู้ว่าการ ธปท. ได้กล่าวเตือนตลาดเงินให้มีการปรับตัวล่วงหน้า เพื่อรับมือกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 25,070 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,570 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 364 วัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท ซึ่ง ธปท. ได้จัดสรรให้แก่ผู้ประมูลเพียง 4,520 ล้านบาทเท่านั้น ในขณะที่ตั๋วเงินคลังอายุ 91 วัน มีผู้เสนอประมูลเพียง 5,530 ล้านบาท ไม่เต็มวงเงินที่ประกาศประมูล ในสัปดาห์นี้จึงมีตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดสรร 23,550 ล้านบาท โดยตราสารทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน อายุ 3 และ 15 ปี วงเงินรวม 1,800 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 45,420 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 9,084 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากสัปดาห์ก่อน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 27,843 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมา ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลส่วนใหญ่ปรับลดลง ในขณะที่ อัตราผลตอบแทนของ US Treasury Yield เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนีราคา (Clean Price Index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 17 basis point ส่วนหุ้นกู้เอกชนดัชนีราคาใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน
อัตราแลกเปลี่ยน
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.38 - 41.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ แต่เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 โดยในช่วงต้นสัปดาห์ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับที่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 1 ปีในวันศุกร์ และปรับแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย และการเทขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออกไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันและเหตุการณ์การโจมตีสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงแบกแดด ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาไม่ดีนัก เช่น ตัวเลขการขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก หรือดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเกิดความกังวลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และลดการถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนเป็นเงินสกุลหลักอื่นๆ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-