-คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน จากระดับ ร้อยละ 1.25 ต่อปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.50 ต่อปี แต่คาดว่าจะยังไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย ธพ.
-ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์มาลงทุน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-ภาวะการซื้อขายในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงหลังจาก ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean Price Index) ปรับเพิ่มขึ้น
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนและการเทขายเงินบาทเพื่อลดการขาดทุน โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเงินบาทมากนัก อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ จากการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก และการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ในช่วงต้นสัปดาห์ ความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนประเภท 7 และ 14 วัน ค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากสถาบันการเงินรอฟังผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน และความต้องการกู้ยืมประเภท 7 วันมีมากขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับสูงขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ร้อยละ 1.09375 ต่อปี มีเพียงประเภท 1 วัน เท่านั้นที่ความต้องการลงทุนหนาแน่นตลอดสัปดาห์ หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในวันที่ 25 ส.ค. ความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 14 วัน โดยมีการเสนอลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1.375 และ 1.50 ต่อปีตามลำดับ และทรงตัวจนสิ้นสัปดาห์ ในช่วงปลายสัปดาห์ธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินหลังจากการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์มาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน และอัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.375 ต่อปี เท่ากับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ในขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 1.05 -- 1.4 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.05 ในช่วงต้นสัปดาห์มาอยู่ที่ร้อยละ 1.375 ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ หลังจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 25 สิงหาคม มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี เป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน เพื่อให้นโยบายการเงินปรับตัวไปในทิศทางที่เหมาะสมกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ ดุลบัญชีเดินสะพัดและภาวะเงินเฟ้อ ตลอดจนเพื่อรักษาความสมดุลระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศ แต่คาดว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะยังไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ในระยะนี้ เนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับสูง
ตลาดตราสารหนี้
สัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 24,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 364 วัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท ซึ่ง ธปท. ได้จัดสรรให้แก่ผู้ประมูลเพียง 3,640 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งนี้ ธปท.จัดสรรพันธบัตรไม่เต็มวงเงินประมูลเป็นสัปดาห์ที่สามต่อเนื่องกัน เนื่องจากอัตราผลตอบแทนที่เสนอประมูลสูงกว่าอัตราที่ควรจะเป็นในภาวะปกติของตลาด ในสัปดาห์นี้จึงมีตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดสรร 22,140 ล้านบาท โดยตราสารระยะสั้นอายุต่ำกว่า 1 ปีมีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลทั้ง 2 รุ่น มีอัตราผลตอบแทนลดลง
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมากถึงร้อยละ 43 มีมูลค่ารวม 65,090 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 13,018 ล้านบาทต่อวัน หลังจากก่อนหน้านี้ได้ชะลอการลงทุนเพื่อดูทิศทางอัตราดอกเบี้ย ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 35,865 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55 อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลในสัปดาห์นี้ปรับลดลง โดยลดลงอย่างชัดเจนหลังจาก ธปท. ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย RP 14 วัน ร้อยละ 0.25 ในวันพุธ โดยเฉพาะในพันธบัตรอายุ 5-10 ปี ที่กลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean Price Index) ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ณ สิ้นสัปดาห์ดัชนีราคาของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 44 และ 19 basis point ตามลำดับ สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury Yield ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์จากการคาดการณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และได้ปรับลดลงในปลายสัปดาห์หลังจากการประกาศตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.1 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยน และการเทขายเงินบาทของนักลงทุนเพื่อลดการขาดทุน โดยการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินในช่วงกลางสัปดาห์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ตลอดจนความเห็นจากผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แสดงความมั่นใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้ดี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ถึงการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกครั้งในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก และการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินตราต่างประเทศของไทยจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ จากระดับ BBB มาสู่ระดับ BBB+ เนื่องจากฐานะสภาพคล่อง ฐานะเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิ และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ประกาศในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์มาลงทุน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-ภาวะการซื้อขายในตลาดรองปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงหลังจาก ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean Price Index) ปรับเพิ่มขึ้น
-เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนและการเทขายเงินบาทเพื่อลดการขาดทุน โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเงินบาทมากนัก อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ จากการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก และการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ในช่วงต้นสัปดาห์ ความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนประเภท 7 และ 14 วัน ค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากสถาบันการเงินรอฟังผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน และความต้องการกู้ยืมประเภท 7 วันมีมากขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับสูงขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ร้อยละ 1.09375 ต่อปี มีเพียงประเภท 1 วัน เท่านั้นที่ความต้องการลงทุนหนาแน่นตลอดสัปดาห์ หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในวันที่ 25 ส.ค. ความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 14 วัน โดยมีการเสนอลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1.375 และ 1.50 ต่อปีตามลำดับ และทรงตัวจนสิ้นสัปดาห์ ในช่วงปลายสัปดาห์ธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินหลังจากการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์มาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน และอัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.375 ต่อปี เท่ากับอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ในขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 1.05 -- 1.4 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.05 ในช่วงต้นสัปดาห์มาอยู่ที่ร้อยละ 1.375 ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ หลังจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 25 สิงหาคม มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี เป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน เพื่อให้นโยบายการเงินปรับตัวไปในทิศทางที่เหมาะสมกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ ดุลบัญชีเดินสะพัดและภาวะเงินเฟ้อ ตลอดจนเพื่อรักษาความสมดุลระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศและต่างประเทศ แต่คาดว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะยังไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ในระยะนี้ เนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับสูง
ตลาดตราสารหนี้
สัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 24,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 364 วัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท ซึ่ง ธปท. ได้จัดสรรให้แก่ผู้ประมูลเพียง 3,640 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งนี้ ธปท.จัดสรรพันธบัตรไม่เต็มวงเงินประมูลเป็นสัปดาห์ที่สามต่อเนื่องกัน เนื่องจากอัตราผลตอบแทนที่เสนอประมูลสูงกว่าอัตราที่ควรจะเป็นในภาวะปกติของตลาด ในสัปดาห์นี้จึงมีตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดสรร 22,140 ล้านบาท โดยตราสารระยะสั้นอายุต่ำกว่า 1 ปีมีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลทั้ง 2 รุ่น มีอัตราผลตอบแทนลดลง
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมากถึงร้อยละ 43 มีมูลค่ารวม 65,090 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 13,018 ล้านบาทต่อวัน หลังจากก่อนหน้านี้ได้ชะลอการลงทุนเพื่อดูทิศทางอัตราดอกเบี้ย ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 35,865 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55 อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลในสัปดาห์นี้ปรับลดลง โดยลดลงอย่างชัดเจนหลังจาก ธปท. ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย RP 14 วัน ร้อยละ 0.25 ในวันพุธ โดยเฉพาะในพันธบัตรอายุ 5-10 ปี ที่กลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean Price Index) ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ณ สิ้นสัปดาห์ดัชนีราคาของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 44 และ 19 basis point ตามลำดับ สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury Yield ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์จากการคาดการณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และได้ปรับลดลงในปลายสัปดาห์หลังจากการประกาศตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.1 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยน และการเทขายเงินบาทของนักลงทุนเพื่อลดการขาดทุน โดยการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินในช่วงกลางสัปดาห์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้แล้ว ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ตลอดจนความเห็นจากผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แสดงความมั่นใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้ดี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ถึงการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกครั้งในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก และการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินตราต่างประเทศของไทยจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ จากระดับ BBB มาสู่ระดับ BBB+ เนื่องจากฐานะสภาพคล่อง ฐานะเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิ และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ประกาศในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-