- สภาพคล่องในตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย จากการสำรองเงินของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดและการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์ที่ออกเพิ่มเติม ตลอดจนการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปีของสถาบันการเงิน ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นจึงเพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อน
-อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรในตลาดแรกและตลาดรองปรับตัวลดลง โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว มูลค่าซื้อขายในตลาดรองปรับตัวลดลง ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลเกือบไม่เปลี่ยนแปลง
-เงินบาทอ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน และเพื่อรองรับการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์ที่กระทรวงการคลังออกเพิ่มเติมซึ่งมีกำหนดการชำระเงินในสัปดาห์หน้า ตลอดจนการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปีของสถาบันการเงิน ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์ ความต้องการกู้ยืมจึงเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วันปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.375 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.40625 และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วันปรับตัวสูงขึ้นจากระดับร้อยละ 1.375 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.40625 - 1.4375 ในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 1.50 ต่อปีตลอดสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากร้อยละ 1.05 - 1.4 มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.25 - 1.7 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในช่วงต้นและกลางสัปดาห์มาอยู่ที่ร้อยละ 1.45 ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 26,540 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท และตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงิน 5,000 5,000 และ 4,040 ล้านบาท รวม 14,040 ล้านบาท สาเหตุที่เพิ่มวงเงินประมูลตั๋วเงินคลังอีก 40 ล้านบาท เนื่องจากในเดือน ก.ค. และ ส.ค. มีผู้เสนอประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน น้อยกว่าวงเงินที่เปิดให้ประมูล โดยอัตราผลตอบแทน (yield) ของตราสารทุกรุ่นลดลงจากสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะในตราสารระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนลดลงมากกว่าตราสารระยะสั้น นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน รวม 3 รุ่น อายุ 5 8 และ 10 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 21 มีมูลค่ารวม 51,643 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 10,329 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 32,658 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63 ตั๋วเงินคลังมีปริมาณการซื้อขายสูงสุด รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลในสัปดาห์นี้ยังคงปรับลดลง โดยพันธบัตรอายุ 7 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลงมากที่สุดที่ 10 basis point สำหรับช่วงอายุอื่นๆ มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ ก่อนจะลดลงในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 5 basis point ในขณะที่ดัชนีราคาของหุ้นกู้เอกชนลดลง 24 basis point สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury Yield ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากการกังวลเรื่องการก่อการร้ายและตัวเลขการจ้างงานที่จะประกาศในวันศุกร์ที่ 3 ก.ย.
เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.48 - 41.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.55 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงถูกกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังคงออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ส่งผลให้นักลงทุนขาดความมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจะส่งผลต่อการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคมที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 3 กันยายน ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากชะลอตัวลงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นมาได้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรในตลาดแรกและตลาดรองปรับตัวลดลง โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว มูลค่าซื้อขายในตลาดรองปรับตัวลดลง ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลเกือบไม่เปลี่ยนแปลง
-เงินบาทอ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และการขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากผู้ส่งออก ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากตัวเลยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
การเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน และเพื่อรองรับการชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์ที่กระทรวงการคลังออกเพิ่มเติมซึ่งมีกำหนดการชำระเงินในสัปดาห์หน้า ตลอดจนการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปีของสถาบันการเงิน ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์ ความต้องการกู้ยืมจึงเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วันปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.375 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.40625 และอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วันปรับตัวสูงขึ้นจากระดับร้อยละ 1.375 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.40625 - 1.4375 ในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 1.50 ต่อปีตลอดสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากร้อยละ 1.05 - 1.4 มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.25 - 1.7 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในช่วงต้นและกลางสัปดาห์มาอยู่ที่ร้อยละ 1.45 ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 26,540 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 6,000 ล้านบาท และตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงิน 5,000 5,000 และ 4,040 ล้านบาท รวม 14,040 ล้านบาท สาเหตุที่เพิ่มวงเงินประมูลตั๋วเงินคลังอีก 40 ล้านบาท เนื่องจากในเดือน ก.ค. และ ส.ค. มีผู้เสนอประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน น้อยกว่าวงเงินที่เปิดให้ประมูล โดยอัตราผลตอบแทน (yield) ของตราสารทุกรุ่นลดลงจากสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะในตราสารระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนลดลงมากกว่าตราสารระยะสั้น นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน รวม 3 รุ่น อายุ 5 8 และ 10 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 21 มีมูลค่ารวม 51,643 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 10,329 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 32,658 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63 ตั๋วเงินคลังมีปริมาณการซื้อขายสูงสุด รองลงมาได้แก่ พันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลในสัปดาห์นี้ยังคงปรับลดลง โดยพันธบัตรอายุ 7 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลงมากที่สุดที่ 10 basis point สำหรับช่วงอายุอื่นๆ มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ ก่อนจะลดลงในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 5 basis point ในขณะที่ดัชนีราคาของหุ้นกู้เอกชนลดลง 24 basis point สำหรับอัตราผลตอบแทนของ US Treasury Yield ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากการกังวลเรื่องการก่อการร้ายและตัวเลขการจ้างงานที่จะประกาศในวันศุกร์ที่ 3 ก.ย.
เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.48 - 41.61 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.55 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงถูกกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังคงออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ส่งผลให้นักลงทุนขาดความมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจะส่งผลต่อการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงปลายเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคมที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 3 กันยายน ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากชะลอตัวลงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นมาได้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-