- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนจากความต้องการใช้เงินที่อยู่ในระดับสูง ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นจึงเพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ปิดตลาดสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯไทยและ สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดีนัก
- การปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขภาคแรงงานของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อน จากความต้องการใช้เงินที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะความต้องการเงินของบริษัทเพื่อจ่ายเงินปันผลและจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี ประกอบธนาคารพาณิชย์บางแห่งขาดดุลเคลียริ่งและเงินสดสำรองอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงร้อยละ 1.375 -- 1.4375 ต่อปีในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 1.4375 -- 1.46875 ต่อปี ในขณะที่ความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วันเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วันปิดตลาดลดลงจากระดับร้อยละ 1.46875 ต่อปีในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.4375 -- 1.46875 ต่อปีในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 1.50 ต่อปีตลอดสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากร้อยละ 1.35 -- 1.4688 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 -- 1.52 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.45 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.47 ต่อปีในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 20,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 3,000 ล้านบาท และตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงิน 14,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทน (yield) ของตั๋วเงินคลัง เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตร ธปท. มีอัตราผลตอบแทนลดลง ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่เพิ่มสูงขึ้น
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 25.3 มีมูลค่ารวม 58,315 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 11,663 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 41,308 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 70.8 ตั๋วเงินคลังมีปริมาณการซื้อขายสูงสุด รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ ระยะกลางถึงยาวอายุช่วงอายุอื่นๆ มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับ US Treasury Yield ที่ปรับลดลง เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัว เช่น ยอดการค้าปลีก และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ออกมาไม่ดีเท่าที่คาด ประกอบกับราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ แม้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมวันที่ 21 ก.ย. สำหรับดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 3 และ 26 basis point ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.7 เม อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยเป็นไปตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน ตลอดจนปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลให้เงินบาทปรับแข็งค่าที่สุดในรอบเกือบ 1 เดือนที่ระดับ 41.20 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยและเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากการปรับตัวลดลงของดัชนีราคาผู้ผลิตและตัวเลขภาคแรงงานของสหรัฐฯ ที่ออกมาไม่ดีนัก เป็นปัจจัยกดดันต่อการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (FOMC) ในสัปดาห์หน้า ซึ่งผลการประชุมดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯไทยและ สหรัฐฯ ปรับตัวลดลง จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาไม่ดีนัก
- การปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขภาคแรงงานของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อน จากความต้องการใช้เงินที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะความต้องการเงินของบริษัทเพื่อจ่ายเงินปันผลและจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี ประกอบธนาคารพาณิชย์บางแห่งขาดดุลเคลียริ่งและเงินสดสำรองอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นในช่วงกลางและปลายสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงร้อยละ 1.375 -- 1.4375 ต่อปีในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 1.4375 -- 1.46875 ต่อปี ในขณะที่ความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วันเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วันปิดตลาดลดลงจากระดับร้อยละ 1.46875 ต่อปีในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.4375 -- 1.46875 ต่อปีในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 1.50 ต่อปีตลอดสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากร้อยละ 1.35 -- 1.4688 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 -- 1.52 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.45 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.47 ต่อปีในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 20,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 3,000 ล้านบาท และตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงิน 14,000 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทน (yield) ของตั๋วเงินคลัง เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตร ธปท. มีอัตราผลตอบแทนลดลง ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่เพิ่มสูงขึ้น
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 25.3 มีมูลค่ารวม 58,315 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 11,663 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 41,308 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 70.8 ตั๋วเงินคลังมีปริมาณการซื้อขายสูงสุด รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ ระยะกลางถึงยาวอายุช่วงอายุอื่นๆ มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับ US Treasury Yield ที่ปรับลดลง เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัว เช่น ยอดการค้าปลีก และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ออกมาไม่ดีเท่าที่คาด ประกอบกับราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ แม้ว่านักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมวันที่ 21 ก.ย. สำหรับดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 3 และ 26 basis point ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.7 เม อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยเป็นไปตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน ตลอดจนปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลให้เงินบาทปรับแข็งค่าที่สุดในรอบเกือบ 1 เดือนที่ระดับ 41.20 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพุธ ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยและเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ในช่วงปลายสัปดาห์ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากการปรับตัวลดลงของดัชนีราคาผู้ผลิตและตัวเลขภาคแรงงานของสหรัฐฯ ที่ออกมาไม่ดีนัก เป็นปัจจัยกดดันต่อการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (FOMC) ในสัปดาห์หน้า ซึ่งผลการประชุมดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ในระยะต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-