สามผู้นำ อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกระชับมิตรเสริมสร้างสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2547 ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานและร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในการประชุมเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ครั้งที่ 11 ระดับรัฐมนตรี หรือ Ministerial Meeting (MM) ณ โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี จ.ปัตตานี โดยมีผู้นำของอีก 2 ประเทศเข้าร่วมประชุม ได้แก่ Mr.Theo F. Toemion ตำแหน่ง Chairman of Indonesian Coordinating Investment Board ของ ประเทศอินโดนีเซีย และ Dato'Mustapa Mohamed ตำแหน่ง Minister in the Prime Minister's Department ของประเทศมาเลเซีย
ที่ประชุมได้นำเสนอและหารือร่วมกันในรายงานผลจากการประชุม IMT-GT ของระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting : SOM) ครั้งที่ 11 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบรายงานสภาธุรกิจสามฝ่าย (The IMT-GT Joint Business Council : JBC) เสนอ ได้แก่
1) การเชิญสหภาพพม่าร่วมประชุมสภาธุรกิจสามฝ่ายตามแนวคิด IMT-GT + 1
2) การลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องFranchise Farming ระหว่าง Synergy Farms Sdn Bhd & Food Crop Agriculture Service of Naggroe Aceh Darussalarm และTraining of Nurse ระหว่าง Selangor Medical Centres Sdn Bhd และ Yayayan
3) การเพิ่มจังหวัด และรัฐสมาชิกใหม่ใน IMT-GT โดย ประเทศอินโดนีเซีย เสนอเพิ่มจังหวัดลัมปุง จังหวัดบังกา เบลิตุง และจังหวัดเคปูลวน เรียว (Lampung, Bangka Belitung and Kepulauan Riau) ประเทศมาเลเซีย เสนอเพิ่มรัฐกลันตัน (Kelantan) และ ประเทศไทยเสนอเพิ่มจังหวัด ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช ซึ่งที่ประชุมขอให้แต่ละประเทศยืนยันการเข้าร่วมเป็นจังหวัด และรัฐสมาชิกมาด้วย
4) ด้านการค้าการลงทุน PT DOK Dumai กำลังต้องการนักธุรกิจที่สนใจพัฒนาที่ดินขนาด 300 hectares เพื่อพัฒนาเป็นสวนอุตสาหกรรม ขณะที่ JBC Thailand ได้เสนอโครงการพัฒนาตลาดขายส่งสินค้าเกษตรที่ สะเดา ส่วน JBC Indonesia ได้เสนอให้กลุ่มนักลงทุนและนักธุรกิจเข้าร่วมลงทุนพัฒนา Medan Development Metropolitan City และ ธุรกิจโรงแรมใน Medan
5) ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- Firmapadu, Sdn Bhd เสนอเปิดให้บริการเรือ RORO Ferry ระหว่าง Melaka และ Dumai
- Penang Port Sdn Bhd and PT Angkutan Sungai Danau dan Penyeberangan of Riau คาดว่าจะร่วมกันเปิดให้บริการเรือ RORO Ferry ระหว่างปีนัง และ Belawan ในปี 2004
- Kumpulan Darul Dhgan Bhd of Salangor ได้ดำเนินการศึกษาด้านเทคนิคและการเงินของโครงการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงทางหลวงระหว่าง Pekan
- Riau Invesment Corporation เสนอโอกาสการให้บริการเรือ RO-RO Ferry จาก Dumai , Batu Panjang และ Tanjung Medang รวมทั้งเสนอโอกาสพัฒนาทางหลวงระหว่าง Batu Panjang และ Tanjung Medang
6) ด้านการเปิดตลาดเสรี
- Islamic Banks ในกลุ่มสมาชิก IMT-GT จะจัดงาน IMT-GT Trade Fair ที่หาดใหญ่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2005
- Star Search Technologis Sdn Bhd ต้องการผู้ร่วมลงทุนในภูมิภาค IMT-GT เกี่ยวกับ Smart Schools และ Internet Phone
7) การพัฒนาสหสาขา
- โรงพยาบาลเอกชนใน Kedah จัดส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านทัวร์สุขภาพ
- ควรดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่จังหวัดสตูล
- J' Shavae Infosys Sdn Bhe of Selang เสนอโครงการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือสำหรับกลุ่มธุรกิจในภูมิภาค IMT-GT
MM เห็นชอบประเด็นข้อเสนอของ SOM ที่ได้จากที่ประชุม JBC
ที่ประชุมได้พิจารณารับทราบรายงานของสภาธุรกิจสามฝ่าย และเห็นชอบให้มีการนำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับการค้าต่างตอบแทน ซึ่งดำเนินการโดยมาเลเซีย ในการประชุมครั้งต่อไปในประเด็นที่ SOM เสนอให้ JBC ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในบางโครงการที่ JBC เสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจ ส่วนโครงการที่ดำเนินการได้คือ การขยายเวลาผ่านเข้า-ออก พรหมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย การประกันภัยรถยนต์ข้ามเขตแดนในระยะ 50 กิโลเมตร การกำหนดแบบฟอร์มสำแดงสินค้าให้มีมาตรฐานเดียวกัน การแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน จัดทำศูนย์ Call Center
ITGs เสนอกรอบการพัฒนาด้านเทคนิคปฏิบัติการ 6 กลุ่ม
มาเลเชีย และไทย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่อง การจัดระเบียบพิธีการศุลกากรให้มีมาตรฐานสากล เช่น แบบฟอร์มการปฏิบัติ การใช้คอมพิวเตอร์ โครงการเชื่อมโยงระบบถนน เรือ ทั้งนี้ ฝ่ายอินโดนีเซียเห็นด้วยในหลักการเรื่องท่าเรือพันธมิตร เพื่อให้มีการพัฒนาการเดินเรือเชื่อมโยงระหว่าง ท่าเรือปีนังกับเบลาวัน ซึ่งจะมีการพัฒนาแบบเดียวกันนี้จากปีนังมายังท่าเรือสตูล ในอนาคตมีข้อเสนอให้คณะทำงานย่อยภายใต้กลุ่มปฏิบัติการด้านโครงสร้างพื้นฐานเรื่องท่อแก๊ส อยู่ภายใต้การทำงานของคณะ
กรรมชุดอื่น นอกจากนั้นประเทศไทยและอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมกลุ่มเทคนิคปฏิบัติการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปี 2005 และปี 2006 ตามลำดับ
ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอของประเทศไทย ในการศึกษาศักยภาพของ 3 ประเทศเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบ Counter trade system นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอใหม่ๆ เช่น การพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมฮาลาล ที่บูกิตกายูฮีตัม ที่เสนอโดยฝ่ายมาเลเซีย มีโครงการศูนย์ลอจิสติกส์ Logistics ผ่านแดนที่ชายแดนมาเลเซีย-ไทย ซึ่งเสนอโดยฝ่ายไทย และฝ่ายอินโดนีเซีย จังหวัดเรียวเสนอเรื่องเมืองริมน้ำ
กลุ่มเทคนิคปฏิบัติการ (Implementing Technical Group : ITG) 6 กลุ่ม ได้นำเสนอโครงการสรุปได้ดังนี้
1) กลุ่มเทคนิคการพัฒนารายสาขา (การท่องเที่ยว) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำลังหารือกับตัวแทนการท่องเที่ยวไทย (Association of Thai Tour Agent : ATTA) การท่องเที่ยวของมาเลเซีย เพื่อจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อการประชาสัมพันธ์ร่วมกัน นอกจากนั้นจะจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยว North Sumatera Travel Fair 2004 และการจัดการแข่งขันกอล์ฟควบคู่กับงานเทศกาลที่ปาดังปี 2004 และสำหรับงานส่งเสริมการท่องเที่ยวปี 2005 ซึ่งมีบูธสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ IMT-GT และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะเชื่อมเว็บไซด์ IMT- GT กับเว็บไซด์การท่องเที่ยว (www.tourismthailand.org/imt-gt)
นอกจากนี้ยังมีการจัดการอบรมเกี่ยวกับตลาดด้านการท่องเที่ยว โดยอินโดนีเซีย และการอบรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยมาเลเซีย
2) กลุ่มเทคนิคปฏิบัติการด้านตลาดเสรี-เขตโทรคมนาคมพิเศษ มีข้อเสนอในการพัฒนาบัตรโทรศัพท์ร่วม 3 ประเทศ มี Call Center ร่วมกันและเสนอโครงการเให้ประชาชนเข้าถึงคอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึง
3) กลุ่มเทคนิคปฏิบัติการด้านสหสาขา (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) เสนอให้มีระบบข้อมูลตลาดแรงงาน การฝึกอบรมระหว่างประเทศทั้งในด้านการท่องเที่ยว และด้านอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการทำบันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย เรื่องการฝึกอบรมคนงานก่อสร้างและพยาบาล และยังมีข้อเสนอด้านการจัดมาตรฐานทางวิชาชีพระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการที่กำหนด เป้าหมาย ระยะเวลาแล้วเสร็จ และการประเมินผลอย่างชัดเจน
4) กลุ่มเทคนิคปฎิบัติการด้านพื้นที่ต่อเนื่องและการค้าภายใน มีข้อเสนอให้จังหวัดจำบิ ของอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางการวค้าปศุสัตว์ ไทยและอินโดนีเซียนำเสนอโครงการใหม่ด้านการประมง และไทยได้เสนอแนวนโยบาย 1 ตำบล 1 ฟาร์มสาธิต ในระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังกำหนดระบบการค้าต่างตอบแทนในภูมิภาคนี้
เรื่องอื่นๆ
เสนอให้ภาคธุรกิจเอกชนเป็นองค์กรหลักในการทำงานโดยภาครัฐจะเป็นผู้สนับสนุนและให้ภาคธุรกิจเอกชนนำโดยสภาธุรกิจสามฝ่ายเป็นผู้ปฎิบัติหลักในการปฏิบัติการ ยกเว้นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายเกี่ยวกับภาครัฐ ซึ่งภาครัฐจะเป็นหลักในการดำเนินงาน
ที่ประชุมเห็นว่าในการเสนอโครงการโดยทั่วไปของประเทศสมาชิก ให้เสนอผ่าน JBC ส่วนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล ให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มเทคนิคปฏิบัติการเป็นหลัก สำหรับเรื่องอาหารฮาลาล จะจัดให้มีการประชุมปลายปีนี้ที่ประเทศมาเลเซีย และจะนำเสนอในการประชุม ITG กลุ่มเทคนิคปฏิบัติการ ด้านการพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องและการค้าภายใน
สำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) เป็นการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation Bloc) เชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันและอนาคตอย่างทันท่วงที โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้ภาคเอกชนทั้ง 3 ประเทศในพื้นที่เป็นผู้นำในการค้า การลงทุน โดยภาครัฐสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และขจัดอุปสรรคต่างๆ เช่น การผ่านแดน และมาตรการกีดกันการค้า การลงทุน เพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เสริมสร้างความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการท่องเที่ยว การสื่อสารในพื้นที่ IMT-GT ซึ่งในส่วนของไทย มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนภาคใต้สู่นานาชาติ โดยเฉพาะการเพิ่มการค้าการลงทุนกับเกาะสุมาตราทางด้านการเกษตร การเพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่น หรือการพัฒนาแรงงานไทยที่ไปทำงานในมาเลเซียอย่างถูกระบบ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ภาครัฐจะใช้นโยบายส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้เป็นกลไกหลัก เพื่อนำการพัฒนาในพื้นที่ IMT-GT ให้สัมฤทธิ์ผล
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐและเอกชนมีการดำเนินงานตามแผนงานความร่วมมือสามฝ่าย (IMT-GT) มาอย่างต่อเนื่องโดยได้มีการจัดประชุมไตรภาคีระดับรัฐมนตรี 11 ครั้ง และระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 15 ครั้ง ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วงปี 2536-47 ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าการค้าในพื้นที่ IMT-GT ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ปี 2533-2543 มีมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้น 4-6 เท่า มีการเปิดเสรีทางการบินระหว่างกันในพื้นที่ และขยายเวลาเปิดด่านชายแดน ตลอดจนปรับปรุงกฎระเบียบการอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน
การปรับแนวทางความร่วมมือใหม่ที่เน้นการนำไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะความร่วมมือตามแผนงานหรือโครงการที่ภาคเอกชนสนใจอย่างแท้จริงและสามารถปฏิบัติได้ ซึ่งกำหนดรูปแบบความร่วมมือเป็น 6 กลุ่มเทคนิคปฏิบัติการได้แก่ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2) การพัฒนาการค้าและการพัฒนา ณ จุดแรกเริ่ม 3) การดำเนินการตลาดเสรี ด้านเขตโทรคมนาคมพิเศษ 4) การพัฒนารายสาขา เน้นการพัฒนาการท่องเที่ยว 5) การพัฒนาสหสาขา เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ 6) การพัฒนาพื้นที่นอกเขตเมืองและการค้าภายในพื้นที่ โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งสามประเทศร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการรองรับการลงทุนใหม่ๆ ในพื้นที่ IMT-GT
ผู้แทนฝ่ายไทยที่ควรสัมภาษณ์เพิ่มเติม
1. นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการ สศช.
2. นายสุวัฒน์ วาณีสุบุตร ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์โครงการลงทุนภาครัฐ สศช.
3. นายเกรียงไกร บุณยโยธิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ สศช.
4. นายเชื่อง ชาติอริยกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ สศช.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2547 ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานและร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในการประชุมเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ครั้งที่ 11 ระดับรัฐมนตรี หรือ Ministerial Meeting (MM) ณ โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี จ.ปัตตานี โดยมีผู้นำของอีก 2 ประเทศเข้าร่วมประชุม ได้แก่ Mr.Theo F. Toemion ตำแหน่ง Chairman of Indonesian Coordinating Investment Board ของ ประเทศอินโดนีเซีย และ Dato'Mustapa Mohamed ตำแหน่ง Minister in the Prime Minister's Department ของประเทศมาเลเซีย
ที่ประชุมได้นำเสนอและหารือร่วมกันในรายงานผลจากการประชุม IMT-GT ของระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting : SOM) ครั้งที่ 11 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบรายงานสภาธุรกิจสามฝ่าย (The IMT-GT Joint Business Council : JBC) เสนอ ได้แก่
1) การเชิญสหภาพพม่าร่วมประชุมสภาธุรกิจสามฝ่ายตามแนวคิด IMT-GT + 1
2) การลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องFranchise Farming ระหว่าง Synergy Farms Sdn Bhd & Food Crop Agriculture Service of Naggroe Aceh Darussalarm และTraining of Nurse ระหว่าง Selangor Medical Centres Sdn Bhd และ Yayayan
3) การเพิ่มจังหวัด และรัฐสมาชิกใหม่ใน IMT-GT โดย ประเทศอินโดนีเซีย เสนอเพิ่มจังหวัดลัมปุง จังหวัดบังกา เบลิตุง และจังหวัดเคปูลวน เรียว (Lampung, Bangka Belitung and Kepulauan Riau) ประเทศมาเลเซีย เสนอเพิ่มรัฐกลันตัน (Kelantan) และ ประเทศไทยเสนอเพิ่มจังหวัด ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช ซึ่งที่ประชุมขอให้แต่ละประเทศยืนยันการเข้าร่วมเป็นจังหวัด และรัฐสมาชิกมาด้วย
4) ด้านการค้าการลงทุน PT DOK Dumai กำลังต้องการนักธุรกิจที่สนใจพัฒนาที่ดินขนาด 300 hectares เพื่อพัฒนาเป็นสวนอุตสาหกรรม ขณะที่ JBC Thailand ได้เสนอโครงการพัฒนาตลาดขายส่งสินค้าเกษตรที่ สะเดา ส่วน JBC Indonesia ได้เสนอให้กลุ่มนักลงทุนและนักธุรกิจเข้าร่วมลงทุนพัฒนา Medan Development Metropolitan City และ ธุรกิจโรงแรมใน Medan
5) ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
- Firmapadu, Sdn Bhd เสนอเปิดให้บริการเรือ RORO Ferry ระหว่าง Melaka และ Dumai
- Penang Port Sdn Bhd and PT Angkutan Sungai Danau dan Penyeberangan of Riau คาดว่าจะร่วมกันเปิดให้บริการเรือ RORO Ferry ระหว่างปีนัง และ Belawan ในปี 2004
- Kumpulan Darul Dhgan Bhd of Salangor ได้ดำเนินการศึกษาด้านเทคนิคและการเงินของโครงการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงทางหลวงระหว่าง Pekan
- Riau Invesment Corporation เสนอโอกาสการให้บริการเรือ RO-RO Ferry จาก Dumai , Batu Panjang และ Tanjung Medang รวมทั้งเสนอโอกาสพัฒนาทางหลวงระหว่าง Batu Panjang และ Tanjung Medang
6) ด้านการเปิดตลาดเสรี
- Islamic Banks ในกลุ่มสมาชิก IMT-GT จะจัดงาน IMT-GT Trade Fair ที่หาดใหญ่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2005
- Star Search Technologis Sdn Bhd ต้องการผู้ร่วมลงทุนในภูมิภาค IMT-GT เกี่ยวกับ Smart Schools และ Internet Phone
7) การพัฒนาสหสาขา
- โรงพยาบาลเอกชนใน Kedah จัดส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านทัวร์สุขภาพ
- ควรดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่จังหวัดสตูล
- J' Shavae Infosys Sdn Bhe of Selang เสนอโครงการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือสำหรับกลุ่มธุรกิจในภูมิภาค IMT-GT
MM เห็นชอบประเด็นข้อเสนอของ SOM ที่ได้จากที่ประชุม JBC
ที่ประชุมได้พิจารณารับทราบรายงานของสภาธุรกิจสามฝ่าย และเห็นชอบให้มีการนำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับการค้าต่างตอบแทน ซึ่งดำเนินการโดยมาเลเซีย ในการประชุมครั้งต่อไปในประเด็นที่ SOM เสนอให้ JBC ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในบางโครงการที่ JBC เสนอเพื่อประกอบการตัดสินใจ ส่วนโครงการที่ดำเนินการได้คือ การขยายเวลาผ่านเข้า-ออก พรหมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย การประกันภัยรถยนต์ข้ามเขตแดนในระยะ 50 กิโลเมตร การกำหนดแบบฟอร์มสำแดงสินค้าให้มีมาตรฐานเดียวกัน การแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน จัดทำศูนย์ Call Center
ITGs เสนอกรอบการพัฒนาด้านเทคนิคปฏิบัติการ 6 กลุ่ม
มาเลเชีย และไทย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่อง การจัดระเบียบพิธีการศุลกากรให้มีมาตรฐานสากล เช่น แบบฟอร์มการปฏิบัติ การใช้คอมพิวเตอร์ โครงการเชื่อมโยงระบบถนน เรือ ทั้งนี้ ฝ่ายอินโดนีเซียเห็นด้วยในหลักการเรื่องท่าเรือพันธมิตร เพื่อให้มีการพัฒนาการเดินเรือเชื่อมโยงระหว่าง ท่าเรือปีนังกับเบลาวัน ซึ่งจะมีการพัฒนาแบบเดียวกันนี้จากปีนังมายังท่าเรือสตูล ในอนาคตมีข้อเสนอให้คณะทำงานย่อยภายใต้กลุ่มปฏิบัติการด้านโครงสร้างพื้นฐานเรื่องท่อแก๊ส อยู่ภายใต้การทำงานของคณะ
กรรมชุดอื่น นอกจากนั้นประเทศไทยและอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุมกลุ่มเทคนิคปฏิบัติการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปี 2005 และปี 2006 ตามลำดับ
ที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอของประเทศไทย ในการศึกษาศักยภาพของ 3 ประเทศเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบ Counter trade system นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอใหม่ๆ เช่น การพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมฮาลาล ที่บูกิตกายูฮีตัม ที่เสนอโดยฝ่ายมาเลเซีย มีโครงการศูนย์ลอจิสติกส์ Logistics ผ่านแดนที่ชายแดนมาเลเซีย-ไทย ซึ่งเสนอโดยฝ่ายไทย และฝ่ายอินโดนีเซีย จังหวัดเรียวเสนอเรื่องเมืองริมน้ำ
กลุ่มเทคนิคปฏิบัติการ (Implementing Technical Group : ITG) 6 กลุ่ม ได้นำเสนอโครงการสรุปได้ดังนี้
1) กลุ่มเทคนิคการพัฒนารายสาขา (การท่องเที่ยว) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กำลังหารือกับตัวแทนการท่องเที่ยวไทย (Association of Thai Tour Agent : ATTA) การท่องเที่ยวของมาเลเซีย เพื่อจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวเพื่อการประชาสัมพันธ์ร่วมกัน นอกจากนั้นจะจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยว North Sumatera Travel Fair 2004 และการจัดการแข่งขันกอล์ฟควบคู่กับงานเทศกาลที่ปาดังปี 2004 และสำหรับงานส่งเสริมการท่องเที่ยวปี 2005 ซึ่งมีบูธสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ IMT-GT และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะเชื่อมเว็บไซด์ IMT- GT กับเว็บไซด์การท่องเที่ยว (www.tourismthailand.org/imt-gt)
นอกจากนี้ยังมีการจัดการอบรมเกี่ยวกับตลาดด้านการท่องเที่ยว โดยอินโดนีเซีย และการอบรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยมาเลเซีย
2) กลุ่มเทคนิคปฏิบัติการด้านตลาดเสรี-เขตโทรคมนาคมพิเศษ มีข้อเสนอในการพัฒนาบัตรโทรศัพท์ร่วม 3 ประเทศ มี Call Center ร่วมกันและเสนอโครงการเให้ประชาชนเข้าถึงคอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึง
3) กลุ่มเทคนิคปฏิบัติการด้านสหสาขา (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) เสนอให้มีระบบข้อมูลตลาดแรงงาน การฝึกอบรมระหว่างประเทศทั้งในด้านการท่องเที่ยว และด้านอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการทำบันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างอินโดนีเซีย-มาเลเซีย เรื่องการฝึกอบรมคนงานก่อสร้างและพยาบาล และยังมีข้อเสนอด้านการจัดมาตรฐานทางวิชาชีพระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการที่กำหนด เป้าหมาย ระยะเวลาแล้วเสร็จ และการประเมินผลอย่างชัดเจน
4) กลุ่มเทคนิคปฎิบัติการด้านพื้นที่ต่อเนื่องและการค้าภายใน มีข้อเสนอให้จังหวัดจำบิ ของอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางการวค้าปศุสัตว์ ไทยและอินโดนีเซียนำเสนอโครงการใหม่ด้านการประมง และไทยได้เสนอแนวนโยบาย 1 ตำบล 1 ฟาร์มสาธิต ในระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังกำหนดระบบการค้าต่างตอบแทนในภูมิภาคนี้
เรื่องอื่นๆ
เสนอให้ภาคธุรกิจเอกชนเป็นองค์กรหลักในการทำงานโดยภาครัฐจะเป็นผู้สนับสนุนและให้ภาคธุรกิจเอกชนนำโดยสภาธุรกิจสามฝ่ายเป็นผู้ปฎิบัติหลักในการปฏิบัติการ ยกเว้นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายเกี่ยวกับภาครัฐ ซึ่งภาครัฐจะเป็นหลักในการดำเนินงาน
ที่ประชุมเห็นว่าในการเสนอโครงการโดยทั่วไปของประเทศสมาชิก ให้เสนอผ่าน JBC ส่วนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล ให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มเทคนิคปฏิบัติการเป็นหลัก สำหรับเรื่องอาหารฮาลาล จะจัดให้มีการประชุมปลายปีนี้ที่ประเทศมาเลเซีย และจะนำเสนอในการประชุม ITG กลุ่มเทคนิคปฏิบัติการ ด้านการพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องและการค้าภายใน
สำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) เป็นการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Cooperation Bloc) เชิงยุทธศาสตร์เพื่อให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันและอนาคตอย่างทันท่วงที โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ให้ภาคเอกชนทั้ง 3 ประเทศในพื้นที่เป็นผู้นำในการค้า การลงทุน โดยภาครัฐสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และขจัดอุปสรรคต่างๆ เช่น การผ่านแดน และมาตรการกีดกันการค้า การลงทุน เพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เสริมสร้างความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการท่องเที่ยว การสื่อสารในพื้นที่ IMT-GT ซึ่งในส่วนของไทย มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนภาคใต้สู่นานาชาติ โดยเฉพาะการเพิ่มการค้าการลงทุนกับเกาะสุมาตราทางด้านการเกษตร การเพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่น หรือการพัฒนาแรงงานไทยที่ไปทำงานในมาเลเซียอย่างถูกระบบ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ทั้งนี้ภาครัฐจะใช้นโยบายส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้เป็นกลไกหลัก เพื่อนำการพัฒนาในพื้นที่ IMT-GT ให้สัมฤทธิ์ผล
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐและเอกชนมีการดำเนินงานตามแผนงานความร่วมมือสามฝ่าย (IMT-GT) มาอย่างต่อเนื่องโดยได้มีการจัดประชุมไตรภาคีระดับรัฐมนตรี 11 ครั้ง และระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส 15 ครั้ง ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วงปี 2536-47 ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าการค้าในพื้นที่ IMT-GT ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ปี 2533-2543 มีมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้น 4-6 เท่า มีการเปิดเสรีทางการบินระหว่างกันในพื้นที่ และขยายเวลาเปิดด่านชายแดน ตลอดจนปรับปรุงกฎระเบียบการอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน
การปรับแนวทางความร่วมมือใหม่ที่เน้นการนำไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะความร่วมมือตามแผนงานหรือโครงการที่ภาคเอกชนสนใจอย่างแท้จริงและสามารถปฏิบัติได้ ซึ่งกำหนดรูปแบบความร่วมมือเป็น 6 กลุ่มเทคนิคปฏิบัติการได้แก่ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2) การพัฒนาการค้าและการพัฒนา ณ จุดแรกเริ่ม 3) การดำเนินการตลาดเสรี ด้านเขตโทรคมนาคมพิเศษ 4) การพัฒนารายสาขา เน้นการพัฒนาการท่องเที่ยว 5) การพัฒนาสหสาขา เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ 6) การพัฒนาพื้นที่นอกเขตเมืองและการค้าภายในพื้นที่ โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งสามประเทศร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการรองรับการลงทุนใหม่ๆ ในพื้นที่ IMT-GT
ผู้แทนฝ่ายไทยที่ควรสัมภาษณ์เพิ่มเติม
1. นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการ สศช.
2. นายสุวัฒน์ วาณีสุบุตร ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์โครงการลงทุนภาครัฐ สศช.
3. นายเกรียงไกร บุณยโยธิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ สศช.
4. นายเชื่อง ชาติอริยกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ สศช.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-