ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จัดการสัมมนารวม 7 ครั้ง เพื่อเผยแพร่ร่างรายงานโครงการสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย และให้ความรู้เรื่องการใช้โปรแกรมมาตรวัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตระดับธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จากภาครัฐและภาคเอกชนในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต 9 สาขา และอุตสาหกรรมการบริการ 1 สาขา
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ตามที่ สศช. ได้มอบหมายให้สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติดำเนินโครงการสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทยตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2547 โดยดำเนินการสำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการ 1,500 รายทั่วประเทศ และประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับผู้เชี่ยวชาญธนาคารโลก พร้อมจัดทำร่างรายงานเพื่อแจกให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการใช้ประโยชน์ในการนำข้อมูลของตนเองมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดประเมินระดับการเพิ่มผลผลิตขององค์กรและเปรียบเทียบกับความสามารถของผู้อื่นและกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น เพื่อวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรในแต่ละด้านให้มีประสิทธิภาพในอนาคต
ขณะนี้ผลการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว สศช. จึงกำหนดจัดการสัมมนาขึ้นในภูมิภาคต่างๆ รวม 7 ครั้ง เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการเพิ่มผลผลิต ในเรื่องการใช้โปรแกรมมาตรวัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตระดับธุรกิจ และเผยแพร่ผลการสำรวจดังกล่าว พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับภูมิภาค
ทั้งนี้คาดว่าผู้เข้าร่วมประชุมจะสามารถใช้ประโยชน์จากโปรแกรมมาตรวัด ในการวัดระดับการเพิ่มผลผลิตของตนเองและเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น และมีการปรับปรุงกระบวนการวางแผนการใช้ทรัพยากรเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์กรให้มากขึ้น ซึ่งจะมีผลให้ระดับประเทศมีผลิตภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เกิดการสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการวัดระดับการเพิ่มผลผลิตของตนเอง และให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล เพื่อวัดผลการเพิ่มผลผลิตของประเทศในอนาคต มีการเผยแพร่ผลงานโครงการสู่สาธารณะมากขึ้น
สำหรับผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
- บรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศยกเว้นประเทศมาเลเซีย ด้านกฎ ระเบียบของทางราชการที่ประเทศไทยดำเนินการได้ดี ได้แก่ กระบวนการศุลกากรของสินค้าส่งออกใช้ระยะเวลาสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เข้มงวดเข้าไปตรวจสอบสถานประกอบการบ่อยครั้งมากนักซึ่งเป็นข้อดี สำหรับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสนับสนุนของประเทศไทยที่ยังเป็นอุปสรรค เช่น จำนวนวันที่กระแสไฟฟ้าที่ดับถือว่าบ่อยมาก แต่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการผลิต/ผลผลิตในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ
- บรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยและผลการดำเนินงานของกิจการ เมื่อกลับมามองภายในประเทศ พบว่า กฎ ระเบียบราชการ บางเรื่องยังไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ทำให้ค่าตอบแทนต่อผู้จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยสูงมากกว่าที่ควรจะเป็น และขาดแคลนแรงงานที่จำเป็น ได้แก่ แรงงานที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ยังพบว่าสถานประกอบการขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพการผลิตดีกว่ากิจการขนาดเล็กกว่า ส่วนสถานประกอบการที่ผลิตเพื่อการส่งออกและมีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของมีประสิทธิภาพการผลิตที่สูง
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศไทย การขยายตัวส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ปัจจัยการผลิตไม่ใช่ประสิทธิภาพการผลิตรวม ในระยะต่อไปจึงควรให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ตามที่ สศช. ได้มอบหมายให้สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติดำเนินโครงการสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทยตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2547 โดยดำเนินการสำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการ 1,500 รายทั่วประเทศ และประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับผู้เชี่ยวชาญธนาคารโลก พร้อมจัดทำร่างรายงานเพื่อแจกให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการใช้ประโยชน์ในการนำข้อมูลของตนเองมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดประเมินระดับการเพิ่มผลผลิตขององค์กรและเปรียบเทียบกับความสามารถของผู้อื่นและกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น เพื่อวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรในแต่ละด้านให้มีประสิทธิภาพในอนาคต
ขณะนี้ผลการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว สศช. จึงกำหนดจัดการสัมมนาขึ้นในภูมิภาคต่างๆ รวม 7 ครั้ง เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการเพิ่มผลผลิต ในเรื่องการใช้โปรแกรมมาตรวัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตระดับธุรกิจ และเผยแพร่ผลการสำรวจดังกล่าว พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับภูมิภาค
ทั้งนี้คาดว่าผู้เข้าร่วมประชุมจะสามารถใช้ประโยชน์จากโปรแกรมมาตรวัด ในการวัดระดับการเพิ่มผลผลิตของตนเองและเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น และมีการปรับปรุงกระบวนการวางแผนการใช้ทรัพยากรเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์กรให้มากขึ้น ซึ่งจะมีผลให้ระดับประเทศมีผลิตภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เกิดการสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการวัดระดับการเพิ่มผลผลิตของตนเอง และให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล เพื่อวัดผลการเพิ่มผลผลิตของประเทศในอนาคต มีการเผยแพร่ผลงานโครงการสู่สาธารณะมากขึ้น
สำหรับผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
- บรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศยกเว้นประเทศมาเลเซีย ด้านกฎ ระเบียบของทางราชการที่ประเทศไทยดำเนินการได้ดี ได้แก่ กระบวนการศุลกากรของสินค้าส่งออกใช้ระยะเวลาสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เข้มงวดเข้าไปตรวจสอบสถานประกอบการบ่อยครั้งมากนักซึ่งเป็นข้อดี สำหรับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสนับสนุนของประเทศไทยที่ยังเป็นอุปสรรค เช่น จำนวนวันที่กระแสไฟฟ้าที่ดับถือว่าบ่อยมาก แต่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการผลิต/ผลผลิตในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ
- บรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยและผลการดำเนินงานของกิจการ เมื่อกลับมามองภายในประเทศ พบว่า กฎ ระเบียบราชการ บางเรื่องยังไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ทำให้ค่าตอบแทนต่อผู้จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยสูงมากกว่าที่ควรจะเป็น และขาดแคลนแรงงานที่จำเป็น ได้แก่ แรงงานที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ยังพบว่าสถานประกอบการขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพการผลิตดีกว่ากิจการขนาดเล็กกว่า ส่วนสถานประกอบการที่ผลิตเพื่อการส่งออกและมีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของมีประสิทธิภาพการผลิตที่สูง
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศไทย การขยายตัวส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ปัจจัยการผลิตไม่ใช่ประสิทธิภาพการผลิตรวม ในระยะต่อไปจึงควรให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-