อาเซียน-จีน
ไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมเจรจาอาเซียน-จีนครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน 2547
ณ กรุงเทพฯ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
รูปแบบการลดภาษีสินค้า ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและจีนสามารถตกลงรูปแบบการลด/เลิกภาษีสินค้าปกติ (Normal Track) ได้แล้ว โดยจะเริ่มลดภาษีในวันที่ 1 มกราคม 2548 และจะลดภาษีลงเป็นลำดับจนเหลือร้อยละ 0 ในวันที่ 1 มกราคม 2553 และได้ตกลงให้มีความยืดหยุ่นในสินค้าบางรายการโดยจะยกเลิกภาษีในปี 2555 อย่างไรก็ตาม ในส่วนสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงเรื่องเพดานมูลค่าการนำเข้าสินค้าได้ โดยอาเซียนส่วนใหญ่ต้องการให้มีเพดานอยู่ที่ร้อยละ 10 ในขณะที่จีนและอินโดนีเซียต้องการกำหนดที่ร้อยละ 12.5 ซึ่งอาเซียนได้แจ้งว่าไม่สามารถเปลี่ยนท่าทีจากร้อยละ 10 ได้ เนื่องจากเป็นมติที่ประชุมของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ 36 เมื่อวันที่ 3-5 กันยายน 2547
สินค้าที่มีโควตาภาษี ไทยได้เจรจาสองฝ่ายกับจีน โดยไทยตกลงที่จะนำสินค้าที่มีโควตาภาษี (อัตราภาษีนอกโควตา) มาลดในกลุ่มสินค้าอ่อนไหวสูง แต่ต้องการความยืดหยุ่นโดยขอยืดระยะเวลาการลดภาษีให้ยาวนานกว่าปี 2558 และอาจมีมาตรการปกป้องพิเศษสำหรับบางสินค้า ส่วนจีนขอให้ไทยพิจารณาขยายโควตาในสินค้าที่จีนสนใจ ได้แก่ กระเทียม หัวหอม มันฝรั่ง ชาและไหม ทั้งนี้ ไทยได้แจ้งว่ายังไม่สามารถให้คำตอบได้เนื่องจากไม่ได้ระบุไว้ในกรอบความตกลงฯ
การประชุมครั้งต่อไป กำหนดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2547 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
ไทย-อินเดีย
ไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการเจรจาเขตการค้าเสรี (Trade Negotiating Committee: TNC) ไทย-อินเดีย ครั้งที่ 4 ในระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2547 ณ จังหวัดขอนแก่น สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การค้าสินค้า ทั้งสองฝ่ายตกลงให้แบ่งกลุ่มสินค้าที่จะลด/เลิกภาษี เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าปกติ (Normal Track) และกลุ่มสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) ทั้งนี้ ในกลุ่มสินค้าปกติจะแบ่งออกเป็นอีก 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่จะลดภาษีเป็นศูนย์ ซึ่งใช้รูปแบบวิธีการลดภาษีแบบเดียวกับการลดภาษีใน Early Harvest Scheme คือการลดภาษีเป็นอัตราร้อยละของภาษีที่เรียกเก็บปัจจุบัน(Margin of Preferences: MOP) และทยอยลดภาษีเป็นขั้นตอน และกลุ่มที่ไม่ลดภาษีเป็นศูนย์แต่ลดลงถึงระดับใดระดับหนึ่ง
ส่วนกลุ่มสินค้าอ่อนไหวนั้น ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องเพดานจำนวนรายการสินค้า (maximum ceiling) โดยอินเดียเสนอให้กำหนดเพดานที่ร้อยละ 20-25 ของจำนวนรายการสินค้า ซึ่งไทยเห็นว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายจะนำกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ ก่อนที่จะกำหนดรายการสินค้าในกลุ่มอ่อนไหวดังกล่าว และแลกเปลี่ยนรายการสินค้าภายในการประชุม TNC ครั้งที่ 6 ในเดือนธันวาคม ศกนี้
การค้าบริการ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อร่างความตกลงด้านการค้าบริการที่ฝ่ายอินเดียเป็นผู้ยกร่างขึ้น โดยส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความตกลงด้านการค้าบริการภายใต้องค์การการค้าโลก (GATS) และกำหนดที่จะหารือกันในรายละเอียดในการประชุม TNC ครั้งที่ 5 ต่อไป
การลงทุน ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าร่างข้อบทการลงทุนควรครอบคลุมเนื้อหามากกว่าความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Bilateral Investment Protection and Promotion Agreement: BIPA) ที่ไทยและอินเดียได้ลงนามเมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 และยังคงมีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายจะนำกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศต่อไป
การนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ EHS ทั้งสองฝ่ายเห็นควรจัดตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านมาตรการสุขอนามัย รวมทั้งการจัดทำ MRA โดยฝ่ายไทยจะเสนอร่างตัวบทในเรื่องดังกล่าวให้อินเดียพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ อินเดียได้อธิบายขั้นตอนระเบียบปฏิบัติในเรื่อง Plant Quarantine Order 2003 ที่จะต้องมีการจัดทำ Pest Risk Analysis (PRA) สำหรับรายการสินค้าที่นำเข้า ซึ่งไทยได้ขอให้อินเดียเร่งจัดทำ PRA สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่อยู่ภายใต้ Early Harvest Scheme คือ มังคุด ทุเรียน เงาะ ลำไย ทั้งนี้ อินเดียแจ้งว่าจะดำเนินการให้แล้ว เสร็จภายใน 2 สัปดาห์
การประชุมครั้งต่อไป กำหนดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2547 ณ ประเทศไทย
BIMSTEC
ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (Trade Negotiating Committee:
TNC) ครั้งที่ 1 ภายใต้ BIMSTEC FTA เมื่อวันที่ 7-8 กันยายน 2547 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ไทยได้รับมอบหมายให้เป็นประธานการประชุม TNC ในทุกครั้ง โดยประธาน TNC จะรายงานความคืบหน้าและผลการเจรจาต่อที่ ประชุมคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (STEOM) เพื่อรายงานต่อที่ประชุมประชุมรัฐมนตรีการค้า/เศรษฐกิจต่อไปพิจารณาขอบเขตการดำเนินงานของ TNC โดยจะต้องเจรจาจัดทำความตกลงฯ ให้เสร็จตามกรอบและเวลาที่กำหนดไว้ได้กำหนดแผนการดำเนินงานเบื้องต้นและประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยในการประชุม TNC ครั้งที่ 1-4 จะให้ความสำคัญต่อการเจรจาในเรื่องการค้าสินค้า สำหรับการเจรจาเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องการค้าบริการและการลงทุน จะเจรจาในภายหลัง ทั้งนี้ที่ประชุมมอบหมายให้ไทยยกร่างความตกลงเรื่องการค้าสินค้า ซึ่งครอบคลุมเรื่องกฎแหล่ง กำเนิดสินค้า วิธีการลด/ยกเลิกภาษี มาตรการปกป้อง และกลไกการยุติข้อพิพาท และเวียนให้สมาชิกภายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งมีกำหนดระหว่างวันที่ 6-8 ธันวาคม 2547 ณ ประเทศอินเดียให้สมาชิกเร่งดำเนินการกระบวนการภายใน (Internal Procedure) ให้กรอบความตกลงฯ มีผลบังคับใช้และแจ้งให้สมาชิกอื่นทราบผ่านช่องทางการทูต ซึ่งขณะนี้ไทยและอินเดียได้ดำเนินการแล้ว ภูฎานและศรีลังกาดำเนินการเสร็จแล้ว จะแจ้งภายใน 2-3 สัปดาห์นี้ ส่วนบังคลาเทศ พม่า และเนปาลอยู่ระหว่างดำเนินการ
ไทย-ออสเตรเลีย
ได้มีการประชุมคณะทำงานตรวจสอบสิทธิและพันธกรณีด้านการเปิดตลาดสินค้า เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามพันธกรณีด้านการเปิดตลาดสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2547 โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎระเบียบ รวมทั้งเตรียมระบบการจัดเก็บข้อมูล เพื่อรองรับความตกลงฯ ซึ่งไม่มีประเด็นใดที่น่ากังวล สำหรับการเปิดตลาดการค้าบริการจะมีการประชุม ในวันที่ 6 กันยายน ศกนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์ จะรวบรวมแนวทางการดำเนินการต่างๆ ดังกล่าวเสนอ ครม. ต่อไป
ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 ก่อนที่ไทยและออสเตรเลียจะยื่น diplomatic note ระหว่างกัน เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2548
ไทย-นิวซีแลนด์
ไทยได้เป็นเจ้าภาพการเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2547 ณ จังหวัดอุบลราชธานี สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
การค้าสินค้า ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงรูปแบบตารางการลดภาษีสินค้าปกติได้ และจะได้มีการหารือกันต่อไป
การค้าบริการ ได้มีการพิจารณาร่างข้อบทด้านบริการตามที่ฝ่ายนิวซีแลนด์เสนอ ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบกับถ้อยคำส่วนใหญ่ซึ่งอ้างอิงตาม TAFTA และได้ตกลงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กันยายน 2547 และแลกเปลี่ยนข้อเสนอเบื้องต้น (initial offer) ภายในวันที่ 15 กันยายน 2547
เรื่องนโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ และทรัพย์สินทางปัญญา เน้นในด้านความร่วมมือระหว่างกัน สามารถตกลงในสาระสำคัญได้แล้ว เหลือเพียงการปรับถ้อยคำ คาดว่าจะสามารถสรุปได้ก่อนการเจรจาครั้งต่อไป
การประชุมครั้งต่อไป กำหนดระหว่างวันที่ 27-29 กันยายน 2547 ณ ประเทศนิวซีแลนด์
ไทย-เปรู
ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี ไทย-เปรูครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 17-
19 สิงหาคม 2547 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การค้าสินค้า เปรูตกลงที่จะปรับรายการสินค้าในข้อเสนอ ให้สอดคล้องกับของฝ่ายไทย โดยจะเพิ่มจำนวนรายการสินค้าที่ลดภาษีทันทีให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรายการและมูลค่าการนำเข้าจากไทย อย่างไรก็ตามเปรูยังคงต้องการที่จะมีกลุ่มสินค้าที่มีการลดภาษีเกินกว่า 10 ปีและมีมาตรการอื่นนอกจากภาษี แต่จะลดจำนวนลงตามข้อเรียกร้องของฝ่ายไทย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงที่จะใช้รูปแบบการลดภาษีเดียวกันสำหรับสินค้าที่มีการลดภาษีภายในปี 2553
การค้าบริการ ฝ่ายไทยเสนอใช้ positive list approach ในขณะที่ฝ่ายเปรูเสนอให้ใช้ negative
list approach ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันไม่ได้ ดังนั้น ในช่วงของการเจรจาทั้งสองฝ่ายจึงใช้ consolidated agreement เป็นพื้นฐานในการเจรจา นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้ยื่นข้อเรียกร้องขอให้เปรูเปิดตลาดการค้าบริการในสาขาวิชาชีพ (สถาปนิก วิศวกร) การจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทย การก่อสร้าง การศึกษา การท่องเที่ยว ธุรกิจเสริมความงาม การบำบัดด้วยธรรมชาติ (นวดแผนโบราณ และสปา) การบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง เหมืองแร่ และการผลิต ในเรื่องความร่วมมือด้านการค้าบริการ ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ในหลายเรื่อง เช่น ความร่วมมือด้านการศึกษา การขนส่ง การท่องเที่ยว และจะมีการเจรจาเพิ่มเติมในเรื่องวัฒนธรรม สุขภาพ การก่อสร้าง และธุรกิจที่อยู่อาศัย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมเจรจาอาเซียน-จีนครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน 2547
ณ กรุงเทพฯ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
รูปแบบการลดภาษีสินค้า ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและจีนสามารถตกลงรูปแบบการลด/เลิกภาษีสินค้าปกติ (Normal Track) ได้แล้ว โดยจะเริ่มลดภาษีในวันที่ 1 มกราคม 2548 และจะลดภาษีลงเป็นลำดับจนเหลือร้อยละ 0 ในวันที่ 1 มกราคม 2553 และได้ตกลงให้มีความยืดหยุ่นในสินค้าบางรายการโดยจะยกเลิกภาษีในปี 2555 อย่างไรก็ตาม ในส่วนสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงเรื่องเพดานมูลค่าการนำเข้าสินค้าได้ โดยอาเซียนส่วนใหญ่ต้องการให้มีเพดานอยู่ที่ร้อยละ 10 ในขณะที่จีนและอินโดนีเซียต้องการกำหนดที่ร้อยละ 12.5 ซึ่งอาเซียนได้แจ้งว่าไม่สามารถเปลี่ยนท่าทีจากร้อยละ 10 ได้ เนื่องจากเป็นมติที่ประชุมของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ 36 เมื่อวันที่ 3-5 กันยายน 2547
สินค้าที่มีโควตาภาษี ไทยได้เจรจาสองฝ่ายกับจีน โดยไทยตกลงที่จะนำสินค้าที่มีโควตาภาษี (อัตราภาษีนอกโควตา) มาลดในกลุ่มสินค้าอ่อนไหวสูง แต่ต้องการความยืดหยุ่นโดยขอยืดระยะเวลาการลดภาษีให้ยาวนานกว่าปี 2558 และอาจมีมาตรการปกป้องพิเศษสำหรับบางสินค้า ส่วนจีนขอให้ไทยพิจารณาขยายโควตาในสินค้าที่จีนสนใจ ได้แก่ กระเทียม หัวหอม มันฝรั่ง ชาและไหม ทั้งนี้ ไทยได้แจ้งว่ายังไม่สามารถให้คำตอบได้เนื่องจากไม่ได้ระบุไว้ในกรอบความตกลงฯ
การประชุมครั้งต่อไป กำหนดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม 2547 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
ไทย-อินเดีย
ไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการเจรจาเขตการค้าเสรี (Trade Negotiating Committee: TNC) ไทย-อินเดีย ครั้งที่ 4 ในระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2547 ณ จังหวัดขอนแก่น สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การค้าสินค้า ทั้งสองฝ่ายตกลงให้แบ่งกลุ่มสินค้าที่จะลด/เลิกภาษี เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าปกติ (Normal Track) และกลุ่มสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) ทั้งนี้ ในกลุ่มสินค้าปกติจะแบ่งออกเป็นอีก 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่จะลดภาษีเป็นศูนย์ ซึ่งใช้รูปแบบวิธีการลดภาษีแบบเดียวกับการลดภาษีใน Early Harvest Scheme คือการลดภาษีเป็นอัตราร้อยละของภาษีที่เรียกเก็บปัจจุบัน(Margin of Preferences: MOP) และทยอยลดภาษีเป็นขั้นตอน และกลุ่มที่ไม่ลดภาษีเป็นศูนย์แต่ลดลงถึงระดับใดระดับหนึ่ง
ส่วนกลุ่มสินค้าอ่อนไหวนั้น ทั้งสองฝ่ายได้หารือเรื่องเพดานจำนวนรายการสินค้า (maximum ceiling) โดยอินเดียเสนอให้กำหนดเพดานที่ร้อยละ 20-25 ของจำนวนรายการสินค้า ซึ่งไทยเห็นว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายจะนำกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ ก่อนที่จะกำหนดรายการสินค้าในกลุ่มอ่อนไหวดังกล่าว และแลกเปลี่ยนรายการสินค้าภายในการประชุม TNC ครั้งที่ 6 ในเดือนธันวาคม ศกนี้
การค้าบริการ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อร่างความตกลงด้านการค้าบริการที่ฝ่ายอินเดียเป็นผู้ยกร่างขึ้น โดยส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความตกลงด้านการค้าบริการภายใต้องค์การการค้าโลก (GATS) และกำหนดที่จะหารือกันในรายละเอียดในการประชุม TNC ครั้งที่ 5 ต่อไป
การลงทุน ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าร่างข้อบทการลงทุนควรครอบคลุมเนื้อหามากกว่าความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Bilateral Investment Protection and Promotion Agreement: BIPA) ที่ไทยและอินเดียได้ลงนามเมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 และยังคงมีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายจะนำกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศต่อไป
การนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ EHS ทั้งสองฝ่ายเห็นควรจัดตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านมาตรการสุขอนามัย รวมทั้งการจัดทำ MRA โดยฝ่ายไทยจะเสนอร่างตัวบทในเรื่องดังกล่าวให้อินเดียพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ อินเดียได้อธิบายขั้นตอนระเบียบปฏิบัติในเรื่อง Plant Quarantine Order 2003 ที่จะต้องมีการจัดทำ Pest Risk Analysis (PRA) สำหรับรายการสินค้าที่นำเข้า ซึ่งไทยได้ขอให้อินเดียเร่งจัดทำ PRA สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่อยู่ภายใต้ Early Harvest Scheme คือ มังคุด ทุเรียน เงาะ ลำไย ทั้งนี้ อินเดียแจ้งว่าจะดำเนินการให้แล้ว เสร็จภายใน 2 สัปดาห์
การประชุมครั้งต่อไป กำหนดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2547 ณ ประเทศไทย
BIMSTEC
ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (Trade Negotiating Committee:
TNC) ครั้งที่ 1 ภายใต้ BIMSTEC FTA เมื่อวันที่ 7-8 กันยายน 2547 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ไทยได้รับมอบหมายให้เป็นประธานการประชุม TNC ในทุกครั้ง โดยประธาน TNC จะรายงานความคืบหน้าและผลการเจรจาต่อที่ ประชุมคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (STEOM) เพื่อรายงานต่อที่ประชุมประชุมรัฐมนตรีการค้า/เศรษฐกิจต่อไปพิจารณาขอบเขตการดำเนินงานของ TNC โดยจะต้องเจรจาจัดทำความตกลงฯ ให้เสร็จตามกรอบและเวลาที่กำหนดไว้ได้กำหนดแผนการดำเนินงานเบื้องต้นและประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยในการประชุม TNC ครั้งที่ 1-4 จะให้ความสำคัญต่อการเจรจาในเรื่องการค้าสินค้า สำหรับการเจรจาเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องการค้าบริการและการลงทุน จะเจรจาในภายหลัง ทั้งนี้ที่ประชุมมอบหมายให้ไทยยกร่างความตกลงเรื่องการค้าสินค้า ซึ่งครอบคลุมเรื่องกฎแหล่ง กำเนิดสินค้า วิธีการลด/ยกเลิกภาษี มาตรการปกป้อง และกลไกการยุติข้อพิพาท และเวียนให้สมาชิกภายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งมีกำหนดระหว่างวันที่ 6-8 ธันวาคม 2547 ณ ประเทศอินเดียให้สมาชิกเร่งดำเนินการกระบวนการภายใน (Internal Procedure) ให้กรอบความตกลงฯ มีผลบังคับใช้และแจ้งให้สมาชิกอื่นทราบผ่านช่องทางการทูต ซึ่งขณะนี้ไทยและอินเดียได้ดำเนินการแล้ว ภูฎานและศรีลังกาดำเนินการเสร็จแล้ว จะแจ้งภายใน 2-3 สัปดาห์นี้ ส่วนบังคลาเทศ พม่า และเนปาลอยู่ระหว่างดำเนินการ
ไทย-ออสเตรเลีย
ได้มีการประชุมคณะทำงานตรวจสอบสิทธิและพันธกรณีด้านการเปิดตลาดสินค้า เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามพันธกรณีด้านการเปิดตลาดสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2547 โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎระเบียบ รวมทั้งเตรียมระบบการจัดเก็บข้อมูล เพื่อรองรับความตกลงฯ ซึ่งไม่มีประเด็นใดที่น่ากังวล สำหรับการเปิดตลาดการค้าบริการจะมีการประชุม ในวันที่ 6 กันยายน ศกนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์ จะรวบรวมแนวทางการดำเนินการต่างๆ ดังกล่าวเสนอ ครม. ต่อไป
ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 ก่อนที่ไทยและออสเตรเลียจะยื่น diplomatic note ระหว่างกัน เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2548
ไทย-นิวซีแลนด์
ไทยได้เป็นเจ้าภาพการเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2547 ณ จังหวัดอุบลราชธานี สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
การค้าสินค้า ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงรูปแบบตารางการลดภาษีสินค้าปกติได้ และจะได้มีการหารือกันต่อไป
การค้าบริการ ได้มีการพิจารณาร่างข้อบทด้านบริการตามที่ฝ่ายนิวซีแลนด์เสนอ ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบกับถ้อยคำส่วนใหญ่ซึ่งอ้างอิงตาม TAFTA และได้ตกลงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กันยายน 2547 และแลกเปลี่ยนข้อเสนอเบื้องต้น (initial offer) ภายในวันที่ 15 กันยายน 2547
เรื่องนโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ และทรัพย์สินทางปัญญา เน้นในด้านความร่วมมือระหว่างกัน สามารถตกลงในสาระสำคัญได้แล้ว เหลือเพียงการปรับถ้อยคำ คาดว่าจะสามารถสรุปได้ก่อนการเจรจาครั้งต่อไป
การประชุมครั้งต่อไป กำหนดระหว่างวันที่ 27-29 กันยายน 2547 ณ ประเทศนิวซีแลนด์
ไทย-เปรู
ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี ไทย-เปรูครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 17-
19 สิงหาคม 2547 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การค้าสินค้า เปรูตกลงที่จะปรับรายการสินค้าในข้อเสนอ ให้สอดคล้องกับของฝ่ายไทย โดยจะเพิ่มจำนวนรายการสินค้าที่ลดภาษีทันทีให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนรายการและมูลค่าการนำเข้าจากไทย อย่างไรก็ตามเปรูยังคงต้องการที่จะมีกลุ่มสินค้าที่มีการลดภาษีเกินกว่า 10 ปีและมีมาตรการอื่นนอกจากภาษี แต่จะลดจำนวนลงตามข้อเรียกร้องของฝ่ายไทย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงที่จะใช้รูปแบบการลดภาษีเดียวกันสำหรับสินค้าที่มีการลดภาษีภายในปี 2553
การค้าบริการ ฝ่ายไทยเสนอใช้ positive list approach ในขณะที่ฝ่ายเปรูเสนอให้ใช้ negative
list approach ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันไม่ได้ ดังนั้น ในช่วงของการเจรจาทั้งสองฝ่ายจึงใช้ consolidated agreement เป็นพื้นฐานในการเจรจา นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้ยื่นข้อเรียกร้องขอให้เปรูเปิดตลาดการค้าบริการในสาขาวิชาชีพ (สถาปนิก วิศวกร) การจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทย การก่อสร้าง การศึกษา การท่องเที่ยว ธุรกิจเสริมความงาม การบำบัดด้วยธรรมชาติ (นวดแผนโบราณ และสปา) การบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง เหมืองแร่ และการผลิต ในเรื่องความร่วมมือด้านการค้าบริการ ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ในหลายเรื่อง เช่น ความร่วมมือด้านการศึกษา การขนส่ง การท่องเที่ยว และจะมีการเจรจาเพิ่มเติมในเรื่องวัฒนธรรม สุขภาพ การก่อสร้าง และธุรกิจที่อยู่อาศัย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-