เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2547 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. ได้เป็นประธานกล่าวเปิดการบรรยายพิเศษ โดย Professor Lawrence R. Klein, Nobel Laureate in Economics ในหัวเรื่อง "A Fresh Asian Re-Awakening of Real Growth" ณ ห้องวอเตอร์เกทบอลรูม โรงแรมอะมารีวอเตอร์เกท ซึ่งเป็นการบรรยายพิเศษที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
ในการบรรยายพิเศษครั้งนี้ Professor Lawrence R. Klein, Emeritus Professor ของ University of Pennsylvania ซึ่งได้รับรางวัล Nobel Laureate in Economics ในปี 2523 จากผลงานในการสร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ความผันผวนทางเศรษฐกิจได้กล่าวว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบปัญหาก็ได้ฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตแล้ว โดยมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพมากขึ้น และสัญญาณต่าง ๆ ก็ชี้ถึงการกลับมาเป็น "Asian miracle" อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามการกลับมาในครั้งนี้ เศรษฐกิจเอเชียได้เปลี่ยนโฉมหน้าไป โดยที่ประเทศจีน อินเดีย และรัสเซีย มีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในการเป็นกลไกสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย และเรียกว่าเป็นศูนย์กลางใหม่ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน ภูมิภาค (New Economic Growth Centers)
ทั้งนี้ Professor Klein กล่าวว่า ที่จริงแล้วบทบาทของประเทศจีนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ก่อนวิกฤตที่เกิดขึ้นกับเอเชีย แต่ในขณะนั้นเป็นเพียงข้อสังเกตกันว่าประเทศในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ส่งออกได้สูญเสียตลาดส่งออก ในขณะที่ประเทศจีนส่งออกได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามในเวลานั้นก็ไม่ได้มีบทวิเคราะห์ที่จะชี้ชัดลงไปถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างการค้าโลกที่กำลังเริ่มต้น ดังนั้นสิ่งที่นักวิเคราะห์ทั้งหลายพลาดไปในช่วงก่อนที่วิกฤตจะเกิดขึ้นจึงไม่ใช่แต่เพียงเรื่องสัญญาณเตือนภัยต่อวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่รวมไปถึงบทบาทของประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ในขณะนั้นแล้ว ซึ่งในภายหลัง Professor Klein ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นอีก 2 ท่าน ก็ได้ทำการศึกษาถึงการทดแทนการส่งออกของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งของประเทศไทยในตลาดโลกโดยการส่งออกของจีน และสรุปว่า การที่จีนได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเพียงอัตราเดียวโดยผูกค่าเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ สรอ. ตั้งแต่เดือนมกราคม 2537 นั้นทำให้เงินหยวนมีค่าอ่อนลงประมาณ 30% และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้นในขณะที่ประเทศเอเชียอื่น โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียนแข่งขันได้น้อยลงเนื่องจากค่าเงินแข็งขึ้น
สำหรับการกลับมาของ "Asian miracle" ในครั้งนี้ Professor Klein กล่าวว่า สถานการณ์ได้เปลี่ยนโฉมหน้าไป เศรษฐกิจสหรัฐฯ มิได้เป็นเครื่องจักรหลักที่ขับเคลื่อนเพียงตัวเดียว แต่สองยักษ์ใหญ่ที่สำคัญของเอเชีย คือ จีนและอินเดีย รวมทั้งรัสเชียซึ่งส่วนหนึ่งนับรวมในทวีปเอเชีย นับว่าเป็นศูนย์กลางของการขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่ที่สำคัญ โดยที่ประเทศจีนมีการลงทุนและการใช้จ่ายของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมากเป็นปัจจัยกระตุ้น โดยเฉพาะการลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว เช่นเดียวกับประเทศอินเดีย ซึ่งมีความได้เปรียบในเรื่องระบบการศึกษาที่ดีที่ได้รับอิทธิพลจากอังกฤษ อินเดียจึงมีความได้เปรียบในเรื่อง การพัฒนาซอฟท์แวร์และการบริการทางธุรกิจสำหรับการส่งออก ที่เรียกว่า "offshore activities" นอกจากนี้อินเดียก็เริ่มมีบทบาทที่เด่นชัดมากขึ้นในการพัฒนาด้านการเงิน วิศวกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ยาและเวชภัณฑ์ ที่ทันสมัยมากขึ้น ซึ่ง Professor Klein ได้กล่าวอีกว่าได้มี "good stabilizers" สำหรับพลวัตรของเศรษฐกิจอินเดียมากขึ้น ภาคบริการมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจของอินเดียมากขึ้น ไม่แต่เพียงภาคบริการ อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง จะสามารถผ่านพ้นช่วงที่มีแรงกดดันไปได้ แต่ในขณะเดียวกันระบบชลประทานที่ดีขึ้น และ "Green revolution" ทำให้ภาคการเกษตรของอินเดียมีการพัฒนามากขึ้นและมีวัฏจักรที่ผันผวนน้อยลง ท่ามกลางการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
สำหรับรัสเชีย ที่เป็น Far East Russia ซึ่งอยู่ในทวีปเอเชียนั้นมีความได้เปรียบในเรื่องทรัพยากรน้ำมัน และเนื่องจากทรัพยากรเหล่านี้ไม่สามารถที่จะดึงออกมาใช้และไม่สามารถที่จะขนส่งได้ง่าย เอเชียน่าจะได้ประโยชน์ในการเข้าไปพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่อส่งน้ำมัน การขยายท่าเรือ และการขยายต่อเครือข่ายทางรถไฟในส่วนของ Trans-Siberian railway system รวมทั้งการขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งจะเป็นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน
นอกจากนี้ในการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ Professor Klein ได้กล่าวถึงการติดตามและประมาณการสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาข้อมูลความถี่สูงมาช่วยในการพัฒนาแบบจำลองทางเศรษฐมิติ สำหรับการประมาณการทางเศรษฐกิจในระยะสั้นให้มีความแม่นยำได้มากขึ้น โดยที่จะต้องทำการปรับข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และปรับตัวเลขการประมาณการบน revolving basis รวมทั้งจะต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคในการประมาณการหลาย ๆ อย่างประกอบกัน เพื่อลดความผิดพลาดในการประมาณการลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งในขณะนี้ Professor Klein ร่วมกับ Wendy Mak ก็ได้พัฒนาแบบจำลองที่เรียกว่า High-Frequency Model สำหรับประเทศจีน เช่นเดียวกับในกรณีของประเทศไทย ซึ่ง Professor Klein กับคณะที่ปรึกษาจาก ITEconomy Inc. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็กำลังพัฒนาแบบจำลองที่เรียกว่า Current Quarter Model เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการประมาณการเศรษฐกิจไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ในการบรรยายพิเศษครั้งนี้ Professor Lawrence R. Klein, Emeritus Professor ของ University of Pennsylvania ซึ่งได้รับรางวัล Nobel Laureate in Economics ในปี 2523 จากผลงานในการสร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ความผันผวนทางเศรษฐกิจได้กล่าวว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบปัญหาก็ได้ฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตแล้ว โดยมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพมากขึ้น และสัญญาณต่าง ๆ ก็ชี้ถึงการกลับมาเป็น "Asian miracle" อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามการกลับมาในครั้งนี้ เศรษฐกิจเอเชียได้เปลี่ยนโฉมหน้าไป โดยที่ประเทศจีน อินเดีย และรัสเซีย มีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในการเป็นกลไกสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย และเรียกว่าเป็นศูนย์กลางใหม่ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน ภูมิภาค (New Economic Growth Centers)
ทั้งนี้ Professor Klein กล่าวว่า ที่จริงแล้วบทบาทของประเทศจีนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ก่อนวิกฤตที่เกิดขึ้นกับเอเชีย แต่ในขณะนั้นเป็นเพียงข้อสังเกตกันว่าประเทศในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ส่งออกได้สูญเสียตลาดส่งออก ในขณะที่ประเทศจีนส่งออกได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามในเวลานั้นก็ไม่ได้มีบทวิเคราะห์ที่จะชี้ชัดลงไปถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างการค้าโลกที่กำลังเริ่มต้น ดังนั้นสิ่งที่นักวิเคราะห์ทั้งหลายพลาดไปในช่วงก่อนที่วิกฤตจะเกิดขึ้นจึงไม่ใช่แต่เพียงเรื่องสัญญาณเตือนภัยต่อวิกฤตที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่รวมไปถึงบทบาทของประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ในขณะนั้นแล้ว ซึ่งในภายหลัง Professor Klein ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นอีก 2 ท่าน ก็ได้ทำการศึกษาถึงการทดแทนการส่งออกของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งของประเทศไทยในตลาดโลกโดยการส่งออกของจีน และสรุปว่า การที่จีนได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเพียงอัตราเดียวโดยผูกค่าเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ สรอ. ตั้งแต่เดือนมกราคม 2537 นั้นทำให้เงินหยวนมีค่าอ่อนลงประมาณ 30% และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้นในขณะที่ประเทศเอเชียอื่น โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียนแข่งขันได้น้อยลงเนื่องจากค่าเงินแข็งขึ้น
สำหรับการกลับมาของ "Asian miracle" ในครั้งนี้ Professor Klein กล่าวว่า สถานการณ์ได้เปลี่ยนโฉมหน้าไป เศรษฐกิจสหรัฐฯ มิได้เป็นเครื่องจักรหลักที่ขับเคลื่อนเพียงตัวเดียว แต่สองยักษ์ใหญ่ที่สำคัญของเอเชีย คือ จีนและอินเดีย รวมทั้งรัสเชียซึ่งส่วนหนึ่งนับรวมในทวีปเอเชีย นับว่าเป็นศูนย์กลางของการขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่ที่สำคัญ โดยที่ประเทศจีนมีการลงทุนและการใช้จ่ายของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมากเป็นปัจจัยกระตุ้น โดยเฉพาะการลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว เช่นเดียวกับประเทศอินเดีย ซึ่งมีความได้เปรียบในเรื่องระบบการศึกษาที่ดีที่ได้รับอิทธิพลจากอังกฤษ อินเดียจึงมีความได้เปรียบในเรื่อง การพัฒนาซอฟท์แวร์และการบริการทางธุรกิจสำหรับการส่งออก ที่เรียกว่า "offshore activities" นอกจากนี้อินเดียก็เริ่มมีบทบาทที่เด่นชัดมากขึ้นในการพัฒนาด้านการเงิน วิศวกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ยาและเวชภัณฑ์ ที่ทันสมัยมากขึ้น ซึ่ง Professor Klein ได้กล่าวอีกว่าได้มี "good stabilizers" สำหรับพลวัตรของเศรษฐกิจอินเดียมากขึ้น ภาคบริการมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจของอินเดียมากขึ้น ไม่แต่เพียงภาคบริการ อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง จะสามารถผ่านพ้นช่วงที่มีแรงกดดันไปได้ แต่ในขณะเดียวกันระบบชลประทานที่ดีขึ้น และ "Green revolution" ทำให้ภาคการเกษตรของอินเดียมีการพัฒนามากขึ้นและมีวัฏจักรที่ผันผวนน้อยลง ท่ามกลางการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
สำหรับรัสเชีย ที่เป็น Far East Russia ซึ่งอยู่ในทวีปเอเชียนั้นมีความได้เปรียบในเรื่องทรัพยากรน้ำมัน และเนื่องจากทรัพยากรเหล่านี้ไม่สามารถที่จะดึงออกมาใช้และไม่สามารถที่จะขนส่งได้ง่าย เอเชียน่าจะได้ประโยชน์ในการเข้าไปพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่อส่งน้ำมัน การขยายท่าเรือ และการขยายต่อเครือข่ายทางรถไฟในส่วนของ Trans-Siberian railway system รวมทั้งการขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งจะเป็นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน
นอกจากนี้ในการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ Professor Klein ได้กล่าวถึงการติดตามและประมาณการสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาข้อมูลความถี่สูงมาช่วยในการพัฒนาแบบจำลองทางเศรษฐมิติ สำหรับการประมาณการทางเศรษฐกิจในระยะสั้นให้มีความแม่นยำได้มากขึ้น โดยที่จะต้องทำการปรับข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และปรับตัวเลขการประมาณการบน revolving basis รวมทั้งจะต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคในการประมาณการหลาย ๆ อย่างประกอบกัน เพื่อลดความผิดพลาดในการประมาณการลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งในขณะนี้ Professor Klein ร่วมกับ Wendy Mak ก็ได้พัฒนาแบบจำลองที่เรียกว่า High-Frequency Model สำหรับประเทศจีน เช่นเดียวกับในกรณีของประเทศไทย ซึ่ง Professor Klein กับคณะที่ปรึกษาจาก ITEconomy Inc. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็กำลังพัฒนาแบบจำลองที่เรียกว่า Current Quarter Model เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการประมาณการเศรษฐกิจไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-