- ธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้น ในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง ในขณะที่ความต้องการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่จึงปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
- อัตราผลตอบแทน (Yield) ของตราสารหนี้ระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ yield ของตราสารหนี้ระยะยาวปรับลดลง สอดคล้องกับทิศทางของคาดการณ์ของตลาด
- เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในกรอบแคบๆ โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ จากปัจจัยกดดันด้านราคาน้ำมัน การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rateในช่วงกลางสัปดาห์ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้เผื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์กลางสัปดาห์มาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.46875 ต่อปีในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 1.4375 ต่อปี ก่อนจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.46875 และ 1.46875 - 1.5 ต่อปีตามลำดับ ในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการกู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.4375 และ 1.46875 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 1.50 ต่อปีตลอดสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.1 - 1.52 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.45 - 1.7 และอัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนระหว่างร้อยละ 1.48 - 1.5 ต่อปี โดยมีทิศทางสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 21 กันยายน มีมติให้ปรับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ขึ้นอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ตั้งข้อสังเกตว่าภาวะเงินเฟ้อและการคาดการณ์เงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลายลง ในขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี แต่นักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยอังกฤษยังมีแนวโน้มสูงขึ้นและคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมในเดือนพฤศจิกายน
ตลาดตราสารหนี้ ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 22,000 ล้านบาท ได้แก่ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 3,000 ล้านบาท และตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงิน 15,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทน (yield) ลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 วัน ที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนลดลง 11.8 basis point การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.4 มีมูลค่ารวม 52,234 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 10,447 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 33,471 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64 ตั๋วเงินคลังมีปริมาณการซื้อขายสูงสุด รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 24 และ 7 basis point ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปีปรับตัวสูงขึ้น ในขณะพันธบัตรฯ อายุ 7 ปี ขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
ทั้งนี้ yield ของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดสัปดาห์ ในขณะที่ yield ของพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปี ช่วงต้นสัปดาห์ยังคงปรับลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลว่าราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอาจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง และ Fed อาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี และถึงแม้ Fed ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเมื่อ 21 ก.ย. ก็ไม่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนมากนัก เนื่องจากตลาดได้รับทราบมาก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม yield ได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการขายทำกำไร เนื่องจากราคาพันธบัตรฯ ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.24 - 41.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนและมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากตลาดรอฟังผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากนักเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าภาวะเงินเฟ้อและการคาดการณ์เงินเฟ้อมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ทำให้ตลาดไม่แน่ใจต่อท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป เงินบาทจึงปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงอีกครั้งตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะค่าเงินเยนในช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยหลังจากที่ปรับสูงขึ้นอย่างมากในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้ ตัวเลขดุลการค้าของไทยที่ยังขาดดุลต่อเนื่อง เป็นอีกปัจจัยที่กดดันค่าเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์ให้ปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ที่ระดับ 41.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- อัตราผลตอบแทน (Yield) ของตราสารหนี้ระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ yield ของตราสารหนี้ระยะยาวปรับลดลง สอดคล้องกับทิศทางของคาดการณ์ของตลาด
- เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในกรอบแคบๆ โดยมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ จากปัจจัยกดดันด้านราคาน้ำมัน การปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rateในช่วงกลางสัปดาห์ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทมากนัก
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในช่วงต้นสัปดาห์ทรงตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้เผื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์กลางสัปดาห์มาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.46875 ต่อปีในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ในระดับเดียวกันที่ร้อยละ 1.4375 ต่อปี ก่อนจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.46875 และ 1.46875 - 1.5 ต่อปีตามลำดับ ในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการกู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.4375 และ 1.46875 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 1.50 ต่อปีตลอดสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.1 - 1.52 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.45 - 1.7 และอัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนระหว่างร้อยละ 1.48 - 1.5 ต่อปี โดยมีทิศทางสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 21 กันยายน มีมติให้ปรับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ขึ้นอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ตั้งข้อสังเกตว่าภาวะเงินเฟ้อและการคาดการณ์เงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่อนคลายลง ในขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี แต่นักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยอังกฤษยังมีแนวโน้มสูงขึ้นและคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมในเดือนพฤศจิกายน
ตลาดตราสารหนี้ ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 22,000 ล้านบาท ได้แก่ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 3,000 ล้านบาท และตั๋วเงินคลังอายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงิน 15,000 ล้านบาท โดยตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทน (yield) ลดลง ยกเว้นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 วัน ที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท มีอัตราผลตอบแทนลดลง 11.8 basis point การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.4 มีมูลค่ารวม 52,234 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 10,447 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 33,471 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64 ตั๋วเงินคลังมีปริมาณการซื้อขายสูงสุด รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 24 และ 7 basis point ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 5 ปีปรับตัวสูงขึ้น ในขณะพันธบัตรฯ อายุ 7 ปี ขึ้นไปมีอัตราผลตอบแทนลดลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ
ทั้งนี้ yield ของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุต่ำกว่า 5 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอดสัปดาห์ ในขณะที่ yield ของพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปี ช่วงต้นสัปดาห์ยังคงปรับลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลว่าราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอาจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง และ Fed อาจชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี และถึงแม้ Fed ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเมื่อ 21 ก.ย. ก็ไม่ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนมากนัก เนื่องจากตลาดได้รับทราบมาก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม yield ได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการขายทำกำไร เนื่องจากราคาพันธบัตรฯ ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวนในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.24 - 41.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนและมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากตลาดรอฟังผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากนักเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากการปรับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด ประกอบกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าภาวะเงินเฟ้อและการคาดการณ์เงินเฟ้อมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ทำให้ตลาดไม่แน่ใจต่อท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป เงินบาทจึงปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงอีกครั้งตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะค่าเงินเยนในช่วงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยหลังจากที่ปรับสูงขึ้นอย่างมากในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้ ตัวเลขดุลการค้าของไทยที่ยังขาดดุลต่อเนื่อง เป็นอีกปัจจัยที่กดดันค่าเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์ให้ปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ที่ระดับ 41.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-