- สภาพคล่องทรงตัวอยู่ในระดับสูงและการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงใกล้สิ้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้เข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วันจึงปรับตัวลดลงเล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield) ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในพันธบัตรฯระยะปานกลางถึงยาว เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. และเป็นไปตาม US Treasury Yield
-เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยน และความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากบริษัทเอกชน ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงปลายสัปดาห์ จากการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของบริษัทขนาดใหญ่ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากความไม่แน่นอนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม FOMC ครั้งต่อไป และข่าวการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนของจีน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ของธนาคารพาณิชย์ในวันพฤหัสบดีไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องมากนัก การลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงใกล้สิ้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งดำรงเงินสดสำรองไว้สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงนำสภาพคล่องส่วนเกินเข้ามาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับตัวลดลงจากร้อยละ 1.46875 ต่อปีในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 1.4375 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นมีการเคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ แต่ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วันปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.46875 และ 1.5 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงจากร้อยละ 1.37 - 1.55 มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 - 1.51 โดยอัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 1.47 - 1.5 ต่อปี ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 15,900 ล้านบาท โดยเป็น พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 3,000 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และมีการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน เพียง 4,000 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 10,000 ล้านบาท จึงทำให้สัดส่วนเสนอประมูลตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้น และอัตราผลตอบแทน (yield) ลดลง นอกจากนี้ มีการประมูลพันธบัตรรัฐวิสาหกิจอีก 4,900 ล้านบาท เป็นพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 2 รุ่น อายุ 6 และ 7 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท และพันธบัตรการไฟฟ้านครหลวงที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน 3 รุ่น อายุ 3 4 และ 5 ปี วงเงินรวม 2,900 ล้านบาท การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.4 มีมูลค่ารวม 63,269 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,654 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 38,592 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61 ตั๋วเงินคลังมีปริมาณการซื้อขายสูงสุด รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยพันธบัตรฯ อายุ 5-12 ปี อัตราผลตอบแทนสูงขึ้น 11-20 basis point หลังจาก ธปท. ส่งสัญญาณว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งต่อไป และอีกส่วนหนึ่งเป็นการปรับขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐ ที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้เอกชนลดลง 71 และ 26 basis point ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของค่าเงินเยน ประกอบกับมีปัจจัยกดดันจากการกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อไข้หวัดนก และความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากภาคธุรกิจ ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี และความเห็นในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากเจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงของสหรัฐฯ อย่างก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการปรับตัวสูงขึ้นของตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งนักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร และในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ขายเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมาก ประกอบกับเงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลง หลังจากคำกล่าวของผู้ว่าการธนาคารสหรัฐฯ ที่ระบุว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจชะลอการปรับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัว ตลอดจนความกังวลต่อการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนของจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในระยะต่อไป ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.31 - 41.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield) ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในพันธบัตรฯระยะปานกลางถึงยาว เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. และเป็นไปตาม US Treasury Yield
-เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยน และความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากบริษัทเอกชน ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงปลายสัปดาห์ จากการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของบริษัทขนาดใหญ่ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากความไม่แน่นอนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม FOMC ครั้งต่อไป และข่าวการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนของจีน
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ของธนาคารพาณิชย์ในวันพฤหัสบดีไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องมากนัก การลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงใกล้สิ้นปักษ์ที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งดำรงเงินสดสำรองไว้สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงนำสภาพคล่องส่วนเกินเข้ามาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับตัวลดลงจากร้อยละ 1.46875 ต่อปีในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 1.4375 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากนั้นมีการเคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ แต่ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วันปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.46875 และ 1.5 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงจากร้อยละ 1.37 - 1.55 มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 - 1.51 โดยอัตรากลาง (Mode) เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 1.47 - 1.5 ต่อปี ใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อน
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 15,900 ล้านบาท โดยเป็น พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 3,000 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และมีการประมูลตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน เพียง 4,000 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 10,000 ล้านบาท จึงทำให้สัดส่วนเสนอประมูลตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้น และอัตราผลตอบแทน (yield) ลดลง นอกจากนี้ มีการประมูลพันธบัตรรัฐวิสาหกิจอีก 4,900 ล้านบาท เป็นพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 2 รุ่น อายุ 6 และ 7 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท และพันธบัตรการไฟฟ้านครหลวงที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน 3 รุ่น อายุ 3 4 และ 5 ปี วงเงินรวม 2,900 ล้านบาท การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.4 มีมูลค่ารวม 63,269 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,654 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 38,592 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61 ตั๋วเงินคลังมีปริมาณการซื้อขายสูงสุด รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยพันธบัตรฯ อายุ 5-12 ปี อัตราผลตอบแทนสูงขึ้น 11-20 basis point หลังจาก ธปท. ส่งสัญญาณว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งต่อไป และอีกส่วนหนึ่งเป็นการปรับขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐ ที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นสัปดาห์ ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้เอกชนลดลง 71 และ 26 basis point ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางของค่าเงินเยน ประกอบกับมีปัจจัยกดดันจากการกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อไข้หวัดนก และความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากภาคธุรกิจ ในขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี และความเห็นในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากเจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงของสหรัฐฯ อย่างก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการปรับตัวสูงขึ้นของตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งนักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันอังคาร และในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ขายเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมาก ประกอบกับเงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลง หลังจากคำกล่าวของผู้ว่าการธนาคารสหรัฐฯ ที่ระบุว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจชะลอการปรับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัว ตลอดจนความกังวลต่อการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนของจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในระยะต่อไป ทั้งนี้ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.31 - 41.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-