- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง จากระดับร้อยละ 1.50 ต่อปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.75 ต่อปี เนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อในระยะต่อไปมีมากขึ้นกว่าที่ประมาณไว้ก่อนหน้า
- ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้รองรับการเบิกถอนเงินสดในช่วงวันหยุดยาวและการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์มาลงทุน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวลดลง
- เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินเยน และปัจจัยบางส่วนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากความไม่แน่นอนก่อนช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกประเภท ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.46875 และ 1.5 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันเคลื่อนไหวระหว่างวันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ปิดตลาดในอัตราเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนในวันอังคารก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. สถาบันการเงินมีความต้องการทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ความต้องการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5625 ต่อปี หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 20 ตุลาคม ความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดซี้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน โดยมีการเสนอลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.6875 1.71875 และ 1.75 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาวและการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์มาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ แต่ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.35 - 1.51 มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.45 - 1.72 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ หลังจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 20 ตุลาคม มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เนื่องจากความเสี่ยงจากด้านเงินเฟ้อมีมากขึ้นเนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าแม้เศรษฐกิจไทยจะเริ่มชะลอตัวลง แต่มีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราดอกเบี้ยในประเทศจึงควรมีการปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เหมาะสมกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ธนาคารอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยเริ่มชะลอตัวลง
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 24,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ วงเงิน 6,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 3,000 ล้านบาท ตราสารหนี้ส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อายุ 3 และ 5 ปี วงเงิน 3,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.5 มีมูลค่ารวม 55,787 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 11,157 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 23,845 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43 ตั๋วเงินคลังมีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยในต้นสัปดาห์ yield ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก่อนจะปรับตัวลดลงเมื่อ ธปท.ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ในวันพุธ ซึ่งทำให้นักลงทุนเห็นความชัดเจนของทิศทางอัตราดอกเบี้ย จึงมีปริมาณซื้อขายหนาแน่นขึ้นมาก ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้เอกชนในช่วงปลายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าสัปดาห์ก่อน 10 และ 8 basis point ตามลำดับ ในขณะที่ US Treasury Yield ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีความผันผวนเช่นกัน โดยปรับตัวสูงขึ้นในต้นสัปดาห์ จากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาในเกณฑ์ดี ก่อนปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.27 - 41. 41 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยน ประกอบกับการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและปริมาณการซื้อขายในตลาดฯ ที่ค่อนข้างเบาบาง โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบ และความไม่มั่นใจของนักลงทุนในทิศทางของตลาดฯ หลังจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มมีการขายสุทธิในสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่าของเงินเยน และปัจจัยสนับสนุนบางส่วนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ขึ้นอีกร้อยละ 0.25 ในวันพุธ
ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยเงินดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเงินเยนอ่อนค่าที่สุดในรอบเกือบ 4 เดือนในวันพฤหัสบดี และเงินดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเงินยูโรอ่อนค่าที่สุดในรอบ 8 เดือนในช่วงปลายสัปดาห์ ปัจจัยสำคัญที่กดดันค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในระยะนี้ ได้แก่ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด โดยเฉพาะตัวเลขเงินทุนไหลเข้าประเทศเพื่อเข้าลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม ซึ่งชะลอตัวลงจากตัวเลขในเดือนก่อนหน้าเป็นจำนวนมากและต่ำที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี ทั้งนี้ การลดลงของอุปสงค์จากต่างประเทศเพื่อเข้าลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ ดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวม ในสถานการณ์ที่สหรัฐฯ ยังมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงเช่นในปัจจุบัน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้รองรับการเบิกถอนเงินสดในช่วงวันหยุดยาวและการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์มาลงทุน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวลดลง
- เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินเยน และปัจจัยบางส่วนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากความไม่แน่นอนก่อนช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรทุกประเภท ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.46875 และ 1.5 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันเคลื่อนไหวระหว่างวันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ปิดตลาดในอัตราเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนในวันอังคารก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. สถาบันการเงินมีความต้องการทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ความต้องการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือนที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5625 ต่อปี หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 20 ตุลาคม ความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดซี้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน โดยมีการเสนอลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.6875 1.71875 และ 1.75 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงวันหยุดยาวและการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์มาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ แต่ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.35 - 1.51 มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.45 - 1.72 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ หลังจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 20 ตุลาคม มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เนื่องจากความเสี่ยงจากด้านเงินเฟ้อมีมากขึ้นเนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าแม้เศรษฐกิจไทยจะเริ่มชะลอตัวลง แต่มีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราดอกเบี้ยในประเทศจึงควรมีการปรับสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เหมาะสมกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ธนาคารอังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 4.75 ต่อปี เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยเริ่มชะลอตัวลง
ตลาดตราสารหนี้
ในสัปดาห์นี้มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 24,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 28 และ 91 วัน วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ วงเงิน 6,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 6 และ 15 ปี วงเงิน 4,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 3,000 ล้านบาท ตราสารหนี้ส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อายุ 3 และ 5 ปี วงเงิน 3,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.5 มีมูลค่ารวม 55,787 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 11,157 ล้านบาทต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 23,845 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43 ตั๋วเงินคลังมีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ำกว่า 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยในต้นสัปดาห์ yield ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น จากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ก่อนจะปรับตัวลดลงเมื่อ ธปท.ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ในวันพุธ ซึ่งทำให้นักลงทุนเห็นความชัดเจนของทิศทางอัตราดอกเบี้ย จึงมีปริมาณซื้อขายหนาแน่นขึ้นมาก ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้เอกชนในช่วงปลายสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าสัปดาห์ก่อน 10 และ 8 basis point ตามลำดับ ในขณะที่ US Treasury Yield ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีความผันผวนเช่นกัน โดยปรับตัวสูงขึ้นในต้นสัปดาห์ จากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาในเกณฑ์ดี ก่อนปรับลดลงในช่วงปลายสัปดาห์จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 41.27 - 41. 41 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยน ประกอบกับการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและปริมาณการซื้อขายในตลาดฯ ที่ค่อนข้างเบาบาง โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบ และความไม่มั่นใจของนักลงทุนในทิศทางของตลาดฯ หลังจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มมีการขายสุทธิในสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่าของเงินเยน และปัจจัยสนับสนุนบางส่วนจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ขึ้นอีกร้อยละ 0.25 ในวันพุธ
ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยเงินดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเงินเยนอ่อนค่าที่สุดในรอบเกือบ 4 เดือนในวันพฤหัสบดี และเงินดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเงินยูโรอ่อนค่าที่สุดในรอบ 8 เดือนในช่วงปลายสัปดาห์ ปัจจัยสำคัญที่กดดันค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในระยะนี้ ได้แก่ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด โดยเฉพาะตัวเลขเงินทุนไหลเข้าประเทศเพื่อเข้าลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม ซึ่งชะลอตัวลงจากตัวเลขในเดือนก่อนหน้าเป็นจำนวนมากและต่ำที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี ทั้งนี้ การลดลงของอุปสงค์จากต่างประเทศเพื่อเข้าลงทุนในสินทรัพย์สหรัฐฯ ดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวม ในสถานการณ์ที่สหรัฐฯ ยังมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงเช่นในปัจจุบัน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-