แท็ก
เกษตรกร
ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยถึงการจัดทำยุทธศาสตร์ของประเทศไทยว่าจะให้ความสำคัญกับความมั่งคั่ง ความมั่นคง และความยั่งยืน ใช้นโยบายทวิลักษณ์หรือ Dual Track คำนึงถึง 5 ฐานหลักในชุมชน ชูประเด็นดิน และน้ำเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของเกษตรกรซึ่งเป็นคนฐานราก 70 เปอร์เซ็นต์ของโครงสร้างประชากรที่ยากจนและด้อยโอกาส
เลขาธิการฯ กล่าวว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ของประเทศ ในหลักของการวางแผนโดยทั่วไป เรามักกล่าวถึง 3 ปัจจัยหลักคือ ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนในการพัฒนา โดยความเห็นส่วนตัวในขณะนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากพระยาสุริยานุวัตรซึ่งเป็นผู้เขียนเรื่อง National Wealth จึงเกิดความคิดว่าจะต้องดูในเรื่องของความมั่งคั่ง ความมั่นคง และเรื่องความยั่งยืน
สำหรับเรื่องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ในปัจจุบันถ้าดูโครงสร้างทางเศรษฐกิจในมิติของรายได้ จะพบว่า รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศ 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นรายได้ที่เกิดจากการส่งออกของประเทศ ซึ่งคนที่ได้รับประโยชน์จากการส่งออกมีอยู่ไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ของโครงสร้างประชากรทั้งประเทศ โดยพิจารณาเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งแบ่งเป็นข้างบน 30 เปอร์เซ็นต์ จะแชร์รายได้ของประเทศอยู่ 70 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่คน 70 เปอร์เซ็นต์ของประเทศมีรายได้ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่า และเป็นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาภายในประเทศ คนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร คนยากจน ที่มีรายได้ไม่พอเพียง เป็นคนที่ขาดโอกาส
ในหลักคิดของผู้บริหาร สศช. เริ่มพิจารณากันว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาเรื่องการกระจายรายได้ หรือเป็นปัญหาที่เราเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาที่มุ่งไปสู่จุดเดียวหรือไม่ (Stereo type) จึงมีการนำเอานโยบายทวิลักษณ์เข้ามาใช้ โดยเป็นแนวทางที่ยังคงให้เกิดเสถียรภาพ และการขยายตัวของคน 30 เปอร์เซ็นต์ที่มีรายได้ 70 เปอร์เซ็นต์อย่างต่อเนื่อง และคิดว่าจะทำอย่างไรที่ทำให้คน 70 เปอร์เซ็นต์ที่มีรายได้ 30 เปอร์เซ็นต์ สามารถมีรายได้เพิ่มมาเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป นั่นคือทำให้เกิดการขยายตัวข้างบนอย่างมีเสถียรภาพ และขณะเดียวกันข้างล่างก็เติบโต ขยายตัวอย่างเป็นธรรมมากขึ้น สามเหลี่ยมก็จะพองออกเป็นวงกลม นี่คือสิ่งที่ฝ่ายยุทธศาสตร์ของ สศช. คิดว่าจะทำอย่างไร และใช้ปัจจัยอะไรบ้าง จึงจะสำเร็จ
สิ่งที่รัฐบาลเน้นขณะนี้ที่สำคัญคือ ความรู้ ซึ่งชาวบ้านมีภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นพื้นฐานเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอยู่แล้ว แต่ในสภาพแวดล้อมของระบบเศรษฐกิจปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแก้ไขไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องเพิ่มพูนโดยไปกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ให้เขา ซึ่งแต่เดิมเรามักพัฒนาในเชิงเทคโนโลยีด้านเดียว ไม่คำนึงถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่ให้เขากระตุ้นกระบวนการเรียนรู้
การพัฒนาที่มุ่งไปที่จุดเดียวที่เป็น Stereo type เพื่อเน้นการส่งออก เพื่อหารายได้อย่างรวดเร็วในระยะสั้น ทำให้ฐานล่างของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเกิดความไม่มั่นคง เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งการปฏิวัติในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้เกิดหนี้สิน ผลตอบแทนด้านการเกษตรน้อยลง ไม่เพียงพอต่อการที่ชาวชนบทจะยึดอาชีพการเกษตรในการดำรงชีวิตอยู่ได้ในชนบท นั่นคือจุดเริ่มของการคิดจากสามเหลี่ยมเป็นวงกลม
ในชุมชน ถ้าเราพูดถึงชุมชนเข้มแข็ง ในมิติของนักเศรษฐศาสตร์มักจะมองสองส่วนคือรายได้และหนี้สิน แต่ในความเป็นจริง ปราชญ์ชาวบ้านจะมอง 5 ฐานหลักของชุมชน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับความเข้มแข็ง นั่นคือชุมชนมีความมั่นคง ซึ่งสามารถรองรับผลกระทบต่างๆ ได้ ได้แก่ 1) ทรัพย์สิน หนี้สิน ถ้าวันนี้คนยังคิดถึงหนี้สิน ก็ไม่ต้องไปแก้ฐานอื่น ต้องให้เขาพักใจ สร้างโอกาสให้เขา 2) ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นทรัพย์สินสำคัญของชุมชน ถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ก็จะสัมพันธ์แบบผกผันกับหนี้สิน และเศรษฐกิจทันที 3) ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัดจะเป็นสิ่งที่กำกับสังคม จะเป็นศูนย์รวมของคนที่มีความศรัทธา แสดงถึงความเอื้ออาทร การดูแล การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการเปลี่ยนสามเหลี่ยมเป็นวงกลม ตรงนี้มีความสำคัญค่อนข้างสูง 4) ภูมิปัญญาท้องถิ่น เราควรต้องศึกษาภูมิปัญญาเหล่านี้ แล้วต่อยอดกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อทำให้เกิดประสิทธิผล และ 5) สุขภาพ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนาและยอมจ่ายในหลักเศรษฐศาสตร์มากที่สุด
นี่คือฐานหลักของชุมชนเข้มแข็งของการพัฒนาประเทศ ซึ่งวันนี้ยังเป็นสามเหลี่ยม ดังนั้นในการเปลี่ยนสามเหลี่ยมให้เป็นวงกลมต้องไปดูที่ 5 ฐานหลักของสิ่งเหล่านี้
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช. ได้ตั้งคณะทำงานยุทธศาสตร์ (Strategic Group) ขึ้นมา โดยกลุ่มนี้จะมองแบบองค์รวม แล้ววางยุทธศาสตร์จากสามเหลี่ยมเป็นองค์รวม โดยใช้รากฐานจากจุลภาคคือ ชุมชนเป็นฐานตั้ง
“ในแผนโครงสร้างพื้นฐานที่เคยคิดในแนวเส้นตรง การวางวงกลมเราจะใช้เส้นตรงไม่ได้เราต้องใช้ Multi Discipline, Multi Dimension Approach นั่นคือ Fundamental Holistic เราเริ่มมองว่าในระยะ 15 ปีข้างหน้า ต้นทุน(Cost) ของ Future Externality สูงมาก มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมากมาย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะถูกนำมาคิดในเส้นโค้ง จากเมื่อก่อนเรามองโครงสร้างพื้นฐานว่าได้แก่ ถนน น้ำ ไฟฟ้า รถไฟ แต่ในปัจจุบัน ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้อยู่ในสามเหลี่ยมด้านล่าง ดังนั้น ดิน จึงต้องอยู่ในแผนโครงสร้างพื้นฐานของ สศช. ด้วย
ถ้าเราจะมองให้สามเหลี่ยมเป็นวงกลม ถ้าเราต้องการให้เศรษฐกิจรากหญ้าสมดุลกับเศรษฐกิจข้างบน เช่น น้ำ ที่ไปให้กับนิคมต่างๆ ก็ควรให้สมดุลกับที่ให้ข้างล่างซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ทำไมแต่ก่อน เขื่อนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงลงทุนได้มากกว่าเขื่อนของชลประทาน ทำไมไม่สมดุลระหว่างทางด่วน 8 เลน กับทางลูกรังที่เข้าไปในไร่ที่สวยงาม แล้วสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่มากกว่าการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า แล้วส่งออกต่างประเทศ นี่คือการเปลี่ยนแนวความคิด (Paradigm Shift) ของการคิดเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน”
เลขาธิการฯ กล่าวถึงการมาปฏิบัติราชการที่ สศช. ว่า สศช. เป็นคลังสมอง บุคลากรมีความสามารถค่อนข้างสูง แต่บางครั้งความรู้ในเชิงของหนังสือ หรือกระดาษ กับความรู้ที่เกิดขึ้นจากการจับต้องของชีวิตจริงต่างกัน โดยพร้อมที่จะเรียนรู้ในด้านวิชาการ เพื่อมาผนวกกับประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากชาวบ้าน
หลักการบริหารงาน คือการบริหารคนที่ความคิด สศช. ต้องปรับความคิดจากสามเหลี่ยมเป็นวงกลม ซึ่งมีบางส่วนต้องถอย บางส่วนต้องพองออก แล้วประสานกันเป็นวงกลม แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยน และต้องให้ความสำคัญมากที่สุดคือ วิญญาณของคนที่เป็นนักวิชาการที่ สศช. และจะต้องค้นคว้าหาความรู้ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้เหล่านั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจ แต่วิธีคิดและวิธีทำงานต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
ในการพัฒนาด้านต่างๆ นั้น ด้านสังคมก็ต้องเข้าใจมหภาค ด้านโครงสร้างพื้นฐานก็ต้องเข้าใจฐานราก และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันก็ไม่ควรยึดแต่เรื่องของธุรกิจ ต้องลงไปดูข้างล่างด้วย เลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เลขาธิการฯ กล่าวว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ของประเทศ ในหลักของการวางแผนโดยทั่วไป เรามักกล่าวถึง 3 ปัจจัยหลักคือ ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนในการพัฒนา โดยความเห็นส่วนตัวในขณะนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากพระยาสุริยานุวัตรซึ่งเป็นผู้เขียนเรื่อง National Wealth จึงเกิดความคิดว่าจะต้องดูในเรื่องของความมั่งคั่ง ความมั่นคง และเรื่องความยั่งยืน
สำหรับเรื่องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ในปัจจุบันถ้าดูโครงสร้างทางเศรษฐกิจในมิติของรายได้ จะพบว่า รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศ 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นรายได้ที่เกิดจากการส่งออกของประเทศ ซึ่งคนที่ได้รับประโยชน์จากการส่งออกมีอยู่ไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ของโครงสร้างประชากรทั้งประเทศ โดยพิจารณาเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งแบ่งเป็นข้างบน 30 เปอร์เซ็นต์ จะแชร์รายได้ของประเทศอยู่ 70 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่คน 70 เปอร์เซ็นต์ของประเทศมีรายได้ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่า และเป็นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาภายในประเทศ คนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร คนยากจน ที่มีรายได้ไม่พอเพียง เป็นคนที่ขาดโอกาส
ในหลักคิดของผู้บริหาร สศช. เริ่มพิจารณากันว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาเรื่องการกระจายรายได้ หรือเป็นปัญหาที่เราเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาที่มุ่งไปสู่จุดเดียวหรือไม่ (Stereo type) จึงมีการนำเอานโยบายทวิลักษณ์เข้ามาใช้ โดยเป็นแนวทางที่ยังคงให้เกิดเสถียรภาพ และการขยายตัวของคน 30 เปอร์เซ็นต์ที่มีรายได้ 70 เปอร์เซ็นต์อย่างต่อเนื่อง และคิดว่าจะทำอย่างไรที่ทำให้คน 70 เปอร์เซ็นต์ที่มีรายได้ 30 เปอร์เซ็นต์ สามารถมีรายได้เพิ่มมาเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป นั่นคือทำให้เกิดการขยายตัวข้างบนอย่างมีเสถียรภาพ และขณะเดียวกันข้างล่างก็เติบโต ขยายตัวอย่างเป็นธรรมมากขึ้น สามเหลี่ยมก็จะพองออกเป็นวงกลม นี่คือสิ่งที่ฝ่ายยุทธศาสตร์ของ สศช. คิดว่าจะทำอย่างไร และใช้ปัจจัยอะไรบ้าง จึงจะสำเร็จ
สิ่งที่รัฐบาลเน้นขณะนี้ที่สำคัญคือ ความรู้ ซึ่งชาวบ้านมีภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นพื้นฐานเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอยู่แล้ว แต่ในสภาพแวดล้อมของระบบเศรษฐกิจปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแก้ไขไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องเพิ่มพูนโดยไปกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ให้เขา ซึ่งแต่เดิมเรามักพัฒนาในเชิงเทคโนโลยีด้านเดียว ไม่คำนึงถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่ให้เขากระตุ้นกระบวนการเรียนรู้
การพัฒนาที่มุ่งไปที่จุดเดียวที่เป็น Stereo type เพื่อเน้นการส่งออก เพื่อหารายได้อย่างรวดเร็วในระยะสั้น ทำให้ฐานล่างของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเกิดความไม่มั่นคง เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งการปฏิวัติในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้เกิดหนี้สิน ผลตอบแทนด้านการเกษตรน้อยลง ไม่เพียงพอต่อการที่ชาวชนบทจะยึดอาชีพการเกษตรในการดำรงชีวิตอยู่ได้ในชนบท นั่นคือจุดเริ่มของการคิดจากสามเหลี่ยมเป็นวงกลม
ในชุมชน ถ้าเราพูดถึงชุมชนเข้มแข็ง ในมิติของนักเศรษฐศาสตร์มักจะมองสองส่วนคือรายได้และหนี้สิน แต่ในความเป็นจริง ปราชญ์ชาวบ้านจะมอง 5 ฐานหลักของชุมชน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับความเข้มแข็ง นั่นคือชุมชนมีความมั่นคง ซึ่งสามารถรองรับผลกระทบต่างๆ ได้ ได้แก่ 1) ทรัพย์สิน หนี้สิน ถ้าวันนี้คนยังคิดถึงหนี้สิน ก็ไม่ต้องไปแก้ฐานอื่น ต้องให้เขาพักใจ สร้างโอกาสให้เขา 2) ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นทรัพย์สินสำคัญของชุมชน ถ้ามีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ก็จะสัมพันธ์แบบผกผันกับหนี้สิน และเศรษฐกิจทันที 3) ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัดจะเป็นสิ่งที่กำกับสังคม จะเป็นศูนย์รวมของคนที่มีความศรัทธา แสดงถึงความเอื้ออาทร การดูแล การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการเปลี่ยนสามเหลี่ยมเป็นวงกลม ตรงนี้มีความสำคัญค่อนข้างสูง 4) ภูมิปัญญาท้องถิ่น เราควรต้องศึกษาภูมิปัญญาเหล่านี้ แล้วต่อยอดกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อทำให้เกิดประสิทธิผล และ 5) สุขภาพ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนาและยอมจ่ายในหลักเศรษฐศาสตร์มากที่สุด
นี่คือฐานหลักของชุมชนเข้มแข็งของการพัฒนาประเทศ ซึ่งวันนี้ยังเป็นสามเหลี่ยม ดังนั้นในการเปลี่ยนสามเหลี่ยมให้เป็นวงกลมต้องไปดูที่ 5 ฐานหลักของสิ่งเหล่านี้
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สศช. ได้ตั้งคณะทำงานยุทธศาสตร์ (Strategic Group) ขึ้นมา โดยกลุ่มนี้จะมองแบบองค์รวม แล้ววางยุทธศาสตร์จากสามเหลี่ยมเป็นองค์รวม โดยใช้รากฐานจากจุลภาคคือ ชุมชนเป็นฐานตั้ง
“ในแผนโครงสร้างพื้นฐานที่เคยคิดในแนวเส้นตรง การวางวงกลมเราจะใช้เส้นตรงไม่ได้เราต้องใช้ Multi Discipline, Multi Dimension Approach นั่นคือ Fundamental Holistic เราเริ่มมองว่าในระยะ 15 ปีข้างหน้า ต้นทุน(Cost) ของ Future Externality สูงมาก มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมากมาย การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะถูกนำมาคิดในเส้นโค้ง จากเมื่อก่อนเรามองโครงสร้างพื้นฐานว่าได้แก่ ถนน น้ำ ไฟฟ้า รถไฟ แต่ในปัจจุบัน ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้อยู่ในสามเหลี่ยมด้านล่าง ดังนั้น ดิน จึงต้องอยู่ในแผนโครงสร้างพื้นฐานของ สศช. ด้วย
ถ้าเราจะมองให้สามเหลี่ยมเป็นวงกลม ถ้าเราต้องการให้เศรษฐกิจรากหญ้าสมดุลกับเศรษฐกิจข้างบน เช่น น้ำ ที่ไปให้กับนิคมต่างๆ ก็ควรให้สมดุลกับที่ให้ข้างล่างซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ทำไมแต่ก่อน เขื่อนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงลงทุนได้มากกว่าเขื่อนของชลประทาน ทำไมไม่สมดุลระหว่างทางด่วน 8 เลน กับทางลูกรังที่เข้าไปในไร่ที่สวยงาม แล้วสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่มากกว่าการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า แล้วส่งออกต่างประเทศ นี่คือการเปลี่ยนแนวความคิด (Paradigm Shift) ของการคิดเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน”
เลขาธิการฯ กล่าวถึงการมาปฏิบัติราชการที่ สศช. ว่า สศช. เป็นคลังสมอง บุคลากรมีความสามารถค่อนข้างสูง แต่บางครั้งความรู้ในเชิงของหนังสือ หรือกระดาษ กับความรู้ที่เกิดขึ้นจากการจับต้องของชีวิตจริงต่างกัน โดยพร้อมที่จะเรียนรู้ในด้านวิชาการ เพื่อมาผนวกกับประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากชาวบ้าน
หลักการบริหารงาน คือการบริหารคนที่ความคิด สศช. ต้องปรับความคิดจากสามเหลี่ยมเป็นวงกลม ซึ่งมีบางส่วนต้องถอย บางส่วนต้องพองออก แล้วประสานกันเป็นวงกลม แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยน และต้องให้ความสำคัญมากที่สุดคือ วิญญาณของคนที่เป็นนักวิชาการที่ สศช. และจะต้องค้นคว้าหาความรู้ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้เหล่านั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจ แต่วิธีคิดและวิธีทำงานต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
ในการพัฒนาด้านต่างๆ นั้น ด้านสังคมก็ต้องเข้าใจมหภาค ด้านโครงสร้างพื้นฐานก็ต้องเข้าใจฐานราก และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันก็ไม่ควรยึดแต่เรื่องของธุรกิจ ต้องลงไปดูข้างล่างด้วย เลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-