แท็ก
โปรดเกล้า
ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายอำพน กิตติอำพน ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 นั้น เลขาธิการฯ ได้แถลงถึงนโยบายและทิศทางการทำงานของ สศช.แก่สื่อมวลชน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยจะสานต่อการทำงานและเริ่มนโยบายใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเร่งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ดำเนินการ
ดร.อำพน กิตติอำพน เปิดเผยว่า การเข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของ สศช. ในครั้งนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนจากการทำงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานปฏิบัติมาเป็นหน่วยงานวิชาการระดับชาติ โดยในช่วงแรกจะสานต่องานจากเลขาธิการฯ ท่านที่แล้ว เพื่อให้งานมีความต่อเนื่อง ได้แก่ 1) การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะต้องครอบคลุมในเรื่องยุทธศาสตร์ที่มองไกลจาก 5 ปี เป็น 15-20 ปี โดยภารกิจที่มีความสำคัญเร่งด่วนจะบรรจุไว้ในแผน 5 ปีข้างหน้า เป็นการมองเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น และตั้งอยู่บนหลักวิชาการ 2) กำกับยุทธศาสตร์ต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย โดยการแนะนำแนวทางแก่หน่วยงานปฏิบัติ 3) การให้ความเห็น คำแนะนำ และข้อพึงระวังแก่รัฐบาลอย่างชัดเจน เพื่อให้มีการดำเนินการที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด 4) การจัดตั้งศูนย์ความรู้ทางเศรษฐกิจ (Economic Intelligence) สศช. ต้องเริ่มต้นอย่างจริงจังในการสืบค้นข้อมูลเชิงลึกซึ่งจะต้องทำในหลายๆ ด้าน จึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในข้อมูล โดยที่ข้อมูลของ สศช. ประมาณร้อยละ 70 มาจากฐานข้อมูลภายนอกเป็นหลัก และการเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากภายนอก หรือการทำเป็นศูนย์ความรู้ไปยังหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น
เลขาธิการฯ กล่าวว่า งานสำคัญที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2547 มอบหมายให้ สศช. เร่งดำเนินการคือ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาวประมาณ 10-15 ปี ปัจจุบันโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเป็นรูปสามเหลี่ยม ประชากรร้อยละ 20 ของประเทศมีรายได้รวมทั้งหมดร้อยละ 55 ของรายได้ประชาชาติ (6 ล้านล้านบาท) ขณะที่คนอีกร้อยละ 80 เหลือส่วนแบ่งรายได้เพียงร้อยละ 45 หรือประมาณ 2.5 ล้านล้านบาท อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ 20-30 ล้านคน อยู่ในชนบทและมีอาชีพทางการเกษตร ซึ่งมีความเสี่ยงทั้งภัยธรรมชาติและราคาพืชผลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นถึงความแตกต่างกันในโครงสร้างทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ
ดังนั้น สศช. จึงต้องปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายคือการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยให้คนที่อยู่ระดับล่างมีรายได้มากขึ้น หากคิดสัดส่วนประชากรต่อส่วนแบ่งของรายได้ในระดับต่างๆ ก็น่าจะเป็น ระดับบน ร้อยละ 10 : 20 ระดับกลาง ร้อยละ 80 : 70 และระดับล่าง ร้อยละ 10 : 10 ซึ่งมีวิธีการคือ 1) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สูงขึ้น เช่น สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 2) ทุนทางสังคม ปรับวิธีการคิดและวางแผนใหม่ โดยให้ครอบครัวมีความอบอุ่นและมีจิตสำนึกที่ดี 3) มลภาวะที่ถูกสร้างขึ้นจากอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นต้นทุนในอนาคต จะต้องมีการมองในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น อาทิ สินค้าเขียว และสินค้าที่ผลิตโดยใช้แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และ 4) การคิดแบบเส้นโค้ง คือ การคิดที่มองจากหลายสาขาอาชีพและเป็นมิติของนักวิชาการ
ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจอาจจะใช้เวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมุมมองและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงทั้งด้านการเงินการคลัง การศึกษา สังคม โครงสร้างพื้นฐาน และการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก ที่จะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของไทย ซึ่งทุกกระทรวงจะต้องมีกรอบ ทิศทาง และจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยกลไกสำคัญคือ การกระจายอำนาจและการจัดสรรงบประมาณลงไปที่ชุมชน ซึ่ง สศช. ได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาภายใน 2 เดือน และจะเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 6 เดือน
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศคือ การปรับโครงสร้างการบริหารภายใน สศช. โดยใช้กลุ่มงานเป็นหลัก คือ 1) เศรษฐกิจมหภาค 2) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เน้นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในอีก 10 ปีข้างหน้า เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ แฟชั่น อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งต้องต่อยอดทางเทคโนโลยีให้สามารถแข่งขันกันได้ในระบบการแข่งขัน การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และต้องดูถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในอนาคตด้วย อาทิ สินค้าสีเขียว และการใช้แรงงานที่ถูกต้องตามหลักมนุษยธรรม 3) การวางแผนด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีการปรับเปลี่ยนมุมมองเศรษฐกิจแบบใหม่ โดยมองว่าดินเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่ง ซึ่งรวมถึงกรรมสิทธิ์ที่ดิน การกระจายกรรมสิทธิ์ที่ดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สร้างประสิทธิผลการผลิตให้กับเศรษฐกิจรากหญ้า และการเพิ่มความรู้และองค์ความรู้ใหม่ๆ
4) การพัฒนาพื้นที่เฉพาะ จะมองถึงการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจรอบๆ ประเทศที่กำลังขยายตัว โดยการเชื่อมโยงจะมองแบบองค์รวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ยังต้องสร้างสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงที่จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ควรจะให้ความรู้ ความชำนาญ เพื่อสร้างมูลค่าของสินค้าในเศรษฐกิจรากหญ้าให้สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืน 5) การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ในมิติใหม่ จะมองทั้งการเรียนรู้ในระบบโรงเรียนและการศึกษานอกโรงเรียน ตามแผนฯ 8 และ 9 และความอบอุ่นในครอบครัว สิ่งที่การศึกษาควรให้ความสำคัญอย่างมากคือ การศึกษาในเด็กอายุ 1-5 ขวบให้มาจากครอบครัวและชุมชน อันเป็นการกระตุ้นให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันมากขึ้น ประชาชนในชนบทไม่ต้องเคลื่อนย้ายแรงงานมาที่จุดๆ เดียว ซึ่งจะทำให้เป็นครอบครัวที่อบอุ่นและสมบูรณ์ และ 6) การประเมินผล ซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากการวางแผนจะต้องใช้ข้อมูลจากการประเมินผลโครงการ/นโยบาย เพื่อนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนนโยบาย/วิธีการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
ส่วนอีกงานที่มีความสำคัญคือ งานสนับสนุนและพัฒนาองค์กรภายใน สศช. ที่ต้องมีการพัฒนาบุคลากรทางด้านวิชาการและความรู้ที่เป็นข้อมูลจากภายนอก นอกจากนั้น ยังต้องพัฒนาแนวคิดและจิตสำนึกของคนในองค์กร เปลี่ยนมิติของการทำงานใหม่ ซึ่งการพัฒนาองค์กรนั้นต้องเชื่อมโยงกับต่างประเทศและเครือข่ายประชาชนมากขึ้น โดยการสร้างขีดความสามารถในการสืบค้นข้อมูลเชิงลึกในทุกมิติ “สิ่งที่ผมให้ความเคารพมากที่สุดคือ จิตวิญญาณของนักวิชาการ มีความเป็นกลางต่อวิชาชีพ และเป็นผู้ที่ค้นคว้า เรียนรู้ และเสียสละ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานและประโยชน์ให้แก่สังคม” ดร.อำพน กล่าวในตอนท้าย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ดร.อำพน กิตติอำพน เปิดเผยว่า การเข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของ สศช. ในครั้งนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนจากการทำงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานปฏิบัติมาเป็นหน่วยงานวิชาการระดับชาติ โดยในช่วงแรกจะสานต่องานจากเลขาธิการฯ ท่านที่แล้ว เพื่อให้งานมีความต่อเนื่อง ได้แก่ 1) การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะต้องครอบคลุมในเรื่องยุทธศาสตร์ที่มองไกลจาก 5 ปี เป็น 15-20 ปี โดยภารกิจที่มีความสำคัญเร่งด่วนจะบรรจุไว้ในแผน 5 ปีข้างหน้า เป็นการมองเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น และตั้งอยู่บนหลักวิชาการ 2) กำกับยุทธศาสตร์ต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย โดยการแนะนำแนวทางแก่หน่วยงานปฏิบัติ 3) การให้ความเห็น คำแนะนำ และข้อพึงระวังแก่รัฐบาลอย่างชัดเจน เพื่อให้มีการดำเนินการที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด 4) การจัดตั้งศูนย์ความรู้ทางเศรษฐกิจ (Economic Intelligence) สศช. ต้องเริ่มต้นอย่างจริงจังในการสืบค้นข้อมูลเชิงลึกซึ่งจะต้องทำในหลายๆ ด้าน จึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในข้อมูล โดยที่ข้อมูลของ สศช. ประมาณร้อยละ 70 มาจากฐานข้อมูลภายนอกเป็นหลัก และการเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากภายนอก หรือการทำเป็นศูนย์ความรู้ไปยังหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น
เลขาธิการฯ กล่าวว่า งานสำคัญที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2547 มอบหมายให้ สศช. เร่งดำเนินการคือ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาวประมาณ 10-15 ปี ปัจจุบันโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเป็นรูปสามเหลี่ยม ประชากรร้อยละ 20 ของประเทศมีรายได้รวมทั้งหมดร้อยละ 55 ของรายได้ประชาชาติ (6 ล้านล้านบาท) ขณะที่คนอีกร้อยละ 80 เหลือส่วนแบ่งรายได้เพียงร้อยละ 45 หรือประมาณ 2.5 ล้านล้านบาท อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ประมาณ 20-30 ล้านคน อยู่ในชนบทและมีอาชีพทางการเกษตร ซึ่งมีความเสี่ยงทั้งภัยธรรมชาติและราคาพืชผลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นถึงความแตกต่างกันในโครงสร้างทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ
ดังนั้น สศช. จึงต้องปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายคือการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยให้คนที่อยู่ระดับล่างมีรายได้มากขึ้น หากคิดสัดส่วนประชากรต่อส่วนแบ่งของรายได้ในระดับต่างๆ ก็น่าจะเป็น ระดับบน ร้อยละ 10 : 20 ระดับกลาง ร้อยละ 80 : 70 และระดับล่าง ร้อยละ 10 : 10 ซึ่งมีวิธีการคือ 1) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สูงขึ้น เช่น สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 2) ทุนทางสังคม ปรับวิธีการคิดและวางแผนใหม่ โดยให้ครอบครัวมีความอบอุ่นและมีจิตสำนึกที่ดี 3) มลภาวะที่ถูกสร้างขึ้นจากอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นต้นทุนในอนาคต จะต้องมีการมองในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น อาทิ สินค้าเขียว และสินค้าที่ผลิตโดยใช้แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และ 4) การคิดแบบเส้นโค้ง คือ การคิดที่มองจากหลายสาขาอาชีพและเป็นมิติของนักวิชาการ
ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจอาจจะใช้เวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมุมมองและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงทั้งด้านการเงินการคลัง การศึกษา สังคม โครงสร้างพื้นฐาน และการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก ที่จะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของไทย ซึ่งทุกกระทรวงจะต้องมีกรอบ ทิศทาง และจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยกลไกสำคัญคือ การกระจายอำนาจและการจัดสรรงบประมาณลงไปที่ชุมชน ซึ่ง สศช. ได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาภายใน 2 เดือน และจะเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 6 เดือน
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สิ่งแรกที่ต้องทำเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศคือ การปรับโครงสร้างการบริหารภายใน สศช. โดยใช้กลุ่มงานเป็นหลัก คือ 1) เศรษฐกิจมหภาค 2) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เน้นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในอีก 10 ปีข้างหน้า เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ แฟชั่น อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งต้องต่อยอดทางเทคโนโลยีให้สามารถแข่งขันกันได้ในระบบการแข่งขัน การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และต้องดูถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในอนาคตด้วย อาทิ สินค้าสีเขียว และการใช้แรงงานที่ถูกต้องตามหลักมนุษยธรรม 3) การวางแผนด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีการปรับเปลี่ยนมุมมองเศรษฐกิจแบบใหม่ โดยมองว่าดินเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่ง ซึ่งรวมถึงกรรมสิทธิ์ที่ดิน การกระจายกรรมสิทธิ์ที่ดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สร้างประสิทธิผลการผลิตให้กับเศรษฐกิจรากหญ้า และการเพิ่มความรู้และองค์ความรู้ใหม่ๆ
4) การพัฒนาพื้นที่เฉพาะ จะมองถึงการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจรอบๆ ประเทศที่กำลังขยายตัว โดยการเชื่อมโยงจะมองแบบองค์รวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น ยังต้องสร้างสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงที่จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ควรจะให้ความรู้ ความชำนาญ เพื่อสร้างมูลค่าของสินค้าในเศรษฐกิจรากหญ้าให้สามารถขยายตัวได้อย่างยั่งยืน 5) การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ในมิติใหม่ จะมองทั้งการเรียนรู้ในระบบโรงเรียนและการศึกษานอกโรงเรียน ตามแผนฯ 8 และ 9 และความอบอุ่นในครอบครัว สิ่งที่การศึกษาควรให้ความสำคัญอย่างมากคือ การศึกษาในเด็กอายุ 1-5 ขวบให้มาจากครอบครัวและชุมชน อันเป็นการกระตุ้นให้ครอบครัวอยู่ร่วมกันมากขึ้น ประชาชนในชนบทไม่ต้องเคลื่อนย้ายแรงงานมาที่จุดๆ เดียว ซึ่งจะทำให้เป็นครอบครัวที่อบอุ่นและสมบูรณ์ และ 6) การประเมินผล ซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากการวางแผนจะต้องใช้ข้อมูลจากการประเมินผลโครงการ/นโยบาย เพื่อนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนนโยบาย/วิธีการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
ส่วนอีกงานที่มีความสำคัญคือ งานสนับสนุนและพัฒนาองค์กรภายใน สศช. ที่ต้องมีการพัฒนาบุคลากรทางด้านวิชาการและความรู้ที่เป็นข้อมูลจากภายนอก นอกจากนั้น ยังต้องพัฒนาแนวคิดและจิตสำนึกของคนในองค์กร เปลี่ยนมิติของการทำงานใหม่ ซึ่งการพัฒนาองค์กรนั้นต้องเชื่อมโยงกับต่างประเทศและเครือข่ายประชาชนมากขึ้น โดยการสร้างขีดความสามารถในการสืบค้นข้อมูลเชิงลึกในทุกมิติ “สิ่งที่ผมให้ความเคารพมากที่สุดคือ จิตวิญญาณของนักวิชาการ มีความเป็นกลางต่อวิชาชีพ และเป็นผู้ที่ค้นคว้า เรียนรู้ และเสียสละ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานและประโยชน์ให้แก่สังคม” ดร.อำพน กล่าวในตอนท้าย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-