- การปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ปลายสัปดาห์ของธนาคารพาณิชย์ ส่งให้ความต้องการกู้ยืมและอัตราดอกเบี้ย R/P 1วันเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ก่อนปรับลดลงในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เมื่อธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินกลับมาลงทุนในตลาดเงินเป็นจำนวนมาก
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ US Treasury Yield ปรับสูงขึ้นมากหลังจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานที่ดีขึ้นกว่าที่คาด
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. หลังการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 3 เดือนในวันศุกร์ ตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากข่าวการปฏิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนของจีน และปัญหา Twin Deficit
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากการเตรียมสภาพคล่องล่วงหน้าเพื่อปิดสำรองรายปักษ์ปลายสัปดาห์ ประกอบกับสภาพคล่องส่วนหนึ่งของธนาคารพาณิชย์ติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น โดยหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้มาลงทุนในตลาดเงินในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วันปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.65625 - 1.6875 ต่อปี ในขณะที่มีความต้องการกู้ยืมหนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเคลื่อนไหวระหว่างวันสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.71875 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันที่ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปีตลอดสัปดาห์ สำหรับการทำธุรกรรมในตลาด Interbank ค่อนข้างเบาบาง โดยอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงจากร้อยละ 1.65 - 1.75 มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.45 - 1.72 แต่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปีตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 20,000 ล้านบาท โดยทั้งหมดเป็นตราสารระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตราสารทุกรุ่นมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอุปทานของตราสารระยะสั้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ทำให้สัดส่วนเสนอประมูลอยู่ในระดับไม่สูงนัก สำหรับในปี งบประมาณ 2548 รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณแบบสมดุล จึงไม่มีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุล แต่จะมีการออกพันธบัตรเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ FIDF 1 และ FIDF 3 ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในช่วงเดือน พ.ย. 47 - มี.ค. 48 อย่างต่อเนื่องรวม 59,900 ล้านบาท นอกจากนี้ยังจะมีการออกพันธบัตรรัฐวิสาหกิจอีกประมาณ 40,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 71,285 ล้านบาท หรือมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 14,257 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 33,311 ล้านบาท หรือร้อยละ 47 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุ และมีทิศทางปรับขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในตราสารระยะสั้นที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ ก่อนปรับเพิ่มสูงขึ้นมากในวันสุดท้ายของสัปดาห์ เมื่อมีการประกาศตัวเลขการจ้างงานที่ออกมาดีกว่าที่คาด เป็นปัจจัยบวกต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงมีแรงขายพันธบัตรเพื่อตอบรับการคาดการณ์ดังกล่าว ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้เอกชนลดลง 17 และ 12 basis point ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2546 41.48
เฉลี่ยเดือน ต.ค. 47 41.27
เฉลี่ย 26 - 29 ต.ค. 47 41.00
1 พ.ย.47 41.01
2 พ.ย.47 41.01
3 พ.ย.47 41.04
4 พ.ย.47 41.04
5 พ.ย.47 40.87
เฉลี่ย 1 - 5 พ.ย.47 41.00
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 40.87 - 41.04 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.00 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยการทำ ธุรกรรมในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างเบาบางและเงินบาทค่อนข้างทรงตัวในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากตลาดรอฟังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่วนในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยกดดันจากทิศทางการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. จากแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เป็น
จำนวนมากทั้งในตลาดสหรัฐฯ และนอกสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนมีความมั่นใจในทิศทางค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นหลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยกดดันจากข่าวการเตรียมการปฏิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนของจีน ประกอบกับตลาดยังคงมีความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งยังคงขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณในระดับสูง ทำให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 เดือนที่ระดับ 40.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินดอลลาร์สิงคโปร์
สำหรับแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate หลังการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เมื่อปลายสัปดาห์ที่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุม FOMC ในวันที่ 10 พ.ย. นี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ US Treasury Yield ปรับสูงขึ้นมากหลังจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานที่ดีขึ้นกว่าที่คาด
- เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. หลังการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม เงินบาทปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 3 เดือนในวันศุกร์ ตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ถูกกดดันจากข่าวการปฏิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนของจีน และปัญหา Twin Deficit
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากการเตรียมสภาพคล่องล่วงหน้าเพื่อปิดสำรองรายปักษ์ปลายสัปดาห์ ประกอบกับสภาพคล่องส่วนหนึ่งของธนาคารพาณิชย์ติดอยู่ในระบบเคลียริ่ง ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น โดยหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยนำสภาพคล่องส่วนเกินจากที่สำรองไว้มาลงทุนในตลาดเงินในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วันปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.65625 - 1.6875 ต่อปี ในขณะที่มีความต้องการกู้ยืมหนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเคลื่อนไหวระหว่างวันสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.71875 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันที่ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปีตลอดสัปดาห์ สำหรับการทำธุรกรรมในตลาด Interbank ค่อนข้างเบาบาง โดยอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงจากร้อยละ 1.65 - 1.75 มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.45 - 1.72 แต่อัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปีตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 20,000 ล้านบาท โดยทั้งหมดเป็นตราสารระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตราสารทุกรุ่นมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอุปทานของตราสารระยะสั้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ทำให้สัดส่วนเสนอประมูลอยู่ในระดับไม่สูงนัก สำหรับในปี งบประมาณ 2548 รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณแบบสมดุล จึงไม่มีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุล แต่จะมีการออกพันธบัตรเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ FIDF 1 และ FIDF 3 ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในช่วงเดือน พ.ย. 47 - มี.ค. 48 อย่างต่อเนื่องรวม 59,900 ล้านบาท นอกจากนี้ยังจะมีการออกพันธบัตรรัฐวิสาหกิจอีกประมาณ 40,000 ล้านบาท
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 71,285 ล้านบาท หรือมีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 14,257 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 33,311 ล้านบาท หรือร้อยละ 47 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุด ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท. อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุ และมีทิศทางปรับขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในตราสารระยะสั้นที่มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ในขณะที่ US Treasury Yield ปรับตัวลดลงในช่วงต้นและกลางสัปดาห์ ก่อนปรับเพิ่มสูงขึ้นมากในวันสุดท้ายของสัปดาห์ เมื่อมีการประกาศตัวเลขการจ้างงานที่ออกมาดีกว่าที่คาด เป็นปัจจัยบวกต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงมีแรงขายพันธบัตรเพื่อตอบรับการคาดการณ์ดังกล่าว ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้เอกชนลดลง 17 และ 12 basis point ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2546 41.48
เฉลี่ยเดือน ต.ค. 47 41.27
เฉลี่ย 26 - 29 ต.ค. 47 41.00
1 พ.ย.47 41.01
2 พ.ย.47 41.01
3 พ.ย.47 41.04
4 พ.ย.47 41.04
5 พ.ย.47 40.87
เฉลี่ย 1 - 5 พ.ย.47 41.00
เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 40.87 - 41.04 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.00 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยการทำ ธุรกรรมในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างเบาบางและเงินบาทค่อนข้างทรงตัวในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากตลาดรอฟังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่วนในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยกดดันจากทิศทางการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาค และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. จากแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เป็น
จำนวนมากทั้งในตลาดสหรัฐฯ และนอกสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนมีความมั่นใจในทิศทางค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นหลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยมีปัจจัยกดดันจากข่าวการเตรียมการปฏิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนของจีน ประกอบกับตลาดยังคงมีความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งยังคงขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณในระดับสูง ทำให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 เดือนที่ระดับ 40.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินดอลลาร์สิงคโปร์
สำหรับแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate หลังการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เมื่อปลายสัปดาห์ที่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุม FOMC ในวันที่ 10 พ.ย. นี้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-