-ความต้องการกู้ยืมและอัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วันเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ แต่ความต้องการลงทุนที่เพิ่มขึ้นหลังการประกาศผลดุลเคลียริ่ง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปรับลดลงในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยการปรับขึ้น
-อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยของไทยอย่างมีนัยสำคัญ อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ จากการคาดการณ์ของตลาดต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีแรงเทขายจำนวนมาก
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากตลอดสัปดาห์ ตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงถูกกดดันจากปัญหา Twin Deficits ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงเทขายเป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6875 และ 1.75 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นหลังการประกาศผลดุลเคลียริ่ง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.71875 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปีตลอดสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.45 - 1.7 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปีตลอดสัปดาห์
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันพุธที่ 10 พ.ย. มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ขึ้นอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ตั้งแต่เดือน มิ.ย. โดย FOMC มีความเห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีศักยภาพในการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่าความเสี่ยงในแง่ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับเท่ากัน ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินของไทยในระยะนี้ แต่จะเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งต่อการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 15 ธ.ค. และอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินในระยะต่อไป
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 20,000 ล้านบาท โดยทั้งหมดเป็นตราสารระยะสั้นเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตราสารทุกรุ่นยังคงมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และสัดส่วนเสนอประมูลอยู่ในระดับไม่สูงนัก ส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนรอดูการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ในการปรับอัตราดอกเบี้ย และอีกสาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะรอประมูลพันธบัตรรัฐบาลที่มีกำหนดการประมูลในสัปดาห์หน้า
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ยังคงมีปริมาณสูงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยมีมูลค่า 72,148 ล้านบาท หรือคิดเป็น14,430 ล้านบาท ต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 37,108 ล้านบาท หรือร้อยละ 51 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตร ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุ ซึ่ง yield ของพันธบัตรระยะสั้นถึงปานกลางปรับตัวสูงขึ้นกว่าพันธบัตรระยะยาว จึงทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนมีความลาดชันลดลง โดยในวันจันทร์และอังคาร yield ปรับตัวสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานสหรัฐในวันศุกร์ที่ผ่านมาสูงกว่าที่คาดการณ์ ทำให้นักลงทุนมั่นใจว่าสหรัฐฯ จะปรับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในวันพุธ จึงมีแรงขายตราสารหนี้ในปริมาณมาก ส่งผลให้ดัชนีราคาลดลง ซึ่งเมื่อสหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริง จึงไม่มีผลต่อตลาดมากนัก อีกทั้ง yield ยังปรับลดลงอีกเล็กน้อยหลังการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ในรอบสัปดาห์ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้เอกชนลดลง 45 และ 22 basis point ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.65 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าค่อนข้างมากร้อยละ 0.8 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับแข็งค่าขึ้นตามการคาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย และการอ่อนค่าลงอย่างมากของเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากนักลงทุนยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังของสหรัฐฯ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนตุลาคมที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้จึงไม่ได้ทำให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากนัก อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 5 เดือน ที่ระดับ 40.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง จากแรงเทขายเป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศเพื่อเก็งกำไรก่อนการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยของไทยอย่างมีนัยสำคัญ อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ จากการคาดการณ์ของตลาดต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีแรงเทขายจำนวนมาก
-เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากตลอดสัปดาห์ ตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาคที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงถูกกดดันจากปัญหา Twin Deficits ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงเทขายเป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6875 และ 1.75 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ความต้องการลงทุนของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นหลังการประกาศผลดุลเคลียริ่ง หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 วัน ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.71875 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน ยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปีตลอดสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.45 - 1.7 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปีตลอดสัปดาห์
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ในวันพุธที่ 10 พ.ย. มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ขึ้นอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ตั้งแต่เดือน มิ.ย. โดย FOMC มีความเห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีศักยภาพในการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเห็นว่าความเสี่ยงในแง่ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับเท่ากัน ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินของไทยในระยะนี้ แต่จะเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งต่อการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 15 ธ.ค. และอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินในระยะต่อไป
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 20,000 ล้านบาท โดยทั้งหมดเป็นตราสารระยะสั้นเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตราสารทุกรุ่นยังคงมีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และสัดส่วนเสนอประมูลอยู่ในระดับไม่สูงนัก ส่วนหนึ่งเนื่องจากนักลงทุนรอดูการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ในการปรับอัตราดอกเบี้ย และอีกสาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะรอประมูลพันธบัตรรัฐบาลที่มีกำหนดการประมูลในสัปดาห์หน้า
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ยังคงมีปริมาณสูงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยมีมูลค่า 72,148 ล้านบาท หรือคิดเป็น14,430 ล้านบาท ต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่า 37,108 ล้านบาท หรือร้อยละ 51 อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตร ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุ ซึ่ง yield ของพันธบัตรระยะสั้นถึงปานกลางปรับตัวสูงขึ้นกว่าพันธบัตรระยะยาว จึงทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนมีความลาดชันลดลง โดยในวันจันทร์และอังคาร yield ปรับตัวสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานสหรัฐในวันศุกร์ที่ผ่านมาสูงกว่าที่คาดการณ์ ทำให้นักลงทุนมั่นใจว่าสหรัฐฯ จะปรับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในวันพุธ จึงมีแรงขายตราสารหนี้ในปริมาณมาก ส่งผลให้ดัชนีราคาลดลง ซึ่งเมื่อสหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริง จึงไม่มีผลต่อตลาดมากนัก อีกทั้ง yield ยังปรับลดลงอีกเล็กน้อยหลังการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ในรอบสัปดาห์ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้เอกชนลดลง 45 และ 22 basis point ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.65 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าค่อนข้างมากร้อยละ 0.8 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับแข็งค่าขึ้นตามการคาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย และการอ่อนค่าลงอย่างมากของเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากนักลงทุนยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังของสหรัฐฯ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนตุลาคมที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้จึงไม่ได้ทำให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากนัก อย่างไรก็ตาม เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงกลางสัปดาห์ ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 5 เดือน ที่ระดับ 40.48 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันศุกร์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง จากแรงเทขายเป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศเพื่อเก็งกำไรก่อนการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-