ประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 (% YOY) 2554 2555 2556 ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี ประมาณการ GDP (ณ ราคาคงที่) 0.1 2.2 10.7 6.4 4.5 - 5.5 การลงทุนรวม(ณ ราคาคงที่) 3.3 7.7 19.2 13.3 8.9 ภาคเอกชน 7.2 10.5 18.9 14.6 8.0 ภาครัฐ -8.7 -2.7 20.4 8.9 12.0 การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่) 1.3 3.9 9.4 6.7 3.5 ภาคเอกชน 1.3 4.1 9.1 6.6 3.5 ภาครัฐบาล 1.1 2.7 10.8 7.4 3.5 มูลค่าการส่งออกสินค้า (US$) 16.4 -0.2 6.3 3.2 11.0 ปริมาณ 10.2 -3.3 5.9 2.6 7.0 มูลค่าการนำเข้าสินค้า (US$) 24.7 13.4 5.6 7.8 11.3 ปริมาณ 13.3 6.6 6.1 6.1 7.8 ดุลบัญชีเดินสะพัด ต่อ GDP (%) 3.4 -0.5 2.0 0.7 0.9 เงินเฟ้อ 3.8 3.0 3.1 3.0 2.5-3.5 -เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ ของปี 2555 ฟื้นตัวจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจนสะท้อนจากการขยายตัวของ GDP หลังปรับปัจจัยฤดูกาลที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% QoQ SA) -เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 18.9 เร่งขึ้น จากร้อยละ 0.4 4.4 และ 3.1 ในสามไตรมาสแรก ตามลำดับ การขยายตัวในด้านการผลิต มีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โรงแรมและภัตตาคาร และการก่อสร้าง ในขณะที่ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งรายจ่ายภาครัฐ -ทั้งปี 2555 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 6.4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.0 และ บัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.7 ของ GDP -เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 - 5.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 11.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.5 และ 8.9 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.9 ของ GDP -ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2556 ประกอบด้วย 1) การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีการเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สกุลเงินในภูมิภาคและประเทศที่เป็นคู่แข่งขันด้านการส่งออก ที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งแรงกดดันจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 2) การดูแลรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการดูแลให้ราคาสินค้าหลัก เช่น เชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง และวัตถุดิบทางการเกษตร มีการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดแรงกดดันด้านต้นทุนและราคาสินค้า รวมทั้งป้องกันความผันผวนในตลาดสำคัญๆ ที่มีความอ่อนไหวต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดอสังหาริมทรัพย์ 3) การบริหารจัดการให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบจากการลดลงของแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก โดยเฉพาะการเร่งรัดผลักดันการส่งออกในตลาดสำคัญ การเร่งรัดให้เม็ดเงินที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในปีที่ผ่านมาสามารถดำเนินโครงการลงทุนได้โดยเร็ว ตลอดจนการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ 4) การเร่งรัดมาตรการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบให้กับ SMEs โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากการแข็งค่าของเงินบาท การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าแรง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการแก้ไขปัญหา SMEs และ 5) การเร่งรัดโครงการลงทุนภายใต้แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการเร่งรัดแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2555 และแนวโน้มปี 2556 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 ฟื้นตัวจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจนสะท้อนจากGDP หลังปรับฤดูกาลเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ขยายตัวขึ้นร้อยละ 3.6 (% QoQ SA) และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 18.9 (% YoY) เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.4 4.4 และร้อยละ 3.1 ในสามไตรมาสแรก ตามลำดับ การขยายตัวในด้านการผลิต มีปัจจัยสนับสนุนจาก การปรับตัวดีขึ้นของภาคอุตสาหกรรม โรงแรมและภัตตาคาร และการก่อสร้าง ในขณะที่การขยายตัวด้าน การใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน และการลงทุนของภาคเอกชน รวมทั้งรายจ่ายภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้น ทั้งปี 2555 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 6.4 เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2555 (1) การใช้จ่ายภาคครัวเรือน หลังปรับปัจจัยฤดูกาลแล้ว ขยายตัวจากไตรมาสที่สามร้อยละ 2.6 และเมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน การใช้จ่ายภาคครัวเรือนในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 12.2 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก การปรับตัวดีขึ้นของรายได้ภาคครัวเรือน และเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำเป็นสำคัญ โดย ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสนี้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 312.9 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 79.0 ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 77.7 ในไตรมาสก่อน ทั้งปี 2555 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 6.6 (2) การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 23.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 15.5 ในไตรมาสก่อน จากการขยายตัว อย่างต่อเนื่องของการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 21.7 ตาม การขยายตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 31.1 เป็นการขยายตัวทั้งการก่อสร้างและเครื่องจักรและอุปกรณ์ เนื่องจากรัฐบาลได้เร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุน ประกอบกับมีการนำเข้าเครื่องบินของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 4 ลำ มูลค่า 23,808 ล้านบาท ทั้งปี 2555 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 13.3 (3) การส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 56,415 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,730,823 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 18.2 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกหลังปรับปัจจัยฤดูกาลแล้วขยายตัวจากไตรมาสที่สามร้อยละ 3.3 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวจากภาวะความซบเซา ของเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 25.4 โดยเฉพาะยานยนต์ (ร้อยละ 77.0) เครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 35.2) และอิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 34.4) ตลาดส่งออกขยายตัว ในทุกตลาด เช่น สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 14.3) สหภาพยุโรป (ร้อยละ 13.4) อาเซียน (ร้อยละ 15.2) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 9.0) ออสเตรเลีย (ร้อยละ 64.9) และจีน (ร้อยละ 9.9) ทั้งปี 2555 การส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 3.2 (4) ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 37.4 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 44.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และการผลิตรถยนต์ที่สูงเกินคาดการณ์ รวมทั้งการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และแผงวงจรไฟฟ้า สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทั้งปี 2555 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.0 (5) ภาคเกษตรกรรม ขยายตัวร้อยละ 0.8 ชะลอตัวจากร้อยละ 8.3 ในไตรมาสก่อน ตามการชะลอตัวของผลผลิตข้าวเปลือกนาปี ในขณะที่ผลผลิตยางพารา อ้อย และปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรสำคัญลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาปาล์มน้ำมัน และยางพารา เนื่องจากปริมาณสินค้าคงคลังสูง และตลาดโลกยังอยู่ในภาวะซบเซา ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 3.0 ทั้งปี 2555 ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.1 (6) สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 25.4 เร่งขึ้นจากร้อยละ 7.0 ในไตรมาสก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 6.3 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 ทั้งปี 2555 สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 11.5 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 22.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 (7) ภาคการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 14.1 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 9.8 ในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากการขยายตัวของการก่อสร้างภาครัฐและการก่อสร้างภาคเอกชน ที่ขยายตัวสูงร้อยละ 27.1 และ 10.6 ตามลำดับ สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์เหล็กที่เพิ่มขึ้น ทั้งปี 2555 ภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 7.8 (8) ภาคการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 7.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในช่วงอุทกภัยปี 2554 และการขยายตัวสูงของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะยานยนต์ การก่อสร้าง อาหาร และเชื้อเพลิง ที่มีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ตลาดแรงงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมทั้งดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทั้งปี 2555 ภาคการค้าส่งค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 5.2 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2556 เศรษฐกิจไทยในปี 2556 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ดี อุปสงค์ภาคต่างประเทศมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการลดลงของแรงส่งจากมาตรการของภาครัฐและแรงส่งจากรายจ่ายเพื่อการฟื้นฟูและบูรณะประเทศ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม เงินบาทยังอยู่ภายใต้แรงกดดันของการแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ประมาณการเศรษฐกิจไทย ปี 2556 เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 - 5.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 11.0 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.5 และ 8.9 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.9 ของ GDP 1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2555 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้ - ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายภาคครัวเรือน: ในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 12.2 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัว ร้อยละ 6.0 ในไตรมาสก่อน โดยค่าใช้จ่ายสินค้าคงทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.1 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของ การจำหน่ายรถยนต์นั่งและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 312.9 และร้อยละ 99.1 ตามลำดับ การขยายตัวสูงของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในไตรมาสนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การเร่งตัวขึ้นของจำนวนผู้ใช้สิทธิจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรก (2) การเพิ่มขึ้นของรายได้ครัวเรือนตามค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตลอดจนการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (3) อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำและเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของการบริโภคสินค้าคงทน (4) ฐานที่ต่ำใน ไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 และ (5) การปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดยในไตรมาสนี้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 69.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 65.3 66.7 และ 68.0 ในช่วงสามไตรมาสแรกตามลำดับ หากปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้วการใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.6 จากไตรมาสที่สาม (%QoQ,sa) ทั้งปี 2555 การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 6.6 เร่งตัวจากปีก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 โดยเป็น การขยายตัวของการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทนร้อยละ 31.3 สินค้ากึ่งคงทนร้อยละ 4.2 สินค้าไม่คงทนร้อยละ 4.5 ขณะที่การใช้จ่ายในภาคบริการหดตัวลงร้อยละ 0.9 การใช้จ่ายภาคครัวเรือน %YoY ทั้งปี 2554 2555 Q1 Q2 Q3 Q4 ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 การใช้จ่ายภาคเอกชน 1.3 3.3 2.7 2.4 -2.8 6.6 2.9 5.3 6.0 12.2 สินค้าคงทน 3.3 23.6 3.6 10.2 -21.7 31.3 -3.1 20.9 29.1 95.1 สินค้ากึ่งคงทน 3.4 4.5 5.7 4.8 -1.0 4.2 3.8 3.7 2.5 6.5 สินค้าไม่คงทน 1.6 2.0 3.4 1.8 -0.9 4.5 5.0 3.0 3.6 6.5 - อาหาร 2.0 2.0 4.4 1.8 -0.3 1.4 1.7 0.7 1.0 2.2 - มิใช่อาหาร 1.3 2.1 2.7 1.7 -1.2 6.7 7.4 4.6 5.5 9.2 บริการ -1.1 -5.5 0.0 -1.7 2.0 -0.9 1.5 2.7 -0.7 -6.5 ที่มา: สศช. การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 21.7 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 16.2 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการขยายตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร และการก่อสร้าง โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 25.0 เร่งตัวขึ้นร้อยละ 18.2 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ร้อยละ 32.6 เทียบกับร้อยละ 19.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของ การลงทุนใหม่ ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศขยายตัวร้อยละ 285.5 เร่งตัวขึ้นจาก ร้อยละ 54.0 ในไตรมาสที่สาม การลงทุนด้านการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 10.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 9.9 ใน ไตรมาสก่อน ตามการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เป็นหลัก สอดคล้องกับการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายเหล็กและปูนซีเมนต์ร้อยละ 49.5 และ 20.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ การลงทุนใหม่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งเห็นได้จากการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI ในปี 2555 มีมูลค่าทั้งสิ้น 1.48 ล้านล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 8 แสนล้านบาท ทั้งปี 2555 การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 14.6 เร่งตัวขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.2 โดย การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการลงทุนก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 16.4 และ 8.3 ตามลำดับ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 51.6 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.6 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 55.1 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 55.5 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น การส่งออก: การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 มีมูลค่า 56,415 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,730,823 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 18.2 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกหลังปรับปัจจัยฤดูกาลแล้วขยายตัวจากไตรมาสที่สามร้อยละ 3.3 แสดงให้เห็นถึง การฟื้นตัวจากภาวะความซบเซาของเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สามอย่างชัดเจน และเมื่อรวมกับฐาน การส่งออกที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทำให้ปริมาณการส่งออกในไตรมาสที่สี่ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.0 และราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว จะทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 13.6 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 9.5 จากการลดลงของปริมาณการส่งออกยางพารา และน้ำตาล เช่นเดียวกับการปรับตัวลดลงของราคาส่งออกสินค้าสำคัญ ๆ เช่น ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ซึ่งส่งผลให้ราคาส่งออกสินค้าเกษตรโดยภาพรวมลดลงร้อยละ 4.5 โดยการส่งออกข้าวได้รับผลกระทบจากราคาส่งออกข้าวของประเทศเวียดนามและอินเดียซึ่งต่ำกว่าราคาข้าวของไทย ขณะที่ราคายาง ในตลาดโลกยังคงปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ยังเป็นไปอย่างช้าๆ สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวทั้งปริมาณและมูลค่า ร้อยละ 23.6 และ 25.4 ตามลำดับ โดยการส่งออกยานยนต์และผลิตภัณฑ์โลหะขยายตัวสูงถึงร้อยละ 77.0 และ 72.3 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 35.2 และ 34.4 ตามลำดับ ทั้งปี 2555 การส่งออกมีมูลค่า 226,156 ล้านดอลลาร์ สรอ. (7,029,412 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 โดยปริมาณและราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 และ 0.6 ตามลำดับ ตลาดส่งออก: ขยายตัวในทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน (9) ที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 13.4 และ 15.2 ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 9.0 เช่นเดียวกับ การส่งออกไปยังตลาดศักยภาพสูงซึ่งขยายตัวได้ดีในทุกตลาด โดยเฉพาะ การส่งออกไปยังตลาดฮ่องกงเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.2 ตามการขยายตัวของ การส่งออกเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ส่วนการส่งออกไปยังตลาดออสเตรเลียเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.9 ตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขณะที่ การส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 9.9 จากการเพิ่มขึ้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้า การส่งออกส่งสัญญาณของการฟื้นตัวจากภาวะความซบเซาของเศรษฐกิจโลก การฟื้นตัวของการส่งออกจากภาวะความซบเซาของเศรษฐกิจโลกและฐานที่ต่ำในไตรมาสสุดท้ายของปี 2554 ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ ในไตรมาสสุดท้ายของปีขยายตัวเป็นบวกในเกือบทุกรายการ (ยกเว้นอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งมีปัจจัยสำคัญมาจากการลดลงของราคาทองคำ) อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญๆ โดยเฉพาะข้าว ยางพารา กุ้ง ยังคงหดตัว นอกจากนั้นมูลค่าการส่งอกสินค้ากลุ่มที่ใช้แรงงานสูงยังไม่ฟื้นตัว แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปี 2554 ก็ตาม โดยการหดตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและกลุ่มสินค้าที่ใช้แรงงานสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่สี่ขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์ การนำเข้า: มูลค่าและปริมาณขยายตัว ในขณะที่ราคานำเข้าลดลง การนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสี่ของปี 2555 คิดเป็นมูลค่า 55,650 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 14.9 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าขยายตัวในทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าทุนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 42.3 ในขณะที่ราคานำเข้าลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทองคำ และอัญมณี เมื่อปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว และพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า มูลค่าสินค้านำเข้าทุกหมวดขยายตัว เร่งขึ้น โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ ขยายตัวร้อยละ 13.5 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจโลกในไตรมาส ที่สามและการฟื้นตัวของการใช้กำลังการผลิตจากภาวะน้ำท่วม สินค้าทุน มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 44.7 เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 19.3 ในไตรมาสก่อน สินค้าทุนที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ อากาศยาน รถไฟ เครื่องจักรอุปกรณ์และเครื่องใช้ประกอบ สินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 14.1 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 11.1 สอดคล้องกับการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ที่ขยายตัวในเกณฑ์ดี รายการสินค้านำเข้าที่ขยายตัวสูง ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และนาฬิกา ทั้งปี 2555 มูลค่า ปริมาณ และราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 6.1 และ 1.6 ตามลำดับ ชะลอลงจากปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.8 13.4 และ 10.1 ตามลำดับ อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ขณะที่ราคานำเข้าหดตัวร้อยละ 0.4 ทำให้อัตราการค้าในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 อยู่ที่ 97.6 เทียบกับ 97.2 ในไตรมาสก่อน ทั้งปี 2555 อัตราการค้าอยู่ที่ 96.9 ลดลงจากปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 97.8 โดยราคาส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.6 ราคานำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.6 ดุลการค้า: เกินดุลลดลง โดยเกินดุล 765 ล้านดอลลาร์ สรอ. (23,464 ล้านบาท) ต่ำกว่าการเกินดุล 5,006 ล้านดอลลาร์ สรอ. (156,159 ล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งปี 2555 ดุลการค้าเกินดุล 8,337 ล้านดอลลาร์ สรอ. (260,714 ล้านบาท) ต่ำกว่าปี 2554 ที่เกินดุล 16,989 ล้านดอลลาร์ สรอ. (514,848 ล้านบาท) -ด้านการผลิต: สาขาเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 0.8 ชะลอตัวจากร้อยละ 8.3 ในไตรมาสก่อน ตามการชะลอตัวของผลผลิตข้าวเปลือกนาปี ในขณะที่ผลผลิตยางพารา อ้อย และปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ดี เนื่องจาก (1) เนื้อที่กรีดยางพาราทางภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้น (2) การขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อยจากแรงจูงใจด้านราคา (3) การขยายการเลี้ยงสุกรของผู้ผลิตรายใหญ่ตามการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และ (4) การเพิ่มปริมาณการส่งออกไก่เนื้อหลังจากสหภาพยุโรปยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรสำคัญลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาปาล์มน้ำมัน และยางพารา ที่ลดลง ร้อยละ 23.7 และ 15.5 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณสินค้าคงคลังสูง และตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในภาวะซบเซา การชะลอตัวของการผลิตและการลดลงของราคาส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 3.0 ทั้งปี 2555 ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 3.1 สาขาอุตสาหกรรมหลังปรับปัจจัยฤดูกาลแล้วขยายตัวจาก ไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 6.9 แสดงถึงการฟื้นตัวจากภาวะ ความซบเซาของเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน และเมื่อรวมกับฐานที่ต่ำ การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.4 สอดคล้องกับการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 44.0 ส่วนหนึ่งเป็นผล มาจากการเร่งตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ตามการเร่งตัวของผู้ใช้สิทธิ์จากมาตรการภาษีรถยนต์คันแรกในช่วงสุดท้ายของมาตรการ ซึ่งทำให้ดัชนีผลผลิตยานยนต์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 312.2 รวมทั้งการฟื้นตัวเข้าสู่ภาวะปกติของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อิเล็กทรอนิกส์ และแผงวงจรไฟฟ้า โดยมีจำนวนโรงงานที่ได้รับการฟื้นฟูและกลับมาทำการผลิตได้แล้วถึงร้อยละ 83.3 สอดคล้องกับการใช้กำลังการผลิตรวมที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 66.1 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ ร้อยละ 67.0 นอกจากนั้น ดัชนีผลผลิตสินค้าในกลุ่ม ผลของมาตรการภาษีรถยนต์คันแรก "...มาตรการภาษีรถยนต์คันแรกเริ่มมีผลในทางปฏิบัติเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 โดยกำหนดเป้าหมายผู้ใช้สิทธิ์ไว้ที่ 5 แสนราย ซึ่งในช่วง 12 เดือนแรกของการดำเนินมาตรการยังมีจำนวนผู้ใช้สิทธิ์ไม่มากนัก โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2555 มีผู้มายื่นใช้สิทธิ์จำนวนทั้งสิ้น 250,744 ราย อย่างไรก็ตามในไตรมาสสุดท้ายของปีมีจำนวน ผู้มายื่นใช้สิทธิ์เพิ่มสูงขึ้นอีก 1,006,272 ราย รวมผู้มายื่นใช้สิทธิ์ตามมาตรการดังกล่าวทั้งสิ้นจำนวน 1,257,016 ราย ซึ่งการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ใช้สิทธิ์ตามมาตรการดังกล่าว ในไตรมาสสุดท้ายส่งผลให้การผลิตรถยนต์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีส่วนสำคัญใน การผลักดันให้ GDP ภาคอุตสาหกรรม และ GDP รวมในไตรมาสสุดท้ายขยายตัวสูงกว่า การคาดการณ์ของตลาด..." เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ยังแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวจากภาวะความซบเซาของเศรษฐกิจโลก ในไตรมาสที่สาม และการฟื้นตัวจากภาวะน้ำท่วมอย่างชัดเจน สังเกตจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตหลังปรับปัจจัยฤดูกาลในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อิเล็กทรอนิกส์ และแผงวงจรไฟฟ้า ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 16.7 6.3 10.5 และ 16.6 เทียบกับที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.0 และหดตัวเฉลี่ยร้อยละ 8.5 5.3 และ 13.9 ในช่วงสองไตรมาสที่ผ่านมา ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การผลิตในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม และเฟอร์นิเจอร์ ยังคงหดตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.2 และ 6.5 ตามลำดับ แม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนก็ตาม สะท้อนให้เห็นถึงการสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าจ้างแรงงาน และการแข็งค่าของเงินบาท ทั้งปี 2555 สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.0 สาขาก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 14.1 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 9.8 ในไตรมาสก่อน โดยการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 10.6 เป็นผลจากการขยายตัวของการก่อสร้างอาคารพาณิชย์และที่อยู่อาศัย ในขณะที่ การก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 27.1 ตามงบลงทุนของภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่การเบิกจ่ายล่าช้าเนื่องจากปัญหาจากอุทกภัย สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก และพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างที่ขยายตัวร้อยละ 20.6 49.5 และ 16.4 ตามลำดับ โดยเฉพาะปริมาณการจำหน่ายเหล็กที่ขยายตัวครั้งแรกนับจากไตรมาสที่หนึ่งของปี 2555 ในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 1.4 ตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งปี 2555 สาขาก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 7.8 ทั้งปี สาขาอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 8.0 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อน โดยความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัว สะท้อนจากยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 9.8 ในไตรมาสที่สาม และการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ขยายตัวร้อยละ 58.2 ในด้านอุปทาน ที่อยู่อาศัย สร้างเสร็จจดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลขยายตัวร้อยละ 138.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยอดคงค้างสินเชื่อผู้ประกอบการของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 เป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ในขณะที่ระดับราคายังคงเพิ่มขึ้น เช่น ราคาที่ดินและทาวน์เฮ้าส์พร้อมที่ดินที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.2 และ 2.7 ตามลำดับ ทั้งปี 2555 สาขาอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 3.9 สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 25.4 ต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 ในไตรมาสก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่สูงมากเป็นประวัติการณ์ถึง 6.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39.3 ส่งผลให้มีรายรับจากการท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้น 304,505 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.0 ในขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 64.9 เทียบกับร้อยละ 56.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสนี้ มาจาก (1) การท่องเที่ยวระหว่างจีนและญี่ปุ่นที่มีทิศทางหันเหมาสู่ประเทศไทยเพิ่มขึ้น (2) อิทธิพลของภาพยนตร์จีนเรื่อง"Lost in Thailand" ที่มีการถ่ายทำในประเทศไทย และ (3) ปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากจีน เพิ่มขึ้น 525,460 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 162.9 รองลงมา คือ มาเลเซีย และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 171,135 และ 154,424 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 และ 70.6 ตามลำดับ สอดคล้องกับจำนวนเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสารของสายการบินต้นทุนต่ำที่ขยายตัวร้อยละ 11.1 และ 28.7 ตามลำดับ ทั้งปี 2555 สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 11.5 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมทั้งสิ้น 22.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5 อันดับแรก ประกอบด้วย จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น รัสเซีย และเกาหลีใต้ ภาคการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 7.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในช่วงอุทกภัยปี 2554 และการขยายตัวสูงของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนทั้งเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะรถยนต์ ก่อสร้าง อาหาร และเชื้อเพลิง ที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ยในระบบเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับที่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของอุปสงค์ การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ และค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาษีรถยนต์คันแรก ทั้งปี 2555 ภาคการค้าส่งค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 5.2 การจ้างงาน ในไตรมาสที่สี่ มีการจ้างงาน 39.58 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 1.7 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัว ร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการจ้างงานในสาขาเกษตร ก่อสร้าง และอุตสาหกรรม เป็นสำคัญ โดย 1) สาขาเกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 465,093 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เป็นผลมาจากผลผลิตการเกษตรที่ขยายตัวต่อเนื่องตามโครงการยกระดับราคาสินค้าเกษตรและสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย 2) สาขาก่อสร้างมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 272,373 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 สอดคล้องกับ การขยายตัวของภาคการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชน และ 3) สาขาอุตสาหกรรมมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 246,293 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 สอดคล้องกับการขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในสาขาดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาค้าส่งและค้าปลีก ที่มีการจ้างงานลดลงร้อยละ 1.3 และ 1.1 ตามลำดับ สำหรับผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้มีจำนวน 190,233 คน ลดลง 43,377 คน เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงานยังคงอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างต่อเนื่องนับจากไตรมาสแรกของปี 2553 โดยสัดส่วนของตำแหน่งงานว่างทั้งประเทศต่อผู้สมัครงานใหม่อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ที่มีสัดส่วนร้อยละ 1.4 ทั้งปี 2555 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 การจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 -ภาวะการคลัง การจัดเก็บรายได้: ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 (ตุลาคม - ธันวาคม 2555) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 504,582.4 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 66,912.5 ล้านบาท หรือสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 15.3 โดยภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 16,615.6 ล้านบาทและ 10,407.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 53.5 และ 6.2 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของสภาวะเศรษฐกิจ และมาตรการของรัฐบาล เช่น โครงการรถยนต์ใหม่คันแรก เป็นต้น นอกจากนี้ การนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่นๆ สูงกว่าประมาณการร้อยละ 152.5 ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการนำส่งรายได้จาก การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 3 G จำนวน 20,843.0 ล้านบาท ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นสำคัญ สำหรับการจัดเก็บรายได้ที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ 1) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บสูงกว่าประมาณการร้อยละ 10.4 ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนในระบบเศรษฐกิจ 2) ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บสูงกว่าประมาณการร้อยละ 6.1 ตามการฟื้นตัวของรายได้ภาคธุรกิจหลังจากประสบปัญหาอุทกภัย 3) การจัดเก็บอากรขาเข้าสูงกว่าประมาณการร้อยละ 1.9 ทั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าส่วนประกอบรถยนต์ ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการรถยนต์ใหม่คันแรก และ 4) การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 106,192.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการนำส่งรายได้ของส่วนราชการอื่น การจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และภาษีเงินได้นิติบุคคล จำนวน 33,141.8 ล้านบาท 32,183.8 ล้านบาท 30,676.4 ล้านบาทและ 22,123.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 124.7 ร้อยละ 22.1 ร้อยละ 180.3 และร้อยละ 32.2 ตามลำดับ การเบิกจ่ายงบประมาณ ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 มีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 982,403.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 78.1 โดยเป็นการเบิกจ่ายจาก 1)งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2556 จำนวน 699,789.6 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเบิกจ่าย ร้อยละ 29.2 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20.0 เนื่องจากมีการเร่งรัดเบิกจ่ายตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณ รวมถึงฐานการเบิกจ่ายที่ต่ำในปีงบประมาณ 2555 จากผลกระทบของเหตุการณ์อุทกภัยและความล่าช้าของการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2555 โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 641,372.0 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 58,417.6 ล้านบาท (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 14.6 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 10) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วร้อยละ 59.9 และ ร้อยละ 53.2 ตามลำดับ 2)รายจ่ายกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี จำนวน 86,182.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28.8 ของรายจ่ายกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปีทั้งหมด 3)งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 191,157.3 ล้านบาท และ 4) เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: DPL) 3,837.9 ล้านบาท (แบ่งเป็นการเบิกจ่ายโครงการ DPL ภายใต้โครงการ TKK อยู่ที่ 2,490.5 ล้านบาท และเป็น การเบิกจ่ายโครงการ DPL ที่อยู่นอกโครงการ TKK 1,347.4 ล้านบาท) ทั้งนี้ การเบิกจ่ายสะสมของโครงการ DPL ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 อยู่ที่ 11,505.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.6 ของงบประมาณโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี 5) งบลงทุนตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 มีการเบิกจ่ายสะสม จำนวน 4,545.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.1 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจำนวน 22,642.3 ล้านบาท ฐานะการคลัง ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2556 รัฐบาลขาดดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสด จำนวน 404,136.0 ล้านบาท เป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 286,711 ล้านบาท และขาดดุลเงิน นอกงบประมาณ 117,425.0 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้มีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 102,936.0 ล้านบาท ส่งผลให้สถานะเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 มีจำนวน 259,136 ล้านบาท ลดลงจาก สิ้นเดือนธันวาคม 2554 จำนวน 5,541.0 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.1 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2555 มีจำนวน 4,875,532.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.3 ของ GDP (เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 48,206.4 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปีงบประมาณก่อน 61,706.1 ล้านบาท) โดยแบ่งออกเป็น หนี้ของรัฐบาล 3,459,510.8 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 1,043,961.1 ล้านบาท และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 364,796.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 71.0 21.4 และ 7.5 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ -ภาวะการเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลง โดย ณ สิ้นไตรมาสสุดท้ายปี 2555 อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี จากร้อยละ 3.00 ต่อปีในไตรมาสที่สาม เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกยังอ่อนแอและมีความเสี่ยงสูง ในขณะที่ภาวะความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ นโยบายการเงินจึงควรผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อรองรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกและรักษา แรงส่งของอุปสงค์ในประเทศให้มีความต่อเนื่องต่อไป ทั้งปี 2555 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยปรับลดลงสองครั้ง โดยในเดือนมกราคม กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากร้อยละ 3.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 3.00 ต่อปี เนื่องจากการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศจากวิกฤติอุทกภัยล่าช้ากว่า ที่คาด และในเดือนตุลาคม กนง. ได้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี ล่าสุดในเดือนมกราคม2556 กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี โดยประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันยังสามารถสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ภายหลังจากทรงตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่หนึ่งถึงสาม สอดคล้องกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดย ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ย ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.46 ต่อปี และร้อยละ 7.00 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคมเร่งตัวสูงขึ้นส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงปรับตัวลดลงเป็นร้อยละ -1.17 ต่อปี และร้อยละ 3.37 ต่อปี ตามลำดับ ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมกราคม 2556 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ทรงตัวที่ร้อยละ 7.00 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 12 เดือนปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.44 ต่อปี เงินฝากและการลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) ของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 12.7 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 10.7 ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 โดยเงินฝากขยายตัวร้อยละ 28.2 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 29.6 ในไตรมาสก่อน การขยายตัวของเงินฝากเป็นผลมาจากการเร่งระดมเงินทุนของสถาบันการเงินเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อที่ยังคงขยายตัวในระดับสูง และเพื่อเป็นการรักษาฐานเงินฝาก อย่างไรก็ตามการขยายตัวของเงินฝากในไตรมาสสุดท้ายของปีได้รับแรงกดดันจากการโอนย้ายเงินออมของผู้ฝากรายย่อยไปสู่ช่องทางการออมที่ได้รับผลประโยชน์ทางภาษี ในขณะที่ การลงทุนในตั๋ว B/E ขยายตัวร้อยละ 76.9 โดยเป็นการชะลอลงอย่างต่อเนื่อง สินเชื่อภาคเอกชน (ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ) ในไตรมาสที่ 4 ยังคงขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 15.7 จากแรงส่งของสินเชื่อครัวเรือน แม้ว่าสินเชื่อธุรกิจจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากร้อยละ 12.6 ใน ไตรมาสก่อนหน้าเป็นร้อยละ 10.95 ก็ตาม แต่สินเชื่อครัวเรือนยังคงขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 17.3 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นร้อยละ 20.3 ในไตรมาสที่สี่ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายของรัฐเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายรถคันแรกที่ผลักดันให้สินเชื่อการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 33.9 สำหรับจำนวนบัตรเครดิตเร่งตัวสูงขึ้น และยอดสินเชื่อคงค้างขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 14.26 จากร้อยละ 9.56 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของคนไทยที่เร่งตัวขึ้น ตามการปรับตัวดีขึ้นของความเชื่อมั่นของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs 1) ต่อสินเชื่อคงค้างลดลงต่อเนื่องจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นร้อยละ 1.1 สำหรับทั้งปี 2555 สินเชื่อภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 จากการขยายตัวของสินเชื่อตัวกลางทางการเงิน และสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเป็นสำคัญ สอดคล้องกับการเร่งตัวขึ้นของเงินฝากและ B/E ของสถาบันรับฝากเงิน เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ การรักษาฐานเงินฝากและการรักษาความสามารถในการแข่งขัน โดยในปี 2556 คาดว่าการระดมเงินทุนของสถาบันการเงินจะยังคงมีการแข่งขันในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ตามแนวโน้มการลงทุนของภาคเอกชนที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ลดลง โดยสัดส่วนสินเชื่อ (ไม่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อเงินฝากที่รวมตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 97.0 จากร้อยละ 96.2 ในไตรมาสก่อนหน้าเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก รวมตั๋วแลกเงิน (B/E) ในปี 2556 สภาพคล่องมีแนวโน้มที่จะตึงตัวมากขึ้นตามความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้นจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 เท่ากับ 30.68 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 ที่ร้อยละ 3.0 และ 3.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในช่วงต้นไตรมาสและแข็งค่าเร็วขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งมีสาเหตุมาจากมาตรการขยายปริมาณเงินของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้มาตรการ QE 3 ของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน และมาตรการขยายปริมาณเงินเพิ่มเติม (QE4) เพื่อทดแทนมาตรการ Operation Twist ในเดือนธันวาคม รวมทั้งผลจากการปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ของนักลงทุนในด้านความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เร็วกว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากประเทศที่มีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ (Safe Haven) เข้าสู่ตลาดเงินตลาดทุนในภูมิภาค ดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) อยู่ที่ 102.74 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.51 และ 1.53 จากไตรมาสก่อนหน้าและ ช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ สอดคล้องกับดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (Real Effective Exchange Rate: REER) ที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.35 และ 2.23 จากไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ ตลอดปี 2555 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและการปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ของ นักลงทุน โดยแข็งค่าขึ้นในช่วงไตรมาสแรก และอ่อนค่าลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ก่อนจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในครึ่งปีหลัง โดยกรอบการเคลื่อนไหวทั้งปี 2555 อยู่ที่ 30.25 - 31.91 ต่อดอลลาร์ สรอ. และค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 31.08 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงร้อยละ 1.94 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในปี 2554 ส่วนดัชนีค่าเงินบาทลดลงร้อยละ 0.22 และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.19 อัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2556 เท่ากับ 30.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนก่อนหน้าร้อยละ 1.86 และล่าสุดค่าเงินบาทเฉลี่ยตั้งแต่วันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2556 แข็งค่ามาอยู่ที่ 29.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามแนวโน้มการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศมาสู่ภูมิภาค เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าสุทธิ(2) ในไตรมาสที่สี่ มีเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าสุทธิ 4.02 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการไหลเข้าสุทธิต่อเนื่องจาก 4.43 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็น เงินไหลเข้าสุทธิในภาคธนาคารที่ 3.49 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการกู้ยืมต่างประเทศระยะสั้นเพื่อบริหารสภาพคล่องในธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ และการไหลเข้าสุทธิในภาครัฐบาล 1.20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเข้าซื้อพันธบัตรภาครัฐของนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนที่จูงใจ และการเพิ่มขึ้นของปริมาณพันธบัตรรัฐบาลในไตรมาสสุดท้ายของปี สำหรับภาคอื่นๆ มีการไหลเข้าสุทธิอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการลงทุนในตราสารทุนภาคเอกชน ตลอดทั้งปี 2555 มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 11.49 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการไหลออกสุทธิ 5.19 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2554 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการไหลเข้าสุทธิจากการกู้ยืมระยะสั้นจากต่างประเทศของสถาบันการเงินและการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ หมายเหตุ (2) ตัวเลขเงินทุนเคลื่อนย้าย ณ สิ้นไตรมาสที่สี่ ของปี 2555 เป็นตัวเลขประมาณการที่อ้างอิงจากข้อมูลเร็วบางส่วนจากธนาคารแห่งประเทศไทยและจะมีการปรับในเดือนถัดไป ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 923 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 28,306 ล้านบาท) เทียบกับไตรมาสก่อนที่เกินดุล 2,747 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 85,596 ล้านบาท) ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 765 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการเกินดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 159 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งปี 2555 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,728 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 85,532 ล้านบาท) เกินดุลลดลงจากปี 2554 ที่เกินดุล 5,889 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 180,637 ล้านบาท) เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2556 เท่ากับ 181.71 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี net forward position อีก 23.57 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 3.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (ณ สิ้นไตรมาสที่สาม ปี 2555) และเทียบเท่ามูลค่าการนำเข้า 3.3 เดือน (ไตรมาสที่สี่ ปี 2555) อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 เร่งตัวจากร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานเป็นสำคัญโดยดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการยกเว้นการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของภาครัฐในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งทำให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่ำ และ การปรับขึ้นค่า FT รอบที่ 2 อีก 18 สตางค์ต่อหน่วยในเดือนกันยายน - ธันวาคม 2555 รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับสุราและยาสูบในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2555 ในขณะที่ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ชะลอลงจากร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากปริมาณผัก ผลไม้ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม ออกสู่ตลาดมากขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลผลผลิตผักและผลไม้หลายชนิด ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.84 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.82(3) ทั้งปี 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากปีก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เป็นผลมาจาก การลดลงของราคาอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำเป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และมิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะราคาผลผลิตการเกษตร และปลาและ สัตว์น้ำ โดยราคาผลผลิตเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 และ 0.4 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และ 0.1 ตามลำดับ ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์จากเหมืองลดลงร้อยละ 1.0 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า เมื่อพิจารณาดัชนีราคาผู้ผลิตจำแนกตามขั้นตอนการผลิตพบว่า แรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ (4) ทั้งปี 2555 ดัชนีราคาผู้ผลิตเท่ากับร้อยละ 1.0 ชะลอลงจากปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.5 เป็นผลมาจากการลดลงของราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และราคาผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก หมายเหตุ (3) ในเดือนมกราคม 2556 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 3.39 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับร้อยละ 1.59 (4) ในเดือนมกราคม 2556 ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยรายวันปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามตลาดในภูมิภาค ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิด ณ สิ้นไตรมาสที่ 1,391.9 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 35.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 30.2 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า โดย นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 11.4 พันล้านบาท ตลอดปี 2555 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เคลื่อนไหวในทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในเกณฑ์สูง ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่มีความเข้มแข็ง และการแสวงหาผลตอบแทนของนักลงทุนในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ในช่วงต่ำสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจ รวมทั้งค่าเงินในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มแข็งค่ามากขึ้น และเมื่อเทียบกับราคาปิด ณ สิ้นปี 2554 ดัชนีปรับตัวขึ้นร้อยละ 35.8 สูงสุดในภูมิภาคเอเชียสะท้อนให้ เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ไทยยังคงมีความอ่อนไหวต่อการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยรายวันทั้งปี เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 31.1 พันล้านบาท นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 76.4 พันล้านบาท หลังจากที่มียอดขายสุทธิในปี 2554 ที่ 5.1 พันล้านบาท ในเดือนมกราคม 2556 ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาปิดที่ 1,474.2 จุด หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 จาก สิ้นเดือนธันวาคม ตามการคาดการณ์ของนักลงทุนต่อการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 54.5 พันล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 15.0 พันล้านบาท และล่าสุด ตั้งแต่วันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2556 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 1,521.5 จุด ในขณะที่ นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิอยู่ที่ 13.1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการขายทำกำไรจากดัชนีที่ปรับสูงขึ้นถึงร้อยละ 9.3 ตั้งแต่ต้นปี 2556 มูลค่าซื้อขายพันธบัตรและยอดซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติลดลง มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด (Outright Transaction) เฉลี่ยต่อวันในไตรมาสสี่ เท่ากับ 74.3 พันล้านบาทต่อวัน ลดลงจาก 84.5 พันล้านบาทต่อวันในไตรมาสสาม โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิเท่ากับ 140.0 พันล้านบาท ลดลงจาก 239.6 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ระยะสั้นและระยะกลางปรับตัวลดลง ตามการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศและการเข้าซื้อตราสารระยะสั้นของนักลงทุน ในขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวปรับตัวสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนพันธบัตรรัฐบาลที่หมุนเวียนในตลาด และการชะลอการลงทุนของนักลงทุนในช่วงที่มีความวิตกกังวลต่อการแก้ปัญหา Fiscal Cliff ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งปี 2555 มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาดเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น 80.7 พันล้านบาท เทียบกับ 72.1 พันล้านบาท ในปี 2554 โดยนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 890.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 688.8 พันล้านบาทในปีก่อนหน้า คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในระบบการเงินโลกและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศสำคัญๆ อย่างต่อเนื่อง ในเดือนมกราคม 2556 มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาดเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 89.2 พันล้านบาท เทียบกับ 68.0 พันล้านบาทในเดือนธันวาคม 2555 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นปรับลดลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิที่ 107.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 47.6 พันล้านบาทในเดือนธันวาคม 2555 การระดมทุนในตลาดแรกของภาครัฐลดลง ในขณะที่ภาคเอกชนมีการระดมทุนผ่านหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในไตรมาสสี่ ตราสารภาครัฐออกใหม่ไม่รวมพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ที่ 201.5 พันล้านบาท ลดลงจาก 509.5 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นการลดลงของตั๋วเงินคลัง/ตั๋วสัญญาใช้เงินและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ จากความต้องการใช้เงินที่ลดลง ส่วนพันธบัตรออกใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การระดมทุนของภาคเอกชนในไตรมาสนี้ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 508.2 พันล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งหลักทรัพย์และหุ้นกู้ โดยส่วนใหญ่อยู่ในสาขาตัวกลางทางการเงิน สาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน สาขาอสังหาริมทรัพย์ และสาขาการผลิต ตลอดทั้งปี 2555 การระดมทุนในตลาดแรกของภาครัฐมีมูลค่ารวม 9,101.6 พันล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า ส่วนการระดมทุนของภาคเอกชนมีมูลค่ารวม 1,627.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1,289.5 พันล้านบาท ในปี 2554 สะท้อนการคาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ภาคเอกชนมีการระดมทุน ผ่านหุ้นกู้ในระดับสูงตลอดทั้งปี และการระดมทุนผ่านหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นจาก 96.0 พันล้านบาทในปี 2554 เป็น 247.3 พันล้านบาท ตามสภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่เอื้ออำนวยต่อการระดมทุนมากขึ้น 2. ความเคลื่อนไหวราคาน้ำมันในไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2555 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ยปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย 4 ตลาด (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และ WTI) อยู่ที่ 103.19 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 0.9 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 0.4 ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบ WTI เป็นสำคัญ โดยลดลงถึงร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อนหน้า ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบตลาดอื่นๆ อยู่ในภาวะทรงตัว ทั้งนี้ การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบดังกล่าวเป็นผลมาจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกลดลง ประกอบกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและโยกย้ายเงินลงทุนจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เข้าตลาดพันธบัตรในประเทศที่มีความปลอดภัยด้าน การลงทุนสูง (Safe Heaven) ทั้งปี 2555 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และ WTI) อยู่ที่ 105.81 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เทียบกับปี 2554 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 3. เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สี่และทั้งปี 2555 ในไตรมาสที่สี่ เศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัวอย่างช้าๆ หลังจากผ่านพ้นจุดต่ำสุดที่เกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสที่สาม โดยเศรษฐกิจจีนและประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียเริ่มส่งสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างชัดเจน เศรษฐกิจภาคเอกชนในสหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งแม้ว่าปัจจัยชั่วคราวที่เกิดจากการลดลงของรายจ่ายภาครัฐและผลกระทบจากพายุ Sandy จะส่งผลให้เศรษฐกิจอเมริกาหดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนก็ตาม เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นยังคงหดตัวแต่ก็ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่สาม และเริ่มปรับตัวเข้าสู่เสถียรภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันหลายประเทศ ยังคงดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม วิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ในช่วงไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สาม ส่งผลให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2555 ขยายตัวเพียงประมาณร้อยละ 3.2 และร้อยละ 2.8 ชะลอตัวลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.8 และร้อยละ 5.8 ในปี 2554 -เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่สี่ หดตัวร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ SAAR.) แต่ขยายตัว ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2554 การหดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสาเหตุมาจากการลดลงของงบประมาณด้านการป้องกันประเทศที่หดตัวร้อยละ 22.2 หลังจากขยายตัวสูงในไตรมาสก่อนหน้า และ การลดลงของสินค้าคงคลังเนื่องจากพายุ Sandy ส่งผลกระทบต่อการวางแผนการผลิต (5) ในขณะที่เศรษฐกิจภาคเอกชนขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนในภาคก่อสร้าง สอดคล้องกับเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ ซึ่งแสดงถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (6) ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม 2555 ประกาศมาตรการขยายปริมาณเงินเพิ่มเติมอีก 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเดือน โดยไม่มีกำหนดสิ้นสุดรวมทั้งคงนโยบายดอกเบี้ยต่ำจนกว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นรัฐสภา ได้บรรลุข้อตกลงในการต่ออายุมาตรการลดภาษี (Bush Tax Cut) ที่สำคัญๆ และเลื่อน การปรับลดรายจ่ายภาครัฐ ออกไปชั่วคราวก่อนที่จะมีการพิจารณาอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556 ทั้งนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เทียบกับร้อยละ 1.8 ในปี 2554 -เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน (27) ในไตรมาสที่สี่ หดตัวร้อยละ 0.6 นับเป็นการหดตัวต่อเนื่องกันเป็น ไตรมาสที่สาม แม้ว่าเศรษฐกิจจริงยังอยู่ในภาวะหดตัวแต่เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวเข้าสู่เสถียรภาพมากขึ้น โดยดัชนี Composite PMI ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 46.5 ในเดือนพฤศจิกายน เป็น 47.2 ในเดือนธันวาคม 2555 และ 48.6 ในเดือนมกราคม 2556 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นจาก -26.70 เป็น -26.30 และ -23.9 ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจรุนแรง (PIIGS) จนเข้าสู่ระดับต่ำกว่าในช่วงก่อนที่จะเกิดการปะทุของวิกฤติการณ์กรีซครั้งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2555 และการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลกรีซขึ้น 6 ระดับโดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor's 7ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นของบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่เกิดจากความคืบหน้าของมาตรการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความคืบหน้าการจัดตั้งกลไกการกำกับดูแลธนาคารร่วมกัน (Banking Union) และการอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่กรีซผ่านกองทุน European Financial Stability Facility (EFSF) จำนวน 4.91 หมื่นล้านยูโร(8) อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานในกลุ่มเศรษฐกิจยูโรโซนยังคงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.5 ในไตรมาสที่สาม เป็นร้อยละ 11.7 ในไตรมาสที่สี่ ทั้งนี้เศรษฐกิจยูโรโซนในทั้งปี 2555 หดตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี 2554 หมายเหตุ (5) หากไม่รวม 2 ปัจจัยดังกล่าว เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวจากไตรมาสที่สามประมาณร้อยละ 2.5 (6) โดยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย (Housing Market Index) ปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องจากระดับ 21.0 ณ สิ้นปี 2554 สู่ระดับ 47.0 ณ สิ้นปี 2555 ในขณะที่อัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 8.5 ในเดือนธันวาคม 2554 เป็นร้อยละ 7.8 ในเดือนธันวาคม 2555 เช่นเดียวกับดัชนี ISM ภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นจาก 49.9 ในเดือนพฤศจิกายน 2555 เป็น 53.1 ในเดือนมกราคม 2556 -เศรษฐกิจญี่ปุ่น ในไตรมาสที่สี่ หดตัวร้อยละ 0.1 (%QoQ SA.) เทียบกับการหดตัวร้อยละ 0.2 และ 0.1 ในไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สาม ตามลำดับ นับเป็นการหดตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่สาม การหดตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินเยนอย่างรุนแรงและต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า การลดลง ของแรงส่งจากรายจ่ายเพื่อการฟื้นฟูและบูรณะประเทศและผลกระทบจากปัญหาข้อขัดแย้งกับประเทศจีน ซึ่งสอดคล้องกับการหดตัวของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกซึ่งหดตัวร้อยละ 5.5 แม้ว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวร้อยละ 8.0 ในไตรมาสก่อนหน้าก็ตาม(9) และการหดตัวของดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5.9 ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสที่สาม นอกจากนั้นดัชนี Tankan Survey All Enterprises ปรับตัวลดลงจาก -4.0 และ -6.0 ในไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สาม ตามลำดับ เป็น -9.0 ในไตรมาสที่สี่ อย่างไรก็ตามรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดโดย (1) การเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐในปี 2556 ประมาณ 13.5 ล้านล้านเยน (2) การเข้าซื้อสินทรัพย์ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Asset Purchasing Program) โดยแบ่งออกเป็นการเข้าซื้อสินทรัพย์มูลค่า 101 ล้านล้านเยนภายในสิ้นปี 2556 และการเข้าซื้อสินทรัพย์แบบไม่มีกำหนดสิ้นสุดซึ่งจะเริ่มดำเนินการในเดือนมกราคม 2557 (3) การปรับเป้าหมายเงินเฟ้อจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปี 2556 ทั้งนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 0.6 ในปี 2554 -เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่สี่ ขยายตัวร้อยละ 7.9 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านหยวน และการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าใน ไตรมาสที่สี่ ขยายตัวร้อยละ 9.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.4 ในไตรมาสที่สาม ในขณะที่ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับ 49.0 ในเดือนกันยายนเป็น 50.6 ในเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้าส่งผลให้เศรษฐกิจจีนทั้งปี 2555 ขยายตัวร้อยละ7.8 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุดในรอบ 12 ปี หมายเหตุ (7) จากระดับ Selective Default เป็น B- แม้จะยังอยู่ในระดับ Sub-Investment Grade แต่ก็เป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 18 เดือน (8) โดยจะจ่ายเงินงวดแรกจำนวน 3.43 หมื่นล้านยูโร ส่วนที่เหลือคาดว่าจะสามารถจ่ายให้ได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2556 (9) โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ และยุโรปขยายตัวร้อยละ 2.5 และหดตัวร้อยละ 17.0 ตามลำดับ นอกจากนี้ความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นกับจีนยังส่งผลต่อการค้าของทั้งสองประเทศ โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าของญี่ปุ่นไปยังจีนในไตรมาสที่ 4 ยังคงหดตัวร้อยละ 14.0 ต่อเนื่องการการหดตัวร้อยละ 12.0 ในไตรมาสก่อนหน้า -เศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (New Industrial Economies) ในไตรมาสที่สี่ โดยภาพรวมยังคงขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ แต่มีสัญญาณการฟื้นตัวจากภาวะความตกต่ำของเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่สาม อย่างชัดเจน โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์ และเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 1.1 และ 1.5 ตามลำดับ ในขณะที่เศรษฐกิจฮ่องกงและไต้หวันในไตรมาสที่สี่ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.9 และ 3.0 ตามลำดับ ทั้งนี้เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน โดยเฉพาะการส่งออกของฮ่องกงในเดือนธันวาคมซึ่งขยายตัวร้อยละ 14.4 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 10.5 ในเดือนพฤศจิกายนและการหดตัวร้อยละ 2.8 ในเดือนตุลาคม เช่นเดียวกับการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือนมกราคม 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 5.7 และ 0.3 ในไตรมาสที่สามและไตรมาสที่สี่ ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้และไต้หวันขยายตัวร้อยละ 1.1 และ 4.4 ในไตรมาสที่สี่ เทียบกับร้อยละ 0.4 และ 1.5 ในไตรมาสที่สาม ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเงินทุนไหลเข้าเริ่มสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินและความผันผวนทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งทำให้ค่าเงินของประเทศต่างๆ แข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาสที่สี่ ปี 2555 4. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปี 2556 สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีนและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนยังคงมีแนวโน้มที่จะล่าช้ากว่าการคาดการณ์ เนื่องจากการดำเนินนโยบายการคลังแบบเข้มงวดของประเทศสมาชิกและผลกระทบจากการดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินของประเทศต่างๆ เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่การฟื้นตัวยังมีข้อจำกัดจาก การแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนในปีที่ผ่านมาและการลดลงของรายจ่ายเพื่อการฟื้นฟูบูรณะประเทศ อย่างไรก็ตามคาดว่าเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 จะขยายตัวเร่งขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกตามแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีน และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ในขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซนโดยภาพรวมมีแนวโน้มที่จะสามารถหลุดพ้นจากภาวะความถดถอยทางเศรษฐกิจได้ในครึ่งปีแรก นอกจากนั้นการดำเนินมาตรการการเงินผ่อนคลายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังคาดว่าจะเริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกในปี 2556 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8 ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยูโรโซน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน และการดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินเพิ่มเติมในประเทศสำคัญๆ ส่งผลให้นักลงทุนปรับเปลี่ยนการคาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในทิศทางที่ดีขึ้นและส่งผลให้เริ่มมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากตลาดพันธบัตรของประเทศที่มีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ (Safe Haven) เข้าสู่ประเทศที่มีผลตอบแทนจากการลงทุนสูงและสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินของประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าแรงกดดันดังกล่าวจะลดลงบ้างในระยะสั้นๆ ตามความวิตกกังวลต่อความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา Fiscal Cliff ในส่วนที่เหลือ รวมทั้งความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในยุโรปและการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจจริงที่ยังคงล่าช้ากว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็ตาม แต่แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกในครึ่งปีหลังคาดว่าจะส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาและสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินมากขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนมกราคมแสดงให้เห็นความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภาคเอกชน โดยเฉพาะ ดัชนี ISM ด้านอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็น 53.1 จาก 50.2 ในเดือนธันวาคม 2555 ในช่วงที่เหลือของปี เศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีแนวโน้มของการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การฟื้นตัวของ ภาคอสังหาริมทรัพย์ (2) การเพิ่มขึ้นของราคาหลักทรัพย์และราคาที่อยู่อาศัย (3) การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและการขยายปริมาณเงินเดือนละ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (4) การปรับตัวดีขึ้นของงบดุลภาคครัวเรือนและธุรกิจภาคเอกชน โดยเฉพาะการลดลงของภาระหนี้สินในภาคครัวเรือนซึ่งอยู่ในระดับต่ำสุดนับจากปี 2547 (5) อุปสงค์ คงค้าง (Pent up demand) ที่มีสะสมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในตลาดรถยนต์และที่อยู่อาศัย แม้กระนั้นก็ตาม Fiscal Cliff ซึ่งในกรณีฐานคาดว่าจะมีขนาดประมาณร้อยละ 1.4 ของ GDP 10 จะยังคงส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งแรกของปีขยายตัวในเกณฑ์ต่ำ อย่างไรก็ตามอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นสูงกว่าร้อยละ 3.0 ตามการฟื้นตัวของภาคเอกชนซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 2.3 และส่งผลให้ตลาดแรงงานใน ช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยกเลิกมาตรการขยายปริมาณเงินในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 และไตรมาสแรกของปี 2557 แต่ยังคงดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่องจนกว่าอัตรา การว่างงานจะลดลงสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 6.5 หมายเหตุ (10)โดยมาตรการ Bush Tax Cut กลายเป็นมาตรการการปรับลดภาษีถาวรยกเว้นสำหรับครัวเรือนผู้มีรายได้สูงตั้งแต่ 400,000 ดอลลาร์ สรอ. หรือคู่สมรสที่มีรายได้สูงกว่า 450,000 ดอลลาร์ สรอ. และการขยาย Unemployment Insurance ไปอีก 1 ปีซึ่งจะทำให้มีผู้ได้รับผลประโยชน์ประมาณ 2 ล้านคนและเลื่อนการปรับลดงบประมาณรายจ่ายออกไปอีก 2 เดือนในขณะที่ Payroll Tax เพิ่มร้อยละ 2 ความคืบหน้าการแก้ปัญหา Fiscal Cliff ของสหรัฐอเมริกา "...การผ่านร่างกฎหมาย American Taxpayer Relief Act. of 2012 ของรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2556 ทำให้ขนาดของ Fiscal Cliff ในปี 2556 เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะ (1) การปรับเพิ่มภาษีเฉพาะผู้มีรายได้สูงตั้งแต่ 400,000 ดอลลาร์ สรอ. ต่อปีขึ้นไป หรือตั้งแต่ 450,000 ดอลลาร์ สรอ. ต่อปีขึ้นไปสำหรับคู่สมรส ซึ่งจะมีมูลค่ารวมประมาณ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของ GDP และ (2) การขึ้นภาษี Payroll Tax มูลค่า 1.14 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 0.7 ของ GDP อย่างไรก็ตามในส่วนของการปรับลดรายจ่ายภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนและต้องรอการตัดสินใจจากทางรัฐสภาในเดือนมีนาคม 2556 แต่คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 7.2 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ 0.4 ของ GDP ซึ่งจะส่งผลให้ Fiscal Cliff มีมูลค่ารวมกันประมาณ 2.31 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ 1.4 ของ GDP สหรัฐฯ..." เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซน ความคืบหน้าของการดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะ การประกาศมาตรการ Outright Monetary Transactions (OMT)(11) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2555 ทำให้วิกฤติการณ์หนี้สินยูโรโซนลดความรุนแรงลง ตามลำดับ ในขณะที่เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพและปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมที่เริ่มขยายตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ในขณะที่ค่าเงินยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 13 เทียบกับการอ่อนค่าต่ำสุดในเดือนกรกฎาคม โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญประกอบด้วย (1) การปรับตัวดีขึ้นของเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะสิ้นสุดการหดตัวทางเศรษฐกิจภายในครึ่งแรกของปี 2556 (2) การปรับตัวดีขึ้นของบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการลงทุนตามความคืบหน้าของมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ (3) การชำระคืนเงินกู้จากมาตรการ Long-term Refnancing Operation (LTRO) ของธนาคารพาณิชย์จะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบตึงตัวและเงินสกุลยูโรแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานของประเทศสมาชิกจำนวน 9 ประเทศ (จากทั้งหมด 17 ประเทศ) ยังคงอยู่ในระดับสูงและเศรษฐกิจโดยภาพรวมของทั้งกลุ่มยังคงอยู่ในภาวะหดตัวตลอดปี 2555 ดังนั้นการดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังอย่างต่อเนื่องในปี 2556 และการดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินของประเทศต่างๆ จะยังคงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนในปี 2556 มีความล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศหลักจะมีแนวโน้มทรงตัวและปรับตัวดีขึ้นก็ตาม นอกจากนั้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนในช่วงที่เหลือของปี ยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ที่จะต้องติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดประกอบด้วย (1) ผลการเลือกตั้งในอิตาลี(12) (2) การเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมันในวันที่ 22 กันยายน 2556 และ (3) แนวโน้มความล่าช้าในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทำให้โอกาสที่ประเทศที่มีปัญหาทางวิกฤตการณ์เศรษฐกิจรุนแรงจะสามารถบรรลุเป้าหมายการปฏิรูปทางการคลังมีความยากลำบากมากขึ้น แม้ว่าเงินยูโรจะแข็งค่าขึ้นรวมทั้งเศรษฐกิจยูโรยังอยู่ในภาวะอ่อนตัวและสภาพคล่องตึงตัวมากขึ้นก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2556 ธนาคารกลางยุโรปได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.75 อย่างไรก็ตามภายใต้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำเพียงประมาณร้อยละ 2.0 ในเดือนมกราคม ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางยุโรปจะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมหากเครื่องชี้ภาคเศรษฐกิจจริงอ่อนตัวลงไปอีก เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่าจะทำให้ค่าเงินยูโรจะเริ่มอ่อนค่าลงในช่วงที่เหลือของปี 2556 เศรษฐกิจญี่ปุ่น ค่าเงินเยนอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องจาก (1) การประกาศเพิ่มมาตรการขยายปริมาณเงินอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีมูลค่า 101 ล้านล้านเยน (ประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ.) ภายในปี 2556 (2) การไหลออกของเงินทุนจากตลาดพันธบัตรญี่ปุ่นในช่วงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว และ (3) การประกาศที่จะดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินโดยไม่มีกำหนดสิ้นสุด โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนมกราคม 2557 และการเพิ่มเป้าหมายเงินเฟ้อจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2 ทั้งนี้ค่าเงินเยนในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 อยู่ที่ 93.48 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่พฤษภาคม 2553 การอ่อนตัวของค่าเงินและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังมูลค่ารวม 8.8 แสนล้านเยน (9.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) คาดว่าจะสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปีแม้ว่าการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศจะยังคงมีแรงต้านจาก การปรับภาษีมูลค่าเพิ่มก็ตาม ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2556 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.2 ในขณะที่ค่าเงินเยนยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจจีน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ช่วยลดความวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวรุนแรง ในขณะที่เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในเดือนมกราคมยังคงแสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าในเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 22.3 และ หมายเหตุ (11) อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าหลังการประกาศมาตรการ OMT แล้วทางธนาคารกลางยุโรปยังไม่เคยดำเนินมาตรการอื่นๆ ในทางปฏิบัติเลย (12) เนื่องจากพรรค People of Freedom ซึ่งนำโดยนาย Silvio Berlusconi ที่มีนโยบายต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังยังมีโอกาสที่จะได้รับชัยชนะซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ บรรยากาศทางเศรษฐกิจและความต่อเนื่องของการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ยุโรป ผลการสำรวจล่าสุดแสดงให้เห็นว่าพรรค Democratic และกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลเดิมซึ่งสนับสนุนนาย Mario Monti ยังมีแนวโน้มที่จะได้รับชัยชนะในสภาล่างแต่ผลการเลือกตั้งในสภาบนยังมีความไม่แน่นอนสูง ร้อยละ 25.5 ตามลำดับ ซึ่งแม้ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นผลมาจากฐานการขยายตัวที่ต่ำในเดือนมกราคม 2555 ก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปีคาดว่าเศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างเร่งรีบในช่วงปี 2555 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม รวมถึงการปรับลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายในช่วงก่อนหน้าและการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังมูลค่า 1 ล้านล้านหยวนเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2555 ซึ่งคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจจีนในปี 2556 ขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 8.3 การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทำให้ความจำเป็นสำหรับการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ โดยเฉพาะค่าเงินเยนและเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่งผลให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่าจะทำให้ทางการจีนจะดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอย่างระมัดระวังเพื่อจะลดแรงกดดันที่มีต่อภาคส่งออกโดยยินยอมให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าอย่างช้าๆ ในช่วงที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความชัดเจน 5. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2556 เศรษฐกิจไทยในปี 2556 ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะชะลอตัวลงจากการขยายตัวสูงในปี 2555 อุปสงค์ภาคต่างประเทศมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการลดลงของแรงส่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นและแรงส่งจากรายจ่ายเพื่อการฟื้นฟูและบูรณะประเทศ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งด้านเสถียรภาพราคาและดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทยังอยู่ภายใต้แรงกดดันของการแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ในปี 2555 แรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสุทธิอยู่ในเกณฑ์ต่ำเนื่องจากการผลิตและการส่งออกภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากภาวะ น้ำท่วม รวมทั้งได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่การนำเข้าเร่งตัวขึ้นตามความต้องการนำเข้าสินค้าเพื่อทดแทนความเสียหายจากภาวะอุทกภัยและการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อฟื้นฟูภาคการผลิตและการบูรณะประเทศ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้แรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากการส่งออกสุทธิลดลง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของกำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม การปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก และการลดลงของความต้องการนำเข้าเพื่อฟื้นฟูบูรณะประเทศคาดว่าจะทำให้การส่งออกสุทธิมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2556 ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม แรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศในปี 2556 มีแนวโน้มลดลง อุปสงค์ในประเทศมีบทบาทสูงในการขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2555 โดยเฉพาะการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากการใช้จ่ายเพื่อทดแทนความเสียหายจาก ภาวะน้ำท่วมภายใต้มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยของภาครัฐ รวมทั้งมาตรการภาษีรถยนต์คันแรกซึ่งส่งผลให้ ยอดจำหน่ายรถยนต์ในปี 2555 สูงถึง 1,248,346 คัน (13) เทียบกับ 719,239 คัน และ 661,694 คันในปี 2553 และ 2554 ตามลำดับ ดังนั้นการลดลงของแรงส่งจากการบริโภคเพื่อทดแทนความเสียหาย จากภาวะน้ำท่วมและการลดลงของแรงส่งจากมาตรการรถยนต์คันแรก มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนในปี 2556 ชะลอตัวลง ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการลดลง ของแรงส่งจากรายจ่ายลงทุนเพื่อการฟื้นฟูภาคการผลิต แม้กระนั้นก็ตาม อุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวดีขึ้นของรายได้ภาคครัวเรือนตามการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ ในขณะที่การฟื้นตัวของภาคการผลิตส่งผลให้อัตรา การว่างงานอยู่ในระดับต่ำ (2) การปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตรในช่วงที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว (3) อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และ (4) มาตรการสนับสนุนค่าครองชีพและการลดภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา เช่นเดียวกับการลงทุนของภาคเอกชนที่ยังมี ปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวสูงของมูลค่าการขอรับการส่งเสริม การลงทุนในปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนว่ายังมีบริษัทต่างชาติให้ความสนใจ ที่จะเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง (14) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีที่แล้วตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มทรงตัว ในขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ หมายเหตุ (13) นับเฉพาะรถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบไม่เกิน 2,400 cc และรถบรรทุกปิกอัพน้ำหนักบรรทุก 1 ตันขับเคลื่อน 2 ล้อ (14) โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากโอกาสทางธุรกิจในไทยและภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี ความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทานโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานและกำลังแรงงาน การเปลี่ยนแปลงของค่าเงินในประเทศผู้ผลิตสำคัญๆ ข้อจำกัดทางด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะปานกลางของประเทศพัฒนาแล้ว รวมทั้งปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องดินแดนระหว่างประเทศสำคัญๆ ในภูมิภาค การปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำกับเครื่องชี้ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ "...มาตรการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือระยะแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 และระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 ซึ่งส่งผลให้ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 39.36 และร้อยละ 21.3 ตามลำดับ แม้ว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำในรอบแรกจะส่งผลต่อบางสาขาการผลิต แต่ยังไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวมอย่างมีนัยยะสำคัญ ในด้านตลาดแรงงานอัตราการว่างงานเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 0.97 แต่มีสาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของกำลังแรงงานเป็นสำคัญ ในขณะที่การจ้างงานขยายตัวในเกณฑ์ปกติและอัตราการว่างงานได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับปกติในไตรมาสถัดมา ในด้านเสถียรภาพราคานั้น ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.5 ในช่วง 3 ไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.4 ในไตรมาสแรกและร้อยละ 5.5 ในปี 2554 ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนข้อเท็จจริงที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) ตลาดแรงงานไทยอยู่ภาวะตึงตัวดังนั้นแรงงานที่ถูกเลิกจ้างมีแนวโน้มที่จะสามารถหางานใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้อัตราการว่างงานทรงตัวในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง (2) อุตสาหกรรมไทยส่วนใหญ่จ่ายค่าจ้างในอัตราที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ และ (3) จำนวนแรงงานภายใต้กฎหมายค่าแรงมีประมาณ 5 ล้านคนหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 12.69 ของกำลังแรงงานทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงไม่ส่ง ผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตในภาพรวมอย่างรุนแรง..." นอกจากนั้น แม้ว่ามาตรการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลกระทบกับกิจกรรมการผลิตในบางสาขาก็ตาม แต่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างรุนแรง เสถียรภาพภาคต่างประเทศอยู่ในฐานะที่แข็งแกร่ง แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2555 จะเกินดุลลดลงจากปี 2554 ก็ตาม(15) แต่ก็เป็นการลดลงที่มีสาเหตุมาจาก (1) ข้อจำกัดด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกที่มีสาเหตุมาจากปัญหาน้ำท่วมและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และ (2) การเพิ่มขึ้นของความต้องการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปและสินค้าทุนเพื่อทดแทนความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมและเพื่อการฟื้นฟูกำลังการผลิต ดังนั้นการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกในปี 2556 รวมทั้งการปรับตัวดีขึ้นของกำลังการผลิตในประเทศและแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวคาดว่าจะส่งผลให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากขึ้น เงินบาทยังอยู่ภายใต้แรงกดดันของการแข็งค่า โดยนับจากสิ้นปี 2555 เงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 2.7 โดยมีสาเหตุมาจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกซึ่งเกิดจากการที่ประเทศต่างๆ ใช้มาตรการขยายปริมาณเงินอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการปรับการคาดการณ์ของนักลงทุนในด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เร็วกว่าปัจจัยพื้นฐานซึ่งจะทำให้นักลงทุนโยกย้ายเงินลงทุนจากประเทศที่มีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ (Safe Haven) ออกมาลงทุนในตลาดที่มีผลตอบแทนสูงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการแก้ไขปัญหา Fiscal Cliff ของสหรัฐฯ ซึ่งเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว แม้ว่าในเดือนกุมภาพันธ์และในครึ่งแรกของปี ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะมีเสถียรภาพมากขึ้นก็ตาม แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเร่งตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มที่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปียังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก และการฟื้นตัวของการค้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ฐานการขยายตัว ที่ต่ำในช่วงครึ่งแรกของปี และเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังมี ข้อจำกัดจากความล่าช้าในการฟื้นตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ในขณะที่ปัญหาภัยแล้ง แรงกดดันจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจโลก และราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ -ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก มีความชัดเจนมากขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2556 ทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภาคเอกชนในสหรัฐฯ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในยุโรปที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของปีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะมีความชัดเจนมากขึ้นซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของภาคการส่งออกทั้งในด้านการขยายตัวของปริมาณการส่งออกและการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าส่งออก 2) การฟื้นตัวของการค้าสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกและกำลังการผลิตในประเทศ ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเปิดตัวของผลิตภัณฑ์ใหม่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 การปรับตัวดีขึ้นของภาคการผลิตซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น และการสะสมสินค้าคงคลังของผู้ผลิตและนำเข้าสำคัญๆ หลังจากที่ปรับตัวลดลงในช่วงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน กำลังการผลิตในประเทศมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 3) ฐานการขยายตัวที่ยังอยู่ในระดับต่ำในครึ่งปีแรก เนื่องจากความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการผลิตจากปัญหาอุทกภัยในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 ซึ่งจะเห็นได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ร้อยละ 68.4 ร้อยละ 65.9 และร้อยละ 88.8 ในไตรมาสแรก ดังนั้นการฟื้นตัวของกำลังการผลิตดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลให้อุตสาหกรรมดังกล่าวขยายตัวสูงในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 4) อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยการบริโภคภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจแม้ว่าจะชะลอตัวลงตามการลดลงของแรงส่งจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์ คันแรกก็ตาม โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของรายได้ภาคครัวเรือนตามแนวโน้มการฟื้นตัวของราคาสินค้าเกษตรในช่วงที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ ในขณะที่การว่างงานอยู่ในระดับต่ำและภาคการผลิตฟื้นตัว รวมทั้งมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการยกระดับราคาสินค้าเกษตรและการลดค่าครองชีพของประชาชน ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในปีที่ผ่านมาซึ่งขยายตัวสูงถึง ร้อยละ 133.3 รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำและอัตราแลกเปลี่ยนที่เอื้ออำนวยต่อการนำเข้าสินค้าทุน 5) การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศซึ่งประกอบด้วยวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 รวม 2.4 ล้านล้านบาท (งบประมาณรายจ่ายประจำ 2.0 ล้านล้านบาท งบลงทุน 0.4 ล้านล้านบาท) งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 5.56 แสนล้านบาท ตลอดจนเงินนอกงบประมาณ ซึ่งประกอบด้วยงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ งบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ งบประมาณจากพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ที่คาดว่าจะมีความคืบหน้าที่สำคัญและสามารถเริ่มเบิกจ่ายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 6) แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำตามราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายและสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและ การลงทุนภาคเอกชน -ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงที่ควรระมัดระวัง 1) อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงยังมีข้อจำกัดในการขยายตัวเนื่องจากต้นทุนค่าแรงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และเศรษฐกิจยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของสินค้าในกลุ่มนี้ยังอยู่ในภาวะ อ่อนตัวและแนวโน้มการฟื้นตัวมีความล่าช้ากว่าคาดการณ์ รวมทั้งได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากการแข็งค่าของเงินบาท 2) สภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่เกิดจากมาตรการขยายปริมาณเงินเพิ่มเติมของประเทศต่างๆ ส่งผลให้เงินบาทในช่วงต้นปีแข็งค่าเร็วกว่าการคาดการณ์ นอกจากนั้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้นักลงทุนเคลื่อนย้ายเงินทุนออกจากประเทศที่มีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำเข้าสู่ตลาดประเทศกำลังพัฒนาที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจดีและมีผลตอบแทนจากการลงทุนสูงมากขึ้นซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทและเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้มาตรการตอบโต้ในประเทศสำคัญๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนและการเคลื่อนย้ายเงินทุน รวมทั้งเป็นความเสี่ยงที่อาจสร้างความผันผวนในตลาดสำคัญของระบบเศรษฐกิจ 3) สถานการณ์ภัยแล้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการขยายตัวของการผลิตในภาคเกษตรซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกร การบริโภคภาคเอกชน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยภาพรวม 4) ราคาน้ำมันยังมีความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภายใต้แนวโน้ม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีความชัดเจนมากขึ้น และสภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในลักษณะดังกล่าวจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะสร้างแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและสร้างแรงกดดันต่อการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ผลกระทบเรื่องค่าเงินบาท "...จากการศึกษาของ สศช. พบว่าในกรณีที่เงินบาท แข็งค่าร้อยละ 10 (ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่มี การเปลี่ยนแปลง) จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงร้อยละ 0.4 ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลกระทบจาก การแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจะไม่รุนแรงมาก เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทนั้น แม้ว่าจะส่งผลกระทบด้านลบต่อการส่งออก ในทางกลับกันก็จะส่งผลด้านบวกต่อการบริโภคและการลงทุน ในด้านการผลิตพบว่า การแข็งค่าของเงินบาทจะส่งผลด้านลบต่อการผลิตสาขาเกษตร สาขาอุตสาหกรรม และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร แต่จะส่งผลทางบวกต่อสาขาค้าส่งค้าปลีก สาขาขนส่งและสื่อสาร และสาขาการเงิน นอกจากนั้นจะเห็นได้ว่าการขยายตัวของปริมาณการส่งออกของไทยจะอ่อนไหวตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าผลที่ได้จากการศึกษาข้างต้นหากค่าเงินของประเทศอื่นๆ ที่มีโครงสร้างการส่งออกใกล้เคียงกับไทยอ่อนค่าในทิศทางที่ตรงข้ามกับการแข็งค่าของเงินบาท นอกจากนั้นยังต้องให้ความสำคัญกับการผันผวนของค่าเงินเนื่องจากความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดการชะลอการตัดสินใจในทางธุรกิจ -สมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจ 1) เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 3.8 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 และร้อยละ 2.8 ในปี 2555 และเป็นการปรับลดจากสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกร้อยละ 3.9 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมาโดยมีสาเหตุมาจาก (1) การปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากเดิมร้อยละ 2.4 เป็น ร้อยละ 2.3 เนื่องจากความล่าช้าในการแก้ไขปัญหา Fiscal Cliff ในด้านการปรับลดงบประมาณรายจ่าย (2) การปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรจากร้อยละ 0.2 เป็นร้อยละ 0.0 เนื่องจากการดำเนินมาตรการขยายปริมาณเงินเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบให้เกิดความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป 2) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในช่วง 108 - 113 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เทียบกับ 108.8 ดอลลาร์สรอ. ต่อบาร์เรลในปี 2555 เท่ากับสมมุติฐานในการประมาณการในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 อยู่ที่ 113.1 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล 3) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในปี 2556 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 29.0 - 30.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเฉลี่ย 30.6 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในปี 2555 ซึ่งการปรับจากช่วง 30.0 -31.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในสมมติฐาน การประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการแข็งค่าของเงินบาทที่เร็วกว่าการคาดการณ์ในช่วงต้นปี 2556 และแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงครึ่งปีหลังที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น รวมทั้งการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศสำคัญๆ มีความชัดเจนมากขึ้น 4) ราคาสินค้าส่งออกและนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 และร้อยละ 3.5 ตามลำดับ เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และร้อยละ 1.6 ในปี 2555 และเป็นการปรับลดจากสมมติฐาน การประมาณการร้อยละ 4.2 และร้อยละ 3.7 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมาตามการปรับลดอัตรา การขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก 5) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยตลอดปี 2556 จำนวน 24.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และเป็นการปรับเพิ่มจาก 22.5 ล้านคนในสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมาตามจำนวนนักท่องเที่ยวจริงในปี 2555 ที่มีจำนวนสูงถึง 22.3 ล้านคน -ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2556 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.5 - 5.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.4 ในปี 2555 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.5 - 3.5 เทียบกับร้อยละ 3.0 ในปี 2555 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.9 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากการเกินดุลร้อยละ 0.7 ในปี 2555 ในการแถลงข่าววันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คงประมาณการอัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ในช่วงร้อยละ 4.5 - 5.5 เท่ากับการประมาณการ ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 แต่ปรับองค์ประกอบการขยายตัวของเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสมมติฐานการประมาณการและข้อมูลจริงในไตรมาสสุดท้ายของ ปี 2555 โดยเฉพาะอัตราการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวสูงกว่าการคาดการณ์ -องค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมขยายตัวร้อยละ 3.5 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.7 ในปี 2555 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 3.8 ในการประมาณการเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ตามการปรับลดอัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจากร้อยละ 4.0 ใน การประมาณการครั้งก่อนหน้า เป็นการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในการประมาณการครั้งนี้ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการใช้สิทธิจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 สูงกว่าการคาดการณ์และทำให้รายจ่ายการบริโภคบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสสุดท้ายและทั้งปี 2555 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12.2 และร้อยละ 6.6 ตามลำดับ โดยปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในปี 2555 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 85.6 ซึ่งจะทำให้การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและการบริโภคภาคเอกชนในปี 2556 ชะลอตัวลงมากกว่าผลการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและการบริโภคภาครัฐขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา 2) การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 8.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 13.3 ในปี 2555 โดยการลงทุนภาครัฐและเอกชนขยายตัว ร้อยละ 8.0 และร้อยละ 12.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 14.6 และร้อยละ 8.9 ในปี 2555 และ เป็นการปรับเพิ่มประมาณการ การขยายตัวการลงทุนภาครัฐจากร้อยละ 8.5 เป็นร้อยละ 12.0 ในการประมาณการครั้งนี้ 3) การส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 11.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2555 ซึ่งเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 12.2 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้าตามการปรับลดสมมุติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากเดิมร้อยละ 3.9 ในการประมาณการครั้งก่อนหน้าเป็นร้อยละ 3.8 ในการประมาณการครั้งนี้ รวมทั้งการปรับสมมติฐานด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากเฉลี่ย 30.0 - 31.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เป็นเฉลี่ย 29.0 - 30.0 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่ำกว่าร้อยละ 8.0 ในการประมาณการครั้งที่แล้ว รวมทั้งการปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของราคาสินค้าส่งออกจากเดิมร้อยละ 4.2 เป็นร้อยละ 4.0 ในการประมาณการครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม การปรับสมมติฐานด้านจำนวนนักท่องเที่ยวส่งผลให้ปริมาณการส่งออกบริการขยายตัวสูงขึ้นกว่าการประมาณการครั้งที่ผ่านมา 4) มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 11.3 เทียบกับร้อยละ 7.8 ในปี 2555 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 12.4 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมาตามการปรับลดการขยายตัวของภาคส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนซึ่งส่งผลให้ปริมาณความต้องการนำเข้าลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนหน้า รวมทั้งการปรับสมมติฐานด้านราคานำเข้าจากเดิมร้อยละ 3.7 เป็นร้อยละ 3.5 ในการประมาณการครั้งนี้ นัยยะสำคัญของมาตรการภาษีรถยนต์คันแรกต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2556 "...มาตรการภาษีรถยนต์คันแรกส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2555 สูงถึงประมาณ 1.2 ล้านคันเทียบกับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เฉลี่ย 6.2 แสนคันต่อปีในช่วง 2551 ถึง 2554 แม้ว่าปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ที่สูงเป็นประวัติการณ์จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2555 สูงเกินการคาดการณ์ของหน่วยงานต่างๆ ก็ตาม แต่หากอุปสงค์ใหม่ (นอกเหนือจากรถยนต์ภายใต้มาตรการภาษีรถยนต์คันแรก ที่รอการส่งมอบจำนวนประมาณ 568,862 คัน ในปี 2556) ไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญแล้วจะมีความเป็นไปได้สูงที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2556 จะลดลงจากปี 2555 และส่งผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในปี 2556 ชะลอตัวลง ในอีกด้านหนึ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2555 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สินเชื่อภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแนวโน้มการชะลอตัวของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2556 มีแนวโน้มที่จะทำให้การขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนให้ชะลอตัวลงตามไปด้วย..." 5) ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับการเกินดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2555 และเป็นการปรับลดจากการเกินดุล 3.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งที่แล้ว เนื่องจากการปรับลดการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกที่เร็วกว่าการปรับลดการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าทำให้การเกินดุลการค้าลดลงจาก 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งที่แล้วเป็น 8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในการประมาณการครั้งนี้ อย่างไรก็ตามการปรับสมมุติฐานด้านจำนวนนักท่องเที่ยวส่งผลให้ดุลบริการปรับตัวดีขึ้นจากการประมาณการในครั้งก่อนหน้า 6) อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 ใกล้เคียงกับร้อยละ 3.0 ในปี 2555 และเป็นการคงประมาณการ 6. ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2556 เศรษฐกิจไทยในปี 2556 มีแนวโน้มที่ปรับตัวเข้าสู่อัตราการขยายตัวปกติตามการฟื้นตัวของกำลังการผลิต ในประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพามาตรการกระตุ้นอุปสงค์ระยะสั้นลดลง อย่างไรก็ตามสภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีซึ่งเศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นและการแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ในขั้วเศรษฐกิจหลักมีความชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น การบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีจึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเศรษฐกิจให้สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลดแรงกดดันด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดโลก โดยเฉพาะ 1) การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีการเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสกุลเงินในภูมิภาคและประเทศที่เป็นคู่แข่งขันด้านการส่งออกที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีซึ่งแรงกดดันจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 2) การดูแลรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการดูแลให้ราคาสินค้าหลัก มีการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มเชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง และวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อลดแรงกดดันด้านต้นทุนและราคาสินค้า รวมทั้งป้องกันความผันผวนในตลาดสำคัญ ที่อาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดอสังหาริมทรัพย์ 3) การบริหารจัดการให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบจากการลดลงของแรงส่งจากมาตรการภาษีรถยนต์คันแรก โดยเฉพาะการเร่งรัดผลักดันการส่งออกในตลาดสำคัญๆ การเร่งรัดให้ เม็ดเงินที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในปีที่ผ่านมาให้สามารถดำเนินโครงการลงทุนได้โดยเร็ว ตลอดจนการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมีแรงต้านจากฐานการขยายตัวที่สูงผิดปกติ 4) การเร่งรัดมาตรการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบให้กับ SMEs โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจาก การแข็งค่าของเงินบาท การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าแรง และการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรป รวมทั้ง การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการแก้ไขปัญหาให้กับ SMEs 5) การเร่งรัดโครงการลงทุนภายใต้แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการเร่งรัดแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว รวมทั้งการเร่งรัดแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านการค้าการลงทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการของระบบเศรษฐกิจโดยภาพรวม ประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 ข้อมูลจริง ประมาณการ ปี 2556 ปี 2554 ปี 2555 19 พ.ย.55 18 ก.พ.56 GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 10,540.1 11,363 12,180 12,295 รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 155,926 167,318 178,458 180,137 GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 345.6 365 399 417 รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 5,113.0 5,382 5,851 6,106 อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 0.1 6.4 4.5-5.5 4.5-5.5 การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 3.3 13.3 8.1 8.9 ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 7.2 14.6 8.0 8.0 ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -8.7 8.9 8.5 12.0 การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 1.3 6.7 3.8 3.5 ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 1.3 6.6 4.0 3.5 ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 1.1 7.4 2.5 3.5 ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 9.5 2.9 7.8 7.4 มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 225.4 226.1 260.6 251.1 อัตราการขยายตัว (มูลค่า, %)2/ 16.4 3.2 12.2 11.0 อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)2/ 10.2 2.6 8.0 7.0 ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 13.7 6.2 8.5 7.5 มูลค่าการนำเข้าสินค้า(พันล้านดอลลาร์ สรอ.)1/ 201.9 217.8 246.9 242.5 อัตราการขยายตัว (มูลค่า, %)2/ 24.7 7.8 12.4 11.3 อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %)2/ 13.3 6.1 8.7 7.8 ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ 23.5 8.3 13.7 8.6 ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ 11.9 2.7 3.7 3.6 ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 3.4 0.7 1.0 0.9 เงินเฟ้อ (%) ดัชนีราคาผู้บริโภค 3.8 3.0 2.5-3.5 2.5-3.5 GDP Deflator 4.2 1.3 2.5-3.5 2.5-3.5 ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 18 กุมภาพันธ์ 2556
หมายเหตุ: 1/ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณดุลการชำระเงินให้เป็นไปตามคู่มือดุลการชำระเงินฉบับที่ 6 ของ IMF (ดูรายละเอียดที่ http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/ExternalSector/Pages/Newtable.aspx) ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าที่ใช้เป็นฐานในการประมาณการในครั้งก่อนหน้าลดลง ตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าเป็นไป
2/ตามฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--