ประมาณการเศรษฐกิจปี 2555 และ 2556 (% YOY) 2554 2555 ประมาณการ ทั้งปี H1 Q3 2555 2556 GDP (ณ ราคาคงที่) 0.1 2.2 3.0 5.5 4.5-5.5 การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่) 3.3 7.7 15.5 12.0 8.1 ภาคเอกชน 7.2 10.5 16.2 13.7 8.0 ภาครัฐ -8.7 -2.7 13.2 5.7 8.5 การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่) 1.3 3.9 6.5 5.3 3.8 ภาคเอกชน 1.3 4.1 6.0 5.2 4.0 ภาครัฐบาล 1.1 2.7 9.0 6.0 2.5 มูลค่าการส่งออกสินค้า 16.4 -0.2 -2.5 5.5 12.2 ปริมาณ 10.2 -3.3 -6.2 5.0 8.0 มูลค่าการนาเข้าสินค้า 24.7 13.4 1.6 8.8 12.4 ปริมาณ 13.3 6.6 -2.3 7.0 8.7 ดุลบัญชีเดินสะพัด ต่อ GDP (%) 1.7 -0.5 3.1 0.8 1.0 เงินเฟ้อ 3.8 3.0 2.9 3.0 2.5-3.5 อัตราการว่างงาน 0.7 0.8 0.6 0.7 0.6 - เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยได้รับแรงส่งจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน และรายจ่ายภาครัฐ ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวสูงต่อเนื่อง รวมทั้งแรงส่งจากการขยายตัวของการผลิตนอกภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกหดตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมทั้งฐานการขยายตัวที่สูงและความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการผลิต - หากปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยขยายตัวจากไตรมาสที่สองของปี 2555 ร้อยละ 1.2 (% QoQ SA) - ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 5.5 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 5.2 และร้อยละ 12.0ตามลาดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.0 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.8 ของ GDP - การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 - 5.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.5 ในปี 2555 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศและการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 12.2 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.0 และร้อยละ 8.1 ตามลาดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP - ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2555 และในปี 2556 ประกอบด้วย(1) เร่งรัดการส่งออกโดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดที่มูลค่าการส่งออกในปี 2555 ปรับตัวลดลงมาก รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTB) ในตลาดส่งออกที่มีความสาคัญ (2) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการดาเนินการตามโครงการลงทุนสาคัญๆ ของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการลงทุนภายใต้แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้า แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งเร่งรัดแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว (3) ติดตามและเตรียมการเพื่อรองรับแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับภาคการผลิตและส่งออกโดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs ที่มีสัดส่วนของต้นทุนค่าแรงสูงและมีรายรับเป็นเงินตราต่างประเทศ การสร้างโอกาสจากการแข็งค่าของเงินบาท โดยเฉพาะการส่งเสริมให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ การส่งเสริมการลงทุนในเครื่องจักรนาเข้าของภาคการผลิต และเร่งรัดการนาเข้าของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น รวมทั้งดาเนินนโยบายการเงินที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ (4) ปรับโครงสร้างราคาพลังงานตามแผนที่กาหนดไว้ เพื่อให้ราคาสอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และ (5) ปรับกฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุนเพื่อให้สามารถได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า การเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงานภายใต้กรอบข้อตกลงการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 ได้อย่างเต็มที่ เศรษฐกิจไตรมาสที่สามและแนวโน้มปี 2555 - 2556 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสาม ขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.4 และร้อยละ 4.4 ในไตรมาสแรก และไตรมาสสอง ตามลาดับ โดยมีปัจจัยจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศที่เร่งตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน การใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุนโดยรวม ในด้านการผลิต การขยายตัวมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการผลิตนอกภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสาขาเกษตร การก่อสร้าง การค้าส่งค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร ที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการส่งออก และ การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว รวม 9 เดือนแรกของปี เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.6 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสาม ปี 2555 (1) การบริโภครวม ขยายตัวร้อยละ 6.5 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 5.6 ในไตรมาสก่อนหน้า การบริโภคภาคครัวเรือนเร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 5.3 เป็นร้อยละ 6.0 ตามการปรับตัวดีขึ้นของรายได้ภาคครัวเรือน และมาตรการคืนเงินภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรก ในขณะที่ การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวร้อยละ 9.0 สูงขึ้นจากร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากสามารถเบิกจ่ายงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ดีขึ้น รวม 9 เดือนแรกของปี การบริโภครวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 (2) การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 15.5 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 10.2 ในไตรมาสสอง ตามการเร่งตัวขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน การขยายการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.2 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 13.2 สูงขึ้นจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า รวม 9 เดือนแรกของปี การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 10.3 (3) ภาคการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 59,280 ล้านดอลลาร์ สรอ.หดตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมมีความล่าช้า และผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป ส่งผลให้มูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 4.8 ในขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 25.4 ตลาดส่งออกที่หดตัวประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา (ลดลงร้อยละ 1.2) สหภาพยุโรป (ลดลงร้อยละ 19.2) ญี่ปุ่น (ลดลงร้อยละ 6.3) และอาเซียน (ลดลงร้อยละ 9.0) รวม 9 เดือนแรกของปี มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 0.9 (4) ภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 8.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อน ตามการขยายตัวของผลผลิต ภาคเกษตร ทั้งหมวดพืชผล และปศุสัตว์ โดยเฉพาะข้าวเปลือก มันสาปะหลัง และยางพารา ที่ขยายตัวสูง ร้อยละ 57.7 27.0 และ 8.3 ตามลาดับ ทาให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 รวม 9 เดือนแรกของปี ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.3 (5) ภาคการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 9.8 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในไตรมาสก่อน ตามการขยายตัวของสาขาก่อสร้างภาครัฐที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และการก่อสร้างภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 รวม 9 เดือนแรกของปี ภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 6.1 (6) ภาคการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 4.1 ชะลอลงจากร้อยละ 5.4 เนื่องจากการหดตัวของการค้าในหมวดวัตถุดิบทางการเกษตรและสัตว์มีชีวิตตามการหดตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการส่งออก ในขณะที่การค้าหมวดยานยนต์ และน้ามันเชื้อเพลิงขยายตัว รวม 9 เดือนแรกของปี ภาคการค้าส่งค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 4.6 (7) สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 6.9 ตามจานวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีจานวน 5.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 รวม 9 เดือนมีจานวน 15.9 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 คาดว่าจานวนนักท่องเที่ยวทั้งปีจะเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 20.5 ล้านคน รวม 9 เดือนแรกของปี สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 7.0 (8) ภาคอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 1.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการหดตัวของอุตสาหกรรมเพื่อส่งออก โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เซมิคอนดักเตอร์ และอาหารทะเลแช่แข็ง หดตัว ร้อยละ 37.2 27.8 และ 24.6 ตามลาดับ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยภาพรวม ในขณะที่ผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่จากอุทกภัยในปี 2554 สาหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการคืนภาษีแก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก รวม 9 เดือนแรกของปี ภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 0.9 แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2555 - 2556 สศช. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นขอบล่างของการประมาณการร้อยละ 5.5 — 6.0 ในการแถลงข่าวครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสามได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการผลิต การบริโภคครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 5.2 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 12.0 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว ร้อยละ 5.5 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.0 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.8 ของ GDP เศรษฐกิจไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 - 5.5 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 12.2 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 8.1 ตามลาดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP 1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2555 ในด้านต่างๆ เป็นดังนี้ - ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายครัวเรือน: ในไตรมาสที่สามของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.0 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.3 ในไตรมาสก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการผลิต ซึ่งส่งผลให้รายได้ภาคครัวเรือนปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น รวมทั้งแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยเฉพาะมาตรการคืนเงินภาษีรถยนต์คันแรก ซึ่งส่งผลให้ยอดจาหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสนี้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 70.8 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่สาคัญ ได้แก่ การจ้างงานที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี และรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่า ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น โดยในไตรมาสนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 68.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ระดับ 67.7 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้น %YoY 2553 --------------2554-------------------- ---- 2555----- ทั้งปี ทั้งปี Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 การใช้จ่ายภาคเอกชน 4.8 0.5 3.3 2.7 1.1 -4.7 2.9 5.3 6.0 สินค้าคงทน 25.1 3.3 23.6 3.6 10.2 -21.7 -3.1 20.9 28.9 สินค้ากึ่งคงทน 6.7 3.4 4.5 5.7 4.8 -1.0 3.8 3.7 2.5 สินค้าไม่คงทน 1.8 1.6 2.0 3.4 1.8 -0.9 5.0 3.0 3.6 - อาหาร 0.5 2.0 2.0 4.4 1.8 -0.3 1.7 0.7 1.0 - มิใช่อาหาร 2.7 1.3 2.1 2.7 1.7 -1.2 7.4 4.6 5.5 บริการ 1.4 -4.1 -5.5 0.0 -6.5 -5.1 1.5 2.7 -0.8
การลงทุนภาคเอกชน: ขยายตัวร้อยละ 16.2 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 11.8 ในไตรมาสก่อน ตามการขยายตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร ในขณะที่การลงทุนก่อสร้างขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 18.2 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 เนื่องจากยังคงมีการลงทุนเพื่อชดเชยและซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัย ในขณะที่การนาเข้าสินค้าทุนในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.6 ตามการชะลอตัวของการนาเข้าเครื่องจักรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และการผลิตเครื่องจักรกล ส่วนปริมาณการจาหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในประเทศขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงร้อยละ 51.0 เทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 88 การลงทุนด้านการก่อสร้างยังขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 9.9 แม้ว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อยจากร้อยละ 10.4 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม การลงทุนใหม่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในเกณฑ์ดี ซึ่งจะเห็นได้จากการขอรับการส่งเสริมการลงทุนผ่าน BOI ในช่วง 9 เดือนแรก มีมูลค่าทั้งสิ้น 804 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 800 พันล้านบาท
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในไตรมาสนี้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 50.6 ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 51.0 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงจากระดับ 55.3 ในไตรมาสก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 55.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่ปรับตัวลดลงในทุกด้าน ยกเว้นด้านต้นทุนประกอบการ
การส่งออก: การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่สามของปี 2555 มีมูลค่า 59,280 ล้านดอลลาร์ สรอ. (1,858,665 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมมีความล่าช้า ในขณะที่วิกฤติเศรษฐกิจยุโรปส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกมากขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวทาให้ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 2.9 และราคาสินค้าส่งออกหดตัวลงร้อยละ 0.1 เมื่อหักการส่งออกทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว จะทาให้มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 6.3
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 25.4 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 17.5 จากการลดลงของปริมาณการส่งออกข้าวซึ่งไม่สามารถแข่งขันด้านราคาในตลาดโลกได้ ในขณะที่อุปทานข้าวในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น และการปรับตัวลดลงของราคาส่งออกสินค้าสาคัญ ๆ เช่น ยางพารา และมันสาปะหลัง ซึ่งส่งผลให้ราคาส่งออกสินค้าเกษตรโดยภาพรวมลดลงร้อยละ 9.7 สินค้าอุตสาหกรรมทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 5.6 และ 4.8 ตามลาดับ เทียบกับการขยายตัวในไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 6.1 และ 5.3 ตามลาดับ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งหดตัวลงร้อยละ 14.7 และ 8.7 ตามลาดับ เนื่องจากปัจจัยสาคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ความล่าช้าของการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม 2) มูลค่าการส่งออกในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าอยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากการเร่งตัวของการผลิตและการส่งออกในช่วงหลังเหตุการณ์ ภัยพิบัติในญี่ปุ่น และ 3) การชะลอการซื้อสินค้าเพื่อรอการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สาหรับสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์โลหะ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
ตลาดส่งออก: การส่งออกไปยังตลาดหลักหดตัว โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป (15) อาเซียน (9) และญี่ปุ่น ที่มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 19.2 9.0 และ 6.3 ตามลาดับ ในขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกาหดตัวร้อยละ 1.2 เช่นเดียวกับการส่งออกไปยังตลาดศักยภาพสูงซึ่งหดตัวเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดฮ่องกง ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย โดยการส่งออกไปยังตลาดฮ่องกงเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ตามการขยายตัวของการส่งออกทองคา ที่ยังไม่ขึ้นรูป และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลางและออสเตรเลียเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และทองคาที่ยังไม่ขึ้นรูป
การนาเข้า: ลดลงทั้ง มูลค่า ราคา และปริมาณ โดยราคานาเข้าลดลงตามการปรับตัวของราคาน้ามันดิบในตลาดโลก ทองคา และอัญมณี มูลค่าการนาเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสามของปี 2555 คิดเป็นมูลค่า 54,274 ล้านดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 2.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 10.3 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากราคาและปริมาณการนาเข้าลดลงร้อยละ 2.5 และร้อยละ 2.0 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และร้อยละ 8.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลดลงของการนาเข้าสินค้าในกลุ่มทองคาและอัญมณี
เมื่อปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว และพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า มูลค่าสินค้านาเข้าเกือบทุกหมวดขยายตัวช้าลง ในขณะที่การนาเข้าสินค้าวัตถุดิบหดตัว โดยมูลค่าการนาเข้าสินค้าวัตถุดิบ หดตัวร้อยละ 1.7 ต่อเนื่องจากการหดตัวร้อยละ 0.01 ในไตรมาสก่อนหน้า สินค้าที่มีมูลค่าการนาเข้าลดลง ได้แก่ ทองคา อัญมณี น้ามันดิบ และแผงวงจรรวมและชิ้นส่วน สินค้าทุน มูลค่าการนาเข้าขยายตัวร้อยละ 19.4 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 27.1 ในไตรมาสก่อน สินค้าทุนที่การนาเข้ายังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ รถไฟ เครื่องจักรสาหรับผลิตกระแสไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม สินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าการนาเข้าขยายตัวร้อยละ 11.1 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.3 และสอดคล้องกับการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัว เร่งขึ้น รายการสินค้านาเข้าที่ขยายตัวสูง ประกอบด้วย อาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์นม เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน
อัตราการค้า (Term of Trade) ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.1 ขณะที่ราคานาเข้าหดตัวร้อยละ 0.5 ทาให้อัตราการค้าในไตรมาสที่สามของปี 2555 อยู่ที่ 97.2 เทียบกับ 96.6 ในไตรมาสก่อน
ดุลการค้า: เกินดุลเพิ่มขึ้น โดยเกินดุล 5,006 ล้านดอลลาร์ สรอ. (156,159 ล้านบาท) สูงกว่าการเกินดุล 1,483 ล้านดอลลาร์ สรอ. (47,325 ล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า
- ด้านการผลิต:
สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวเร่งขึ้นจากร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่สองเป็นร้อยละ 8.6 ในไตรมาสนี้ ตามการขยายตัวของผลผลิตทางการเกษตรในหมวดพืชผล และปศุสัตว์ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 และ 7.0 ตามลาดับ โดยผลผลิตข้าวเปลือก มันสาปะหลัง และยางพารา เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.7 27.0 และ ร้อยละ 8.3 ตามลาดับ เนื่องจาก (1) การขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และมันสาปะหลัง และ (2) ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นตามพื้นที่ให้ผลผลิต โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผลผลิตใน ภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราใน 36 จังหวัด ภายใต้โครงการปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ช่วงปี 2547 - 2549
ราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 10.3 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สี่ เป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้าเกษตรทุกหมวด โดยราคาหมวดพืชผล หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงลดลงร้อยละ 9.9 15.4 และ ร้อยละ 2.5 ตามลาดับ เมื่อพิจารณารายสินค้า พบว่า ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 สุกร และไก่เนื้อ ลดลง ร้อยละ 35.3 22.9 และ ร้อยละ 12.4 ตามลาดับ เนื่องจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยภาพรวม ทาให้ความต้องการในตลาดโลกลดลง
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของผลผลิตในทุกหมวดสินค้าส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 2.4 ใน ไตรมาสที่สามของปี แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะยังคงลดลงต่อเนื่องก็ตาม
สาขาอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 3 หดตัวร้อยละ 1.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับการหดตัวของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวร้อยละ 10.2 ในไตรมาสนี้ เนื่องจากการหดตัวของอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกที่หดตัวร้อยละ 27.4 โดยการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอาหารทะเลแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 37.2 30.9 และ ร้อยละ 24.6 ตามลาดับ เนื่องจาก (1) ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ กอปรกับผู้ผลิตบางส่วนยังอยู่ในช่วงปรับตัว (2) วิกฤติเศรษฐกิจยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนส่งผลให้อุปสงค์ต่อสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดโลกลดลง และ (3) ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจในช่วงก่อนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงขยายตัวสูงที่ร้อยละ 42.8 ตามการขยายตัวของการส่งออกและ การบริโภคในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการคืนภาษีสาหรับผู้ซื้อรถยนต์ คันแรก ซึ่งจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,800 ซีซี ถึงร้อยละ 102.3 และร้อยละ 72.9 ในไตรมาสที่สองและสาม ตามลาดับ
แม้กระนั้นก็ตาม การผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 10 เริ่มจาก อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง และสิ่งทอ ตามลาดับ
อัตราการใช้กาลังการผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64.3 ในไตรมาสก่อน เป็นร้อยละ 65.5 ในไตรมาสนี้ โดยอุตสาหกรรมสาคัญที่มีอัตราการใช้กาลังการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์ (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 94.2 เป็น 106.7) โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,800 ซีซี และรถบรรทุกปิกอัพน้าหนักบรรทุก 1 ตัน ขับเคลื่อน 2 ล้อ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39.0 เป็น 43.6) และอุตสาหกรรมยางและพลาสติก (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.5 เป็น 69.3)
สาขาการค้าปลีกค้าส่ง การค้าปลีกค้าส่งขยายตัวร้อยละ 4.1 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.4 ในไตรมาสที่แล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการหดตัวอย่างต่อเนื่องของหมวดวัตถุดิบทางการเกษตรและสัตว์มีชีวิตตามการหดตัวของภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออก อย่างไรก็ตามหมวดยานยนต์และน้ามันเชื้อเพลิงยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
สาขาก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 9.8 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 6.9 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 9.9 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการขยายตัวของการก่อสร้างในพื้นที่เดิมที่ได้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างในช่วงก่อนหน้า ในขณะที่การก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 11.3 ตามงบลงทุนของภาครัฐที่มีการเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 14.4 ในขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างในไตรมาสที่สาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์คอนกรีต ไม้ และสุขภัณฑ์ ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 19.9 3.4 และ 0.2 ตามลาดับ
สาขาอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 4.4 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อน โดยความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัว สะท้อนจากยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 ในด้านอุปทาน ยอดคงค้างสินเชื่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 15.6 ในขณะที่ระดับราคายังคงเพิ่มขึ้น เช่น อาคารชุดและที่ดิน ราคาเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.9 และ 6.5 ตามลาดับ
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 6.9 เทียบกับร้อยละ 8.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา โดยไตรมาสนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยจานวน 5.3 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่งผลให้มีรายรับจากการท่องเที่ยวทั้งสิ้น 236,199 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 212,333 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ในขณะที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 57.6 เทียบกับร้อยละ 56.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีจานวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากประเทศจีน เพิ่มขึ้น 251,592 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.8 รองลงมา คือ เวียดนาม และญี่ปุ่น ซึ่งเพิ่มขึ้น 36,495 และ 28,097 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 และร้อยละ 8.2 ตามลาดับ
นอกจากนั้น การท่องเที่ยวในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยสังเกตจากจานวนเที่ยวบินและจานวนผู้โดยสารของสายการบินต้นทุนต่าขยายตัวร้อยละ 6.2 และร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามลาดับ
การจ้างงาน ในไตรมาสที่สาม มีการจ้างงาน 39.52 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.6 ตามการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานในสาขาอุตสาหกรรม เกษตร และก่อสร้าง โดย 1) สาขาอุตสาหกรรมมี การจ้างงานเพิ่มขึ้นจานวน 350,930 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเร่งการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 2) ภาคเกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจานวน 227,990 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตการเกษตรที่ขยายตัวต่อเนื่อง เช่น ข้าว มันสาปะหลัง และยางพารา และ 3) สาขาก่อสร้างมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจานวน 143,500 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการก่อสร้างทั้งภาครัฐและเอกชน
การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในสามสาขาดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคบริการซึ่งจะเห็นได้จากการลดลงของการจ้างงานในสาขาโรงแรมและภัตตาคาร และค้าส่งและค้าปลีกร้อยละ 11.2 และร้อยละ 2.6 ตามลาดับ
สำหรับผู้ว่างงานเฉลี่ยในไตรมาสนี้มีจานวน 232,387 คน เพิ่มขึ้น 30,053 คนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงานยังคงอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างต่อเนื่องนับจากไตรมาสแรกของปี 2553 และมีแนวโน้มที่จะตึงตัวมากขึ้น โดยสัดส่วนของตาแหน่งงานว่างทั้งประเทศต่อผู้สมัครงานใหม่อยู่ที่ร้อยละ 1.4 เทียบกับร้อยละ 0.8 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปี
-ภาวะการคลัง
การจัดเก็บรายได้: ในไตรมาสที่สี่ ปีงบประมาณ 2555 (กรกฎาคม-กันยายน 2555) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 545,665.0 ล้านบาท ต่ากว่าประมาณการ 13,226.0 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.4 โดยเฉพาะการจัดเก็บรายได้จากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต่ากว่าประมาณการ 37,467.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.1 ซึ่งเป็นผลจากปัญหาอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 และปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าได้ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของภาคธุรกิจ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลในการปรับลดภาษีเงินได้ นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และธนาคารพาณิชย์มีการกันเงินกาไรสารองเผื่อหนี้สูญเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับหนี้เสียที่อาจเพิ่มขึ้นจากวิกฤติยุโรป เป็นสาคัญ นอกจากนี้ การขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีน้ามันดีเซลเหลือลิตรละ 0.005 บาทได้ส่งผลกระทบให้การจัดเก็บรายได้จากภาษีสรรพสามิตน้ามันฯ ต่ากว่าประมาณการ 24,222.0 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 60.7
อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บรายได้อื่นๆ ของรัฐบาลยังคงสูงกว่าประมาณการโดยเฉพาะ (1) การนาส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่สูงกว่าประมาณการร้อยละ 91.0 เนื่องจากการนาส่งรายได้แผ่นดินระหว่างกาลจากกาไรสุทธิครึ่งปี 2555 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการนาส่งเงินปันผลประจาปี 2555 จากกาไรสุทธิประจาปี 2554 ของบริษัท ทีโอที จากัด (มหาชน) เป็นสาคัญ (2) ภาษีรถยนต์สามารถจัดเก็บสูงกว่าประมาณการร้อยละ 50.8 เป็นผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรก และ (3) ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 11.2 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศและการนาเข้า
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 41,513.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 โดยการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม การนาส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ และภาษีรถยนต์เพิ่มขึ้น 34,547.9 17,908.4 และ 15,628.7 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 94.3 และ ร้อยละ 62.6 ตามลาดับ
รวมทั้งปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,977,450.9 ล้านบาท ต่ากว่าประมาณการร้อยละ 0.1 แต่เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนร้อยละ 4.6 โดยปัจจัยบวกมาจากการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งทาให้การจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีรถยนต์เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการเร่งนาส่งรายได้แผ่นดินของรัฐวิสาหกิจ สาหรับปัจจัยลบมาจากนโยบายของรัฐบาลในการปรับลดอัตราภาษีเงินได้ นิติบุคคล การขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ามัน และปัญหาอุทกภัยเป็นสาคัญ
การเบิกจ่ายงบประมาณ ในไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2555 มีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 648,817.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 21.3 โดยเป็นการเบิกจ่ายจาก 1) งบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ 2555 จานวน 540,849.0 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจา 444,818.6 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 96,030.4 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราเบิกจ่ายรวมคิดเป็นร้อยละ 22.7 ของงบประมาณรายทั้งหมด ต่ากว่าเป้าหมายที่กาหนดไว้ร้อยละ 26.0 เนื่องจากมีความล่าช้าของการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน ซึ่งเบิกจ่ายได้เพียงร้อยละ 23.1 ต่ากว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 29.0 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้วการเบิกจ่ายรายจ่ายประจา และรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 และ 31.3 ตามลาดับ 2) รายจ่ายเหลื่อมปี 23,891.2 ล้านบาท 3) เงินกู้ตาม พ.ร.บ.ไทยเข้มแข็ง (TKK) 8,173.8 ล้านบาท และ 4) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 66,939.4 ล้านบาท
รวมทั้งปีงบประมาณ 2555 มีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 2,505,323.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.2 ประกอบด้วย 1) การเบิกจ่ายตาม พรบ. งบประมาณประจาปี 2555 ทั้งสิ้น 2,148,356.7 ล้านบาท (อัตราเบิกจ่ายร้อยละ 90.3 ซึ่งต่ากว่าเป้าหมายที่กาหนดไว้ที่ร้อยละ 93.0) โดยเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน 275,407.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 66.3 ของรายจ่ายลงทุนทั้งหมด ต่ากว่าเป้าที่กาหนดไว้ที่ร้อยละ 72.0 ซึ่งเป็นผลจากความล่าช้าของการประกาศใช้ พรบ. งบประมาณ รวมถึงหน่วยงานต่างๆ มีภารกิจเร่งด่วนในการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย โดยใช้เงินงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยอย่างบูรณาการจานวน 120,000 ล้านบาทจึงไม่สามารถเบิกจ่ายงบรายจ่ายลงทุนได้ตามที่กาหนด รวมทั้งประสบปัญหาวัสดุก่อสร้างขาดแคลนจึงส่งผลให้การดาเนินโครงการภาครัฐไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 2) เบิกจ่ายรายจ่ายเหลื่อมปี 146,411.2 ล้านบาท 3) พรบ. ไทยเข้มแข็ง 24,419.6 ล้านบาท และ 4) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจไม่รวม ปตท. 176,072.2 ล้านบาท ตามลาดับ
โครงการตามมาตรการของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (งบกลาง 120,000 ล้านบาท) ณ สิ้นปีงบประมาณ 2555 มีการเบิกจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 99,758 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.1 ของวงเงินที่อนุมัติ โดยโครงการด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน มีการเบิกจ่ายสูงที่สุดที่ร้อยละ 98.8 ในขณะที่การเบิกจ่ายในหมวดโครงการเร่งด่วนอื่นๆ (ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายให้กับสานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้าและการเกษตร (องค์การมหาชน) มีการเบิกจ่ายน้อยที่สุดที่ร้อยละ 48.2
ความคืบหน้าการเบิกจ่ายเงินตามพระราชกาหนดให้อานาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้าและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินทั้งสิ้น 350,000 ล้านบาท มีการจัดสรรแล้ว ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 จานวนทั้งสิ้น 21,341.6 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว จานวน 2,911.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.2 ของวงเงินที่จัดสรร ทั้งนี้ได้มีการกู้แล้วทั้งสิ้น 10,000 ล้านบาท
ฐานะการคลัง ในไตรมาสสี่ของปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณ 26,894.6 ล้านบาท แต่เกินดุลเงินนอกงบประมาณ 50,678.7 ล้านบาท และ รัฐบาลได้กู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จานวน 111,655.6 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสดหลังกู้เกินดุลจานวน 135,439.8 ล้านบาท
รวมทั้งปีงบประมาณ 2555 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 314,683.2 ล้านบาท มีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 344,084.3 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2555 มีมูลค่า 560,337 ล้านบาท สูงกว่าสิ้นปีงบประมาณก่อน 39,047.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2555 มีจานวน 4,937,239.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.9 ของ GDP (ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 99,719.2 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปีงบประมาณก่อน 488,945.0 ล้านบาท) โดยแบ่งออกเป็น หนี้ของรัฐบาล 3,515,011.0 ล้านบาท (ร้อยละ 31.3 ของ GDP) หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 1,064,289.1 ล้านบาท (ร้อยละ 9.5 ของ GDP) หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้าประกัน) 352,207.4 ล้านบาท (ร้อยละ 3.1 ของ GDP) และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 5,732.2 ล้านบาท (ร้อยละ 0.1 ของ GDP)
-ภาวะการเงิน
อัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัว ในไตรมาสที่สามของปี 2555 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ที่ร้อยละ 3.00 เนื่องจากประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับที่สามารถสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ดี และอัตราเงินเฟ้อยังคงเคลื่อนไหวในกรอบเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 3 ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้น เช่น ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จีน ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ล่าสุด ในเดือนตุลาคม กนง. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.75 ต่อปี เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคและเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงมากกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตเพื่อส่งออกของไทยมากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ไทยทรงตัวตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในไตรมาสที่สาม ของปี 2555 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจา 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยของ 4 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ที่ร้อยละ 2.86 ต่อปีและร้อยละ 7.13 ต่อปีตามลาดับ สอดคล้องกับการทรงตัวของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ที่แท้จริงปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่สอง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นในเดือนกันยายน โดย ณ สิ้นไตรมาสที่สาม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ที่แท้จริงอยู่ที่ร้อยละ -0.52 ต่อปีและร้อยละ 3.75 ต่อปีตามลาดับ และ ณ สิ้นเดือนตุลาคม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจา 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยของ 4 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ปรับตัวลดลง ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝากเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย
เงินฝากและการลงทุนในตั๋วแลกเงิน (B/E) ของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.6 จากร้อยละ 10.5 ในไตรมาสที่แล้ว ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเงินฝากที่ร้อยละ 29.6 ตามการเร่งระดมเงินทุนของสถาบันการเงินเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อที่ยังคงขยายตัวในระดับสูง และเพื่อเป็นการรักษาฐานเงินฝาก ในขณะที่ตั๋วแลกเงินยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งไตรมาส
สินเชื่อภาคเอกชน (ไม่รวมดอกเบี้ยค้างรับ) ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 15.7 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัว ร้อยละ 15.5 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 16.4 ในไตรมาสก่อน โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อการซื้อ/เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่เร่งตัวสูงขึ้นตามความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นจากการดาเนินมาตรการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรกของรัฐบาลที่จะสิ้นสุดภายในสิ้นปี 2555 สาหรับสินเชื่อภาคธุรกิจ ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 12.6 โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและภาคการธนาคารและธุรกิจการเงินที่ขยายตัวได้ดีในไตรมาสนี้ ในขณะที่สินเชื่อภาคการผลิตยังคงขยายตัวในระดับต่าภายหลังจากเริ่มมีสัญญาณหดตัวในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่ไตรมาสแรก จานวนบัตรเครดิตและยอดสินเชื่อคงค้างลดลงเล็กน้อย ตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs1) ต่อสินเชื่อคงค้างลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 1.16
สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยสัดส่วนสินเชื่อ (ไม่รวมเงินให้กู้ยืมผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร) ต่อเงินฝากที่รวมตั๋วแลกเงินของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 96.1 จากร้อยละ 97.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. เฉลี่ยใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน และมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ในไตรมาสที่สาม ของปี 2555 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 31.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 31.32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่สอง โดยค่าเงินบาทในช่วงไตรมาสที่สาม เคลื่อนไหวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นตามการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเข้ามาลงทุนใน
ตลาดตราสารหนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน ค่าเงินบาทปิดที่ระดับ 30.83 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ตลอด 9 เดือนแรกของปี 2555 ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน โดยแข็งค่ามากในช่วงไตรมาสแรกก่อนการปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่สอง และกลับมาแข็งค่าอีกครั้งในไตรมาสที่สาม ตามการเปลี่ยนแปลงในความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกของนักลงทุนและความคืบหน้าของมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และกลุ่มยูโรโซน โดยในเดือนตุลาคม ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นเฉลี่ย 30.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
เมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้า/คู่แข่งอื่นๆ ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลง โดยในไตรมาสที่สาม ของปี 2555 ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อยู่ที่ 101.22 อ่อนค่าลงร้อยละ 0.23 และ 0.46 จากไตรมาสก่อนหน้าและช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลาดับ สอดคล้องกับดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ที่อ่อนค่าลงร้อยละ 0.08 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้ค่าเงินบาทในไตรมาสที่สาม แข็งค่าขึ้นเป็นลาดับที่ 6 ในภูมิภาค รองจากฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ตามลาดับ
เงินทุนเคลื่อนย้าย(2) ในไตรมาสที่สาม ของปี 2555 มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 6.16 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวจากการไหลออกสุทธิ 0.33 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อน และเป็นการไหลเข้าในทุกภาคส่วน ดังนี้ 1) ภาครัฐบาลและ ธปท. มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 2.08 และ 1.14 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลาดับ โดยมีปัจจัยหลักจากการเข้าซื้อพันธบัตรภาครัฐของนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอัตราผลตอบแทนที่จูงใจและการคาดการณ์ทิศทางค่าเงินบาทว่าจะแข็งค่าขึ้นในอนาคต 2) ภาคธนาคารมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิต่ากว่าในไตรมาสก่อน เนื่องจากมีการชาระคืนหนี้เงินกู้ต่างประเทศระยะสั้นจากธุรกรรมการปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากผู้ส่งออกลดการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนลงตามมูลค่าการส่งออกที่ชะลอลง และ 3) ภาคอื่น ๆ เงินทุนไหลเข้าสุทธิปรับตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบปี ซึ่งเป็นผลจากการไหลกลับของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ครบกาหนดและการไหลเข้าของสินเชื่อทางการค้าจากคู่ค้าต่างชาติเป็นสาคัญ
หมายเหตุ
(2) ตัวเลขเงินทุนเคลื่อนย้าย ณ สิ้นไตรมาสที่สาม ของปี 2555 เป็นตัวเลขประมาณการที่อ้างอิงจากข้อมูลเร็วบางส่วนจากธนาคารแห่งประเทศไทยและจะมีการปรับในเดือนถัดไป
ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 2,747 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 85,596 ล้านบาท) เทียบกับไตรมาสก่อนที่ขาดดุล 2,389 ล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือเท่ากับ 73,990 ล้านบาท) ซึ่งเป็นผลมาจากการเกินดุลการค้า 5,006 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการขาดดุลบริการ รายได้ปฐมภูมิ และรายได้ทุติยภูมิ 2,259 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เงินสารองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2555 เท่ากับ 181.43 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (และมี net forward position อีก 26.26 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งคิดเป็นประมาณ 3.1 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น (ณ สิ้นไตรมาสสอง ปี 2555) และเทียบเท่ามูลค่าการนาเข้า 3.3 เดือน (ไตรมาสสาม ปี 2555)
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ในไตรมาสที่สามของปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 เร่งตัวจากร้อยละ 2.52 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน และอาหารสดเป็นสาคัญ โดยดัชนีราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากการยกเว้นการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ามันเชื้อเพลิงของภาครัฐในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งทาให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากฐานที่ต่า และการปรับขึ้นค่า FT 2 งวดในเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2555 ซึ่งปรับขึ้น 30 สตางค์ต่อหน่วย และปรับขึ้นอีก 18 สตางค์ต่อหน่วยในเดือนกันยายน-ธันวาคม 2555 ในขณะที่ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาผักผลไม้ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนและส่งผลให้มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ชะลอตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของราคาอาหารสาเร็จรูปที่บริโภคทั้งในและนอกบ้าน(3)
ดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่สามของปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากการชะลอตัวของราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่รวมผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยราคาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ชะลอลงจากร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ราคา
ผลผลิตเกษตร และผลิตภัณฑ์เหมืองแร่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และ 1.6 จากร้อยละ 0.6 และการลดลงร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลาดับ เมื่อพิจารณาดัชนีราคาผู้ผลิตจาแนกตามขั้นตอนการผลิตพบว่า แรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่า(4)
ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET index) และมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้น จากการซื้อนาตลาดของนักลงทุนต่างชาติ ณ สิ้นไตรมาสที่สาม SET index ปิดที่ 1,298.8 จุด เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า และทาจุดสูงสุดสูงที่ 1,300.2 จุด โดยตลอดทั้งไตรมาสดัชนีเคลื่อนไหวผันผวนในทิศทางขาขึ้น ตามสภาพคล่องในระบบการเงินโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเข้าซื้อพันธบัตรใหม่ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) อย่างต่อเนื่อง และการคาดการณ์การว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในสหรัฐฯ จะลดลงตามนโยบายขยายปริมาณเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) อย่างไม่มีกาหนด ทั้งนี้ดัชนีราคาหลักทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นเป็น 30.2 พันล้านบาท จาก 28.6 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า และนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิรวม 1.5 พันล้านบาท เทียบกับยอดขายสุทธิ 19.3 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า ทาให้ยอดซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติสะสมรวม 9 เดือนมีจานวน 65.0 พันล้านบาท
ในเดือนตุลาคม 2555 นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิ 17.9 พันล้านบาท ต่อเนื่องจากการขายสุทธิ 2.1 พันล้านบาทในเดือนกันยายน จากความกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามดัชนียังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 1,298.9 จุด ภายหลังการประกาศตัวเลข การจ้างงานและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างบ้านของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้นมาก ส่งผลให้มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 35.9 พันล้านบาท และล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1- 16 พฤศจิกายน ดัชนีปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า และนักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิอยู่ที่ 8.0 พันล้านบาท ตามความกังวลต่อปัญหาทางด้าน การคลังของสหรัฐฯ (Fiscal Cliff)
มูลค่าซื้อขายพันธบัตรและยอดซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติยังคงอยู่ในระดับสูง มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาด (Outright Transaction) เฉลี่ยต่อวันในไตรมาสที่สาม เท่ากับ 84.5 พันล้านบาทต่อวัน ลดลงเล็กน้อยจาก 88.5 พันล้านบาทต่อวันในไตรมาสที่สอง และในไตรมาสที่สามนักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิต่อเนื่อง 239.6 พันล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นจาก 213.7 พันล้านบาท ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรปไว้ที่ระดับต่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนย้ายเงินลงทุนมาสู่ตลาดพันธบัตรในภูมิภาคที่มีอัตราผลตอบแทนที่จูงใจกว่า ทาให้ใน 9 เดือนแรกของปี นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิสะสมที่ 751.8 พันล้านบาท สูงกว่ายอดซื้อสุทธิของทั้งปี 2554 ซึ่งสะท้อนแนวโน้มการโยกย้ายเงินทุนเข้าสู่ภูมิภาค ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลที่หมุนเวียนในตลาดลดลง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) อายุระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง
หมายเหตุ
(3) ในเดือนตุลาคม 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
(4) ในเดือนตุลาคม 2555 ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2555 ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1
ในเดือนตุลาคม 2555 มูลค่าซื้อขายเฉพาะธุรกรรมซื้อขายขาดเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 80.8 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิลดลงจาก 85.2 พันบ้านบาท มาอยู่ที่ 58.2 พันล้านบาท ในเดือนกันยายน ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และการคาดการณ์ปริมาณพันธบัตรที่จะลดลงในช่วงที่เหลือของปี 2555
การระดมทุนในตลาดแรกของภาครัฐเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับภาคเอกชนที่มีการระดมทุนผ่านหุ้นกู้เพิ่มมากขึ้น ในไตรมาสที่สาม ตราสารภาครัฐออกใหม่อยู่ที่ 509.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 328.8 พันล้านบาทในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพันธบัตรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อใช้เงินลงทุน ในการปรับโครงสร้างหนี้และรองรับการดาเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนการระดมทุนของภาคเอกชน ในไตรมาสนี้ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 362.0 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่อยู่ในสาขาตัวกลางทางการเงิน สาขาการผลิต และสาขาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อรองรับความต้องการใช้เงินทุนในการขยายการลงทุนในระยะข้างหน้า
ราคาน้ามันโดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ามันดิบ WTI ในขณะที่ราคาน้ามันดิบตลาดอื่นๆ อยู่ในภาวะทรงตัว การปรับตัวลดลงของราคาน้ามันดิบดังกล่าวเป็นผลมาจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยภาพรวม ซึ่งส่งผลให้ความต้องการใช้น้ามันในตลาดโลกลดลงประกอบกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและโยกย้ายเงินลงทุนจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เข้าตลาดพันธบัตรในประเทศที่มี ความปลอดภัยด้านการลงทุนสูง (Safe Haven) ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ามันดิบปรับตัวลดลงใน ไตรมาสสามของปี 2555 โดยราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และ WTI) อยู่ที่ 103.68 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ในไตรมาสที่ผ่านมา
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ย (ดูไบ เบรนท์ โอมาน และ WTI) อยู่ที่ 106.68 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
เศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 3 ชะลอตัวลงมากเนื่องจาก 1) ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจทาให้เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนหดตัว 2) เศรษฐกิจจีนขยายตัวต่าสุดในรอบ 13 ไตรมาสเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ 2 และความพยายามของทางการจีนในการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในช่วงกลางปี 2554 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้นในปี 2555 ตลอดจนการชะลอการตัดสินใจของนักลงทุนในช่วงการเปลี่ยนถ่ายอานาจทางการเมือง 3) เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขยายตัวในเกณฑ์ต่าเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนและ การหดตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน รวมทั้งความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหา Fiscal Cliff ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ความมั่นใจของภาคธุรกิจและการลงทุนนอกภาคการก่อสร้าง และ 4) การชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเนื่องจากการลดลงของแรงส่งจากรายจ่ายเพื่อการฟื้นฟูบูรณะประเทศ การแข็งค่าของเงินเยนและผลกระทบซ้าเติมจากปัญหาข้อขัดแย้งกับจีน การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในประเทศสาคัญๆ ดังกล่าวทาให้การค้าโลกชะลอตัวลงและส่งผลกระทบสืบเนื่องต่อเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกสูง
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปเริ่มมีความคืบหน้าและชัดเจนมากขึ้น การดาเนินมาตรการการเงินและการคลังแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศสาคัญๆ ซึ่งรวมถึงการใช้มาตรการขยายปริมาณเงินในสหรัฐฯ ยุโรปและญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง และการเร่งแก้ไขปัญหา Fiscal Cliff ในสหรัฐฯ ทาให้บรรยากาศความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและการลงทุนโดยภาพรวมปรับตัวดีขึ้นในขณะที่ภาคเศรษฐกิจจริงเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งคาดว่าจะทาให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.3 และร้อยละ 3.3 ตามลาดับ ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.9 และร้อยละ 5.8 ในปี 2554
- เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวในเกณฑ์ต่าร้อยละ 2.3 (%YoY) และร้อยละ 2.0 (%QoQ saar.) แม้จะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าก็ตาม การขยายตัวมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการใช้จ่ายภาคเอกชนและภาครัฐ การลงทุนในที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม การส่งออก การลงทุนถาวรที่มิใช่ที่อยู่อาศัย และการสะสมสินค้าคงคลังยังเป็นข้อจากัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ต่า รวมทั้งความไม่แน่นอนในขนาดของ Fiscal Cliff และอนาคตของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรทาให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 โดย 1) คงอัตราดอกเบี้ย Federal Funds Rate ไว้ที่ร้อยละ 0 — 0.25 จนถึงกลางปี 2558 2) ประกาศมาตรการขยายปริมาณเงิน (QE3) ผ่านการซื้อตราสารหนี้ที่หนุนโดยสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage Backed Securities: MBS) จานวน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเดือนโดยไม่กาหนดเวลาสิ้นสุดมาตรการ และ (3) ประกาศที่จะดาเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมจนกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจและการจ้างงานจะปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และต้นไตรมาสที่ 4 เริ่มส่งสัญญาณของการฟื้นตัว โดยดัชนี ISM ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 51.7 เดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นจากระดับเฉลี่ย 50.3 ในไตรมาสที่ 3 เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากเฉลี่ยร้อยละ 8.1 ในไตรมาสที่ 3 เป็นร้อยละ 7.9 ในเดือนตุลาคม ในขณะที่เครื่องชี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวและการขยายตัว อย่างแข็งแกร่งซึ่งจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการขยายตัวของการบริโภคและสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวม อย่างไรก็ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 และในปี 2556 ยังคงขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหา Fiscal Cliff ซึ่งจะยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภครวมถึงนักลงทุน และอาจกลายเป็นข้อจากัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2556 ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2555 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.2 เทียบกับร้อยละ 1.8 ในปี 2554
- เศรษฐกิจยุโรป ในไตรมาสที่สามหดตัวร้อยละ 0.6 (%YoY) รุนแรงกว่าการหดตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจาก 1) ผลกระทบสืบเนื่องจากการดาเนินมาตรการการคลังแบบเข้มงวดเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการคลัง และ 2) วิกฤติทางการเมืองในกรีซที่ปะทุขึ้นในเดือนมิถุนายน 2555 และความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาของทางการยูโรจนส่งผลกระทบต่ออิตาลี และสเปน ก่อนจะลุกลามกลายเป็นวิกฤติ ความเชื่อมั่นต่ออนาคตของระบบเงินตราสกุลเดียว โดยเศรษฐกิจของโปรตุเกส อิตาลี กรีซและสเปน (PIGS) หดตัวรุนแรงร้อยละ 3.4 2.4 7.2 และร้อยละ 1.6 ตามลาดับ การหดตัวทางเศรษฐกิจทาให้อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานในเดือนกันยายนของโปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ และ สเปน อยู่ที่ร้อยละ 10.1 10.8 15.1 และร้อยละ 25.8 ตามลาดับ เทียบกับร้อยละ 15.5 10.6 14.7 และร้อยละ 24.7 ในไตรมาสที่ 2 และอัตราการว่างงานของกรีซในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 25.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.9 ในไตรมาสที่ 2 ในขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ความไม่มั่นใจ ในอนาคตของกลุ่มประเทศยูโรส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์โดยในเดือนมิถุนายน 2555 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของโปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.6 5.9 7.0 27.8 และร้อยละ 6.9 ตามลาดับ เทียบกับร้อยละ 4.2 4.0 5.0 6.0 และร้อยละ 4.0 ในเดือนมกราคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงก่อนวิกฤติการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจกรีซ การลุกลามของวิกฤติความเชื่อมั่นต่ออนาคตของระบบเงินตราสกุลเดียวส่งผลให้ทางการยูโร ธนาคารกลางยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศกาหนดมาตรการและเร่งรัดการดาเนินมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งรีบและมีความคืบหน้ามากขึ้น(5)
ความคืบหน้าในการดาเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเมื่อรวมกับท่าทีของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี (นาง Angela Merkel) และ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส (นาย Francois Hollande) ในการยืนยันเจตนารมณ์ ที่ต้องการคงสมาชิกภาพของกรีซในฐานะกลุ่มประเทศยูโรโซน ทาให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจและการลงทุนปรับตัวดีขึ้นตามลาดับ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของกรีซปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ ช่วงก่อนหน้าวิกฤติการณ์กรีซเมื่อเดือนมิถุนายน 2555 ในขณะที่เงินทุนไหลออกจากประเทศที่ประสบปัญหารุนแรง (PIIGS) เริ่มลดลง อย่างไรก็ตาม การดาเนินมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังคาดว่าจะยังทาให้เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรโซนในไตรมาสสุดท้ายของปียังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องซึ่งจะทาให้เศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซนทั้งปี หดตัวประมาณร้อยละ 0.4
หมายเหตุ
(5) ประกอบด้วย (1) การกาหนดแนวทางที่ตรงกับสาเหตุพื้นฐานของปัญหาในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นายูโรโซนเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 และการประชุมรัฐมนตรีคลังยุโรปเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 (2) ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีได้เห็นชอบต่อการสมทบเงินเข้ากองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (European Stability Mechanism: ESM) (3) การประกาศแทรกแซงตลาดพันธบัตรของประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหารุนแรงเพื่อลดแรงกดดันในตลาดพันธบัตร (4) การอนุมัติในหลักการเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สเปน (5) การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่าเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 และการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่าเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 (6) การเร่งรัดดาเนินการลดรายจ่ายทางการคลังเพื่อควบคุมหนี้สาธารณะ โดยสเปนจะปรับลดการขาดดุลการคลังให้เหลือร้อยละ 4.5 ของ GDP ในปี 2556 และล่าสุด รัฐสภากรีซผ่านมาตรการการปรับลดเงินบานาญ การปรับลดค่าจ้างแรงงาน และการปรับเพิ่มอายุผู้เกษียณ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสาหรับการได้รับอนุมัติเงินช่วยเหลือรอบต่อไปจานวน 3.15 หมื่นล้านยูโร
- เศรษฐกิจญี่ปุ่น ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 (%YoY) ชะลอตัวลงมากจากร้อยละ 2.8 และ ร้อยละ 3.6 ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ตามลาดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%QoQ sa.) เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 0.9 (%QoQ sa.) การหดตัวทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากการหดตัวของการส่งออกร้อยละ 8.4 เนื่องจากปัญหาการแข็งค่าของเงินเยน การหดตัวของเศรษฐกิจยุโรป และปัญหาข้อขัดแย้งกับจีนซึ่งทาให้การส่งออกไปยังประเทศจีนหดตัวร้อยละ 11.9 (%YoY) ในขณะที่ การบริโภคภาคเอกชนหดตัวต่อเนื่องร้อยละ 0.5 (%QoQ sa.) ภายใต้แนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ดาเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2555 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังมูลค่า 4.22 แสนล้านเยน และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2555 ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศขยายวงเงินในการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางเงิน (Asset Purchase Program) อีก 11 ล้านล้านเยนทาให้ยอดรวมของมาตรการขยายปริมาณเงินเพิ่มขึ้นเป็น 66 ล้านล้านเยน อย่างไรก็ตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปียังมีข้อจากัดจากความอ่อนแอของอุปสงค์ ในประเทศ และการแข็งค่าของเงินเยน ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 0.8 ในปี 2554
- เศรษฐกิจจีน ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 7.4 (%YoY) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่าสุดในรอบ 13 ไตรมาส และชะลอตัวลงจากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส (%QoQ sa.) เศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนได้ผ่านพ้นช่วงต่าสุดของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องในปี 2555 โดยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 2 ครั้งในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมรวมร้อยละ 0.56 (จากร้อยละ 6.56 เป็นร้อยละ 6.0) การลดอัตราส่วนสารองตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องโดยได้มีการลดลงถึง 3 ครั้งในรอบปีที่ผ่านมา (จากร้อยละ 21.5 เป็นร้อยละ 20.0 ) รวมถึงการดาเนินการ ผ่านตลาดเงิน (Open Market Operation) และ 2) การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังมูลค่า 1 ล้านล้านหยวนเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน
ในช่วงปลายไตรมาสสุดท้ายของปี นอกจากนั้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 และต้นไตรมาสที่ 4 เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจยังคงแสดงถึงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นเป็น 50.2 จากระดับ 49.0 ในเดือนสิงหาคม ในขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกลาง ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 เริ่มกลับมาขยายตัวร้อยละ 2.3 (%YoY ytd.) เทียบกับการหดตัว ร้อยละ 9.7 และ 4.1 ณ สิ้นไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 ตามลาดับ ภายใต้แนวโน้มดังกล่าว คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปี 2555 จะขยายตัวร้อยละ 7.7 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.2 ในปี 2554 และเป็นอัตราการขยายตัวต่าสุดนับตั้งแต่ปี 2542
- เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ชะลอตัวเป็นวงกว้างเนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกโดยภาพรวมส่งผลกระทบต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างรุนแรง เห็นได้จากเศรษฐกิจ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.6 1.0 1.3 และร้อยละ 1.3 ตามลาดับ โดยการส่งออกของเกาหลีใต้และสิงคโปร์หดตัวร้อยละ 5.6 และร้อยละ 4.1 ตามลาดับ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจทาให้ประเทศต่างๆ ในกลุ่มนี้ดาเนินนโยบายทางการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารกลางเกาหลีใต้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 3.00 เป็นร้อยละ 2.75 ในขณะที่ธนาคารกลางประเทศอื่นๆ ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่า เมื่อรวมกับการเริ่มปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจจีนและการลดลงของความวิตกกังวลในสถานการณ์ยุโรปทาให้เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มนี้เริ่มส่งสัญญาณของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะการฟื้นตัวของการผลิตและการส่งออกในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าจะทาให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง และสิงคโปร์ในปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.7 1.3 1.6 และร้อยละ 2.2 ตามลาดับ
เศรษฐกิจไทยในปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.1 ในปี 2554 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อยละ 3.0 เทียบกับร้อยละ 3.8 ในปี 2554 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 0.8 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 1.7 ของ GDP ในปี 2554
ในการแถลงข่าววันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นขอบล่างของการประมาณการร้อยละ 5.5 — 6.0 ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555 โดยมีเหตุผลดังนี้
1) การฟื้นตัวของภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้าท่วมมีความล่าช้ากว่าสมมติฐานในการประมาณการเศรษฐกิจครั้งที่ผ่านมา โดยล่าสุดในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 ยังมีกิจการจานวน 155 ราย ที่ยังไม่สามารถกลับมาดาเนินกิจการหรือคิดหรือคิดเป็นร้อยละ 18.5 ของจานวนโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้าท่วม และสามารถกลับมาผลิตได้บางส่วนจานวน 460 ราย ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับ ข้อมูลในเดือนสิงหาคม สถานการณ์ดังกล่าวทาให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกในช่วงครึ่งหลัง ของปีขยายตัวต่ากว่าที่ประมาณการไว้เดิม และทาให้โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเกินร้อยละ 5.5 ลดลง
2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของราคา และปริมาณสินค้าส่งออก โดยการผลิตและการส่งออกของประเทศต่างๆ ของภูมิภาคเอเชียเริ่มกลับมาฟื้นตัว อย่างช้าๆ ในเดือนตุลาคม 2555 เทียบกับการเริ่มฟื้นตัวในเดือนกันยายน 2555 ในสมมติฐาน การประมาณเศรษฐกิจครั้งที่ผ่านมา ทาให้ สศช. ปรับลดประมาณการการส่งออกในการแถลงข่าวครั้งนี้
3) แม้กระนั้นก็ตาม การขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในประเทศมีแนวโน้มที่จะขยายตัวสูงกว่าการคาดการณ์ในการแถลงข่าวครั้งที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายระยะเวลามาตรการการคืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถยนต์คันแรกซึ่งช่วยลดผลกระทบจากความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการส่งออก
เศรษฐกิจโลก ในปี 2556 มีแนวโน้มฟื้นตัวและขยายตัวอย่างช้า ๆ ในครึ่งปีแรกก่อนที่การขยายตัวจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก
1) ความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในประเทศสาคัญๆ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาในยุโรป ซึ่งส่งผลให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจและการลงทุนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศสาคัญๆ ในกลุ่มนี้ รวมทั้งการเร่งแก้ไขปัญหา Fiscal Cliff ของสหรัฐฯ ซึ่งในกรณีฐานคาดว่าจะมีขนาดไม่เกินร้อยละ 1.2 ของ GDP
2) การดาเนินนโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศสาคัญ ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงปี 2555 ประกอบด้วย 1) การปรับลดอัตราดอกเบี้ย การปรับลดอัตราส่วนเงินสารอง และการประกาศมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านหยวนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนซึ่งช่วยลดความเสี่ยง การชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง 2) การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับต่าสุดเป็นประวัติการณ์ของธนาคารกลางยุโรปเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 รวมทั้งการใช้มาตรการขยายปริมาณเงินของทางการยูโรเพื่อช่วยลดแรงกดดันในตลาดพันธบัตรของประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหารุนแรง 3) การประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ที่ร้อยละ 0 - 0.25 จนถึงกลางปี 2558 รวมทั้งการประกาศใช้มาตรการขยายปริมาณเงินมูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเดือนและแนวโน้มการขยายปริมาณเงินเพิ่มเติมจนกว่าเศรษฐกิจและการจ้างงานในสหรัฐฯ จะปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ และ 4) การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ในประเทศสาคัญอื่นๆ ทั้งนี้การดาเนินนโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลชัดเจนมากขึ้นในปี 2556
ปัจจัยสนับสนุนดังกล่าว คาดว่าจะทาให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2556 ฟื้นตัวและขยายตัวประมาณร้อยละ 3.9 และร้อยละ 5.0 ตามลาดับ ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.3 และร้อยละ 3.3 ในปี 2555 โดยในปี 2556 เศรษฐกิจสหรัฐฯ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4 แม้ว่าการฟื้นตัวของ ภาคอสังหาริมทรัพย์และการขยายตัวของภาคการผลิตจะสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ภาคครัวเรือนก็ตาม แต่ยังมีแรงต้านจากการปรับลดรายจ่ายภาครัฐและการขึ้นภาษีสาคัญๆ ในปี 2556 (Fiscal Cliff) เศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.2 เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังอย่างเข้มงวดแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อยู่ในระดับต่าเป็นประวัติการณ์และการอ่อนค่าของเงินยูโร จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจเยอรมนีและฝรั่งเศสขยายตัวก็ตามเศรษฐกิจจีน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการปรับตัวดีขึ้นของบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการลงทุนในยุโรป รวมทั้งผลจากการดาเนินมาตรการการเงินผ่อนคลายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังที่ผ่านมาซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจจีนมากขึ้นในปี 2556 ในขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.9 ปี 2555 เนื่องจากการลดลงของแรงส่งจากรายจ่ายเพื่อฟื้นฟูและบูรณะประเทศ รวมทั้งข้อจากัด การขยายตัวจากการแข็งค่าของเงินเยนและผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งจีน — ญี่ปุ่น
- แนวโน้มราคาน้ามัน คาดว่าราคาน้ามันดิบ (ดูไบ) ในปี 2556 จะอยู่ที่เฉลี่ย 108 - 113 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบกับเฉลี่ยประมาณ 109.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในปี 2555 โดยปัจจัยสนับสนุนที่จะทาให้ราคาน้ามันดิบเพิ่มสูงขึ้นประกอบด้วย (1) แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกที่ทาให้อุปสงค์น้ามันดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น (2) สภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก6 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะถูกเคลื่อนย้ายออกมาทากาไรในตลาดสินค้าในช่วงที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ทาให้ราคาน้ามันในตลาดโลกไม่เพิ่มขึ้นรุนแรงมากนัก ประกอบด้วย (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงอ่อนตัว (2) เศรษฐกิจของประเทศสาคัญ ๆ ยังคงมีความอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นรุนแรงของราคาน้ามันในตลาดโลก7 และ (3) การเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตน้ามันดิบในสหรัฐฯ ส่งผลให้ความต้องการนาเข้าน้ามันดิบลดลงอย่างต่อเนื่อง เงื่อนไขดังกล่าวจะทาให้นักลงทุนมีความระมัดระวังในการลงทุนเก็งกาไรในตลาดน้ามัน
เศรษฐกิจไทยในปี 2556 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวเข้าสู่อัตราการขยายตัวปกติมากขึ้น อุปสงค์ภาคเอกชน ในประเทศยังคงมีพลวัตรการขยายตัวอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะชะลอตัวตามการลดลงของแรงส่งจากรายจ่ายเพื่อฟื้นฟูบูรณะประเทศภายหลังวิกฤติการณ์อุทกภัย แต่เม็ดเงินลงทุนใหม่ทั้งในภาครัฐและเอกชนจะมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนการลงทุนโดยภาพรวม ในขณะเดียวกันการปรับตัวดีขึ้นของเงื่อนไขด้านเศรษฐกิจโลกทาให้ภาคการส่งออกมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งในด้านเสถียรภาพราคา การจ้างงานและดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศมากขึ้น ภายใต้แนวโน้มดังกล่าว การบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2555 และในปี 2556 ควรให้ความสาคัญกับการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้เต็มศักยภาพควบคู่ไปกับการเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวและการป้องกันความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
- ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2556 ก่อนที่จะขยายตัวเร่งขึ้นในช่วง ครึ่งหลังของปี เมื่อรวมกับฐานที่ต่าในปี 2555 ซึ่งเกิดจากความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการผลิตในครึ่งปีแรกและผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 คาดว่าจะส่งผลให้การผลิตและการส่งออกภาคอุตสาหกรรมในปี 2556 ขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ในขณะที่ราคาส่งออกสินค้าเกษตรมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวหลังจากอยู่ในภาวะซบเซาตลอดปี 2555 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรในปี 2556
2) การฟื้นตัวของการค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตและการค้าสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกอยู่ในภาวะซบเซาตลอดปี 2555 เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาน้าท่วม การขาดแคลนอุปกรณ์และชิ้นส่วน การชะลอการตัดสินใจของผู้บริโภคในช่วงครึ่งปีหลังเพื่อรอการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่และปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลรุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ดังนั้น การปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกในปี 2556 การเปิดตัวของผลิตภัณฑ์ใหม่ (เช่น Windows 8 iPhone 5 และ Microsoft Surface ในช่วงปลายปี 2555) รวมทั้งการฟื้นตัวมากขึ้นของผู้ผลิตในประเทศ และการลดลงของสินค้าคงคลังของผู้ผลิตในประเทศสาคัญๆ คาดว่าจะส่งผลดีต่อการผลิตและการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้
3) อุปสงค์ในประเทศที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2555 ก็ตาม โดยการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการผลิต แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกในช่วงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและแรงขับเคลื่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของภาครัฐที่ยังคงส่งผลสืบเนื่องในปี 2556 ในขณะที่พลวัตรการขยายตัวของการลงทุนยังมีอย่างต่อเนื่อง โดยการลงทุนใหม่มีแนวโน้มเร่งขึ้นและจะมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนในปี 2556 แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนโดยภาพรวมจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการลดลงของรายจ่ายลงทุนเพื่อฟื้นฟูกาลังการผลิตก็ตาม
4) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ยังคงปัจจัยสนับสนุนสาคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
5) แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ต่าตามราคาน้ามันที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากปี 2555
- ปัจจัยเสี่ยงและข้อจากัด
1) ปัญหาภัยแล้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สาคัญต่อการขยายตัวของการผลิตในภาคเกษตร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร การบริโภคภาคเอกชนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยภาพรวม
2) อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงยังมีข้อจากัดในการขยายตัว เนื่องจากต้นทุนค่าแรงที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทและเศรษฐกิจยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สาคัญของสินค้าในกลุ่มนี้ยังคงอยู่ในช่วงของภาวะความตกต่าทางเศรษฐกิจ
3) สภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่เกิดจากมาตรการขยายปริมาณเงินของประเทศต่างๆ ยังเป็นความเสี่ยงที่อาจจะสร้าง แรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าเร็วกว่าการคาดการณ์ในสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและการเงินโดยเฉพาะในช่วงหลังของปีที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจนมากขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการโยกย้ายเงินทุนออกจากตลาดพันธบัตรของประเทศที่มีความปลอดภัย (Safe Haven) ออกมาแสวงหากาไรในตลาดเงิน ตลาดทุนของประเทศกาลังพัฒนาและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ มากขึ้น
4) ราคาน้ามัน ยังมีความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภายใต้แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและ สภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่อยู่ในระดับสูง การเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันในลักษณะดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะสร้างแรงกดดันด้านปัญหาเงินเฟ้อและสร้างแรงกดดันต่อการดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
- สมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจ
1) เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 และร้อยละ 5.0 ตามลาดับ เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.3 และ 3.3 ในปี 2555 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศสาคัญๆ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ และ จีน ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4 และร้อยละ 8.3 ตามลาดับ ในขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นคาดว่าจะชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.9 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 1.0 และเศรษฐกิจยุโรปขยายตัวต่าร้อยละ 0.2 แต่เป็นการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวร้อยละ 0.4 ในปี 2555
2) ราคาน้ามันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี 2556 มีแนวโน้มอยู่ในช่วง 108 — 113 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เทียบกับ 109.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในปี 2555
3) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในปี 2556 คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.00 — 31.00 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนยังคงมีความผันผวนในกรอบแคบๆ ในช่วงที่เหลือของปี 2555 และในช่วงไตรมาสแรกของปี 2556 ตามความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ในประเทศเศรษฐกิจสาคัญๆ อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และยูโรโซน คาดว่าจะส่งผลให้บรรยากาศ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงหลังไตรมาสแรกของปี 2556 ซึ่งจะส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายสภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกออกจากตลาดพันธบัตรในประเทศสาคัญๆ รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาทมากขึ้น
4) ราคาสินค้าส่งออกและนาเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0-5.0 และร้อยละ 3.5-4.5 ตามลาดับ เทียบกับการเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 0.5 และร้อยละ 1.8 ในปี 2555 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในตลาดโลกซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ทาให้ความต้องการและราคาสินค้าสาคัญ ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น (2) การอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯและเงินสกุลยูโร (3) การเก็งกาไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ในช่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและสภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์สูง
5) นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยตลอดปี 2556 จานวน 22.5 ล้านคน เทียบกับ 21.9 ล้านคนในปี 2555 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7
- การประมาณการเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยในปี 2556 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5 — 5.5 อัตราเงินเฟ้อในช่วงร้อยละ 2.5 — 3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.0 ของ GDP
เศรษฐกิจไทยมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 5.0 ภายใต้เงื่อนไข (1) เศรษฐกิจโลกขยายตัวไม่ต่ากว่าร้อยละ 3.9 (2) ราคาน้ามันเฉลี่ยในปี 2556 ไม่สูงเกินเฉลี่ย 113 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล (3) การเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐไม่ต่ากว่าเป้าหมายร้อยละ 80 และสามารถเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้กรอบแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้าและแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไม่ต่ากว่า 60,000 ล้านบาท และ 10,000 ล้านบาท ตามลาดับ และ (4) ไม่มีปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตในภาคการเกษตรอย่างรุนแรง
- องค์ประกอบการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2556
1) การบริโภครวมขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับประมาณร้อยละ 5.3 ในปี 2555 โดยที่การบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอตัวลงจากประมาณร้อยละ 5.2 ในปี 2555 ตามการลดลงของแรงขับเคลื่อนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อทดแทนความเสียหายจากภาวะน้าท่วม แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวจาก 1) แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าในตลาดโลก 2) มาตรการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่าทั่วประเทศ 3) การฟื้นตัวของภาคการผลิต 4) แรงส่งจากมาตรการคืนภาษีสาหรับผู้ซื้อรถยนต์คันแรกซึ่งจะยังส่งผลต่อการบริโภคภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก และ 5) แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากนัก ในขณะที่การบริโภคภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5 ตามการเพิ่มขึ้นของกรอบงบประมาณรายจ่ายภาครัฐ
2) การลงทุนรวมขยายตัวประมาณร้อยละ 8.1 เทียบกับร้อยละ 12.0 ในปี 2555 โดยการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8.0 ชะลอตัวลงจากประมาณร้อยละ 13.7 ในปี 2555 ตามการลดลงของแรงส่งจากการลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจากภาวะน้าท่วม แต่การลงทุนใหม่จะมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชนในปี 2556 เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานด้านการลงทุนของไทยยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งจะเห็นได้จากมูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนและมูลค่าของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 97.1 และร้อยละ 155.9 ตามลาดับ ในขณะที่การลงทุนภาครัฐยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากประมาณร้อยละ 5.7 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 8.5 ในปี 2556 ตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่กาหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายไว้ที่ร้อยละ 80 และปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้าและแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เทียบกับประมาณร้อยละ 5.5 ในปี 2555 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าส่งออกร้อยละ 4.2 ตามสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของปริมาณการส่งออกร้อยละ 8.0 เทียบกับประมาณร้อยละ 5.0 ในปี 2555 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การฟื้นตัวของการค้าในกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การลดลงของระดับสินค้าคงคลังในประเทศต่างๆ ในปี 2555 ซึ่งเศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนอยู่สูง รวมทั้งการฟื้นตัวของภาคการผลิตในประเทศและฐานการขยายตัวที่ต่าในปีที่ผ่านมา เมื่อรวมกับการส่งออกภาคบริการที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามภาคการท่องเที่ยว คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.8 เร่งตัวขึ้นจากประมาณร้อยละ 4.2 ในปี 2555
4) มูลค่าการนาเข้าสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.8 ในปี 2555 โดยราคานาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ตามสมมติฐานการประมาณการเศรษฐกิจ ในขณะที่ปริมาณการนาเข้าสินค้าคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 8.7 ตามมูลค่าการส่งออกที่เร่งตัวขึ้น รวมทั้งการลงทุนที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องและค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่ามากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการนาเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวต่อเนื่อง เมื่อรวมกับการนาเข้าบริการซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณการนาเข้าสินค้าและบริการในปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 8.5 เทียบกับประมาณร้อยละ 6.8 ในปี 2555
5) ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะเกินดุลประมาณ 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. และ 3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลาดับ เพิ่มสูงขึ้นจากการเกินดุลประมาณ 1.26 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. และ 2.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2555
6) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 — 3.5 โดยในกรณีฐานคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2555 เนื่องจากราคาน้ามันในตลาดโลกเฉลี่ยทั้งปียังไม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นรุนแรงในขณะที่เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะทาให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย (1) การปรับโครงสร้างราคาพลังงานในประเทศ และ (2) แรงกดดันจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่อาจส่งผลให้ราคาน้ามันและราคาสินค้าในตลาดโลกเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการคาดการณ์
เศรษฐกิจไทยในปี 2556 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวเข้าสู่อัตราการขยายตัวปกติมากขึ้นในขณะที่แรงกดดันที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากภาวะน้าท่วมจะเปิดโอกาสให้ภาครัฐ สามารถดาเนินมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและให้น้าหนักความสาคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวมากขึ้น ดังนั้น การบริหารจัดการเศรษฐกิจในปี 2556 จึงควรให้น้าหนักกับการดาเนินมาตรการเพื่อให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ตามศักยภาพควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการป้องกันความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ
1) เร่งรัดการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดที่มูลค่าการส่งออกในปี 2555 ปรับตัวลดลงมาก รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTB) ในตลาดส่งออกที่มีความสาคัญ
2) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการดาเนินการตามโครงการลงทุนสาคัญๆ ของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการลงทุนภายใต้แผนบริหารจัดการทรัพยากรน้า แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการเร่งรัดแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
3) ติดตามและเตรียมการเพื่อรองรับแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท โดย 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับภาคการผลิตและส่งออกโดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs ที่มีสัดส่วนของต้นทุนค่าแรงสูงและมีรายรับเป็นเงินตราต่างประเทศ 2) การสร้างโอกาสจากการแข็งค่าของเงินบาท โดยเฉพาะการส่งเสริมให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ (TDI) การส่งเสริมการลงทุนในเครื่องจักรของภาคการผลิต และเร่งรัดการนาเข้าของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจและ 3) การดาเนินนโยบายการเงิน ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท เศรษฐกิจในประเทศที่ยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของนโยบายการเงิน
4) ดาเนินการปรับโครงสร้างราคาพลังงานตามแผนที่กาหนดไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
5) การปรับกฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุนเพื่อให้สามารถได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า การเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงาน ภายใต้กรอบข้อตกลงการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 ได้อย่างเต็มที่
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--