- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างทรงตัว อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่จึงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสัปดาห์ก่อนหน้า
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคาและอัตราผลตอบแทน (Yield) ค่อนข้างผันผวนโดย yield ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ yield ของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปปรับลดลง
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก ราคาน้ำมันที่เริ่มทรงตัว และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักจากความกังวลต่อปัญหา Twin Deficits
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างทรงตัว แม้ว่าจะมีพันธบัตรออมทรัพย์มูลค่าประมาณ 8 พันล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอน และมีการเตรียมสภาพคล่องล่วงหน้าของธนาคารพาณิชย์เพื่อปิดสำรองรายปักษ์ ในช่วงต้นสัปดาห์หน้า แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องอย่าง มีนัยสำคัญ อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้นจึงค่อนข้างทรงตัวในระดับเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วันเคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ แต่ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.6875 และ1.71875 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ซึ่งปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.58 -- 1.71 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.7 ต่อปีในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.68 -1.71 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 23,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท หลังจากเว้นการประมูลพันธบัตรรัฐบาลไป 2 สัปดาห์ จึงมีการเสนอประมูลเข้ามามาก ทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลลดลง ในขณะที่ตั๋วเงินคลัง
อายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 14 และ 10.7 basis point ตามลำดับ
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.8 โดยมีมูลค่า 60,734 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12,147 ล้านบาท ต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่าเพียง 29,485 ล้านบาท หรือร้อยละ
48.5 ตราสารระยะยาวได้รับความสนใจมากกว่าตราสารระยะสั้น โดย yield ของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ yield ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้น ในวันพุธ
มีแรงเทขายตราสารหนี้ในปริมาณมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการย้ายเงินลงทุนไปที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่ลดลง และมีแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาสนับสนุน ประกอบกับนักลงทุนคาดการณ์ว่า ธปท. อาจจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในการประชุมเดือนหน้า จึงส่งผลให้ดัชนีราคาลดลงอย่างรุนแรง และ yield ปรับตัวสูงขึ้นมาก ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ในรอบสัปดาห์ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้เอกชนลดลง 17 และ 39 basis point ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
แข็งค่าจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าถึงร้อยละ 1.1 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าก่อนจะอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันอังคาร เนื่องจากมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับตลาดคาดการณ์ว่าอาจมีการแทรกแซงค่าเงินบาทจาก ธปท. เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันที่เริ่มทรงตัว ตลอดจนการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและเงินสกุลภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนยังมี
ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังของสหรัฐฯ และปัจจัยกดดันจากความเห็นของ รมว. คลังของสหรัฐฯ ที่แสดงนัยว่าค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ยังอยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่สนับสนุนการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวที่ประกาศในช่วงสัปดาห์นี้และปลายสัปดาห์ก่อนหน้าจะออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่ไม่ได้ทำให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากนัก ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ที่ระดับ 40.06 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพฤหัสบดี ก่อนจะมีทิศทางอ่อนลงเล็กน้อยในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนมีการปรับฐานะเงินตราต่างประเทศก่อนการประชุมรัฐมนตรีคลัง G-20 ในช่วงปลายสัปดาห์ ซึ่งนักลงทุนรอดูท่าทีของ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่มีต่อทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคาและอัตราผลตอบแทน (Yield) ค่อนข้างผันผวนโดย yield ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ yield ของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปปรับลดลง
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก ราคาน้ำมันที่เริ่มทรงตัว และการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักจากความกังวลต่อปัญหา Twin Deficits
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างทรงตัว แม้ว่าจะมีพันธบัตรออมทรัพย์มูลค่าประมาณ 8 พันล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอน และมีการเตรียมสภาพคล่องล่วงหน้าของธนาคารพาณิชย์เพื่อปิดสำรองรายปักษ์ ในช่วงต้นสัปดาห์หน้า แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องอย่าง มีนัยสำคัญ อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินระยะสั้นจึงค่อนข้างทรงตัวในระดับเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วันเคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ แต่ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.6875 และ1.71875 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน ซึ่งปิดตลาดคงที่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.58 -- 1.71 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.7 ต่อปีในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.68 -1.71 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 23,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี วงเงิน 3,500 ล้านบาท หลังจากเว้นการประมูลพันธบัตรรัฐบาลไป 2 สัปดาห์ จึงมีการเสนอประมูลเข้ามามาก ทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลลดลง ในขณะที่ตั๋วเงินคลัง
อายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 14 และ 10.7 basis point ตามลำดับ
การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.8 โดยมีมูลค่า 60,734 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12,147 ล้านบาท ต่อวัน ปริมาณธุรกรรม Outright มีมูลค่าเพียง 29,485 ล้านบาท หรือร้อยละ
48.5 ตราสารระยะยาวได้รับความสนใจมากกว่าตราสารระยะสั้น โดย yield ของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ในขณะที่ yield ของพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้น ในวันพุธ
มีแรงเทขายตราสารหนี้ในปริมาณมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการย้ายเงินลงทุนไปที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่ลดลง และมีแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาสนับสนุน ประกอบกับนักลงทุนคาดการณ์ว่า ธปท. อาจจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในการประชุมเดือนหน้า จึงส่งผลให้ดัชนีราคาลดลงอย่างรุนแรง และ yield ปรับตัวสูงขึ้นมาก ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ในรอบสัปดาห์ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้เอกชนลดลง 17 และ 39 basis point ตามลำดับ
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
แข็งค่าจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าถึงร้อยละ 1.1 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าก่อนจะอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันอังคาร เนื่องจากมีแรงซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับตลาดคาดการณ์ว่าอาจมีการแทรกแซงค่าเงินบาทจาก ธปท. เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเกินไป อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาน้ำมันที่เริ่มทรงตัว ตลอดจนการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและเงินสกุลภูมิภาค เนื่องจากนักลงทุนยังมี
ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังของสหรัฐฯ และปัจจัยกดดันจากความเห็นของ รมว. คลังของสหรัฐฯ ที่แสดงนัยว่าค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ยังอยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่สนับสนุนการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวที่ประกาศในช่วงสัปดาห์นี้และปลายสัปดาห์ก่อนหน้าจะออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่ไม่ได้ทำให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากนัก ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ที่ระดับ 40.06 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันพฤหัสบดี ก่อนจะมีทิศทางอ่อนลงเล็กน้อยในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนมีการปรับฐานะเงินตราต่างประเทศก่อนการประชุมรัฐมนตรีคลัง G-20 ในช่วงปลายสัปดาห์ ซึ่งนักลงทุนรอดูท่าทีของ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่มีต่อทิศทางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-