- อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน เคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 1.65625 -- 1.71875 ต่อปี ตามความต้องการลงทุนระยะสั้นของ ธนาคารพาณิชย์ ในขณะที่ อัตราดอกเบี้ย R/P 7 และ 14 ปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์
- มีเงินลงทุนเข้ามาในตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ดัชนีราคาเพิ่มสูงขึ้น และอัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯไทยปรับลดลง ในขณะที่ yield ของพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 7 เดือนในวันศุกร์ ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่า ของเงินในภูมิภาค การซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการอ่อนค่าลงอย่างมากของเงิน ดอลลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตลาดคาดการณ์ว่าทางการสหรัฐฯ อาจปล่อยให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากปิดสำรอง สภาพคล่องรายปักษ์ในวันจันทร์มาลงทุน ประกอบกับสถาบันการเงินมี สภาพคล่องส่วนเกินจากเงินจากภาครัฐเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือน จึงมี ความต้องการลงทุนระยะสั้นเช่นกัน โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยจึงปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.65625 - 1.6875 ต่อปี ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.6875 - 1.71875 ต่อปีในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีความต้องการ ลงทุนลดลง และมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ หนาแน่นในตลาด ซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมา อยู่ที่ร้อยละ 1.6875 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิด ตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ ที่ร้อยละ 1.71875 และ 1.75 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลง เล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.625 - 1.72 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิด ตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐจำนวน 23,500 ล้านบาท เท่ากับสัปดาห์ที่แล้ว โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงิน รวม 15,000 ล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี วงเงิน 3,500 ล้าน บาท อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังอายุ 28 วัน ลดลง ในขณะที่ตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. ยังคงมีอัตรา ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่แล้ว การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อย ละ 39.7 มีมูลค่า 84,819 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 16,963 ล้านบาท ต่อวัน โดยเป็นธุรกรรม Outright 50,994 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.1 ทั้งนี้ธุ รกรรม Outright มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 73.0 จากสัปดาห์ก่อน ในวัน แรกของสัปดาห์อัตราผลตอบแทน (yield) ปรับตัวสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้น ของ US Treasury Yield ที่ปรับสูงขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากนั้น yield ของพันธบัตรฯไทยลดลงมาเป็นลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการ แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำ ให้นักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยมากขึ้น ขณะที่ ราคาน้ำมันยังมีความผันผวนและเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ของไทย ยังคงส่งผลลบต่อตลาดหุ้น จึงทำให้ตลาดตราสารหนี้มีความน่าสนใจ มากกว่า มูลค่าการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้จึงเพิ่มขึ้นมากในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้ เอกชนเพิ่มขึ้น19 และ 22 basis point ตามลำดับ ในขณะที่ US Treasury Yield มีทิศทางเพิ่มขึ้นตลอดสัปดาห์เนื่องจากมีการคาดการณ์ ว่าสหรัฐฯจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมกลางเดือนหน้า แต่ไม่ได้ส่งผลต่อ Yield ของตราสารหนี้ไทยมากนัก
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทาง แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็ง ค่าของเงินในภูมิภาค การซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาด หลักทรัพย์ไทยที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยจะ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในสัปดาห์นี้ และปัจจัยหลักจากการอ่อนค่าของเงิน ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและเงินสกุลภูมิภาค เนื่องจาก ตลาดคาดการณ์ว่าทางการสหรัฐฯ อาจปล่อยให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อน ค่าลง หลังจากคำกล่าวของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าเงินดอลลาร์ สรอ. จำเป็นต้องอ่อนค่าเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบกับการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่ม G-20 ไม่ได้หารือเกี่ยวกับ ปัญหาการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. แต่อย่างใด นอกจากนี้ เงิน ดอลลาร์ สรอ. ยังถูกกดดันจากข่าวที่ธนาคารกลางจีนอาจปรับลดการถือ ครองทรัพย์สินสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนเป็นทรัพย์สินสกุลเงินยูโร เพื่อลดผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ขณะที่มีข่าวว่า ธนาคารกลางรัสเซียอาจทบทวนสัดส่วนการถือครองเงินยูโรในทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศเช่นเดียวกัน ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 7 เดือนในวันศุกร์ ที่ระดับ 39.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.67 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ถึงร้อยละ 1.4 ทั้งนี้ ผู้ว่า ธปท. กล่าวว่าจะเข้าไปดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ เคลื่อนไหวผันผวนจนเกินไป อันจะเป็นช่องทางให้เกิดการเก็งกำไรระยะ สั้นได้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มีเงินลงทุนเข้ามาในตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ดัชนีราคาเพิ่มสูงขึ้น และอัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯไทยปรับลดลง ในขณะที่ yield ของพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น
- เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์และปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 7 เดือนในวันศุกร์ ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่า ของเงินในภูมิภาค การซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการอ่อนค่าลงอย่างมากของเงิน ดอลลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตลาดคาดการณ์ว่าทางการสหรัฐฯ อาจปล่อยให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าต่อไป
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากปิดสำรอง สภาพคล่องรายปักษ์ในวันจันทร์มาลงทุน ประกอบกับสถาบันการเงินมี สภาพคล่องส่วนเกินจากเงินจากภาครัฐเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือน จึงมี ความต้องการลงทุนระยะสั้นเช่นกัน โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ระยะ 1 วัน อัตราดอกเบี้ยจึงปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.65625 - 1.6875 ต่อปี ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.6875 - 1.71875 ต่อปีในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากมีความต้องการ ลงทุนลดลง และมีความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ หนาแน่นในตลาด ซื้อคืนระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดลดลงมา อยู่ที่ร้อยละ 1.6875 ต่อปี ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 7 และ 14 วัน ปิด ตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ ที่ร้อยละ 1.71875 และ 1.75 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวแคบลง เล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.625 - 1.72 โดยอัตรากลาง (Mode) ปิด ตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐจำนวน 23,500 ล้านบาท เท่ากับสัปดาห์ที่แล้ว โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงิน รวม 15,000 ล้านบาท พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี วงเงิน 3,500 ล้าน บาท อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังอายุ 28 วัน ลดลง ในขณะที่ตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. ยังคงมีอัตรา ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่แล้ว การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อย ละ 39.7 มีมูลค่า 84,819 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 16,963 ล้านบาท ต่อวัน โดยเป็นธุรกรรม Outright 50,994 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.1 ทั้งนี้ธุ รกรรม Outright มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 73.0 จากสัปดาห์ก่อน ในวัน แรกของสัปดาห์อัตราผลตอบแทน (yield) ปรับตัวสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้น ของ US Treasury Yield ที่ปรับสูงขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากนั้น yield ของพันธบัตรฯไทยลดลงมาเป็นลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการ แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทำ ให้นักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดทุนไทยมากขึ้น ขณะที่ ราคาน้ำมันยังมีความผันผวนและเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ของไทย ยังคงส่งผลลบต่อตลาดหุ้น จึงทำให้ตลาดตราสารหนี้มีความน่าสนใจ มากกว่า มูลค่าการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้จึงเพิ่มขึ้นมากในสัปดาห์นี้ ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและ หุ้นกู้ เอกชนเพิ่มขึ้น19 และ 22 basis point ตามลำดับ ในขณะที่ US Treasury Yield มีทิศทางเพิ่มขึ้นตลอดสัปดาห์เนื่องจากมีการคาดการณ์ ว่าสหรัฐฯจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมกลางเดือนหน้า แต่ไม่ได้ส่งผลต่อ Yield ของตราสารหนี้ไทยมากนัก
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า และมีทิศทาง แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากตลอดสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการแข็ง ค่าของเงินในภูมิภาค การซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาด หลักทรัพย์ไทยที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยจะ ปรับตัวลดลงเล็กน้อยในสัปดาห์นี้ และปัจจัยหลักจากการอ่อนค่าของเงิน ดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและเงินสกุลภูมิภาค เนื่องจาก ตลาดคาดการณ์ว่าทางการสหรัฐฯ อาจปล่อยให้เงินดอลลาร์ สรอ. อ่อน ค่าลง หลังจากคำกล่าวของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าเงินดอลลาร์ สรอ. จำเป็นต้องอ่อนค่าเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบกับการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่ม G-20 ไม่ได้หารือเกี่ยวกับ ปัญหาการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. แต่อย่างใด นอกจากนี้ เงิน ดอลลาร์ สรอ. ยังถูกกดดันจากข่าวที่ธนาคารกลางจีนอาจปรับลดการถือ ครองทรัพย์สินสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนเป็นทรัพย์สินสกุลเงินยูโร เพื่อลดผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ขณะที่มีข่าวว่า ธนาคารกลางรัสเซียอาจทบทวนสัดส่วนการถือครองเงินยูโรในทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศเช่นเดียวกัน ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ขึ้นเป็นลำดับและปรับแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 7 เดือนในวันศุกร์ ที่ระดับ 39.37 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.67 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า ถึงร้อยละ 1.4 ทั้งนี้ ผู้ว่า ธปท. กล่าวว่าจะเข้าไปดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ เคลื่อนไหวผันผวนจนเกินไป อันจะเป็นช่องทางให้เกิดการเก็งกำไรระยะ สั้นได้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-