1. ข้อเท็จจริง
1.1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2540 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการดังนี้
(1) ปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ให้
สอดคล้องกับเป้าหมายทางด้านมหภาคที่ได้ตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF)
(2) ร่วมกับกระทรวงการคลังทบทวนแผนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยเลื่อนหรือยกเลิก
โครงการที่มีลำดับความสำคัญต่ำ ให้สอดคล้องกับแผนการจำกัดการลงทุน
(3) ร่วมกับคณะกรรมการกำกับนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ เร่งรัด
โครงการที่อาจจะนำมาให้ภาคเอกชนลงทุนแทนภาครัฐ
1.2 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มีมติ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2540
ให้ความเห็นชอบแนวทางการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ใน 5 ประเด็น ดังนี้
(1) รักษาแนวคิดและจุดมุ่งหมายของแผนฯ 8 ที่มุ่งพัฒนาคนให้เต็มศักยภาพเพื่อนำไปสู่การ
พัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว
(2) ให้ปรับประมาณการเศรษฐกิจมหภาคให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และเงื่อนไข ที่รัฐบาล
ไทยทำความตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(3) ให้จัดทำกรอบการลงทุนรวมของประเทศ
(4) ให้กำหนดหลักเกณฑ์การปรับลดและตัดทอนโครงการลงทุนภาครัฐ
(5) ให้จัดทำแผนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจซึ่งได้กำหนดไว้แล้วในแผนฯ 8 ให้ชัดเจน
และสอดคล้องกับพันธกรณีของรัฐบาลไทย ตามข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศและการกู้เงินจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเซีย เพื่อปรับโครงสร้าง
เศรษฐกิจดังกล่าว
1.3 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำแนวทางการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ดังกล่าว
เสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจเพื่อขอความเห็นต่อไป
2. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการปรับกรอบและทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
2.1 กรอบและทิศทางของแผนฯ 8
(1) จะยังคงรักษาจุดมุ่งหมายและทิศทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่มุ่งพัฒนาให้
คนไทยทุกคนมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่มากขึ้น ทั้งทางร่างกาย จิต
ใจ สติปัญญา และมีส่วนร่วมอย่างเต็มภาคภูมิในกระบวนการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็น
แนวทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่มีความสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของคนและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัย
ชี้ขาดในการแข่งขันกับต่างประเทศและเพื่อให้คนไทยและสังคมไทยสามารถยืนหยัดภาย
ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบนพื้นฐานของตนเอง
(2) การปรับแผนพัฒนาฯ จะเป็นการปรับโดยจะยึดเป้าหมายและเงื่อนไขข้อตกลงระหว่าง
รัฐบาลไทยกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับเสถียรภาพและ
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
2.2 ประมาณการเศรษฐกิจมหภาคตามข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) เงื่อนไขที่สำคัญของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กองทุนฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการ
ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค 2 ประการที่สำคัญ คือ
- จะต้องรักษาเสถียรภาพด้านราคา โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยตลอดช่วง 5 ปี จะต้อง
อยู่ในระดับร้อยละ 5.6 ต่อปี โดยในช่วง 2 ปีแรก อยู่ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7.5
ต่อปี และในช่วง 3 ปีหลังอยู่ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี
- จะต้องรักษาเสถียรภาพด้านต่างประเทศ โดยลัดส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ
ผลผลิตรวมเฉลี่ยร้อยละ 3.6 ต่อปี โดยขาดดุลร้อยละ 5 และร้อยละ 3 ในปี
2540 และ 2541 ตามลำดับ และขาดดุลเฉลี่ยร้อยละ 3.4 ในช่วง 3 ปีสุดท้าย
ของแผนฯ
(2) ในการบรรลุเงื่อนไขด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจดังกล่าว เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว
เฉลี่ยร้อยละ 4.9 ต่อปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยในช่วง 2 ปีแรกเพิ่มขึ้นใน
อัตราร้อยละ 2.5-3.5 และร้อยละ 5.5-6.5 ในช่วง 3 ปีหลังของแผนฯ
ตารางประมาณการเศรษฐกิจมหภาคตามข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ร้อยละ)
____________________________________________________________________________________
| เป้าหมายแผนฯ 8 เดิม | เป้าหมายมหภาคภายใต้กรอบ IMF |
| |------------------------------| เฉลี่ย
| เฉลี่ย 2540-2544 | 2540 2541 2542 2543 2544 | ต่อปี
____________________________________________________________________________________
อัตราการเจริญเติบโต | 8 | 2.5 3.5 5.5 6.5 6.5 | 4.9
อัตราเงินเฟ้อ | 4.5 | 7.0 8.0 4.6 4.3 4.3 | 5.6
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP | 3.4* | 5.0 3.0 3.2 3.4 3.6 | 3.6
____________________________________________________________________________________
หมายเหตุ *ปีสุดท้ายของแผนฯ
2.3 การปรับกรอบการลงทุนรวมของประเทศ
(1) ภายใต้เป้าหมายมหภาคใหม่ของแผนฯ 8 ซึ่งกำหนดให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ต่ำ
กว่าแผน 7 และต่ำกว่าเป้าหมายเดิมของแผนฯ 8 จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมการ
ใช้จ่ายในประเทศทั้งของภาครัฐและเอกชน ให้สอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจ และ
การเงินของประเทศ
(2) ในการบรรลุเป้าหมายด้านเสถียรภาพ และ การขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่ง
จำเป็นต้องปรับสัดส่วนการลงทุนรวมของประเทศต่อผลผลิตรวม ให้ลดลงเหลือเฉลี่ย
ร้อยละ 36.9 เทียบกับร้อยละ 40.5 ในช่วงแผนฯ 7
(3) กรอบการลงทุนใหม่ของประเทศตลอด 5 ปี จะมีวงเงินประมาณ 11,390,573 ล้าน
บาท ลดลงจากกรอบเดิมเป็นจำนวน 3,930,527 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับลดทั้ง
ของภาครัฐและเอกชน
(4) ในส่วนของการลงทุนภาครัฐจะมีกรอบเงินลงทุนใหม่คิดเป็นเงิน 2,985,038 ล้าน
บาท เทียบกับวงเงินลงทุนเดิม 4,106,300 ล้านบาท หรือลดลง 1,121,262 ล้าน
บาท โดยเป็นการลดลงของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในวงเงิน 864,539 ล้านบาทและ
256,723 ล้านบาท ตามลำดับ
(5) การจัดสรรเงินลงทุน ภายใต้กรอบการลงทุนใหม่จะมีผลต่อโครงการลงทุนของภาครัฐ
ที่อยู่ในแผนปฏิบัติการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดังนี้
- โครงการต่อเนื่องที่ผูกพันงบประมาณไว้แล้ว จะมีวงเงินเต็มตามที่ประมาณการใหม่
- โครงการใหม่ที่อยู่ในระหว่างพิจารณา อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้
ตารางกรอบการลงทุนรวมของประเทศ
(ล้านบาท)
_______________________________________________________________________
แผนฯ 7 แผนฯ 8 ลดลง
--------------------------
เดิม ใหม่
_______________________________________________________________________
1. ภาคเอกชน 5,860,552 11,214,800 8,405,535 2,809,265
2. ภาครัฐ 1,608,940 4,106,300 2,985,038 1,121,262
(1) รัฐบาล 921,348 2,572,188 1,707,649 864,539
(2) รัฐวิสาหกิจ 687,592 1,534,112 1,277,389 256,723
3. การลงทุนรวม 7,469,492 15,321,100 11,390,573 3,930,527
_______________________________________________________________________
2.4 หลักเกณฑ์การปรับกรอบการลงทุนภาครัฐ
ในส่วนของภาครัฐนั้นจำเป็นต้องดำเนินการอย่างจริงจังและให้เป็นตัวอย่าง โดยต้อง
ทบทวนนโยบาย และ ปรับค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนให้อยู่ภายใต้กรอบมหภาคใหม่โดยทันที
รวมถึงการเลื่อนหรือยกเลิกโครงการที่ต่อเนื่องแต่มีความสำคัญต่ำ แต่การดำเนินการนี้จะ
ต้องให้เกิดผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาคนตามแผนฯ 8 ให้น้อยที่สุด ในการพิจารณา
โครงการภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการดังนี้
(1) หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการใหม่ การพิจารณาโครงการลงทุนใหม่จะต้องเข้มงวด
ในหลักเกณฑ์ใหม่ ดังนี้
- เป็นโครงการที่ไม่ใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศและให้ความสำคัญกับโครงการ
ที่ใช้ส่วนประกอบภายในประเทศ และก่อให้เกิดการจ้างงาน
- หากเป็นโครงการที่ใช้ส่วนประกอบนำเข้าจากต่างประเทศจะต้องมีขีดความสามารถ
ในการสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศอย่างน้อยในสัดส่วนเท่ากับที่ต้องสูญเสียเงิน
ตราต่างประเทศออกไป
- โครงการที่ให้เอกชนดำเนินการจะต้องเป็นการดึงนักลงทุนต่างชาตินำเงินเข้ามาถือ
หุ้นมิใช่เป็นการกู้เงินมาลงทุน
(2) ให้กระทรวงเร่งรัดจัดลำดับความสำคัญแผนงานและโครงการ
(3) ให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งทบทวนแผนลงทุนในระยะ 5 ปี ให้สอดคล้องกับฐานะทางการเงิน
ของประเทศ
2.5 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
นอกจากการปรับกรอบการลงทุนแล้ว เรื่องสำคัญจะต้องเร่งรัดดำเนินการคือการปรับ
โครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อจำกัดในปัจจุบัน โดยต้องดำเนินการจัดลำดับ
ความสำคัญของแนวทางการพัฒนาตามแผนฯ 8 ให้ชัดเจน และเน้นเฉพาะที่จำเป็น
จริง ๆ เท่านั้น ทั้งนี้กรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ควรให้ความสำคัญเร่งด่วน
ในระดับสูงในเรื่องต่อไปนี้
(1) การสร้างเสถียรภาพด้านการเงินและเศรษฐกิจรวมเพื่อสร้างความมั่นใจ
ในภาวะของความผันผวนทางเศรษฐกิจ ซึ่งในขณะนี้เกิดขึ้นทั้งภูมิภาคเอเซีย ทำให้
ประเทศไทยต้องมีแผนรองรับที่ชัดเจน รวมแนวทางด้านการคลัง การเงิน สถาบัน
การเงิน การก่อหนี้ภาครัฐและเอกชน และการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งมีระบบ
ข้อมูลที่เชื่อถือได้ โปร่งใส และตรวจสอบได้
(2) การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อการส่งออกและการเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขัน
ในแผนฯ 8 ได้มีมาตรการในการเพิ่มสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับขีดความ
สามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ แต่ภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันทำให้ต้องมุ่งเน้น
การปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด โดยมุ่งเน้นการ
ปรับโครงสร้างการผลิต ปรับปรุงความสามารถของคนและการเพิ่มเทคโนโลยีที่ให้ผล
รวดเร็วและตรงจุดที่จะกระตุ้นการสร้างรายได้จากการส่งออกและเพิ่มความสามารถ
ในการขยายตลาดส่งออกเป็นสำคัญ โดยมีแนวทางดังนี้
- ปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับการดำเนินการภายใต้เงินกู้ Structural
Adjustment Loan (SAL) จากธนาคารโลก และ Program Loan จาก
ธนาคารพัฒนาเอเซีย ทั้งนี้ควรเร่งรัดการพัฒนาเทคโนโลยีในสาขาที่สามารถสร้าง
รายได้ส่งออกให้เพียงพอ และสนับสนุนให้มีการร่วมลงทุนระหว่างนักลงทุนไทยและ
ต่างประเทศ
- เร่งรัดการสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศโดยเฉพาะการส่งเสริมการหารายได้
ในรูปเงินตราต่างประเทศจากภาคบริการและการท่องเที่ยว ซึ่งยังมีศักยภาพสูงใน
การสร้างรายได้ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมกับการประหยัดการใช้จ่ายที่เป็น
เงินตราต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน
- เร่งรัดการพัฒนาคนให้เต็มศักยภาพโดยเน้นการเพิ่มคุณภาพ ในระบบการศึกษาและ
การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
- เร่งรัดให้เกิดการปรับระบบการบริหารงานพัฒนาประเทศที่มีประสิทธิภาพและโปร่ง
ใส การระดมความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนให้มีจุดมุ่งหมายเดียว
กัน เป็นเรื่องที่จำเป็นในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้พ้นวิกฤตและก้าวหน้า
ต่อไปอย่างมั่นคง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อภาครัฐมีประสิทธิภาพโปร่งใสมีข้อมูลที่ทัน
ต่อเหตุการณ์ และเข้าเป็นแกนประสานสร้างเครือข่ายกับภาคีการพัฒนาทั้งในและ
นอกประเทศ
- เร่งรัดการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการดำเนินกิจการของรัฐให้เป็นรูปธรรม ภาย
ใต้กรอบเวลาที่คณะกรรมการกำกับนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ
เพื่อเป็นการลดภาระการลงทุนเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนิน
งานของรัฐวิสาหกิจ
- ดูแลประชาชนโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งมี
แนวโน้มการว่างงานที่สูงขึ้น และจะเพิ่มผู้ว่างงานในเมืองที่จำเป็นต้องมีทางเลือก
เป็นการกลับไปสู่ภาคเกษตรหรืออุตสาหกรรมครัวเรือนในชนบท การฝึกฝีมือแรงงาน
การไปทำงานต่างประเทศ และการประกอบอาชีพอิสระ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2540--
1.1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2540 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการดังนี้
(1) ปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ให้
สอดคล้องกับเป้าหมายทางด้านมหภาคที่ได้ตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF)
(2) ร่วมกับกระทรวงการคลังทบทวนแผนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยเลื่อนหรือยกเลิก
โครงการที่มีลำดับความสำคัญต่ำ ให้สอดคล้องกับแผนการจำกัดการลงทุน
(3) ร่วมกับคณะกรรมการกำกับนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ เร่งรัด
โครงการที่อาจจะนำมาให้ภาคเอกชนลงทุนแทนภาครัฐ
1.2 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มีมติ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2540
ให้ความเห็นชอบแนวทางการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ใน 5 ประเด็น ดังนี้
(1) รักษาแนวคิดและจุดมุ่งหมายของแผนฯ 8 ที่มุ่งพัฒนาคนให้เต็มศักยภาพเพื่อนำไปสู่การ
พัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว
(2) ให้ปรับประมาณการเศรษฐกิจมหภาคให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และเงื่อนไข ที่รัฐบาล
ไทยทำความตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(3) ให้จัดทำกรอบการลงทุนรวมของประเทศ
(4) ให้กำหนดหลักเกณฑ์การปรับลดและตัดทอนโครงการลงทุนภาครัฐ
(5) ให้จัดทำแผนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจซึ่งได้กำหนดไว้แล้วในแผนฯ 8 ให้ชัดเจน
และสอดคล้องกับพันธกรณีของรัฐบาลไทย ตามข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศและการกู้เงินจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเซีย เพื่อปรับโครงสร้าง
เศรษฐกิจดังกล่าว
1.3 คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำแนวทางการปรับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ดังกล่าว
เสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายเศรษฐกิจเพื่อขอความเห็นต่อไป
2. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการปรับกรอบและทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
2.1 กรอบและทิศทางของแผนฯ 8
(1) จะยังคงรักษาจุดมุ่งหมายและทิศทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่มุ่งพัฒนาให้
คนไทยทุกคนมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่มากขึ้น ทั้งทางร่างกาย จิต
ใจ สติปัญญา และมีส่วนร่วมอย่างเต็มภาคภูมิในกระบวนการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็น
แนวทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่มีความสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของคนและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัย
ชี้ขาดในการแข่งขันกับต่างประเทศและเพื่อให้คนไทยและสังคมไทยสามารถยืนหยัดภาย
ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบนพื้นฐานของตนเอง
(2) การปรับแผนพัฒนาฯ จะเป็นการปรับโดยจะยึดเป้าหมายและเงื่อนไขข้อตกลงระหว่าง
รัฐบาลไทยกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับเสถียรภาพและ
ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
2.2 ประมาณการเศรษฐกิจมหภาคตามข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(1) เงื่อนไขที่สำคัญของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กองทุนฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการ
ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค 2 ประการที่สำคัญ คือ
- จะต้องรักษาเสถียรภาพด้านราคา โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยตลอดช่วง 5 ปี จะต้อง
อยู่ในระดับร้อยละ 5.6 ต่อปี โดยในช่วง 2 ปีแรก อยู่ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7.5
ต่อปี และในช่วง 3 ปีหลังอยู่ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี
- จะต้องรักษาเสถียรภาพด้านต่างประเทศ โดยลัดส่วนการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ
ผลผลิตรวมเฉลี่ยร้อยละ 3.6 ต่อปี โดยขาดดุลร้อยละ 5 และร้อยละ 3 ในปี
2540 และ 2541 ตามลำดับ และขาดดุลเฉลี่ยร้อยละ 3.4 ในช่วง 3 ปีสุดท้าย
ของแผนฯ
(2) ในการบรรลุเงื่อนไขด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจดังกล่าว เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว
เฉลี่ยร้อยละ 4.9 ต่อปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยในช่วง 2 ปีแรกเพิ่มขึ้นใน
อัตราร้อยละ 2.5-3.5 และร้อยละ 5.5-6.5 ในช่วง 3 ปีหลังของแผนฯ
ตารางประมาณการเศรษฐกิจมหภาคตามข้อตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ร้อยละ)
____________________________________________________________________________________
| เป้าหมายแผนฯ 8 เดิม | เป้าหมายมหภาคภายใต้กรอบ IMF |
| |------------------------------| เฉลี่ย
| เฉลี่ย 2540-2544 | 2540 2541 2542 2543 2544 | ต่อปี
____________________________________________________________________________________
อัตราการเจริญเติบโต | 8 | 2.5 3.5 5.5 6.5 6.5 | 4.9
อัตราเงินเฟ้อ | 4.5 | 7.0 8.0 4.6 4.3 4.3 | 5.6
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP | 3.4* | 5.0 3.0 3.2 3.4 3.6 | 3.6
____________________________________________________________________________________
หมายเหตุ *ปีสุดท้ายของแผนฯ
2.3 การปรับกรอบการลงทุนรวมของประเทศ
(1) ภายใต้เป้าหมายมหภาคใหม่ของแผนฯ 8 ซึ่งกำหนดให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ต่ำ
กว่าแผน 7 และต่ำกว่าเป้าหมายเดิมของแผนฯ 8 จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมการ
ใช้จ่ายในประเทศทั้งของภาครัฐและเอกชน ให้สอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจ และ
การเงินของประเทศ
(2) ในการบรรลุเป้าหมายด้านเสถียรภาพ และ การขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่ง
จำเป็นต้องปรับสัดส่วนการลงทุนรวมของประเทศต่อผลผลิตรวม ให้ลดลงเหลือเฉลี่ย
ร้อยละ 36.9 เทียบกับร้อยละ 40.5 ในช่วงแผนฯ 7
(3) กรอบการลงทุนใหม่ของประเทศตลอด 5 ปี จะมีวงเงินประมาณ 11,390,573 ล้าน
บาท ลดลงจากกรอบเดิมเป็นจำนวน 3,930,527 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับลดทั้ง
ของภาครัฐและเอกชน
(4) ในส่วนของการลงทุนภาครัฐจะมีกรอบเงินลงทุนใหม่คิดเป็นเงิน 2,985,038 ล้าน
บาท เทียบกับวงเงินลงทุนเดิม 4,106,300 ล้านบาท หรือลดลง 1,121,262 ล้าน
บาท โดยเป็นการลดลงของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในวงเงิน 864,539 ล้านบาทและ
256,723 ล้านบาท ตามลำดับ
(5) การจัดสรรเงินลงทุน ภายใต้กรอบการลงทุนใหม่จะมีผลต่อโครงการลงทุนของภาครัฐ
ที่อยู่ในแผนปฏิบัติการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดังนี้
- โครงการต่อเนื่องที่ผูกพันงบประมาณไว้แล้ว จะมีวงเงินเต็มตามที่ประมาณการใหม่
- โครงการใหม่ที่อยู่ในระหว่างพิจารณา อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้
ตารางกรอบการลงทุนรวมของประเทศ
(ล้านบาท)
_______________________________________________________________________
แผนฯ 7 แผนฯ 8 ลดลง
--------------------------
เดิม ใหม่
_______________________________________________________________________
1. ภาคเอกชน 5,860,552 11,214,800 8,405,535 2,809,265
2. ภาครัฐ 1,608,940 4,106,300 2,985,038 1,121,262
(1) รัฐบาล 921,348 2,572,188 1,707,649 864,539
(2) รัฐวิสาหกิจ 687,592 1,534,112 1,277,389 256,723
3. การลงทุนรวม 7,469,492 15,321,100 11,390,573 3,930,527
_______________________________________________________________________
2.4 หลักเกณฑ์การปรับกรอบการลงทุนภาครัฐ
ในส่วนของภาครัฐนั้นจำเป็นต้องดำเนินการอย่างจริงจังและให้เป็นตัวอย่าง โดยต้อง
ทบทวนนโยบาย และ ปรับค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนให้อยู่ภายใต้กรอบมหภาคใหม่โดยทันที
รวมถึงการเลื่อนหรือยกเลิกโครงการที่ต่อเนื่องแต่มีความสำคัญต่ำ แต่การดำเนินการนี้จะ
ต้องให้เกิดผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาคนตามแผนฯ 8 ให้น้อยที่สุด ในการพิจารณา
โครงการภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการดังนี้
(1) หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการใหม่ การพิจารณาโครงการลงทุนใหม่จะต้องเข้มงวด
ในหลักเกณฑ์ใหม่ ดังนี้
- เป็นโครงการที่ไม่ใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศและให้ความสำคัญกับโครงการ
ที่ใช้ส่วนประกอบภายในประเทศ และก่อให้เกิดการจ้างงาน
- หากเป็นโครงการที่ใช้ส่วนประกอบนำเข้าจากต่างประเทศจะต้องมีขีดความสามารถ
ในการสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศอย่างน้อยในสัดส่วนเท่ากับที่ต้องสูญเสียเงิน
ตราต่างประเทศออกไป
- โครงการที่ให้เอกชนดำเนินการจะต้องเป็นการดึงนักลงทุนต่างชาตินำเงินเข้ามาถือ
หุ้นมิใช่เป็นการกู้เงินมาลงทุน
(2) ให้กระทรวงเร่งรัดจัดลำดับความสำคัญแผนงานและโครงการ
(3) ให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งทบทวนแผนลงทุนในระยะ 5 ปี ให้สอดคล้องกับฐานะทางการเงิน
ของประเทศ
2.5 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
นอกจากการปรับกรอบการลงทุนแล้ว เรื่องสำคัญจะต้องเร่งรัดดำเนินการคือการปรับ
โครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับข้อจำกัดในปัจจุบัน โดยต้องดำเนินการจัดลำดับ
ความสำคัญของแนวทางการพัฒนาตามแผนฯ 8 ให้ชัดเจน และเน้นเฉพาะที่จำเป็น
จริง ๆ เท่านั้น ทั้งนี้กรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ควรให้ความสำคัญเร่งด่วน
ในระดับสูงในเรื่องต่อไปนี้
(1) การสร้างเสถียรภาพด้านการเงินและเศรษฐกิจรวมเพื่อสร้างความมั่นใจ
ในภาวะของความผันผวนทางเศรษฐกิจ ซึ่งในขณะนี้เกิดขึ้นทั้งภูมิภาคเอเซีย ทำให้
ประเทศไทยต้องมีแผนรองรับที่ชัดเจน รวมแนวทางด้านการคลัง การเงิน สถาบัน
การเงิน การก่อหนี้ภาครัฐและเอกชน และการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งมีระบบ
ข้อมูลที่เชื่อถือได้ โปร่งใส และตรวจสอบได้
(2) การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อการส่งออกและการเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขัน
ในแผนฯ 8 ได้มีมาตรการในการเพิ่มสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับขีดความ
สามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ แต่ภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันทำให้ต้องมุ่งเน้น
การปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด โดยมุ่งเน้นการ
ปรับโครงสร้างการผลิต ปรับปรุงความสามารถของคนและการเพิ่มเทคโนโลยีที่ให้ผล
รวดเร็วและตรงจุดที่จะกระตุ้นการสร้างรายได้จากการส่งออกและเพิ่มความสามารถ
ในการขยายตลาดส่งออกเป็นสำคัญ โดยมีแนวทางดังนี้
- ปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับการดำเนินการภายใต้เงินกู้ Structural
Adjustment Loan (SAL) จากธนาคารโลก และ Program Loan จาก
ธนาคารพัฒนาเอเซีย ทั้งนี้ควรเร่งรัดการพัฒนาเทคโนโลยีในสาขาที่สามารถสร้าง
รายได้ส่งออกให้เพียงพอ และสนับสนุนให้มีการร่วมลงทุนระหว่างนักลงทุนไทยและ
ต่างประเทศ
- เร่งรัดการสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศโดยเฉพาะการส่งเสริมการหารายได้
ในรูปเงินตราต่างประเทศจากภาคบริการและการท่องเที่ยว ซึ่งยังมีศักยภาพสูงใน
การสร้างรายได้ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมกับการประหยัดการใช้จ่ายที่เป็น
เงินตราต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน
- เร่งรัดการพัฒนาคนให้เต็มศักยภาพโดยเน้นการเพิ่มคุณภาพ ในระบบการศึกษาและ
การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
- เร่งรัดให้เกิดการปรับระบบการบริหารงานพัฒนาประเทศที่มีประสิทธิภาพและโปร่ง
ใส การระดมความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนให้มีจุดมุ่งหมายเดียว
กัน เป็นเรื่องที่จำเป็นในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้พ้นวิกฤตและก้าวหน้า
ต่อไปอย่างมั่นคง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อภาครัฐมีประสิทธิภาพโปร่งใสมีข้อมูลที่ทัน
ต่อเหตุการณ์ และเข้าเป็นแกนประสานสร้างเครือข่ายกับภาคีการพัฒนาทั้งในและ
นอกประเทศ
- เร่งรัดการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการดำเนินกิจการของรัฐให้เป็นรูปธรรม ภาย
ใต้กรอบเวลาที่คณะกรรมการกำกับนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ
เพื่อเป็นการลดภาระการลงทุนเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนิน
งานของรัฐวิสาหกิจ
- ดูแลประชาชนโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งมี
แนวโน้มการว่างงานที่สูงขึ้น และจะเพิ่มผู้ว่างงานในเมืองที่จำเป็นต้องมีทางเลือก
เป็นการกลับไปสู่ภาคเกษตรหรืออุตสาหกรรมครัวเรือนในชนบท การฝึกฝีมือแรงงาน
การไปทำงานต่างประเทศ และการประกอบอาชีพอิสระ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2540--