ดร.สุเมธตันติเวชกุลเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำคณะผู้แทนจากภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน จำนวน 28 คน เดินทางไปจัดสัมมนาระหว่างประเทศเรื่อง "บทบาทของภาคเอกชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจ" ณ กรุงอูลัน-บาตอร์ประเทศมองโกเลีย ระหว่างวันที่ 1-6 กันยายน 2539 ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างให้ภาคเอกชนไทยและภาคเอกชนมองโกเลียได้มีโอกาสพบปะหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุนในธุรกิจที่มองโกเลียมีศักยภาพสูงและไทยมีประสบการณ์พร้อมในด้านสาขาต่าง ๆ
ภายหลังกลับจากการเดินทางไปประเทศมองโกเลีย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้เปิดเผยว่า จากการที่ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศมองโกเลีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองส่วนใหญ่เป็นไปในรูปของความช่วยเหลือทางวิชาการที่ฝ่ายไทยให้แก่มองโกเลีย อาทิ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนเศรษฐกิจมหภาค ฯลฯ นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังได้จัดทำแผนแม่บทความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังได้จัดทำแผนแม่บทความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-มองโกเลีย โดยได้ประสานงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของแผนแม่บทความร่วมมือฯและเสนอผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20สิงหาคม 2539 ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทความร่วมมือฯ ดังกล่าว
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เปิดเผยด้วยว่า ในการนำคณะผู้แทนจากภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน เดินทางไปประเทศมองโกเลียครั้งนี้เป็นเจตนารมณ์ของทางฝ่ายรัฐบาลมองโกเลียที่ได้ขอให้สศช. นำคณะผู้แทนจากภาคเอกชนไปร่วมสัมมนาณประเทศมองโกเลีย เพื่อสร้างความร่วมมืออย่างจริงจังของภาคเอกชนทั้งสองฝ่ายในระดับทวิภาคีและเพื่อทำการกระชับความสัมพันธไมตรีกับรัฐบาลชุดใหม่ของมองโกเลียที่ผ่านการเลือกตั้งเมื่อไม่นานมานี้
ดร.สุเมธตันติเวชกุลยังได้ชี้ให้เห็นถึงสาระสำคัญจากการสัมมนาดังกล่าวว่า ฝ่ายมองโกเลียได้แสดงความสนใจให้ฝ่ายไทยให้ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยได้ขอให้ฝ่ายไทยทำการฝึกอบรมบุคลากรของมองโกเลียให้มีทักษะที่จำเป็นในด้านธุรกิจการท่องเที่ยว โดยจะส่งผู้รับการฝึกอบรมทางด้านการท่องเที่ยวจากสถาบันการจัดการด้านการท่องเที่ยวของมองโกเลียมาฝึกอบรมณสถาบันฝึกอบรมวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ ผู้แทนจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเดินทางร่วมไปกับคณะในครั้งนี้ด้วยได้แสดงความยินดีที่จะจัดส่งร่างสัญญาความตกลงเส้นทางการบินร่วม(Draft of Interline Agreement) ไปให้ บริษัทสายการบิน มองโกเลีย (MIAT) พิจารณา ทั้งนี้เพื่อทำการปรับตารางการบินของ TG และ MIAT ให้ผู้เดินทางสามารถเดินทางในระหว่าง 2 ประเทศนี้ ภายในวันเดียว และฝ่ายมองโกเลียยังสนใจที่จะเปิดเที่ยวบินเหมาลำบินตรงมายังประเทศไทยขณะเดียวกันบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน)ได้เสนอให้พนักงานของ MIAT มาดูงานของบริษัทการบินไทยด้วยและเสนอให้มีโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรจากบริษัททัวร์ เพื่อดูงานของแต่ละฝ่ายโดยจะได้รับการสนับสนุนจากสายการบินทั้งสองประเทศต่อไป
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวเพิ่มเติมว่าในการเดินทางไปประเทศมองโกเลียครั้งนี้เจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตไทยณ กรุงปักกิ่ง ยังได้มีโอกาสพบปะหารือในรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลีย โดยเฉพาะเรื่องการพิจารณาเสนอบุคคลชาวมองโกเลียที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งกงศุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศมองโกเลีย ให้กระทรวงต่างประเทศของไทยพิจารณาต่อไป
สำหรับทางด้านเกษตรกรรมนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในด้านการพัฒนาการเกษตรระหว่างประเทศทั้งสอง โดยผู้แทนภาคเอกชนของไทยจากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้ความสนใจในการลงทุนทางด้านปศุสัตว์ อุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์ และอุตสาหกรรมหนังสัตว์
เลขาธิการฯได้กล่าวในตอนท้ายว่าการสัมมนาเรื่อง "บทบาทของภาคเอกชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจ" ณ ประเทศมองโกเลียในครั้งนี้นับว่าได้มีส่วนช่วยเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศไทยกับประเทศมองโกเลียให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและหารือในรายละเอียดเพื่อการลงทุนระหว่างประเทศทั้งสองในอนาคตและยังได้มีส่วนช่วยกระชับความสัมพันธ์ของฝ่ายไทยกับผู้แทนจากรัฐบาลชุดใหม่ของประเทศมองโกเลียอีกด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2539--
ภายหลังกลับจากการเดินทางไปประเทศมองโกเลีย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้เปิดเผยว่า จากการที่ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับประเทศมองโกเลีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองส่วนใหญ่เป็นไปในรูปของความช่วยเหลือทางวิชาการที่ฝ่ายไทยให้แก่มองโกเลีย อาทิ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนเศรษฐกิจมหภาค ฯลฯ นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังได้จัดทำแผนแม่บทความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังได้จัดทำแผนแม่บทความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-มองโกเลีย โดยได้ประสานงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของแผนแม่บทความร่วมมือฯและเสนอผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20สิงหาคม 2539 ให้ความเห็นชอบแผนแม่บทความร่วมมือฯ ดังกล่าว
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เปิดเผยด้วยว่า ในการนำคณะผู้แทนจากภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน เดินทางไปประเทศมองโกเลียครั้งนี้เป็นเจตนารมณ์ของทางฝ่ายรัฐบาลมองโกเลียที่ได้ขอให้สศช. นำคณะผู้แทนจากภาคเอกชนไปร่วมสัมมนาณประเทศมองโกเลีย เพื่อสร้างความร่วมมืออย่างจริงจังของภาคเอกชนทั้งสองฝ่ายในระดับทวิภาคีและเพื่อทำการกระชับความสัมพันธไมตรีกับรัฐบาลชุดใหม่ของมองโกเลียที่ผ่านการเลือกตั้งเมื่อไม่นานมานี้
ดร.สุเมธตันติเวชกุลยังได้ชี้ให้เห็นถึงสาระสำคัญจากการสัมมนาดังกล่าวว่า ฝ่ายมองโกเลียได้แสดงความสนใจให้ฝ่ายไทยให้ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยได้ขอให้ฝ่ายไทยทำการฝึกอบรมบุคลากรของมองโกเลียให้มีทักษะที่จำเป็นในด้านธุรกิจการท่องเที่ยว โดยจะส่งผู้รับการฝึกอบรมทางด้านการท่องเที่ยวจากสถาบันการจัดการด้านการท่องเที่ยวของมองโกเลียมาฝึกอบรมณสถาบันฝึกอบรมวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ ผู้แทนจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเดินทางร่วมไปกับคณะในครั้งนี้ด้วยได้แสดงความยินดีที่จะจัดส่งร่างสัญญาความตกลงเส้นทางการบินร่วม(Draft of Interline Agreement) ไปให้ บริษัทสายการบิน มองโกเลีย (MIAT) พิจารณา ทั้งนี้เพื่อทำการปรับตารางการบินของ TG และ MIAT ให้ผู้เดินทางสามารถเดินทางในระหว่าง 2 ประเทศนี้ ภายในวันเดียว และฝ่ายมองโกเลียยังสนใจที่จะเปิดเที่ยวบินเหมาลำบินตรงมายังประเทศไทยขณะเดียวกันบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน)ได้เสนอให้พนักงานของ MIAT มาดูงานของบริษัทการบินไทยด้วยและเสนอให้มีโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรจากบริษัททัวร์ เพื่อดูงานของแต่ละฝ่ายโดยจะได้รับการสนับสนุนจากสายการบินทั้งสองประเทศต่อไป
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวเพิ่มเติมว่าในการเดินทางไปประเทศมองโกเลียครั้งนี้เจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตไทยณ กรุงปักกิ่ง ยังได้มีโอกาสพบปะหารือในรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลีย โดยเฉพาะเรื่องการพิจารณาเสนอบุคคลชาวมองโกเลียที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งกงศุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศมองโกเลีย ให้กระทรวงต่างประเทศของไทยพิจารณาต่อไป
สำหรับทางด้านเกษตรกรรมนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในด้านการพัฒนาการเกษตรระหว่างประเทศทั้งสอง โดยผู้แทนภาคเอกชนของไทยจากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้ความสนใจในการลงทุนทางด้านปศุสัตว์ อุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์ และอุตสาหกรรมหนังสัตว์
เลขาธิการฯได้กล่าวในตอนท้ายว่าการสัมมนาเรื่อง "บทบาทของภาคเอกชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจ" ณ ประเทศมองโกเลียในครั้งนี้นับว่าได้มีส่วนช่วยเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศไทยกับประเทศมองโกเลียให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและหารือในรายละเอียดเพื่อการลงทุนระหว่างประเทศทั้งสองในอนาคตและยังได้มีส่วนช่วยกระชับความสัมพันธ์ของฝ่ายไทยกับผู้แทนจากรัฐบาลชุดใหม่ของประเทศมองโกเลียอีกด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2539--