เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ร่วมกับจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่จัดสัมมนา "ประชาสัมพันธ์โครงการเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูน" ณ หอประชุมโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน
นายสุจริต นันทมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานในพิธีได้กล่าวเปิดนำการสัมมนา โดยได้ให้ข้อคิดเห็นความตอนหนึ่งว่า จังหวัดลำพูน-เชียงใหม่ เป็นเหมือน NUCLEAUS ของอนุภูมิภาค หากพัฒนาให้แข็งแกร่งทุกด้าน จะสามารถเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและเป็น SPRING BOARD สำหรับนักลงทุนต่างประเทศใช้เป็นฐานไปลงทุนในประเทศอนุภูมิภาค อันจะเกิดประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ง 2 จังหวัด และของประเทศโดยส่วนรวม นอกจากนี้ การที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมทำการศึกษาในทุกขั้นตอนในลักษณะประชาคมจังหวัด จะทำให้เป็นแผนที่มีเอกภาพได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และจะบังเกิดผลในทางปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม แนวทางการดำเนินงานตามโครงการควรพัฒนาในลักษณะสมดุลย์ระหว่างการอนุรักษ์กับการพัฒนาตามโครงการทั้งในพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบท โดยให้มีกิจกรรมที่เกื้อกูลกัน ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ควรให้ผลของการพัฒนากระจุกตัวเฉพาะพื้นที่โครงการ แต่จะต้องกระจายหรือเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่ชนบทของทั้ง 2 จังหวัดด้วย รวมทั้งควรมีการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของโครงการและเมื่อผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว ควรผลักดันให้มีงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
หลังจากนั้น นายพลากร สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานร่วมในพิธีเปิดการสัมมนาในครั้งนี้ ได้กล่าวว่า ปัจจุบันข้อเสนอจากผลการศึกษาเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูน หลาย ๆ เรื่องทั้งจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา เช่น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติในภูมิภาค การตั้งสถาบันพัฒนาวิจัยลำใยและลิ้นจี่ การแปรรูปพืชผลการเกษตรให้เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรและการหาตลาดกลางเพื่อรองรับสินค้าการเกษตร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูนมีค่อนข้างมาก ข้อเสนอหลายต่อหลายเรื่องมีประโยชน์ แต่การปฏิบัติมักมีอุปสรรค เนื่องจากข้อจำกัดของระบบงบประมาณ ดังนั้น ข้อเสนอที่ได้จากการศึกษา จึงยากให้มีการตั้งงบประมาณเพื่อการพัฒนาเชียงใหม่-ลำพูน เป็นแผนงานเฉพาะ
นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญในเรื่องของระบบบริหารจัดการซึ่งมีผลต่อความสำเร็จและล้มเหลวของโครงการ จึงน่าจะมีองค์กรที่จะมารองรับการประสานงานความร่วมมือทั้ง 2 จังหวัดและเมื่อผลสรุปการสัมมนาเป็นอย่างไร ก่อนที่จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ควรให้คณะทำงานชุดเล็กจากจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนร่วมพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อเสนอที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเกิดจากความต้องการของทุกฝ่าย และเป็นรูปธรรมต่อไป
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาในครั้งนี้ ประการแรก เพื่อเป็นการทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด และผลการศึกษาของโครงการเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูน ประการต่อมาเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางต่อผลการศึกษา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและแผนงานโครงการที่ทุกฝ่ายสมควรร่วมมือกันริเริ่มอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อตอบสนองต่อแนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่-ลำพูน และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาภาคและประเทศโดยรวม และประการสุดท้ายเพื่อสืบสานและสร้างเสริมกระบวนการรวมพลังเพื่อระดมความคิดและผลักดันการเสนอแนะแนวทางและกลไกการพัฒนาร่วมกันของ 2 จังหวัดให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้ต่อไป
สำหรับในส่วนของความเป็นมาของโครงการเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูนนี้ เป็นโครงการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2537 ที่ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการเพื่อศึกษาเสนอแนะกรอบแนวทางแผนปฏิบัติการพัฒนาเมืองเชียงใหม่-ลำพูน อย่างเป็นระบบ โดยที่ทั้งสองเมืองเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความเชื่อมโยงกันทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจมาแต่ครั้งอดีต เปรียบเสมือน "เมืองพี่เมืองน้อง" และบทบาทของเมืองทั้งสองจะทวีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างเด่นชัดมากขึ้น ทั้งบทบาทในการเป็นฐานเศรษฐกิจรองรับการกระจายความเจริญสู่ภาคเหนือ และฐานเศรษฐกิจของประเทศที่เชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาโครงการเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูนที่ได้นำเสนอในการสัมมนาครั้งนี้ เป็นเพียงกรอบและข้อเสนอ แนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่และลำพูนภายใต้หลักการ "การพัฒนาแบบยั่งยืน" และเป็นกระบวนการที่จะกระตุ้นให้เกิด "การร่วมคิด-ร่วมทำ-ร่วมเป็นเจ้าของ-ร่วมกันติดตามและรับประโยชน์" ในการพัฒนาร่วมกันของ 2 จังหวัด ซึ่งจะได้นำผลการศึกษาดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไปพร้อมกับการประมวลข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่สะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของชาวเชียงใหม่และลำพูนที่ได้จากการประมวลผลการสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งผลในทางปฏิบัติคงจะต้องอาศัยพลังของชาวเชียงใหม่-ลำพูน ที่จะร่วมกันเป็นแกนนำในการระดมความคิดในเชิงสร้างสรรค์ และรวมพลังให้เกิดกระบวนการพัฒนาที่มาจากทุกภาคส่วนของสังคมในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 7/กรกฎาคม 2540--
นายสุจริต นันทมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานในพิธีได้กล่าวเปิดนำการสัมมนา โดยได้ให้ข้อคิดเห็นความตอนหนึ่งว่า จังหวัดลำพูน-เชียงใหม่ เป็นเหมือน NUCLEAUS ของอนุภูมิภาค หากพัฒนาให้แข็งแกร่งทุกด้าน จะสามารถเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและเป็น SPRING BOARD สำหรับนักลงทุนต่างประเทศใช้เป็นฐานไปลงทุนในประเทศอนุภูมิภาค อันจะเกิดประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ง 2 จังหวัด และของประเทศโดยส่วนรวม นอกจากนี้ การที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมทำการศึกษาในทุกขั้นตอนในลักษณะประชาคมจังหวัด จะทำให้เป็นแผนที่มีเอกภาพได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และจะบังเกิดผลในทางปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม แนวทางการดำเนินงานตามโครงการควรพัฒนาในลักษณะสมดุลย์ระหว่างการอนุรักษ์กับการพัฒนาตามโครงการทั้งในพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบท โดยให้มีกิจกรรมที่เกื้อกูลกัน ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ควรให้ผลของการพัฒนากระจุกตัวเฉพาะพื้นที่โครงการ แต่จะต้องกระจายหรือเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรในพื้นที่ชนบทของทั้ง 2 จังหวัดด้วย รวมทั้งควรมีการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของโครงการและเมื่อผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว ควรผลักดันให้มีงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
หลังจากนั้น นายพลากร สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานร่วมในพิธีเปิดการสัมมนาในครั้งนี้ ได้กล่าวว่า ปัจจุบันข้อเสนอจากผลการศึกษาเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูน หลาย ๆ เรื่องทั้งจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา เช่น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติในภูมิภาค การตั้งสถาบันพัฒนาวิจัยลำใยและลิ้นจี่ การแปรรูปพืชผลการเกษตรให้เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรและการหาตลาดกลางเพื่อรองรับสินค้าการเกษตร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูนมีค่อนข้างมาก ข้อเสนอหลายต่อหลายเรื่องมีประโยชน์ แต่การปฏิบัติมักมีอุปสรรค เนื่องจากข้อจำกัดของระบบงบประมาณ ดังนั้น ข้อเสนอที่ได้จากการศึกษา จึงยากให้มีการตั้งงบประมาณเพื่อการพัฒนาเชียงใหม่-ลำพูน เป็นแผนงานเฉพาะ
นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญในเรื่องของระบบบริหารจัดการซึ่งมีผลต่อความสำเร็จและล้มเหลวของโครงการ จึงน่าจะมีองค์กรที่จะมารองรับการประสานงานความร่วมมือทั้ง 2 จังหวัดและเมื่อผลสรุปการสัมมนาเป็นอย่างไร ก่อนที่จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ควรให้คณะทำงานชุดเล็กจากจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนร่วมพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อเสนอที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเกิดจากความต้องการของทุกฝ่าย และเป็นรูปธรรมต่อไป
สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาในครั้งนี้ ประการแรก เพื่อเป็นการทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด และผลการศึกษาของโครงการเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูน ประการต่อมาเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางต่อผลการศึกษา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและแผนงานโครงการที่ทุกฝ่ายสมควรร่วมมือกันริเริ่มอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อตอบสนองต่อแนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่-ลำพูน และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาภาคและประเทศโดยรวม และประการสุดท้ายเพื่อสืบสานและสร้างเสริมกระบวนการรวมพลังเพื่อระดมความคิดและผลักดันการเสนอแนะแนวทางและกลไกการพัฒนาร่วมกันของ 2 จังหวัดให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติได้ต่อไป
สำหรับในส่วนของความเป็นมาของโครงการเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูนนี้ เป็นโครงการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2537 ที่ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการเพื่อศึกษาเสนอแนะกรอบแนวทางแผนปฏิบัติการพัฒนาเมืองเชียงใหม่-ลำพูน อย่างเป็นระบบ โดยที่ทั้งสองเมืองเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความเชื่อมโยงกันทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจมาแต่ครั้งอดีต เปรียบเสมือน "เมืองพี่เมืองน้อง" และบทบาทของเมืองทั้งสองจะทวีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างเด่นชัดมากขึ้น ทั้งบทบาทในการเป็นฐานเศรษฐกิจรองรับการกระจายความเจริญสู่ภาคเหนือ และฐานเศรษฐกิจของประเทศที่เชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ
อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาโครงการเมืองแฝดเชียงใหม่-ลำพูนที่ได้นำเสนอในการสัมมนาครั้งนี้ เป็นเพียงกรอบและข้อเสนอ แนวทางการพัฒนาเมืองเชียงใหม่และลำพูนภายใต้หลักการ "การพัฒนาแบบยั่งยืน" และเป็นกระบวนการที่จะกระตุ้นให้เกิด "การร่วมคิด-ร่วมทำ-ร่วมเป็นเจ้าของ-ร่วมกันติดตามและรับประโยชน์" ในการพัฒนาร่วมกันของ 2 จังหวัด ซึ่งจะได้นำผลการศึกษาดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไปพร้อมกับการประมวลข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่สะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของชาวเชียงใหม่และลำพูนที่ได้จากการประมวลผลการสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งผลในทางปฏิบัติคงจะต้องอาศัยพลังของชาวเชียงใหม่-ลำพูน ที่จะร่วมกันเป็นแกนนำในการระดมความคิดในเชิงสร้างสรรค์ และรวมพลังให้เกิดกระบวนการพัฒนาที่มาจากทุกภาคส่วนของสังคมในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 7/กรกฎาคม 2540--