แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
องค์การสหประชาชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ
ข้อมูล
บัญชี
(3) ฐานข้อมูลทุนทางสังคมและคุณภาพชีวิต
(4) ฐานข้อมูลความยากจนและการกระจายรายได้
(5) ฐานข้อมูลการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2 เป้าหมาย
5.2.1 ข้อมูลเศรษฐกิจที่จัดทำโดย สศช. ได้รับการยกระดับคุณภาพและ มาตรฐาน โดยที่การจัดทำบัญชีประชาชาติได้รับมาตรฐานขั้นสูงจาก องค์กรระหว่างประเทศได้แก่ องค์การสหประชาชาติ และกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ และข้อมูลดังกล่าวได้ถูกนำไปเป็นอ้างอิงมากที่สุด และ นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนขององค์ภาครัฐและเอกชน
5.2.2 ดัชนีความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจไทย ที่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง สามารถสะท้อนผลกระทบ การพัฒนาที่มีต่อคนและระบบเศรษฐกิจไทยได้อย่างถูกต้องและทันต่อ สถานการณ์
5.2.3 ดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยที่สามารถสะท้อนระดับการ พัฒนาที่ยั่งยืน โดยเชื่อมโยงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมทรัพยากรธรรม- ชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกันอย่างสมดุลเป็นบูรณาการและทันต่อ สถานการณ์
5.2.4 เครื่องชี้วัดผลการพัฒนาในเรื่องใหม่ ๆ ตามยุทธศาสตร์ที่เป็นวาระ แห่งชาติและตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ทันต่อสถานการณ์ อาทิ เครื่องชี้วัดการพัฒนาทุนทางสังคมด้านต่าง ๆ และเกณฑ์พื้นฐานในการ ดำรงชีวิตของคนไทย 10 ประการ
5.3 ตัวชี้วัด
5.3.1 ระดับมาตรฐานที่ยอมรับโดยองค์การสหประชาชาติและกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ
5.3.2 ความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูลและเครื่องชี้วัด
5.3.3 ความรวดเร็วของการเผยแพร่
5.3.4 ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
6. ยุทธศาสตร์การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อ การพัฒนา ยุทธศาสตร์การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา เป็นยุทธ ศาสตร์สำคัญของกระบวนการวางแผนและบริหารการพัฒนาประเทศ โดยจะเน้นการ กำกับประเมินผล แล้วรายงานผลการพัฒนาต่อรัฐบาลและสาธารณะ ดังนั้นการดำเนิน งานภายใต้ยุทธศาสตร์นี้จะมี 2 ส่วนคือ (1) การกำกับประเมินผล ซึ่งจะกำกับและ ประเมินผลในระดับยุทธศาสตร์และระดับแผนงาน ทั้งในมิติของความก้าวหน้าของการ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ และมิติของผลลัพธ์หรือผลกระทบสุดท้ายของการพัฒนา และรายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐบาลเพื่อปรับปรุงวิธีการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด และ (2) การสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา โดยจะเชื่อม โยงระหว่างการดำเนินนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์การพัฒนาให้กับสาธารณะ พร้อมกับสะท้อนความต้องการจากระดับล่างให้กับระดับนโยบาย การดำเนินงานตาม ยุทธศาสตร์มีดังนี้ 6.1 การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา
6.1.1 การกำกับและประเมินผล
(1) กำกับและประเมินผลระดับประเทศ เป็นการติดตามและประเมิน ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาประเทศ เพื่อประเมินผลกระทบ การพัฒนาในภาพรวมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และผลการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ที่เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมทั้งรายงานผลต่อรัฐบาลและสาธารณชน
(2) กำกับและประเมินผลการพัฒนาตามนโยบายรัฐบาล เพื่อ ประเมินความก้าวหน้าและความสำเร็จของการดำเนินงานเฉพาะ นโยบายที่สำคัญ ๆ และรายงานต่อรัฐบาลและสาธารณชน
(3) รายงานผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่อนายกรัฐมนตรี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
(4) วางระบบและวิธีการติดตามและประเมินผลการพัฒนา รวมทั้ง การรายงานผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่สอดคล้องกับการ บริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
6.1.2 การสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา เป็นการสร้างความรู้ความ เข้าใจต่อสาธารณะเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาประเทศ การดำเนิน นโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างจิต สำนึกในการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมายังไม่กว้างขวาง และเกิดผลเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการ สื่อสารและกระจายข้อมูลข่าวสารการพัฒนาไปสู่กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการต่างๆ ที่ชัดเจนและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ มีดังนี้
(1) กำหนดกลยุทธ์การสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา ใน ประเด็นที่เป็นภารกิจหลักของ สศช. ให้สอดคล้องกับกลุ่ม เป้าหมายผู้รับบริการที่ชัดเจน ได้แก่ คณะรัฐมนตรี หน่วยงาน ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคการเมืองและภาคประชาชน โดย เฉพาะสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป รวมทั้งสถาบันการศึกษา และองค์กรต่างประเทศ
(2) ใช้ "สื่อแบบผสมผสาน" (Mixed Media) เพื่อให้สามารถเข้าถึง กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยให้เนื้อหา (Message) และช่องทางการ สื่อสาร (Channel) มีความเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย (ผู้รับสาร : Receiver) ได้แก่
- การจัดประชุมประจำปี ซึ่งเป็นสื่อกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
- การสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยผู้บริหาร สศช.
- การผลิตสื่อรูปแบบต่างๆ และการเผยแพร่ทางสื่อมวลชน
(3) ใช้ "การสื่อสารแบบ 2 ทาง" (Two-way Communication) เป็น การสื่อสารที่ประเมินผลปฏิกิริยาตอบสนอง (feedback) ของ กลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ให้ตรงกับความต้องการของ กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
(4) สร้างเครือข่ายและสัมพันธภาพที่ดีกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสื่อมวลชน และหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ ที่จะเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ให้เป็นผู้นำข้อมูลข่าวสารไป สร้างความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มประชาชนผู้รับ บริการของตนเองอีกทอดหนึ่ง ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบสองจังหวะ (Two-Step Flow)
6.2 เป้าหมาย
6.2.1 การกำกับและประเมินผล
(1) รายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศ ผลการ พัฒนาตามวาระแห่งชาติ และผลการดำเนินงานตามนโยบาย รัฐบาล ตลอดจนรายงานผลการปฏิบัติราชการเพื่อเสนอต่อ นายกรัฐมนตรี
(2) ระบบการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศและผลการ ปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่มีการวัดผลสำเร็จของงานอย่าง เป็นรูปธรรม
6.2.2 การสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา
(1) สศช. มีภาพลักษณ์ใหม่ที่เป็นที่รู้จัก น่าเชื่อถือ และยอมรับจาก สาธารณะ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
(2) มีขีดความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนา และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผน งานของรัฐบาลไปสู่สาธารณะ และสามารถเป็นสื่อเชื่อมโยงความ ต้องการของสาธารณะสู่การดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงาน ของรัฐ
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทาง การพัฒนาประเทศ วาระแห่งชาติ และเรื่องที่ สศช. กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ รวมถึง ประเด็นของการประชุมประจำปีของ สศช.
- กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติในเชิงบวกต่อยุทธศาสตร์การ พัฒนาประเทศ
- กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนำความรู้หรือ แนวคิด/ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ สศช. ไปสู่การปฏิบัติ
6.3 ตัวชี้วัด
6.3.1 ความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ประกอบด้วย ดัชนี ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ดัชนีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ และดัชนี การพัฒนาที่ยั่งยืน
6.3.2 รายงานประจำปีของ สศช. 4 เรื่อง ประกอบด้วย (1) รายงานผลการ พัฒนาประเทศ (2) รายงานผลการพัฒนาตามวาระแห่งชาติ (3) รายงาน ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล และ (4) รายงานผลการปฏิบัติ ราชการของส่วนราชการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
6.3.3 ความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา
(1) กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง
(2) กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ/มีทัศนคติที่ดี/ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม โดยนำความรู้หรือแนวคิด/ยุทธศาสตร์การพัฒนา ของ สศช. ไปสู่การปฏิบัติ
(3) ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายต่อการเผยแพร่/ให้บริการข้อมูล ข่าวสารของ สศช. และการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ประเทศ
7. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และมีประสิทธิภาพสูง เงื่อนไขของความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ข้างต้นจะ อยู่ที่ความสำเร็จของการพัฒนาองค์กรใน 2 เรื่องคือ (1) การพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กร แห่งการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และสังเคราะห์จากองค์ ความรู้ที่รวบรวมได้จากประสบการณ์และข้อมูลที่เก็บสะสมภายในองค์กรให้สามารถนำ มาใช้ประโยชน์ในการวางแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้งเป็นความรู้ที่เผยแพร่ให้กับสาธารณ ชนด้วย และ (2) การพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเน้นการลด ขนาดองค์กรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น และ มีความยืดหยุ่นในระบบงาน การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มีดังนี้ 7.1 การบริหารจัดการองค์กร
7.1.1 การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
(1) การเพิ่มศักยภาพบุคลากร
- สร้างหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรทั้งสาขาวิชาเฉพาะ และทั่วไป รวมทั้งสหวิทยาการ
- แลกเปลี่ยนบุคลากรกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิด การเรียนรู้และสร้างสมประสบการณ์ ทั้งกับหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ประเทศ
(2) การถ่ายทอดองค์ความรู้
- จัดทำข้อมูลองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงาน ให้เป็นระบบเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการวางแผน
- จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อ ให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศให้กับ สาธารณะและภายในองค์กร
(3) การบริหารจัดการเครือข่ายการสร้างองค์ความรู้
- สร้างเครือข่ายความรู้และความร่วมมือกับหน่วยงานวาง แผนของต่างประเทศ โดยสานต่อบันทึกความเข้าใจที่ สศช. ได้ลงนามร่วมกับหน่วยวางแผนของอินโดนีเซีย และมณฑลยูนนานของสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เป็น รูปธรรม รวมทั้งเดินสายสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงาน วางแผนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยอาจจะจัดตั้ง เป็นเวทีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวางแผนด้วยกัน
- สร้างเครือข่ายความรู้กับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และภาคเอกชนให้เกิดความร่วมมือในการถ่ายทอด องค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
- สร้างเวทีพบปะนักวิเคราะห์และนักลงทุนในและ ต่างประเทศ
- ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศในการจัดประชุมทาง วิชาการนานาชาติ
7.1.2 การสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง
(1) การปฏิรูปบทบาทและโครงสร้างองค์กร
- ปรับบทบาทใหม่ของ สศช. ในอนาคตให้เป็นเสาหลักของ ประเทศในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การกำหนด นโยบายมหภาค การเป็นคลังข้อมูลและเครื่องชี้วัด เศรษฐกิจและสังคม และการติดตามประเมินผลการ พัฒนา
- ปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับภารกิจใหม่ของ สศช. โดย
ลดขนาดองค์กร โดยถ่ายโอนงานและบุคลากรบาง ส่วนไปยังหน่วยงานอื่น เช่น งานพิจารณางบลงทุน ประจำปีของรัฐวิสาหกิจ และงานวิเคราะห์โครงการ ร่วมลงทุน โอนไปที่กระทรวงการคลัง งานวิเคราะห์ โครงการลงทุนด้านเศรษฐกิจและสังคม โอนไป กระทรวงที่รับผิดชอบ ปรับโครงสร้างองค์กร ให้สอดคล้องกับภารกิจใหม่ เช่น การยุบรวมส่วนงานภายในที่รับผิดชอบการลง ทุนรายสาขาเพื่อจัดตั้งเป็นส่วนงานใหม่รับผิดชอบ การจัดทำแผนการลงทุนของประเทศ
(2) การปฏิรูปกระบวนการดำเนินงาน
- ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานที่เน้นการทำงานเป็นทีม ที่เพรียบพร้อมด้วยบุคลากรที่มีความรอบรู้ ความคิดริ เริ่ม และทำงานเร็ว สามารถตอบสนองภารกิจหลักของ สศช. ได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ
- ปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารและตัดสินใจ และวัฒน ธรรมขององค์กรให้ตอบสนองการดำเนินงานตามภารกิจ ได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว
- ให้มีการรับช่วงงานที่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลมากให้กับ ภาคเอกชนทั้งงานวิชาการและงานธุรการ
(3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการดำเนินงาน
- ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยและ สามารถเป็นเครื่องมือของการบริหารและดำเนินงานของ สศช.
- ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการ ทำงานในทุกระดับเพื่อประหยัดเวลาและทรัพยากรของ ส่วนรวม
(4) การปรับปรุงประสิทธิภาพของบุคลากร
- สร้างระบบการประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ทุกคนโดยมี งานมอบหมายที่ชัดเจน
- สร้างแรงจูงใจให้ สศช. เป็นองค์กรที่มีบุคลากรที่มีความ สามารถ โดยมีเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพที่ชัดเจน และเป็นองค์กรชั้นนำองค์กรหนึ่งที่สามารถดึงดูดคนเก่ง ให้เข้ามาร่วมงานได้
- สร้างระบบผู้ฝึกสอนงาน โดยมีระบบทีมงานผสมผสาน รองรับเพื่อให้เกิดการเรียนรู้งานระหว่างบุคลากรที่มี ความเชี่ยวชาญแต่ละสาขาภายในสำนักงานฯ
7.2 เป้าหมาย
7.2.1 โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งสามารถตอบสนองภารกิจขององค์กรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
7.2.2 ลดขั้นตอนของการบริหารงานให้มีลักษณะกระจายสู่ระดับปฏิบัติ เพื่อให้ การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วและสามารถดำเนินการตามภารกิจ มอบหมายจากรัฐบาลได้แล้วเสร็จตามกำหนด
7.2.3 บุคลากรของ สศช. มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ และประสิทธิภาพรวมของ องค์กรเพิ่มขึ้น
7.3 ตัวชี้วัด
7.3.1 ผลิตภาพของบุคลากร วัดจากปริมาณและคุณภาพของงานที่ผลิตโดย บุคลากรทั้งลักษณะเฉพาะตัวและทีมงาน และความรอบรู้ข้ามสาขาวิชา
7.3.2 ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรต่อภารกิจของสำนักงานฯ
7.3.3 มาตรฐานการให้บริการของสำนักงานฯ
7.3.4 ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
บทที่ 5
งบประมาณ
1. ในปีงบประมาณประจำปี 2545 สศช. ได้รับอนุมัติงบกลางรายการงบค่าใช้จ่ายตามกรอบ แผนงานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศวงเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่ง ปัจจุบันได้มีการจัดสรรให้กับแผนงานและโครงการของ สศช. และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับโครงการของ สศช. ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาดำเนินการถึงปี 2547 และเมื่อรวมกับงบประมาณที่ได้รับ การจัดสรรตามปกติปี 2547 แล้ว สามารถจำแนกตามยุทธศาสตร์ของแผนกลยุทธ์ใน ปี 2545 และ 2547
2. ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ภายใต้แผนกลยุทธ์ให้บรรลุผลสำเร็จ จำเป็นจะต้อง ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอ โดยประมาณการกรอบวงเงิน เบื้องต้นจะสะท้อนถึงลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์ ดังนี้ 2.1 ด้านภารกิจที่จะต้องส่งมอบผลงานให้กับรัฐบาลและสาธารณะ สศช. ได้ให้ความ สำคัญสูงสุดในยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการ พัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของ สศช. ที่จะนำไปสู่การพัฒนา ประเทศและนำความอยู่ดีมีสุขมาสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง ลำดับความสำคัญ พิจารณาจากความต้องการงบประมาณเพื่อการบริหารภารกิจตามยุทธศาสตร์ ของ สศช. มีดังนี้
ลำดับที่ 1 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการ พัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
ลำดับที่ 2 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและ สังคม
ลำดับที่ 3 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อการพัฒนา
ลำดับที่ 4 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การวางแผนเพื่อการพัฒนา
ลำดับที่ 5 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยาก จน
ลำดับที่ 6 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาพื้นที่และภูมิภาค
2.2 ด้านการพัฒนาองค์กร ได้ให้ความสำคัญสูงสุดในยุทธศาสตร์ที่ 7 การปฏิรูป องค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพสูง
3. งบประมาณประจำปี 2547 สำนักงานฯ ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นตามแผนงานและ ยุทธศาสตร์ที่เสนอสำนักงบประมาณ ซึ่งยังไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตาม แผนกลยุทธ์ 2547-2550 ดังนั้นในปีงบประมาณ 2548 วงเงินที่ต้องใช้ในแผนงานตาม ยุทธศาสตร์จะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ได้รับการจัดสรรตามปกติ เนื่องจากคาดว่าจะไม่ได้รับ งบพิเศษหรืองบกลางเช่นเดียวกับปีงบประมาณ 2545
4. งบประมาณสำหรับการบริหารงานให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ในช่วงปี 2547-2550 รวม เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 2,935.88 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 733.97 ล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้น เพียงร้อยละ 1.9 ต่อปีในช่วงปี 2549-2550 โดยที่งบบริหารจะเพิ่มขึ้นตามกรอบที่สำนัก งบประมาณกำหนดคือร้อยละ 5 และงบดำเนินการตามยุทธศาสตร์จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อย ละ 0.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นตามปริมาณงานที่กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์และตามที่ได้รับ มอบหมายจากรัฐบาล
บทที่ 6
การประเมินและการรายงานผล
ในการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ สศช. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ จำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีการติดตามประเมินผล เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของการดำเนินงาน และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนแนวทางดำเนินการเพื่อแก้ไข ปัญหาอุปสรรคให้เหมาะสมเท่าทันต่อสถานการณ์และสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ การดำเนินงานมีดังนี้
1. ระบบการประเมินผล เป็นการประเมินผลลัพธ์ขององค์กรใน 2 ระดับ โดยควรให้สถาบันที่เป็นกลางเป็น ผู้ประเมิน
1.1 ระดับแผนกลยุทธ์ เป็นการประเมินประสิทธิผลความสำเร็จตามพันธกิจและ ยุทธศาสตร์ที่ได้นำไปปฏิบัติ
1.1.1 ประเมินประสิทธิผลภาพรวมในประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์หลักของ แผนกลยุทธ์
1.1.2 ประเมินประสิทธิผลแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนกลยุทธ์ว่าบรรลุเป้าหมาย ที่วางไว้หรือไม่ เพียงใด
1.2 ระดับองค์กร เป็นการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพการปฏิรูปการ ดำเนินงานขององค์กรใน 4 มิติ
1.2.1 ประสิทธิผลตามภาระหน้าที่
1.2.2 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
1.2.3 คุณภาพการให้บริการ
1.2.4 การพัฒนาองค์กร
2. ระบบการรายงานผล
เป็นการรายงานความก้าวหน้าและความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ที่มี กำหนดเวลา เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันต่อ สถานการณ์
2.1 ระดับของความก้าวหน้าของแผนกลยุทธ์ เป็นการรายงานผลความคืบหน้าของ การดำเนินงานทุกระยะ 6 เดือน พร้อมกับเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหา หรือ ปรับแผนการดำเนินงานประจำปี
2.2 ระดับความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ เป็นการรายงานผลการดำเนินงานประจำปี โดยประเมินผลงานและผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศและนำเสนอรายงานต่อ นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ เผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
(4) ฐานข้อมูลความยากจนและการกระจายรายได้
(5) ฐานข้อมูลการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2 เป้าหมาย
5.2.1 ข้อมูลเศรษฐกิจที่จัดทำโดย สศช. ได้รับการยกระดับคุณภาพและ มาตรฐาน โดยที่การจัดทำบัญชีประชาชาติได้รับมาตรฐานขั้นสูงจาก องค์กรระหว่างประเทศได้แก่ องค์การสหประชาชาติ และกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ และข้อมูลดังกล่าวได้ถูกนำไปเป็นอ้างอิงมากที่สุด และ นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนขององค์ภาครัฐและเอกชน
5.2.2 ดัชนีความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจไทย ที่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง สามารถสะท้อนผลกระทบ การพัฒนาที่มีต่อคนและระบบเศรษฐกิจไทยได้อย่างถูกต้องและทันต่อ สถานการณ์
5.2.3 ดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยที่สามารถสะท้อนระดับการ พัฒนาที่ยั่งยืน โดยเชื่อมโยงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมทรัพยากรธรรม- ชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกันอย่างสมดุลเป็นบูรณาการและทันต่อ สถานการณ์
5.2.4 เครื่องชี้วัดผลการพัฒนาในเรื่องใหม่ ๆ ตามยุทธศาสตร์ที่เป็นวาระ แห่งชาติและตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ทันต่อสถานการณ์ อาทิ เครื่องชี้วัดการพัฒนาทุนทางสังคมด้านต่าง ๆ และเกณฑ์พื้นฐานในการ ดำรงชีวิตของคนไทย 10 ประการ
5.3 ตัวชี้วัด
5.3.1 ระดับมาตรฐานที่ยอมรับโดยองค์การสหประชาชาติและกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ
5.3.2 ความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูลและเครื่องชี้วัด
5.3.3 ความรวดเร็วของการเผยแพร่
5.3.4 ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
6. ยุทธศาสตร์การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อ การพัฒนา ยุทธศาสตร์การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา เป็นยุทธ ศาสตร์สำคัญของกระบวนการวางแผนและบริหารการพัฒนาประเทศ โดยจะเน้นการ กำกับประเมินผล แล้วรายงานผลการพัฒนาต่อรัฐบาลและสาธารณะ ดังนั้นการดำเนิน งานภายใต้ยุทธศาสตร์นี้จะมี 2 ส่วนคือ (1) การกำกับประเมินผล ซึ่งจะกำกับและ ประเมินผลในระดับยุทธศาสตร์และระดับแผนงาน ทั้งในมิติของความก้าวหน้าของการ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ และมิติของผลลัพธ์หรือผลกระทบสุดท้ายของการพัฒนา และรายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐบาลเพื่อปรับปรุงวิธีการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด และ (2) การสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา โดยจะเชื่อม โยงระหว่างการดำเนินนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์การพัฒนาให้กับสาธารณะ พร้อมกับสะท้อนความต้องการจากระดับล่างให้กับระดับนโยบาย การดำเนินงานตาม ยุทธศาสตร์มีดังนี้ 6.1 การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา
6.1.1 การกำกับและประเมินผล
(1) กำกับและประเมินผลระดับประเทศ เป็นการติดตามและประเมิน ผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาประเทศ เพื่อประเมินผลกระทบ การพัฒนาในภาพรวมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และผลการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ที่เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมทั้งรายงานผลต่อรัฐบาลและสาธารณชน
(2) กำกับและประเมินผลการพัฒนาตามนโยบายรัฐบาล เพื่อ ประเมินความก้าวหน้าและความสำเร็จของการดำเนินงานเฉพาะ นโยบายที่สำคัญ ๆ และรายงานต่อรัฐบาลและสาธารณชน
(3) รายงานผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่อนายกรัฐมนตรี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
(4) วางระบบและวิธีการติดตามและประเมินผลการพัฒนา รวมทั้ง การรายงานผลการปฏิบัติของหน่วยงานที่สอดคล้องกับการ บริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
6.1.2 การสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา เป็นการสร้างความรู้ความ เข้าใจต่อสาธารณะเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาประเทศ การดำเนิน นโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมและผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างจิต สำนึกในการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมายังไม่กว้างขวาง และเกิดผลเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการ สื่อสารและกระจายข้อมูลข่าวสารการพัฒนาไปสู่กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการต่างๆ ที่ชัดเจนและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ มีดังนี้
(1) กำหนดกลยุทธ์การสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา ใน ประเด็นที่เป็นภารกิจหลักของ สศช. ให้สอดคล้องกับกลุ่ม เป้าหมายผู้รับบริการที่ชัดเจน ได้แก่ คณะรัฐมนตรี หน่วยงาน ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคการเมืองและภาคประชาชน โดย เฉพาะสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป รวมทั้งสถาบันการศึกษา และองค์กรต่างประเทศ
(2) ใช้ "สื่อแบบผสมผสาน" (Mixed Media) เพื่อให้สามารถเข้าถึง กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยให้เนื้อหา (Message) และช่องทางการ สื่อสาร (Channel) มีความเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย (ผู้รับสาร : Receiver) ได้แก่
- การจัดประชุมประจำปี ซึ่งเป็นสื่อกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
- การสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยผู้บริหาร สศช.
- การผลิตสื่อรูปแบบต่างๆ และการเผยแพร่ทางสื่อมวลชน
(3) ใช้ "การสื่อสารแบบ 2 ทาง" (Two-way Communication) เป็น การสื่อสารที่ประเมินผลปฏิกิริยาตอบสนอง (feedback) ของ กลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์ให้ตรงกับความต้องการของ กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
(4) สร้างเครือข่ายและสัมพันธภาพที่ดีกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสื่อมวลชน และหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ ที่จะเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ให้เป็นผู้นำข้อมูลข่าวสารไป สร้างความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มประชาชนผู้รับ บริการของตนเองอีกทอดหนึ่ง ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบสองจังหวะ (Two-Step Flow)
6.2 เป้าหมาย
6.2.1 การกำกับและประเมินผล
(1) รายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศ ผลการ พัฒนาตามวาระแห่งชาติ และผลการดำเนินงานตามนโยบาย รัฐบาล ตลอดจนรายงานผลการปฏิบัติราชการเพื่อเสนอต่อ นายกรัฐมนตรี
(2) ระบบการติดตามประเมินผลการพัฒนาประเทศและผลการ ปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่มีการวัดผลสำเร็จของงานอย่าง เป็นรูปธรรม
6.2.2 การสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา
(1) สศช. มีภาพลักษณ์ใหม่ที่เป็นที่รู้จัก น่าเชื่อถือ และยอมรับจาก สาธารณะ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
(2) มีขีดความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนา และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผน งานของรัฐบาลไปสู่สาธารณะ และสามารถเป็นสื่อเชื่อมโยงความ ต้องการของสาธารณะสู่การดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงาน ของรัฐ
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทาง การพัฒนาประเทศ วาระแห่งชาติ และเรื่องที่ สศช. กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ รวมถึง ประเด็นของการประชุมประจำปีของ สศช.
- กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติในเชิงบวกต่อยุทธศาสตร์การ พัฒนาประเทศ
- กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนำความรู้หรือ แนวคิด/ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ สศช. ไปสู่การปฏิบัติ
6.3 ตัวชี้วัด
6.3.1 ความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ประกอบด้วย ดัชนี ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ดัชนีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ และดัชนี การพัฒนาที่ยั่งยืน
6.3.2 รายงานประจำปีของ สศช. 4 เรื่อง ประกอบด้วย (1) รายงานผลการ พัฒนาประเทศ (2) รายงานผลการพัฒนาตามวาระแห่งชาติ (3) รายงาน ผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล และ (4) รายงานผลการปฏิบัติ ราชการของส่วนราชการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
6.3.3 ความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา
(1) กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึง
(2) กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ/มีทัศนคติที่ดี/ปรับเปลี่ยน พฤติกรรม โดยนำความรู้หรือแนวคิด/ยุทธศาสตร์การพัฒนา ของ สศช. ไปสู่การปฏิบัติ
(3) ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายต่อการเผยแพร่/ให้บริการข้อมูล ข่าวสารของ สศช. และการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ประเทศ
7. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และมีประสิทธิภาพสูง เงื่อนไขของความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ข้างต้นจะ อยู่ที่ความสำเร็จของการพัฒนาองค์กรใน 2 เรื่องคือ (1) การพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กร แห่งการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และสังเคราะห์จากองค์ ความรู้ที่รวบรวมได้จากประสบการณ์และข้อมูลที่เก็บสะสมภายในองค์กรให้สามารถนำ มาใช้ประโยชน์ในการวางแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้งเป็นความรู้ที่เผยแพร่ให้กับสาธารณ ชนด้วย และ (2) การพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเน้นการลด ขนาดองค์กรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น และ มีความยืดหยุ่นในระบบงาน การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มีดังนี้ 7.1 การบริหารจัดการองค์กร
7.1.1 การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
(1) การเพิ่มศักยภาพบุคลากร
- สร้างหลักสูตรการฝึกอบรมบุคลากรทั้งสาขาวิชาเฉพาะ และทั่วไป รวมทั้งสหวิทยาการ
- แลกเปลี่ยนบุคลากรกับหน่วยงานภายนอกเพื่อให้เกิด การเรียนรู้และสร้างสมประสบการณ์ ทั้งกับหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ประเทศ
(2) การถ่ายทอดองค์ความรู้
- จัดทำข้อมูลองค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงาน ให้เป็นระบบเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการวางแผน
- จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อ ให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศให้กับ สาธารณะและภายในองค์กร
(3) การบริหารจัดการเครือข่ายการสร้างองค์ความรู้
- สร้างเครือข่ายความรู้และความร่วมมือกับหน่วยงานวาง แผนของต่างประเทศ โดยสานต่อบันทึกความเข้าใจที่ สศช. ได้ลงนามร่วมกับหน่วยวางแผนของอินโดนีเซีย และมณฑลยูนนานของสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เป็น รูปธรรม รวมทั้งเดินสายสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงาน วางแผนในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยอาจจะจัดตั้ง เป็นเวทีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวางแผนด้วยกัน
- สร้างเครือข่ายความรู้กับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และภาคเอกชนให้เกิดความร่วมมือในการถ่ายทอด องค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
- สร้างเวทีพบปะนักวิเคราะห์และนักลงทุนในและ ต่างประเทศ
- ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศในการจัดประชุมทาง วิชาการนานาชาติ
7.1.2 การสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง
(1) การปฏิรูปบทบาทและโครงสร้างองค์กร
- ปรับบทบาทใหม่ของ สศช. ในอนาคตให้เป็นเสาหลักของ ประเทศในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การกำหนด นโยบายมหภาค การเป็นคลังข้อมูลและเครื่องชี้วัด เศรษฐกิจและสังคม และการติดตามประเมินผลการ พัฒนา
- ปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับภารกิจใหม่ของ สศช. โดย
ลดขนาดองค์กร โดยถ่ายโอนงานและบุคลากรบาง ส่วนไปยังหน่วยงานอื่น เช่น งานพิจารณางบลงทุน ประจำปีของรัฐวิสาหกิจ และงานวิเคราะห์โครงการ ร่วมลงทุน โอนไปที่กระทรวงการคลัง งานวิเคราะห์ โครงการลงทุนด้านเศรษฐกิจและสังคม โอนไป กระทรวงที่รับผิดชอบ ปรับโครงสร้างองค์กร ให้สอดคล้องกับภารกิจใหม่ เช่น การยุบรวมส่วนงานภายในที่รับผิดชอบการลง ทุนรายสาขาเพื่อจัดตั้งเป็นส่วนงานใหม่รับผิดชอบ การจัดทำแผนการลงทุนของประเทศ
(2) การปฏิรูปกระบวนการดำเนินงาน
- ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานที่เน้นการทำงานเป็นทีม ที่เพรียบพร้อมด้วยบุคลากรที่มีความรอบรู้ ความคิดริ เริ่ม และทำงานเร็ว สามารถตอบสนองภารกิจหลักของ สศช. ได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ
- ปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารและตัดสินใจ และวัฒน ธรรมขององค์กรให้ตอบสนองการดำเนินงานตามภารกิจ ได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว
- ให้มีการรับช่วงงานที่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลมากให้กับ ภาคเอกชนทั้งงานวิชาการและงานธุรการ
(3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการดำเนินงาน
- ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยและ สามารถเป็นเครื่องมือของการบริหารและดำเนินงานของ สศช.
- ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการ ทำงานในทุกระดับเพื่อประหยัดเวลาและทรัพยากรของ ส่วนรวม
(4) การปรับปรุงประสิทธิภาพของบุคลากร
- สร้างระบบการประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ทุกคนโดยมี งานมอบหมายที่ชัดเจน
- สร้างแรงจูงใจให้ สศช. เป็นองค์กรที่มีบุคลากรที่มีความ สามารถ โดยมีเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพที่ชัดเจน และเป็นองค์กรชั้นนำองค์กรหนึ่งที่สามารถดึงดูดคนเก่ง ให้เข้ามาร่วมงานได้
- สร้างระบบผู้ฝึกสอนงาน โดยมีระบบทีมงานผสมผสาน รองรับเพื่อให้เกิดการเรียนรู้งานระหว่างบุคลากรที่มี ความเชี่ยวชาญแต่ละสาขาภายในสำนักงานฯ
7.2 เป้าหมาย
7.2.1 โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งสามารถตอบสนองภารกิจขององค์กรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
7.2.2 ลดขั้นตอนของการบริหารงานให้มีลักษณะกระจายสู่ระดับปฏิบัติ เพื่อให้ การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วและสามารถดำเนินการตามภารกิจ มอบหมายจากรัฐบาลได้แล้วเสร็จตามกำหนด
7.2.3 บุคลากรของ สศช. มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ และประสิทธิภาพรวมของ องค์กรเพิ่มขึ้น
7.3 ตัวชี้วัด
7.3.1 ผลิตภาพของบุคลากร วัดจากปริมาณและคุณภาพของงานที่ผลิตโดย บุคลากรทั้งลักษณะเฉพาะตัวและทีมงาน และความรอบรู้ข้ามสาขาวิชา
7.3.2 ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรต่อภารกิจของสำนักงานฯ
7.3.3 มาตรฐานการให้บริการของสำนักงานฯ
7.3.4 ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
บทที่ 5
งบประมาณ
1. ในปีงบประมาณประจำปี 2545 สศช. ได้รับอนุมัติงบกลางรายการงบค่าใช้จ่ายตามกรอบ แผนงานการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศวงเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่ง ปัจจุบันได้มีการจัดสรรให้กับแผนงานและโครงการของ สศช. และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับโครงการของ สศช. ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาดำเนินการถึงปี 2547 และเมื่อรวมกับงบประมาณที่ได้รับ การจัดสรรตามปกติปี 2547 แล้ว สามารถจำแนกตามยุทธศาสตร์ของแผนกลยุทธ์ใน ปี 2545 และ 2547
2. ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ภายใต้แผนกลยุทธ์ให้บรรลุผลสำเร็จ จำเป็นจะต้อง ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างเพียงพอ โดยประมาณการกรอบวงเงิน เบื้องต้นจะสะท้อนถึงลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์ ดังนี้ 2.1 ด้านภารกิจที่จะต้องส่งมอบผลงานให้กับรัฐบาลและสาธารณะ สศช. ได้ให้ความ สำคัญสูงสุดในยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการ พัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของ สศช. ที่จะนำไปสู่การพัฒนา ประเทศและนำความอยู่ดีมีสุขมาสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง ลำดับความสำคัญ พิจารณาจากความต้องการงบประมาณเพื่อการบริหารภารกิจตามยุทธศาสตร์ ของ สศช. มีดังนี้
ลำดับที่ 1 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการ พัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
ลำดับที่ 2 ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและ สังคม
ลำดับที่ 3 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อการพัฒนา
ลำดับที่ 4 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การวางแผนเพื่อการพัฒนา
ลำดับที่ 5 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยาก จน
ลำดับที่ 6 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาพื้นที่และภูมิภาค
2.2 ด้านการพัฒนาองค์กร ได้ให้ความสำคัญสูงสุดในยุทธศาสตร์ที่ 7 การปฏิรูป องค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพสูง
3. งบประมาณประจำปี 2547 สำนักงานฯ ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นตามแผนงานและ ยุทธศาสตร์ที่เสนอสำนักงบประมาณ ซึ่งยังไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตาม แผนกลยุทธ์ 2547-2550 ดังนั้นในปีงบประมาณ 2548 วงเงินที่ต้องใช้ในแผนงานตาม ยุทธศาสตร์จะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ได้รับการจัดสรรตามปกติ เนื่องจากคาดว่าจะไม่ได้รับ งบพิเศษหรืองบกลางเช่นเดียวกับปีงบประมาณ 2545
4. งบประมาณสำหรับการบริหารงานให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ในช่วงปี 2547-2550 รวม เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 2,935.88 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 733.97 ล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้น เพียงร้อยละ 1.9 ต่อปีในช่วงปี 2549-2550 โดยที่งบบริหารจะเพิ่มขึ้นตามกรอบที่สำนัก งบประมาณกำหนดคือร้อยละ 5 และงบดำเนินการตามยุทธศาสตร์จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อย ละ 0.9 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นตามปริมาณงานที่กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์และตามที่ได้รับ มอบหมายจากรัฐบาล
บทที่ 6
การประเมินและการรายงานผล
ในการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ สศช. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ที่วางไว้ จำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีการติดตามประเมินผล เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของการดำเนินงาน และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนแนวทางดำเนินการเพื่อแก้ไข ปัญหาอุปสรรคให้เหมาะสมเท่าทันต่อสถานการณ์และสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ การดำเนินงานมีดังนี้
1. ระบบการประเมินผล เป็นการประเมินผลลัพธ์ขององค์กรใน 2 ระดับ โดยควรให้สถาบันที่เป็นกลางเป็น ผู้ประเมิน
1.1 ระดับแผนกลยุทธ์ เป็นการประเมินประสิทธิผลความสำเร็จตามพันธกิจและ ยุทธศาสตร์ที่ได้นำไปปฏิบัติ
1.1.1 ประเมินประสิทธิผลภาพรวมในประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์หลักของ แผนกลยุทธ์
1.1.2 ประเมินประสิทธิผลแต่ละยุทธศาสตร์ของแผนกลยุทธ์ว่าบรรลุเป้าหมาย ที่วางไว้หรือไม่ เพียงใด
1.2 ระดับองค์กร เป็นการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพการปฏิรูปการ ดำเนินงานขององค์กรใน 4 มิติ
1.2.1 ประสิทธิผลตามภาระหน้าที่
1.2.2 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
1.2.3 คุณภาพการให้บริการ
1.2.4 การพัฒนาองค์กร
2. ระบบการรายงานผล
เป็นการรายงานความก้าวหน้าและความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ที่มี กำหนดเวลา เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันต่อ สถานการณ์
2.1 ระดับของความก้าวหน้าของแผนกลยุทธ์ เป็นการรายงานผลความคืบหน้าของ การดำเนินงานทุกระยะ 6 เดือน พร้อมกับเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหา หรือ ปรับแผนการดำเนินงานประจำปี
2.2 ระดับความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ เป็นการรายงานผลการดำเนินงานประจำปี โดยประเมินผลงานและผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศและนำเสนอรายงานต่อ นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ เผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-