เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานดำเนินการโครงการนำร่องเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับพื้นที่ครั้งที่ 1/2540 ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สศช.
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ในฐานะประธานคณะทำงานฯ ได้กล่าวชี้แจงว่า การจัดทำโครงการนำร่องฯ ดังกล่าวก็เพื่อเป็นการสร้างกระแสแนวคิด ทิศทาง เป้าหมาย การพัฒนาคนและสังคมให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนกระบวนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ไปสู่ภาคปฏิบัติให้มีความเป็นไปได้ในระยะเวลาที่สั้นลง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นลักษณะวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เน้นกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของแผนฯ 8 และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคประชาชนในการดำเนินกิจกรรมแบบบูรณาการที่เป็นรูปธรรม และชี้ให้เห็นชัดเจนได้โดยการกำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสังคมไทยในอนาคตและสภาพปัญหาและความต้องการของสังคมไทยในปัจจุบัน
ตามแผนการดำเนินโครงการทดลองเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมดังกล่าว สำนักงานฯ ได้มีแนวคิดที่จะสร้างรูปแบบเมืองทดลอง ในช่วงระยะเวลา 5 ปีของแผนฯ 8 (พ.ศ. 2540-2544) กล่าวคือ เป็นเมืองหรือพื้นที่ที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดและร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนในสังคม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนฯ 8 โดย กำหนดไว้ 3 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี กรุงเทพมหานครในบางเขต และเชียงใหม่ เพื่อทดลองหารูปแบบมาตรฐานที่สามารถนำมาใช้ได้ทั่วประเทศ อีกทั้งเป็นรูปแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับรูปแบบดำเนินงานในพื้นที่ ผู้ทรงคุณวุฒิกล่าวว่าจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ลักษณะ ได้แก่
1. กิจกรรมเดิมที่หน่วยงานต่าง ๆ กำลังดำเนินการหรือเคยดำเนินการมาแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ จะได้รับการสนับสนุนให้มีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น งานอาสาสมัครชุมชน เป็นต้น
2. กิจกรรมของโครงการทดลองที่หน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนกำลังดำเนินงานในพื้นที่และมีการกำหนดระยะเวลาดำเนินการไว้โดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนและสังคม เช่น การปฏิรูปการศึกษา การคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรีเป็นต้น ซึ่งจะได้มีการประสานให้มีการดำเนินการร่วมกันในพื้นที่ระยะเวลาและเป้าหมายที่สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน
3. กิจกรรมใหม่ที่ควรนำมาทดลองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น การปรับหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา การส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ มีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอน เป็นต้น
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ กล่าวต่อไปอีกว่า การดำเนินงานตามกิจกรรมดังกล่าวจะเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยจะส่งเสริมให้องค์กรชุมชนเป็นแกนหลักในการประสานจัดการ รวมทั้งจะปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาเครื่องชี้วัด "ภูมิจริยธรรม" ซึ่งจะนำมาเป็นเครื่องต้นแบบเพื่อวัดความเป็นคนในสังคมว่า ลักษณะของคนดีนั้นเป็นอย่างไร
นอกเหนือจากนี้ ที่ประชุมยังได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง โดยสรุปได้ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับแนวคิดปฏิบัติในการสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมไทย แม้ว่าการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายจะมีความยากลำบากและมีอุปสรรคนานัปการก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นควรให้มีการกำหนดคำนิยามของคำว่า "คนดี" มีลักษณะอย่างไรและการกำหนดนิยามควรมีพื้นฐานทางปรัชญารองรับ รวมทั้งการดำเนินงานต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ความต้องการและความพร้อมของชุมชนเป็นหลัก เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในสังคม นอกจากนี้ พื้นที่ทดลองควรมีหลายแห่งทั้งในชุมชนเมืองและชนบท รวมทั้งชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่ต่างกัน เพื่อหารูปแบบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จและความล้มเหลว โดยควรดำเนินการในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากพื้นที่หรือชุมชนที่มีความพร้อมก่อน
สำหรับกระบวนการมีส่วนร่วม วิธีการดำเนินงาน และแผนปฏิบัติการ ต้องมีความสอดคล้องชัดเจนว่า ใคร ทำอะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร และได้อะไร ทั้งนี้ ควรปรับเป้าหมายให้แคบลงโดยเน้นการสร้างรูปแบบภายใต้ระบบการบริหารจัดการแบบพื้นที่ภารกิจและการมีส่วนร่วม (Area Function Participation : AFP) นอกจากนี้ เห็นควรให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปได้รับแนวคิด วัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการฯ ด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 5/พฤษภาคม 2540--
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ในฐานะประธานคณะทำงานฯ ได้กล่าวชี้แจงว่า การจัดทำโครงการนำร่องฯ ดังกล่าวก็เพื่อเป็นการสร้างกระแสแนวคิด ทิศทาง เป้าหมาย การพัฒนาคนและสังคมให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนกระบวนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ไปสู่ภาคปฏิบัติให้มีความเป็นไปได้ในระยะเวลาที่สั้นลง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นลักษณะวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เน้นกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของแผนฯ 8 และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคประชาชนในการดำเนินกิจกรรมแบบบูรณาการที่เป็นรูปธรรม และชี้ให้เห็นชัดเจนได้โดยการกำหนดเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสังคมไทยในอนาคตและสภาพปัญหาและความต้องการของสังคมไทยในปัจจุบัน
ตามแผนการดำเนินโครงการทดลองเพื่อสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมดังกล่าว สำนักงานฯ ได้มีแนวคิดที่จะสร้างรูปแบบเมืองทดลอง ในช่วงระยะเวลา 5 ปีของแผนฯ 8 (พ.ศ. 2540-2544) กล่าวคือ เป็นเมืองหรือพื้นที่ที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิดและร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนในสังคม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนฯ 8 โดย กำหนดไว้ 3 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี กรุงเทพมหานครในบางเขต และเชียงใหม่ เพื่อทดลองหารูปแบบมาตรฐานที่สามารถนำมาใช้ได้ทั่วประเทศ อีกทั้งเป็นรูปแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับรูปแบบดำเนินงานในพื้นที่ ผู้ทรงคุณวุฒิกล่าวว่าจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ลักษณะ ได้แก่
1. กิจกรรมเดิมที่หน่วยงานต่าง ๆ กำลังดำเนินการหรือเคยดำเนินการมาแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ จะได้รับการสนับสนุนให้มีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น งานอาสาสมัครชุมชน เป็นต้น
2. กิจกรรมของโครงการทดลองที่หน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนกำลังดำเนินงานในพื้นที่และมีการกำหนดระยะเวลาดำเนินการไว้โดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนและสังคม เช่น การปฏิรูปการศึกษา การคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรีเป็นต้น ซึ่งจะได้มีการประสานให้มีการดำเนินการร่วมกันในพื้นที่ระยะเวลาและเป้าหมายที่สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน
3. กิจกรรมใหม่ที่ควรนำมาทดลองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น การปรับหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา การส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ มีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอน เป็นต้น
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ กล่าวต่อไปอีกว่า การดำเนินงานตามกิจกรรมดังกล่าวจะเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยจะส่งเสริมให้องค์กรชุมชนเป็นแกนหลักในการประสานจัดการ รวมทั้งจะปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาเครื่องชี้วัด "ภูมิจริยธรรม" ซึ่งจะนำมาเป็นเครื่องต้นแบบเพื่อวัดความเป็นคนในสังคมว่า ลักษณะของคนดีนั้นเป็นอย่างไร
นอกเหนือจากนี้ ที่ประชุมยังได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง โดยสรุปได้ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับแนวคิดปฏิบัติในการสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมไทย แม้ว่าการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายจะมีความยากลำบากและมีอุปสรรคนานัปการก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นควรให้มีการกำหนดคำนิยามของคำว่า "คนดี" มีลักษณะอย่างไรและการกำหนดนิยามควรมีพื้นฐานทางปรัชญารองรับ รวมทั้งการดำเนินงานต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ความต้องการและความพร้อมของชุมชนเป็นหลัก เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในสังคม นอกจากนี้ พื้นที่ทดลองควรมีหลายแห่งทั้งในชุมชนเมืองและชนบท รวมทั้งชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่ต่างกัน เพื่อหารูปแบบที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จและความล้มเหลว โดยควรดำเนินการในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากพื้นที่หรือชุมชนที่มีความพร้อมก่อน
สำหรับกระบวนการมีส่วนร่วม วิธีการดำเนินงาน และแผนปฏิบัติการ ต้องมีความสอดคล้องชัดเจนว่า ใคร ทำอะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร และได้อะไร ทั้งนี้ ควรปรับเป้าหมายให้แคบลงโดยเน้นการสร้างรูปแบบภายใต้ระบบการบริหารจัดการแบบพื้นที่ภารกิจและการมีส่วนร่วม (Area Function Participation : AFP) นอกจากนี้ เห็นควรให้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปได้รับแนวคิด วัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการฯ ด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 5/พฤษภาคม 2540--