เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายวิทิต รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (ส.กรอ.) ได้ให้การต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่จาก Department of Industrial and Policy and Promotion ประเทศอินเดีย ที่มาเยือนสำนักงานฯ และได้บรรยายสรุปถึงปัจจัยดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งมีปัจจัยที่จะต้องเตรียมการหลายประการ
นายวิทิต รัชชตาตะนันท์ ได้บรรยายถึงภารกิจหลักของ สศช.ว่า ภารกิจหลักของ สำนักงานฯ ที่สำคัญนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ภารกิจคือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐบาล การให้คำแนะนำและความเห็นเชิงวิชาการแก่นายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ประสานงานและเลขานุการคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการสำคัญ ๆ ในระดับชาติ
ผู้อำนวยการ ส.กรอ.ยังได้บรรยายสรุปถึง ปัจจัยที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเป็นแนวทางกว้าง ๆ ว่า การที่จะดึงดูดการลงทุนได้นั้นประเทศต่าง ๆ ต้องมีปัจจัยที่ต้องเตรียมการไว้หลายประการ ได้แก่
1. ลักษณะทางการเมือง ควรให้มีความโปร่งใสในการบริหาร พร้อมทั้งให้การสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการดำเนินงานต่าง ๆ โดยเฉพาะการให้ความอิสระในการทำงาน และที่สำคัญรัฐไม่ควรเข้าแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจมากจนเกินไป
2. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ต้องสามารถจัดวางตนเองให้เป็นศูนย์กลางในการขนส่งของภูมิภาค หรือของประเทศเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดี และควรมีภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยให้สามารถดำเนินการขนส่งได้ทั้งทางบก อากาศ และทางทะเล
3. ขนาดตลาดภายในประเทศ ประชาชนในประเทศมีอำนาจซื้อที่เพียงพอเพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนเพื่อขยายตลาดการค้าต่อไป
4. ปัจจัยการผลิต ควรมีความพร้อมในการจัดหาทรัพยากร ทั้งจากภายในประเทศหรือจากแหล่งใกล้เคียงนอกประเทศ
5. คุณภาพแรงงาน จะมีส่วนสัมพันธ์กับการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศดังเช่นกรณีของประเทศไทย ได้จัดให้มีการศึกษาภาคบังคับ 6 ปี ซึ่งถือว่าไม่สูงมากนัก แต่จากลักษณะการทำงานได้รับการพัฒนาจากการศึกษานอกระบบ ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพให้แรงงานไทย และเป็นปัจจัยดึงดูดแก่กลุ่มนักลงทุนจากต่างชาติได้เป็นอย่างดี
6. มีความพร้อมทางปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ระบบไฟฟ้า น้ำประปา โทรคมนาคม ถนน ท่าเรือ และที่ดิน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ และความเป็นอยู่ในประเทศ
7. พื้นฐานด้านสังคมของประเทศ หากสังคมพร้อมเปิดรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ จะส่งผลให้คนในสังคมเร่งพัฒนาที่อยู่อาศัยโรงเรียนนานาชาติ สถานที่ท่องเที่ยว การให้บริการต่าง ๆ อันก่อให้เกิดการพัฒนาในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นการดึงดูดการเข้ามาของกลุ่มนักลงทุนจากต่างชาติ
8. ความปลอดภัยในการดำรงชีพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง
9. การให้ความสนับสนุนจากรัฐบาล อาจเป็นในด้านการลดภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุน หรือการจัดหาแหล่งเงินกู้ให้
ในโอกาสเดียวกันนี้ คณะเจ้าหน้าที่อินเดียได้ให้ความสนใจในเรื่อง การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ผ่านมาของประเทศไทยด้วย ซึ่งนายวิทิตได้กล่าวสรุปว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องค่อนข้างยากในทางปฏิบัติ เพราะที่ผ่านมามีปัจจัยตัวแปรหลายด้านที่ต้องคำนึงถึง และอย่างไรก็ตามในขณะนี้รัฐบาลก็ได้เร่งดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังอยู่
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2540--
นายวิทิต รัชชตาตะนันท์ ได้บรรยายถึงภารกิจหลักของ สศช.ว่า ภารกิจหลักของ สำนักงานฯ ที่สำคัญนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ภารกิจคือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐบาล การให้คำแนะนำและความเห็นเชิงวิชาการแก่นายกรัฐมนตรี และเป็นผู้ประสานงานและเลขานุการคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการสำคัญ ๆ ในระดับชาติ
ผู้อำนวยการ ส.กรอ.ยังได้บรรยายสรุปถึง ปัจจัยที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเป็นแนวทางกว้าง ๆ ว่า การที่จะดึงดูดการลงทุนได้นั้นประเทศต่าง ๆ ต้องมีปัจจัยที่ต้องเตรียมการไว้หลายประการ ได้แก่
1. ลักษณะทางการเมือง ควรให้มีความโปร่งใสในการบริหาร พร้อมทั้งให้การสนับสนุนภาคเอกชนในด้านการดำเนินงานต่าง ๆ โดยเฉพาะการให้ความอิสระในการทำงาน และที่สำคัญรัฐไม่ควรเข้าแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจมากจนเกินไป
2. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ต้องสามารถจัดวางตนเองให้เป็นศูนย์กลางในการขนส่งของภูมิภาค หรือของประเทศเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดี และควรมีภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยให้สามารถดำเนินการขนส่งได้ทั้งทางบก อากาศ และทางทะเล
3. ขนาดตลาดภายในประเทศ ประชาชนในประเทศมีอำนาจซื้อที่เพียงพอเพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนเพื่อขยายตลาดการค้าต่อไป
4. ปัจจัยการผลิต ควรมีความพร้อมในการจัดหาทรัพยากร ทั้งจากภายในประเทศหรือจากแหล่งใกล้เคียงนอกประเทศ
5. คุณภาพแรงงาน จะมีส่วนสัมพันธ์กับการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศดังเช่นกรณีของประเทศไทย ได้จัดให้มีการศึกษาภาคบังคับ 6 ปี ซึ่งถือว่าไม่สูงมากนัก แต่จากลักษณะการทำงานได้รับการพัฒนาจากการศึกษานอกระบบ ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพให้แรงงานไทย และเป็นปัจจัยดึงดูดแก่กลุ่มนักลงทุนจากต่างชาติได้เป็นอย่างดี
6. มีความพร้อมทางปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ระบบไฟฟ้า น้ำประปา โทรคมนาคม ถนน ท่าเรือ และที่ดิน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ และความเป็นอยู่ในประเทศ
7. พื้นฐานด้านสังคมของประเทศ หากสังคมพร้อมเปิดรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ จะส่งผลให้คนในสังคมเร่งพัฒนาที่อยู่อาศัยโรงเรียนนานาชาติ สถานที่ท่องเที่ยว การให้บริการต่าง ๆ อันก่อให้เกิดการพัฒนาในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นการดึงดูดการเข้ามาของกลุ่มนักลงทุนจากต่างชาติ
8. ความปลอดภัยในการดำรงชีพ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง
9. การให้ความสนับสนุนจากรัฐบาล อาจเป็นในด้านการลดภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุน หรือการจัดหาแหล่งเงินกู้ให้
ในโอกาสเดียวกันนี้ คณะเจ้าหน้าที่อินเดียได้ให้ความสนใจในเรื่อง การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ผ่านมาของประเทศไทยด้วย ซึ่งนายวิทิตได้กล่าวสรุปว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องค่อนข้างยากในทางปฏิบัติ เพราะที่ผ่านมามีปัจจัยตัวแปรหลายด้านที่ต้องคำนึงถึง และอย่างไรก็ตามในขณะนี้รัฐบาลก็ได้เร่งดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังอยู่
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2540--