เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2540 นาย Rubens Ricupero เลขาธิการ UNCTAD (United Nations Conferrence on Trade and Development) ได้เข้าพบท่านผู้ทรงคุณวุฒิ นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อหารือเรื่องการเตรียมการจัดประชุมครั้งที่ 10 ในระดับผู้นำของประเทศในปี พ.ศ. 2543 ที่ประเทศไทย ซึ่งการจัดประชุมดังกล่าวจะนำไปสู่การปรับแนวความคิดและการทำงานของ UNCTAD ที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการพัฒนาในอนาคต
ในการพบปะหารือครั้งนี้ ท่านผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้ถือโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตอนหนึ่งว่า เรื่องการเปิดเสรีทางการค้าเพียงอย่างเดียวไม่ใช่หนทางที่จะนำประชาคมโลกไปสู่การพัฒนาที่คาดหวังได้ การขาดการดูแลเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารการจัดการจะทำให้ระดับการพัฒนาและต้นทุนของแต่ละประเทศไม่ลดลง และในที่สุดก็ไม่สามารถลดการคุ้มครองภายในประเทศลง รวมทั้งทำให้ระบบวางแผนพัฒนาของโลกอยู่ในภาวะวิกฤติ ดังนั้น ความท้าทายในศตวรรษหน้า คือการวางแนวความคิดการพัฒนาใหม่ในลักษณะของการยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา และการพัฒนาต้องเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ยังได้ชี้แจงต่อไปอีกว่า ท่านเลขาธิการ UNCTAD ได้แสดงความเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว และได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในศตวรรษหน้า แนวความคิดปัจจุบันที่ให้การพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาแยกออกจากเศรษฐกิจโลกนั้นเป็นไปไม่ได้ พร้อมทั้งยังได้สอบถามเพิ่มเติมใน 2 เรื่อง ว่าประเทศไทยสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้างในกระบวนการที่จะสร้างความเข้าใจร่วมกันในแนวทางดังกล่าว และกระบวนการพัฒนาดังกล่าวนี้ ประเทศไทยคิดว่าการฝึกอบรมในด้านใดที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้กล่าวตอบว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะช่วยเหลือโดยการเผยแพร่ประสบการณ์ แนวความคิด และแนวทางการพัฒนาที่เราดำเนินการอยู่ และส่วนที่สำคัญที่จะให้กระบวนการพัฒนาในแนวทางดังกล่าวเกิดขึ้นได้ คือ การสร้างความเป็นผู้นำ (ประสานความคิดและวางวิสัยทัศน์) การทำงานร่วมกัน รวมทั้งเทคนิคการสร้างการแสดงความคิดเห็นและการร่วมมือกัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3/มีนาคม 2540--
ในการพบปะหารือครั้งนี้ ท่านผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้ถือโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตอนหนึ่งว่า เรื่องการเปิดเสรีทางการค้าเพียงอย่างเดียวไม่ใช่หนทางที่จะนำประชาคมโลกไปสู่การพัฒนาที่คาดหวังได้ การขาดการดูแลเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารการจัดการจะทำให้ระดับการพัฒนาและต้นทุนของแต่ละประเทศไม่ลดลง และในที่สุดก็ไม่สามารถลดการคุ้มครองภายในประเทศลง รวมทั้งทำให้ระบบวางแผนพัฒนาของโลกอยู่ในภาวะวิกฤติ ดังนั้น ความท้าทายในศตวรรษหน้า คือการวางแนวความคิดการพัฒนาใหม่ในลักษณะของการยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา และการพัฒนาต้องเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ยังได้ชี้แจงต่อไปอีกว่า ท่านเลขาธิการ UNCTAD ได้แสดงความเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว และได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในศตวรรษหน้า แนวความคิดปัจจุบันที่ให้การพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาแยกออกจากเศรษฐกิจโลกนั้นเป็นไปไม่ได้ พร้อมทั้งยังได้สอบถามเพิ่มเติมใน 2 เรื่อง ว่าประเทศไทยสามารถช่วยเหลืออะไรได้บ้างในกระบวนการที่จะสร้างความเข้าใจร่วมกันในแนวทางดังกล่าว และกระบวนการพัฒนาดังกล่าวนี้ ประเทศไทยคิดว่าการฝึกอบรมในด้านใดที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิฯ ได้กล่าวตอบว่า ประเทศไทยพร้อมที่จะช่วยเหลือโดยการเผยแพร่ประสบการณ์ แนวความคิด และแนวทางการพัฒนาที่เราดำเนินการอยู่ และส่วนที่สำคัญที่จะให้กระบวนการพัฒนาในแนวทางดังกล่าวเกิดขึ้นได้ คือ การสร้างความเป็นผู้นำ (ประสานความคิดและวางวิสัยทัศน์) การทำงานร่วมกัน รวมทั้งเทคนิคการสร้างการแสดงความคิดเห็นและการร่วมมือกัน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3/มีนาคม 2540--