แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จังหวัดกาญจนบุรี
รีสอร์ท
เมื่อวันที่ 13-17 กุมภาพันธ์ 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "กรอบทิศทางและยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)" ณ โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อยกร่างกรอบ
ทิศทางและยุทธศาสตร์ของแผนฯ 10 ในเบื้องต้น ตามกระบวนการของการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งมี
ผู้เข้าร่วมจำนวน 140 คน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานวางแผนของทุกกระทรวง หน่วยงานกลาง และ
สศช. โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษ
เรื่อง "การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม กับทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10"
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) ซึ่ง สศช. จะนำมาใช้เป็นกรอบทิศทางของแผนฯ 10
กรอบฯ ดังกล่าวดำเนินการภายใต้หลักการ 4 ประการ ได้แก่ 1) สร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน 2)
เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้านฐานความรู้โดยเปลี่ยนจากการรับจ้างผลิตสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้า 3) เชื่อมโยงกับ
เศรษฐกิจโลกและภูมิภาค และ 4) นโยบายสังคมเชิงรุก
แผนฯ 10 จะเป็นแผนกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้สอดรับกับสภาวะแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงไป โดยให้มีแนวทางการพัฒนาอย่างพอเพียงที่เชื่อมโยงกับแผนฯ 9 รวมทั้งต้องสะท้อน
นโยบายของรัฐบาลและแผนบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อใช้เป็นแนวทางชี้นำการพัฒนาในระยะยาวแก่ภาคี
พัฒนาต่างๆ ซึ่งกระบวนการจัดทำแผนฯ เน้นให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ได้ข้อสรุปที่สำคัญ ดังนี้
จุดแข็งและโอกาสในการพัฒนา เนื่องจากประเทศไทยมีสถาบันหลักเป็นศูนย์รวมจิตใจ ก่อให้เกิด
ความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐบาลมีความสามารถในการแปลงและผลักดัน
นโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม การปฏิรูประบบราชการทำให้การบริหารจัดการของภาครัฐมี
ประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชนเพิ่มขึ้น ภาคีการพัฒนาให้ความสำคัญกับการ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาทักษะ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเสรีภาพในการรับรู้และเผยแพร่ข้อมูล
ข่าวสารของสื่อต่างประเทศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาและ
พัฒนาประเทศมากขึ้น ด้านการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือในระดับทวิภาคีหรือพหุภาคี
ก่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม และกระตุ้นให้ภาคเอกชนปรับตัวเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการแข่งขัน ส่วนกระแสสังคมโลกที่ต้องการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานช่วย
ผลักดันให้มีการพัฒนาคุณภาพในการผลิตสินค้าและบริการ นอกจากนี้ กระแสอารยธรรมตะวันออกเริ่ม
ได้รับความนิยมจากชาติตะวันตกมากขึ้น เอื้อต่อการพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการ
จุดอ่อนและข้อจำกัดของการพัฒนา การให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าสังคมและ
สิ่งแวดล้อม เน้นการเติบโตในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพทำให้การพัฒนาไม่ยั่งยืน ไม่สามารถใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ
เช่น การผลิตยาเสพติด การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การฟอกเงิน ส่งผลกระทบต่อ
ความมั่นคงของเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ สถานการณ์ความไม่สงบและการก่อการร้ายสากล ส่งผล
ต่อความเชื่อมั่นด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่วนการลักลอบเข้ามา
ทำงานของแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน และการบริการสาธารณสุข เป็นต้น
เรื่องที่แผนฯ 10 ควรให้ความสำคัญในระดับยุทธศาสตร์ มี 6 เรื่องหลัก ได้แก่ การสร้างสังคมแห่ง
การเรียนรู้ การพัฒนาสังคมเชิงรุก การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเสริมสร้างความสมดุลของการพัฒนา และการบริหาร
จัดการที่ดีของภาคีการพัฒนา
ทั้งนี้ สศช. จะได้นำกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์เบื้องต้นของแผนฯ 10 ดังกล่าว ไปรับฟังความ
คิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อทำการยกร่างกรอบแผนฯ 10 และ
ศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดเพื่อยกร่างแผนฯ 10 ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
(สศช.) ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "กรอบทิศทางและยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)" ณ โรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อยกร่างกรอบ
ทิศทางและยุทธศาสตร์ของแผนฯ 10 ในเบื้องต้น ตามกระบวนการของการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งมี
ผู้เข้าร่วมจำนวน 140 คน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานวางแผนของทุกกระทรวง หน่วยงานกลาง และ
สศช. โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษ
เรื่อง "การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม กับทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10"
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) ซึ่ง สศช. จะนำมาใช้เป็นกรอบทิศทางของแผนฯ 10
กรอบฯ ดังกล่าวดำเนินการภายใต้หลักการ 4 ประการ ได้แก่ 1) สร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน 2)
เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้านฐานความรู้โดยเปลี่ยนจากการรับจ้างผลิตสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้า 3) เชื่อมโยงกับ
เศรษฐกิจโลกและภูมิภาค และ 4) นโยบายสังคมเชิงรุก
แผนฯ 10 จะเป็นแผนกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้สอดรับกับสภาวะแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงไป โดยให้มีแนวทางการพัฒนาอย่างพอเพียงที่เชื่อมโยงกับแผนฯ 9 รวมทั้งต้องสะท้อน
นโยบายของรัฐบาลและแผนบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อใช้เป็นแนวทางชี้นำการพัฒนาในระยะยาวแก่ภาคี
พัฒนาต่างๆ ซึ่งกระบวนการจัดทำแผนฯ เน้นให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ได้ข้อสรุปที่สำคัญ ดังนี้
จุดแข็งและโอกาสในการพัฒนา เนื่องจากประเทศไทยมีสถาบันหลักเป็นศูนย์รวมจิตใจ ก่อให้เกิด
ความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐบาลมีความสามารถในการแปลงและผลักดัน
นโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม การปฏิรูประบบราชการทำให้การบริหารจัดการของภาครัฐมี
ประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชนเพิ่มขึ้น ภาคีการพัฒนาให้ความสำคัญกับการ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาทักษะ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเสรีภาพในการรับรู้และเผยแพร่ข้อมูล
ข่าวสารของสื่อต่างประเทศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาและ
พัฒนาประเทศมากขึ้น ด้านการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือในระดับทวิภาคีหรือพหุภาคี
ก่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม และกระตุ้นให้ภาคเอกชนปรับตัวเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการแข่งขัน ส่วนกระแสสังคมโลกที่ต้องการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานช่วย
ผลักดันให้มีการพัฒนาคุณภาพในการผลิตสินค้าและบริการ นอกจากนี้ กระแสอารยธรรมตะวันออกเริ่ม
ได้รับความนิยมจากชาติตะวันตกมากขึ้น เอื้อต่อการพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการ
จุดอ่อนและข้อจำกัดของการพัฒนา การให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าสังคมและ
สิ่งแวดล้อม เน้นการเติบโตในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพทำให้การพัฒนาไม่ยั่งยืน ไม่สามารถใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ
เช่น การผลิตยาเสพติด การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การฟอกเงิน ส่งผลกระทบต่อ
ความมั่นคงของเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ สถานการณ์ความไม่สงบและการก่อการร้ายสากล ส่งผล
ต่อความเชื่อมั่นด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่วนการลักลอบเข้ามา
ทำงานของแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน และการบริการสาธารณสุข เป็นต้น
เรื่องที่แผนฯ 10 ควรให้ความสำคัญในระดับยุทธศาสตร์ มี 6 เรื่องหลัก ได้แก่ การสร้างสังคมแห่ง
การเรียนรู้ การพัฒนาสังคมเชิงรุก การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศ การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเสริมสร้างความสมดุลของการพัฒนา และการบริหาร
จัดการที่ดีของภาคีการพัฒนา
ทั้งนี้ สศช. จะได้นำกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์เบื้องต้นของแผนฯ 10 ดังกล่าว ไปรับฟังความ
คิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อทำการยกร่างกรอบแผนฯ 10 และ
ศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดเพื่อยกร่างแผนฯ 10 ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-